งาน IGF2013 วันที่สาม ผมเข้าห้อง " The Cloud, Many Clouds, and Free Expression " นำเสนอประเด็นความขัดแย้งระหว่างเสรีภาพการแสดงออกและบริการกลุ่มเมฆที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ในประเทศต่างๆ และการนำเสนอทางออก
Izumi Aizu จากสถาบัน InfoSocionomics ญี่ปุ่น
- ปัญหาทางกฎหมายทุกวันนี้เป็นปัญหาข้ามประเทศ ผู้ใช้อาจจะใช้บริการที่อยู่ในหลายประเทศได้พร้อมกัน
- ความต้องการของหลายประเทศพยายามผลักกันประเด็น "Data Sourvernity" บังคับให้ข้อมูลต้องอยู่ในประเทศ แต่ปรากฎว่าการระบุว่าผู้ใช้เป็นพลเมืองประเทศใดก็เป็นเรื่องยาก เพราะเขาอาจจะแค่เดินทางข้ามประเทศ
- ประเด็นการทำผิดเป็นประเด็นที่ต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในญี่ปุ่นการดาวน์โหลดเป็นความผิดในกรณีลิขสิทธิ์
- บริการที่ได้รับความนิยมสูง เช่น LINE และ WeChat ผู้ใช้แทบไม่รู้ว่าข้อมูลจริงๆ แล้วอยู่ที่ไหน
- รัฐบาลสามารถเข้าตรวจสอบข้อความได้ง่ายกว่าไฟล์ และรูปภาพมาก แต่ในญี่ปุ่น รัฐธรรมนูญให้สิทธิ์ในการสื่อสารอย่างเป็นความลับเอาไว้ กระบวนการใช้บริการกลุ่มเมฆจึงต้องการกระบวนการรับประกันว่าจะได้รับการประกันแบบเดียวกัน
William Drake จากมหาวิทยาลัยซูริค สวิตเซอร์แลนด์
- เขาไม่แปลกใจนักที่รัฐบาลต่างๆ พยายามเข้าควบคุมบริการกลุ่มเมฆ แต่น่าแปลกใจกว่าที่รัฐบาลเพิ่งเริ่มพยายามควบคุม
- ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทำให้มาตรฐานต่างๆ ทั่วโลกเปลี่ยนไปเสมอ
- ตัวอย่างเช่นโทรเลขที่เดินทางข้ามประเทศได้ รวมถึงวิทยุระยะไกล และการถ่ายทอดผ่านดาวเทียม
Bertrand de la Chapelle จาก Academie Diplomatique
- ประเทศต่างๆ พยายามบล็อคข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ทั้งการบล็อควิดีโอ, บล็อคเว็บ, รวมถึงบล็อคบริการ VPN ทั้งหลาย แต่ไม่สำเร็จนัก
- ทางที่ตรงไปตรงมากว่าคือการเข้าไปร่วมมือกับผู้ให้บริการโดยตรง
- เขาคิดว่าการเซ็นเซอร์ คือ กระบวนการที่ไม่ถูกต้อง หากกระบวนการถูกต้อง มีการตรวจสอบและให้น้ำหนักต่อเสรีภาพอย่างถูกต้อง การนำข้อมูลลงสามารถทำได้
- ในเมื่อผู้กระทำอยู่ในประเทศหนึ่ง ผู้ถูกกระทำอยู่ในประเทศเดียวกัน การที่รัฐบาลเข้ามาดูแลไม่ใช่เรื่องที่แปลกนัก แม้ศูนย์ข้อมูลจะอยู่ในประเทศอื่นการบังคับกฎหมายก็น่าจะใช้กฎหมายท้องถิ่น
- กรณีของฝรั่งเศส คือ ทวิตเตอร์ที่ไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลฝรั่งเศส แม้ว่าผู้เสียหายและผู้โพสข้อความจะอยู่ในฝรั่งเศสทั้งคู่ก็ตาม
- ผู้ให้บริการรายใหญ่เริ่มมีข้อตกลงการใช้งานที่ปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมทั่วโลก เช่น กรณีข้อความแสดงความเกลียดชัง (hate speech) ทั้งที่ข้อความหลายอย่างไม่ผิดตามกฎหมายสหรัฐฯ และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
Zahid Jamil จากบริษัท Jamil & Jamil ปากีสถาน
- รัฐบาลต้องพยายามใช้เครื่องมือทุกอย่างเพื่อที่จะจัดการข้อมูลในประเทศตัวเอง
- เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีอันตรายกับคนขึ้นมา ผู้ให้บริการควรต้องเอาข้อมูลลง
- ในอิหร่าน รัฐบาลไม่สามารถควบคุมเข้าถึงบริการกลุ่มเมฆได้ทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถบล็อควิดีโอได้
- หากมีการบล็อค ทุกคนก็จะใช้บริการ VPN เพื่อเข้าถึงบริการเหล่านั้นอยู่ดี มีกรณีของศาลสูงในประเทศที่บล็อค YouTube ยอมรับว่าตัวเองก็เข้าดู YouTube ผ่าน VPN
- การห้ามทั้งหมดเองก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี มีกรณีการห้ามธุรกิจแลกเงินและโอนเงินไปต่างประเทศ ทำให้องค์กรเหล่านี้ลงไปเป็นบริการใต้ดิน และไม่สามารถควบคุมได้ยิ่งกว่าเดิม
Get latest news from Blognone
Follow @twitterapi
Comments
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.