Lee Kun Hee ประธานใหญ่ของซัมซุง (และเป็นบุตรชายของผู้ก่อตั้งซัมซุง) วัย 73 ปี เข้ารับการผ่าตัดเมื่อวานนี้ช่วงเช้า หลังเขามีปัญหาเรื่องการหายใจตั้งแต่ช่วงดึกของคืนวันเสาร์ และมีปัญหาหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
เขาได้รับการผ่าตัดและตอนนี้อาการปลอดภัยแล้ว แต่ก็คงต้องอยู่โรงพยาบาลไปอีกสักระยะหนึ่ง
Lee เป็นประธานซัมซุงมาตั้งแต่ปี 1987 และนำพาซัมซุงสู่ยุครุ่งเรือง อย่างไรก็ตาม อาการป่วยของเขาอาจกระตุ้นให้ซัมซุงต้องรีบโอนถ่ายอำนาจให้เร็วขึ้น เพราะ Lee ยังมีบทบาทในการตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ ของซัมซุงอยู่ ถึงแม้เขาจะมีอายุ 73 ปีแล้วก็ตาม
เขาเพิ่งตั้งลูกชายคนโต Lee Jae-yong เป็นรองประธานของซัมซุงเมื่อปี 2012 ส่วนลูกสาวคนกลาง Lee Bu-jin เป็นประธานกลุ่มโรงแรม Shilla และลูกสาวคนเล็ก Lee Seo-hyun ดูแลธุรกิจในกลุ่ม Samsung Everland
ที่มา - The Korea Times , Bloomberg
Comments
สุดยอดครับ ยุค Post-iPhone นี่แกทำให้ซัมซุงรุ่งเรืองขึ้นอย่างมหาศาลจริงๆ ทั้งๆ ที่อายุตอนนั้นก็ใกล้จะ 70 ละ
positivity
ถ้ามีการโอนอำนาจนี่ การแข่งขันในตลาดยิ่งดูน่าสนใจขึ้น
Lee Seo-hyun คนนี้น่าจะเป็นลูกสาวนะคะ
http://profit.ndtv.com/news/corporates/article-samsung-chiefs-daughter-lee-seo-hyun-promoted-to-top-job-373800
http://www.forbes.com/profile/lee-seo-hyun/
จริงด้วยครับ แก้ตามนั้น
ชื่อเขาอ่านว่าอะไรอ่า....
ชื่อ ประธานซัมซุง เอ่อ...
ลีคัน....... อ่านแบบไม่สนภาษา
หวังว่าประธานคนใหม่มา จะทำให้ซัมซุงเลิกก๊อปชาวบ้าน แล้วหันมาพัฒนาอะไรที่เป็นตัวของตัวเองซักทีนะ
เกือบได้ไปหา Steve Jobs แล้วเชียว
เพิ่งรู้ว่าเป็นธุรกิจกงสี
กงสียักษ์ทีเดียวเชียว
คงต้องรอล้มละลาย แล้วต้องขายหุ้นทิ้งนู่นแหละครับ
ถึงจะหลุดจากกงสี
แต่แปลกใจว่าทำไม ธุรกิจฝั่งตะวันตกใหญ่ๆ ไม่ค่อยจะเป็นแบบนี้อย่างไมโครซอฟ ผู้ก่อตั้งเอง ก็วางมือไปหล่ะ
แอปเปิ้ล ก็เป็นตาทิมเฟซบุ๊ค ก็เป็นตามาร์ค เคสนี้ยังไม่มีลูกเลยไม่รู้
จากที่ทราบมี 2 เหตุผลครับ
1. ความแตกต่างของวัฒนธรรมฝั่งตะวันตก และเอเชียครับ
ผมมีเพื่อนที่เป็นลูกครึ่งเชื้อชาติตะวันตกอยู่หลายคน พออายุประมาณ 15 ปี คือเริ่มมีบัตรประชาชน ฝรั่งจะสนับสนุนให้ลูกเขาช่วยเหลือตนเอง และอนุญาติให้ไปทำงานได้ (บางคนมีถึงกับไล่ให้ไปทำงานเลยนะครับ) ซึ่งตอนนี้ครอบครัวเขาจะบอกให้เด็กค้นหาตัวเอง, ความฝัน, และสิ่งที่ตนเองชอบ ซึ่งผู้ปกครองจะให้การสนับสนุนทุกอย่าง เงินที่ได้พ่อแม่จะไม่ยุ่งเลย เมื่ออายุ 18 ปีก็สามารถออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวคนเดียวได้ ซึ่งตอนนี้ครอบครัวเขาจะบอกให้เด็กค้นหาชีวิต, ความฝัน, และเป็นกำลังใจให้ดำรงชีวิตในสังคมได้ ตอนนี้จะมีแฟนก็ซึ่งอยู่ด้วยกันพ่อแม่ก็ไม่ว่าอะไร พ่อแม่จะสนับสนุนในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนสิ่งที่ลูกชอบต้องหาเงินมาเอง และสุดท้ายพอ 20 - 22 ปี พ่อแม่จะบังคับให้เราออกบ้าน (แต่ไม่ทุกคนนะครับ) ซึ่งเขาให้เราไปใช้ชีวิตของตนเอง และพ่อแม่ก็จะใช้ชีวิตของเขา พ่อแม่จะบอกให้ลูกไปสร้างชีวิต, สร้างความสำเร็จ, และสร้างครอบครัว ซึ่งเพื่อนๆผมบางคนก็ประสบความสำเร็จดี หลายคนตอนออกไปใช้ชีวิตใหม่ๆก็เรียกว่าแย่มาก แต่ก็กลับตัวมีชีวิตที่ดีภายหลัง และก็มีหลายคนที่มีชีวิตที่ไม่ดีเท่าไรนักแค่พอเลี้ยงตัวเองได้ จากวัฒนธรรมนี้จะทำให้ลูกค้นหาตนเอง และดำเนินตามทางของเขาที่ไม่เกี่ยวกับพ่อแม่ และพ่อแม่ก็ยินดีด้วย เว้นแต่ลูกของเขาอยากมาทำกิจการต่อจากเขาเอง ดังนั้นเมื่อพ่อแม่ประสบความสำเร็จ มีธุรกิจที่ดี และอยากเกษียณ เขาก็จ้างคนมาดูแลธุรกิจแทนเขา(CEO) ส่วนลูกก็ดำเนินชีวิตของเขาไป แต่พ่อแม่ก็ยังให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือบ้างนะครับ ซึ่งถ้ามองแล้วก็ดูเหมือนดีไปหมด แต่จากที่ผมสัมผัสมามันมีข้อเสียบ้างเช่นกัน เช่น การเอาชนะ แม้ว่าคุณผิดแต่ถ้าเอาชนะได้คุณก็เป็นฝ่ายถูก, ความเป็นส่วนตัวสูง และสิทธิ์สูง ที่เจอบ่อยๆคือ อ้างกฏหมาย และสิทธิ์ประเทศเขามาใช้กับเรา(ส่วนที่เขาชอบ) แล้วบอกว่าเราควรทำตาม, ความอดทนต่องานลำบากน้อยกว่าพวกเรา รักความสะดวกสบายกว่าพวกเรา(ผมคิดเอาเองนะ), เครือข่ายสังคมและครอบครัวจะเป็นกลุ่มเล็กๆ ยังจำได้เพื่อนมาเห็นงานแต่ง, งานบวช, และงานศพคนไทยตกใจเพราะเหมือนขนมาทั้งจังหวัด เพราะงานพวกนี้เขาจัดเล็กๆเฉพาะคนที่รู้จัก แต่พี่ไทยส่งการ์ดเชิญหมด
2. กฎหมายตะวันตก ไม่เอื้ออำนวยเรื่องมรดก หรือการโอนทรัพย์สินจากพ่อแม่สู่ลูก
กฏหมายตะวันตกเก็บภาษีมรดกโหด และเข้มงวดมากครับ และยังมีกฏหมายภาษี และกฏหมายโอนทรัพย์สินท้องถิ่นที่ไม่เหมือนกันในแต่ละรัฐ ถ้ากิจการนั้นดำเนินการหลายรัฐ เลยกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก และการให้โดยเสห์หาจากพ่อแม่สู่ลูกมันมีเพดา ถ้ามากว่าเพดาต้องเสียภาษี ดังนั้นพ่อแม่จะโอน หรือให้ธุรกิจลูกไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งกลายเป็นว่าการเข้าตลาดหลักทรัพย์, การจ้าง CEO, และเก็บเงินปันผลเป็นเรื่องไม่ยุ่งยากไปเลย (โอนหุ้นง่ายกว่าโอนธุรกิจ)
ถ้าผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ