เรื่องมีอยู่ว่าช่างภาพ David Slater ไปเดินป่าในอินโดนีเซียเมื่อปี 2011 และถูก ลิงกังดำ ( celebes crested macaque ) ขโมยกล้องไป ลิงตัวนี้กดถ่ายภาพเป็นจำนวนหลายร้อยภาพ ภาพส่วนใหญ่เบลอหรือถ่ายพื้น แต่มี "ภาพถ่ายตัวเอง" สุดสวยออกมาหนึ่งภาพ กลายเป็นภาพ "ลิงเซลฟี่" ที่สร้างชื่อให้ David Slater เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อภาพนี้เผยแพร่ไปถึง Wikimedia Commons คลังภาพของโครงการ Wikipedia ( ลิงก์ 1 , ลิงก์ 2 ) ตัวเจ้าของภาพก็ขอให้นำภาพนี้ออกเพราะลิขสิทธิ์ภาพเป็นของเขา แต่ชุมชน Wikipedia กลับมีความเห็นว่าภาพนี้ถูกกดถ่ายโดยเจ้าลิงตัวนี้ ตามแนวคิดเรื่องลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน ลิงก็ควรเป็นเจ้าของภาพ ซึ่งเมื่อเจ้าของภาพไม่ใช่มนุษย์ ภาพนี้ก็ควรเป็นสมบัติสาธารณะ (public domain) ที่ใครก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างอิสระ
David Slater ยืนยันว่าถึงแม้ลิงจะกดถ่าย แต่อุปกรณ์ทั้งหมดเป็นของเขา และเขาก็ลงทุนมากมายกับการเดินทางครั้งนั้น ภาพนี้เป็นภาพที่เขาขายได้และทำรายได้ให้เขา การบอกว่ามันเป็น public domain จึงเป็นการทำลายอาชีพของเขาลง เขาบอกว่าพร้อมจะสู้คดีในศาลเพื่อให้รู้ชัดว่าภาพเป็นของใครกันแน่
ที่มา - Telegraph
Comments
เป็น selfie ระดับโลกไปแล้ว รูปนี้
ตามปรกติลิขสิทธิเป็นของคนถ่าย ไม่ใช่เจ้าของอุปกรณ์
ถ้างั้นผมให้เพื่อนยืมกล้องไปผมก็เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หมดสิ ?
ถ้าความเป็นลิขสิทธิ อยู่ที่คน ลิงผมไม่นับนะ ผมตั้งกล้องไว้ตั้งค่าแสงไว้ สุดสวย แต่มีคนไปกด ปุ๊ป ลิขสิทธิเป็นของใคร
เป็นไปได้ว่าเป็นของคนกดชัทเตอร์ครับ
เคส Ellen กับภาพ group selfie ที่งานออสก้าตอนนี้ยังงงกันอยู่เลยว่าใครเป็นเจ้าของภาพ ( เจ้าของภาพ Ellen ผู้เริ่มอยากจะถ่าย Selfie กลุ่ม แม้ว่ากล้องจะเป็นของเธอ เพราะสุดท้ายเธอแขนยาวไม่พอ Bradley Cooper เลยเสนอถ่ายให้ )
@TonsTweetings
แต่การได้ภาพมา มันขึ้นกะอุปกรณ์ด้วยนะคับ เพราะภาพหลายๆ ภาพ เอา compact ถ่ายไม่ได้แน่ๆ... เช่น ทางช้างเผือก หรือดาวหมุน
ในกรณีที่สองคนช่วยกันถ่าย ก็น่าจะเป็นลิขสิทธิ์คู่นะ คือ ถ้าจะไม่ให้เจ้าของอุปกรณ์เลย ผมว่ามันก็ใจร้ายไป
ปล. ผมไม่ได้มีความรู้ด้านกฎหมายลิขสิทธิ์นะคับ
ถ้าตามหลักก็เป็นของคนกดชัตเตอร์ครับ เพราะถ้าไม่กดชัตเตอร์ ต่อให้จัดเตรียมอุปกรณ์ไว้ดีแค่ไหนก็ไม่ได้ภาพ ถูกไหม ?
และการถ่ายภาพก็ไม่ใช่แค่การใช้อุปกรณ์ ไม่รู้นะ ผมมองว่าการถ่ายภาพเป็นเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งปรกติจะเป็นคนกดชัตเตอร์เป็นคนจัด คือ นอกจากสภาพแวดล้อมแล้ว เขาเป็นคนที่รับผิดชอบหาจังหวะในการจับภาพ ซึ่งถ้าจังหวะผิดภาพก็ไม่ได้อีก ใช่ไหมครับ ;-)
ถ้าเป็นกล้องถ่ายอัตโนมัติแบบใช้เซ็นเชอร์ ที่ใช้ดักถ่ายสัตว์ป่าหละ สัตว์เดินผ่านกล้องมันก็จับเอง อย่างงี้ของใคร
ของคนตั้งเซ็นเซอร์ ?
ผมเห็นด้วยครับ แล้วถ้าภาพกล้องเค้ามีตกแต่งภาพด้วยมันจะไม่ใช่งานของเค้าเลยหรอ ไม่ดูกระบวนการที่จะได้ภาพเลย?
ตามกฏหมาย ผมไม่ทราบจริงๆครับ แต่ในวงการช่างภาพ(เฉพาะที่ผมอยู่) เจ้าของกล้องจะได้เป็นเจ้าของภาพครับ ซึ่งปกติจะไม่ค่อยใช้กล้องคนอื่นอยู่แล้ว หากจำเป็นต้องใช้ ก็จะบอกกันก่อนครับ ว่าขอภาพ แต่ก็จะเป็นเจ้าของร่วมครับ ที่สำคัญเลย ภาพที่ออกจากกล้องจะมี Exif ระบุชื่อเจ้าของที่ตั้งค่ามาจากกล้องอยู่แล้วนะครับ ค่อนข้างชัดเจนว่าเจ้าของกล้องเป็นเจ้าของภาพครับ(แต่ก็แก้ไขทีหลังได้อยู่ดี) ดังนั้นตามความเห็นผม(ย้ำอีกครั้งว่าความเห็นผมเอง) เจ้าของกล้องเป็นเจ้าของภาพครับ(ถ้าไม่นับกรณีติดสัญญาอื่นๆ เช่น เป็นงานว่าจ้างให้ถ่าย, เป็นกล้องที่ให้เช่า เป็นต้นครับ)
ผมเห็นด้วย แต่จะเข้าทาง wiki คือ ในเมื่อลิงถือครองไม่ได้ ก็ตกเป็นสาธารณะไม่รู้ว่ากฎหมาย บอกไว้หรือเปล่าว่า ถ้ามีคนประกาศว่าเป็นผลงานของเขาแล้วไม่มีใครค้าน ก็ตกเป็นของคนที่ประกาศ
สิทธิ์ตกเป็นของประชาชนอินโดนีเซีย โดยให้รัฐบาลอินโดนีเซียเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ครับ...ฮ่า
555
Happiness only real when shared.
ลิงเป็นขโมยรึเปล่าครับ เจ้าของกล้องเขาเสียหายนะ เอะอย่างงี้เจ้าของกล้องใช้ของโจรรึเปล้าครับ - 3-")
น่าจะพาลิงตัวนี้ไปเป็น presenter ให้ Lumia 730 นะเนี่ย
เจ้าของกล้องสู้ๆ
ไม่รู้สินะ งงดีครับ ผมมองว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ก็คือคนที่ประกาศการเป็นเจ้าของโดยไม่มีคนอื่นอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของ ลิงคงไม่รู้เรื่องขนาดประกาศการเป็นเจ้าของได้ ถ้าอ้างได้ก็ต้องใช้ศาลชี้ขาดกันไป เพราะสุท้ายเจ้าของลิขสิทธิ์จริงๆมันก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนสร้างเสมอไป งั้นก็มันละครับนกเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การบินดังนั้นเครื่องบินไม่ควรมีจดสิทธิทางปัญหาใครเอาแบบไปสร้างก็ได้(มั่วเอานะอย่าว่าผม:P)
"ลิขสิทธิ์ต้องเป็นของลิง"ซีซ่าร์กล่าวไว้
แล้วภาพวาดที่วาดโดยสัตว์ จะเป็นบิขสิทธิ์ของใคร สัตว์ คนเบี้ยงหรือเจ้าของสวนสัตว์
เป็นของคนซื้ออุปกรณ์วาดภาพครับ #อ้าวไม่ใช่เหรอ
ถ้ามีลิงตัวหนึ่งมันปีนเข้ามาในบ้านเรา แล้วขี้ออกมาเป็นทอง
เราในฐานะเจ้าของบ้านจะเอาทองไปขายลิงมันไม่มาโวยวายแสดงความเป็นเจ้าของ แล้วมันก็เป็นบ้านของเรา
มันก็ควรเป็นสิทธิของเรานิครับ ?
แต่ถ้าเพื่อนมาบ้านเรา แล้วมันเกิดขี้ออกมาเป็นทองนี่สิ
ถ้ามันเกิดบอกว่า มันขี้ออกมา มันก็ต้องเป็นเจ้าของ
เราจะเอาไปเหตุผลว่า มันดันมาขี้ในบ้านเรา เราต้องได้เป็นเจ้าของนี่ ผมว่าไม่ได้
คล้ายๆกับปลูกมะม่วง แต่กิ่งก้านงอกข้ามรั้วไปบ้านอีกหลัง แล้วผลงอกที่กิ่งนั้นพอดี
เข้าใจผิดแล้วครับ แนวคิดเรื่องลิขสิทธิ์ กับ สิทธิการเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ นี่มันเป็นคนละเรื่องกันนะครับ ลองไปอ่านเพิ่มเติมดูก่อนครับ
โอ๊ะ จริงด้วย ลืมคิดถึงว่ามันคนละเรื่องกัน
ขออภัยครับ
ลิงพันธุ์นี้เกิดมาเป็น celeb จริงๆ
เป็นของลิง แต่ก็สงสารเจ้าของกล้องนะ แต่เจ้าของกล้องก็ไม่ได้ทำอะไรเลยจริงๆแค่ลิงมันขโมยไปเปิดมาปุ๊บอ้าวโชคดีจัง เอาผลงานไปขายจากความลัคกี้ของตัวเอง(ซึ่งตัวเองเป็นแค่เจ้าของกล้องเท่านั้น)
Apes.. Do not want war, but will fight... If we must" Caesar
แบบนี้ถ้าผมตั้งกล้องไว้ในป่าเสียดิบดีแล้วหันกลับไปหยิบของ เผอิญกระรอกแทะมะม่วงจนหล่นลงมาโดนปุ่มชัตเตอร์พร้อมกับถ่ายภาพตัวเยติได้พอดี แบบนี้ลิขสิทธิ์ต้องเป็นของผม หรือต้นมะม่วง หรือลูกมะม่วง หรือกระรอกที่แทะมะม่วงจนมันหล่นดีครับ?
ตกเป็นของโลกใบนี้ที่ได้สรรค์สร้างทุกสิ่ง โดนเฉพาะผืนแผ่นดินที่ให้กำเนิดต้นมะม่วงนี้ขึ้นมาครับ
ไอ้ที่ว่าตกเป็นของสาธารณะนี่ก็นะ อย่างน้อยเจ้าของอุปกรณ์ก็ถือว่ามีส่วนร่วมไม่มากก็น้อยแหละ เหมือนร่วมทำธุรกิจคนนึงลงเงินทุน คนนึงลงแรง
อะโห ทำร้านเช่ากล้อง ให้ตากล้องเทพๆ ไปถ่ายมา งี้รูปทังหมด ก็เป็นของผมสิคร้าบ แหม่
"เช่า"
เช่า <> ซื้อ+1ครับ
ถนัด PHP แน่ๆ
Dream high, work hard.
ทำไมเหรอครับ ผมไม่เข้าใจที่คุณ เน้นคำว่า "เช่า"
การเช่าโดยปกติผลประโยชน์ของสินทรัพย์นั้นๆ มันเป็นของผู้เช่าอยู่แล้วนะครับ ผมว่ามันคนละกรณีกับเรื่องนี้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
อ่อขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ผมก็เพิ่งจะรู้นี่ล่ะ
อีกหน่อยคงมี ดอกจัน ติดไว้ตรงปุ่มชัตเตอร์ แบบพวก ยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน 555
ก่อนยอมรับควรอ่านให้ดี ไม่งั้นอาจได้ Dubai Camera Faster เป็นของแถม //me โดนเตะ
เอ่อ...... ลิงมี MOU ลิขสิทธิ์กับคนด้วยเหรอครับ?
ผมว่าสิทธิ์ของภาพครั้งนี้ 1. ควรมองที่เจตนาก่อนเลย ว่าช่างภาพตั้งใจทำให้ลิงถ่ายภาพด้วยตัวเองหรือเปล่า? ถ้าใช่มันก็คือส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ขึ้นมา 2. "โอกาส" ที่จะมีความบังเอิญที่ลิงจะถ่ายภาพได้ขนาดนี้ แล้วนำมาเผยแพร่ ส่วนตัวผมถ้าคนนี้ไม่เข้าไปถ่ายในป่ารูปนี้เราก็ไม่มีทางได้เห็นด้วยซ้ำ เพราะงั้นควรให้สิทธิ์แก่เค้า เว้นแต่ไอ้ลิงพันธุ์นี้มันจะถ่ายรูปออกมาแล้วชัดบ่อยจนควรเป็นเรื่องปกติเนี่ยล่ะ
ผมว่าเคสนี้มันยาก มันถึงยังถกกันยังไม่ได้ข้อยุติซักทีหน่ะครับ ในความคิดผมน่าจะเป็น public ไปนะครับ เพราะเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ลำพังเจ้าของกล้องเองก็ไม่ได้ใช้สักหน่อย ยกให้ลิงก็ไม่ได้ก็ตกเป็นของสาธารณะซะ อุปมาทึ่พอนึกออกแต่ก็ยังไม่ใกล้เคียงเท่าไหร่ คือเราโดนขโมยกล้องไป โจรเอาไปถ่ายภาพสวย เราคงอุปโลกว่าเป็นรูปของเราไม่ได้ โจรก็ไม่น่าได้เพราะอุปกรณ์ได้มาโดยมิชอบ (โดนจับได้) แต่ก็อย่างว่า เคสนี้มันยากจริงอะไรจริงผมว่า
เพราะสิทธิ์เป็นของผู้ที่ทำให้เกิดภาพ .. เท่านั้นเอง น่าสนใจๆ ;)
my blog
วันหลังได้มาต้องอัดแปะฝา แล้วเอากล้องถ่ายจากรูปที่อัดมาอีกต่อนึง ทีนี้ก็เป็นรูปลิขสิทธิเราละ เพราะถ้ายึดแนวคิดลิงเป็นเจ้าของภาพ เจ้าของสิทธิตัวจริงคือลิงไม่สามารถมาฟ้องเราได้ ...ยุ่งยากจริง
1.จะลิงหรือคนก็ควรจะได้ ลิขสิทธ์
2.ลิขสิทธ์ควรแบ่งครึ่ง ลิง50 คน50
3.ว่างก็รับผลประโยชน์ แล้วนำไปส่งให้ ลิง
แล้วพวกที่ถ่ายสารคดี ตั้งกล้อง+motion sensor ไว้ในป่า ลิขสิทธิ์จะตกเป็นของกวางที่เดินผ่านกล้องรึเปล่า
อันนี้ล่ะ...
https://lh6.googleusercontent.com/-52EfML-2npQ/U-dQjtaa5FI/AAAAAAAAIW0/xYrDzEdluew/w375-h553-no/lobofotografa.jpeg
เคสนี้ผมมองว่าสิทธิ์ควรจะตกเป็นของผู้ที่ก่อให้เกิดภาพครับ เพราะกระบวนการต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาพ มันเกิดจากเจ้าของกล้องนั่นเอง
ผมกลับมองว่าพวกชุมชน Wikipedia ที่พยายามแย้งว่าจะให้ภาพนี้เป็นสมบัติสาธารณะ ก็แอบจะ Selfish ไปนิดนึง
แบบนี้กล้องดิจิทัลพวกตั้งเวลา แล้วลั่นชัตเตอร์เอง ตัวการที่ลั่นชัตเตอร์ก็คือตัวกล้อง ซึ่งไม่ใช่มนุษย์ แบบนี้ภาพที่ถ่ายจากการที่กล้องลั่นชัตเตอร์เอง ก็เป็นสมบัติสาธารณะใช่ไหมครับ
มนุษย์เป็นคนตั้งเวลาครับ หรือกล้องตั้งตัวเองได้?
มันเคยมีกรณีกล้องตกแล้วมันถ่ายเองด้วยครับ
ถ้าคิดแบบคุณว่าให้ตกเป็น Public domain จะเกิดผลเสียคือ
ต่อไปไม่มีใครกล้ายืมกล้องกันแน่ๆเพราะเจ้าของกล้องจะใส่เงื่อนไขมาเลยว่า ไม่ว่ากรณีกล้องลั่น หรือ สัตว์ถ่ายออกมาอะไรที่ไม่ใช่คนยืมกล้องกดชัตเตอร์เองให้ถือว่าเป็นของเจ้าของกล้องแทน
ลองนึกสภาพข้อตกลงนี้ดูครับ มันเกิดแน่ๆถ้าคุณให้ Wiki ชนะ เพราะกฎหมายมันมีข้อยกเว้นกรณี มีข้อตกลงเอาไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้ที่ก่อให้เกิดงาน ที่ว่าหมายรวมถึงเจ้าของกล้องด้วยครับ
กฎหมายลิขสิทธิ์ลอกมาจาก กฎหมายต่างประเทศครับใช้หลักเดียวกัน
ให้มองในมุมของกฎหมายนะครับและมองถึงผลเสียด้วยเวลาตัดสินออกมา
มันเคยมีกรณีแบบนี้ด้วย คือมันมีคนที่ละเมิดเครื่องหมายการค้าชาวบ้าน ทำมาเกิน5ปี มันเอาไปฟ้องขอครอบครองปรปักษ์เครื่องหมายการค้าชาวบ้านซะงั้น (สังหาริมทรัพย์ ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยความสงบด้วยมีเจตนาเป็นเจ้าของครบ 5ปี ได้กรรมสิทธิ์) ดีที่ศาลไม่ให้ไม่งั้นบรรลัยแน่
ที่ Wiki ทำมันก็ไม่ต่างหรอกครับ เห็นแก่ได้มากไป
ช่วยยกตัวอย่างหรืออ้างอิงด้วยครับ
ตอนนี้ผมก็มองตามกฏหมายลิขสิทธิ์นิครับ และมองไปแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าศาลจะตัดสิน (ถ้าเขาฟ้องกัน) แต่คุณยกอะไรมาก็ไม่รู้ อ้างอิงก็ไม่มี ส่วนคุณตัดสินแทนศาลให้ไปแล้ว ว่าวิกิมีเดียผิด ว่าเขาแถ เมพมาก
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
ตามความเดิม ช่างภาพบอกว่าลิง "ขโมย" กล้องไปถ่ายเอง แสดงว่าช่างภาพไม่ได้เป็น "ผู้ก่อ" ให้เกิดงานสร้างสรรค์ครับ แต่ความเห็นล่างๆ ช่างภาพบอกว่าเขา "เตี๊ยม" ให้ลิง และถ้าอยู่ในเหตุการณ์ด้วย ก็ต้องนับว่าเขาเป็น "ผู้ก่อ" ให้เกิดงานตราบใดที่เขายังบอกว่ากล้องถูกขโมย หรือลิงเขามากดเอง ผมไม่นับว่าเป็นผู้ก่อครับ
้ตรงตัวเลยครับ ถ้านับว่าลิงถ่าย สิทธิก็ตกเป็นของลิง
พรบ.นี้เขียนในปีที่กล้องดิจิตอลยังไม่แพร่หลาย ผมตีความว่ากล้องรุ่นใหม่มันมีกระบวนการสร้างภาพแทนการล้างและบันทึกภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงว่าสิ้นสุดกระบวนการสร้างสรรค์วรรณกรรม คือสำเร็จแล้ว มีลิขสิทธิ์แล้ว และผู้ที่นำภาพออไปก็จัดว่าเป็นผู้เผยแพร่หรือทำซ้ำได้
ส่วนช่างภาพที่เอาภาพออกมาจากการ์ดก็ถือว่ายังเป็น "ผู้นำเอาภาพอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น" มาเผยแพร่หรือทำซ้ำไงฮะ
และถูกของคุณ กฏหมายไทยเอามาจากของต่างชาติ งั้นเราก็เอาของไทยนี่แหละเทียบ เพราะครือๆ กัน
กรณีที่ถกเถียงกันปัญหาคือลิงมันไม่ใช่คน และถ้าไม่เข้าข่าย จะนับช่างภาพว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดงานหรือไม่ (ถ้านับ สิทธิในภาพก็เป็นของเขา ถ้าไม่นับ เขาก็แค่ผู้นำภาพของผู้อื่นมาเผยแพร่ทำซ้ำ) อันนี้แหละที่ยังต้องรอศาล และน่าติดตาม
กรณีนี้ต่างจากการจ้างช่างภาพถ่าย (ถ่ายงานแต่ง รับปริญญา ถ่ายหนัง) ถ้ามีการว่าจ้างโดยสมบูรณ์ ลิขสิทธิ์เลยตกอยู่ที่ผู้ว่าจ้าง
ส่วนการวานให้ผู้อื่นถ่ายให้ ผมตีความตามกระบวนการสร้างภาพว่ามันจบกระบวนการสร้างสรรค์ตั้งแต่ในกล้องดิจิตอลแล้ว ดังนั้นลิขสิทธิ์ภาพเป็นของผู้ถ่าย แต่บังเอิญผู้ถ่ายให้สิทธิเจ้าของกล้องนำไปใช้เผยแพร่ให้ทำซ้ำได้ (ถ่ายเสร็จยื่นกล้องคืน ผมถือว่าเป็นการให้สิทธิจากผู้สร้างโดยปริยาย)
ไม่แน่อาจมีใครสักคนนึกขึ้นได้แล้วฟ้องศาลกลับไปทวงสิทธิในภาพ แต่ถึงได้สิทธิในภาพมา ภาพนั้นก็เป็นรูปผู้อื่น ทำซ้ำได้ แต่เผยแพร่ไม่ได้ เพราะผู้อยู่ในภาพคงไม่ยอม เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ลิงมันขโมยไปถ่ายภาพเองไม่ใช่เรื่องจริงหรอกครับผมดูออกตั้งแต่ข่าวมาแล้ว มันอยู่ในลักษณะของการโปรโมทงานเพื่อเชื้อเชิญให้คนสนใจในงานนะ
แต่ภาพลิงนั้นถูกจัดฉากแต่แรกแล้วเพราะเขาพยายามที่จะหลอกล่อเพื่อจะได้ภาพถ่ายของลิงนั่นแหละส่วน Wiki นั้นแถทั้งดุ้นครับอ่านแล้วเพลีย ผมไม่ได้ตัดสินแทนศาลเลยแต่ข้ออ้างของ Wiki นี่อย่างเพลีย
ลิขสิทธิ์มันเป็นทั้งสิทธิทางแพ่งและอาญานะครับ ถ้าลิงไม่อาจถือครองภาพไว้ได้ภาพนั้นจะตกเป็นของใคร ก็ต้องใช้กฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งดึงเรื่องกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินมาตอบ เพราะกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้ระบุไว้
ไม่ว่าจะออกทางไหนมันก็เป็นของเจ้าของกล้องครับ ไม่ใช่ Public Domain ของที่เป็น Public Domain มันจะอยู่ในส่วนที่ยกเว้นเอาไว้ครับ
ถ้าเคยเรียนเรื่องพฤติกรรมสัตว์มาน่ะนะ ก็พอจะเดาสิ่งที่เจ้าของกล้องพูดว่ามีมูลความจริงอยู่เท่าไหร่
ส่วนการว่าจ้างนั้นมันมีข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างครับผู้สร้างสรรค์ผลงานไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานครับ
ส่วนที่ผมพูดมันไม่มีในฎีกาแน่ๆครับแต่มันเป็นหลักกฎหมายเบื้องต้นเพราะอะไรเพราะดูที่เจตนารมย์ของกฎหมายครับ
ถ้าให้ Wiki เป็นฝ่ายชนะ แทนที่คนจะสร้างผลงานภาพสวยๆต้องมานั่งระแวงว่าเฮ้ยให้คนอื่นกดชัตเตอร์ไม่ได้นะ
จบกันไม่ต้องสร้างงานอะไรแล้วนอนเฉยๆดีกว่าเวลาเอาภาพไปโปรโมท วันดีคืนดีโดน Wiki ขโมยอ้างว่าของฟรีเว้ยฟรี มันไม่ใช่ของมันเป็นของลิงใครจะใช้ก็ได้ (อันนี้ใช้กับ common law อย่างกฎหมายในสหรัฐอเมริกา เหมือนคดีขายหนังสือมือ2อันลือลั่น)
"คำพิพากษา หากตัดสินไปแล้วทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย คำพิพากษานั้นก็เป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย"
ปล. สิทธิจะตกเป็นของลิงได้ไงครับ ในเมื่อลิงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ ลิงอยู่ในฐานะทรัพย์นะครับ ภาพถ่ายเป็นดอกผลของทรัพย์สินของเจ้าของกล้อง ดังนั้นมันจึงควรตกเป็นของเจ้าของกล้องน่ะถูกแล้วครับตามกฎหมายแพ่ง
เพราะถ้าตกเป็น Public Domain
Wiki รวยตายขโมยของชาวบ้านเป็นว่าเล่น ศาลไม่มีทางตัดสินให้เป็นแบบนั้นหรอกครับวุ่นวายตายชัก
เพราะถ้าเอาตามแนวคิดคุณ ไม่ต่างกับ ขโมยใช้เครื่องหมายการค้า ครบ5ปี ฟ้องครอบครองปรปักษ์ได้ ซึ่งคดีนี้ใช้ logic เดียวกันกับที่คุณครับ คือ ทรัพย์โดนแอบอ้างใช้ พอยึดใช้ได้5ปี ฟ้องครอบครองปรปักษ์มันซะเลย (แบบเดียวกับ Wiki เป๊ะหัวหมอใช้ได้นะเรา)
ศาลชั้นต้นถึงกับงง มาได้ไง ยกฟ้องแต่ไม่ให้เหตุผล จนถึงชั้นฎีกาค่อยมาให้เหตุผล
เจตนาของ Wiki ก็ไม่สุจริตครับ
ยิ่งถ้ามองจากหลักเหตุไปผล ถ้าเขาไม่ไปเข้าป่า ภาพนี้ก็ไม่เกิดครับต่างกับกรณีการยืมกล้องไปถ่าย
วิธีคิดของกฎหมายนะครับของจะตกเป็นของสาธารณะประโยชน์ได้ ต้องไม่มีกฎหมายตัวใดมาให้อำนาจคนหนึ่งคนที่ใดที่จะอ้างกรรมสิทธิ์ ได้ แต่กรณีนี้มันยังเหลือเรื่องดอกผลของทรัพย์สิน
มาตรา 148 บัญญัติว่า “ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย
ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น
ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้”
คำว่าทำหรือก่อ นั้นใช้กับมนูษย์เท่านั้น การที่ลิงไปกดชัตเตอร์ ไม่ถือว่ามีการกระทำตามกฎหมาย (แง่กฎหมายเท่านั้นนะ)ดังนั้นเมื่อไม่มีการกระทำแต่ดันมีรูปออกมารูปควรจะเป็นของใคร
เมื่อกลับไปดูเรื่องดอกผลของทรัพย์ กรรมสิทธิ์ของภาพนี้ก็ต้องเป็นของเจ้าของกล้องครับ ไม่ตกเป็นสาธารณะประโยชน์คนทำกล้องตกมีการกระทำ คนทำกล้องตกแล้วมันถ่ายเองก็ต้องเป็นเจ้าของภาพ ถ้ายึดตามทฤษฎีนี้นะ
อันนี้ผมไม่ทราบว่ากรณีไหน? ใช้ logic เดียวกัน? ผมว่าคุณมีปัญหาแล้วละ 2 กรณีนี้ไม่เหมือนกันเลย กรณีของคุณ "มนุษย์" เป็นผู้สร้าง และมีคนขโมยไปครอบครองแล้วสวมสิทธิ
แต่วิกิมีเดียนำภาพที่ "ตีความ" ว่าเป็น public domain มาเผยแพร่ (และคงความเป็น public domain ไว้ ตราบเท่าที่มันยังหาตัวเจ้าของที่แท้จริงไม่เจอ หรือมีการตัดสินว่าให้ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์) แล้วคงความเป็น public domain เพราะวิกิมีเดียคงไปครอบครองสิทธิไปฟ้องคนอื่นไม่ได้ จะ 5 ปี 50 ปีก็ฟ้องไม่ได้ (แต่เจ้าของภาพถ้ามีคำตัดสินให้มีความเป็นเจ้าของสิทธิฟ้องกลับได้)
ประโยคที่วิกิมีเดียตีความ
ส่วนกรณีอื่นๆ ผมก็ยังไม่เห็นวิกิมีเดียไปขโมยภาพใครนะครับ ภาพนี้เองก็แค่ยังคลุมเครือ ซึ่งถ้ามีการฟ้องจริง และมีการตัดสิน เดี๋ยวทางวิกิมีเดียคงจะเปลี่ยนเอง
ลองอ่านในข่าวดีๆครับ Wiki อ้างว่ามันไม่มีเจ้าของตนเองจะเอามาใช้ยังไงก็ได้
ทั้งๆที่มีผู้โต้แย้งสิทธิแล้ว ทำไม Wiki จึงจะต้องรอจนกว่าความเสียหายจะเกิดล่ะครับ
ถ้าเป็นผม ผมระงับภาพไว้ก่อน พอเรื่องเคลียร์ค่อยเอามาลงครับ ผมถึงได้บอกว่าหัวหมอไงครับ
Traffic เข้าเว็บมันหาเงินได้นะครับ
ที่สำคัญเขาขอคุ้มครองให้เอาออกภาพชั่วคราวได้นะครับถ้าเจ้าของกล้องชนะก็เอาออกถาวร
แพ้ก็เอากลับมาใส่ใหม่ได้
ที่ผมบอกว่า Logic เหมือนกันหมายถึงความเห็นแก่ได้ของ Wiki ครับคือฉันจะเอาจะทำไม
รูปนี้ไม่มีเจ้าของนี้ฉันจะใช้ยังไงก็ได้ (จริงๆคือคลุมเครือ ถ้าคลุมเครือแล้วมีคนโต้แย้งก็ควรจะถอดออกชั่วคราวจนกว่าคดีจะสิ้นสุด ไม่ใช่ทำแบบนี้)
กับ
เครื่องหมายการค้าของแกฉันใช้มานานแล้วไหนๆก็แล้วยึดซะเลย
มันอยู่บนตรรกะเดียวกันคือเห็นแก่ตัวครับ
ผมไม่ได้พูดเรื่องครอบครองปรปักษ์แต่ผมพูดถึงตรรกะของคนเห็นแก่ตัวครับ
แล้วถ้าแพ้ขึ้นมาโดนหลายตังเหมือนกันนะครับ ไม่เข้าใจว่า Wiki จะดื้อดึงทำไมและกรณีนี้ไม่ใช่ Fair use ด้วย
มันเหมือนกรณีแย่งของกันนั่นแหละแต่ต่างตรงว่าลิขสิทธิ์มันเป็นนามธรรม
สิ่งที่ Wiki ทำอยู่ตอนนี้มันไม่ถูกต้องมาแต่แรกแล้วครับ
สงสัยต่อไปถ้ากล้องผมโดนกระต่ายเตะโดนชัตเตอร์ มีคนมาเจอรูปบอกรูปนี้กระต่ายเตะกล้องแกนี่แกไม่ใช่เจ้าของ ฉันเอาไปขายที่ไหนก็ได้ว่าแล้วก็ copy รูปจากในเครื่องผมไปอัพเอาไลค์หาเงินบนเฟสยุติธรรมมากเลย... เรื่องแบบนี้ คอมอนเซนส์สุดๆ
เอารูปไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตก็คือขโมยดีๆนี่เองแหละครับ
โดยปกติ Public Domain มักจะเกิดจากสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติครับ หรืองานที่หมดอายุคุ้มครองแล้วแต่กรณีนี้ไม่ใช่สักนิด
ที่ผมจะสื่อก็คือถ้าศาลให้ Wiki ชนะบรรลัยแน่ๆครับระบบของคอมมอนลอว์เขาจะดูผลกระทบของภาพรวมด้วยการตัดสินที่ทำให้ผู้สร้างสรรค์เดือดร้อนคือไปตัดสินว่าเป็น public domain ครับ
ผมเห็นคุณตอบมาคุณยังไม่เข้าใจ logic ของกฎหมายเลย คุณไม่เข้าใจคำว่า "ทำ" ด้วยซ้ำ ทำ ในกฎหมาย หมายถึง การกระทำ ครับ ลิงเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของไม่ใช่บุคคล การที่ลิงถ่ายรูปเองจึงไม่ถือว่ามีการกระทำตามกฎหมาย
ประเด็นมี2ประเด็นคือ
มีการสร้างสรรค์ผลงานหรือไม่
- มี เจ้าของของกล้องสร้างผลงาน ลิขสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าของกล้อง
- ไม่มีการสร้างสรรค์ผลงาน ลิงกดชัตเตอร์ไม่ถือว่าเป็นการกระทำตามกฎหมาย
แต่ รูปภาพเป็นดอกผลโดยนิตินัยของกล้องหากไม่มีการกระทำเกิดขึ้น ภาพในกล้องก็ต้องตกเป็นของเจ้าของกล้องตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน
ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพ?
แล้ว Wiki หาช่องไหนไปชนะครับ ไม่มีให้ออกสักช่องเรื่อง Public Domainผมถึงบอกว่า Wiki แถไงครับ
เจ้าของกล้องวางแผนให้ลิงขโมยกล้องไป โดยรู้ด้วยว่าลิงจะถ่าย selfie??
มีศิลปินซื้อพู่กันพร้อมสีและกระดาษวางไว้แล้วเดินไปเยี่ยวพอดี
มีชายหนุ่มอีกคนเดินมา เห็นแล้วหยิบมาวาดภาพโมนาลิซ่า ภาพนี้เลยตกเป็นของเขา เพราะเขาเป็น ผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา ส่วนค่ากระดาษหรือหมึกเขาอาจต้องจ่ายให้ศิลปินผู้เผลอไปเยี่ยวพอดี
มีลิงหนุ่มอีกตัวเดินมา เห็นแล้วหยิบมาวาดภาพโมนาลิงซ่า ภาพนี้เลยตกเป็นของมัน เพราะมันเป็น ผู้สร้างสรรค์ขึ้นมา ส่วนค่ากระดาษหรือหมึกถ้าศิลปินทวงค่าเสียหายจากลิงได้ ลิงก็ควรจ่าย
แต่ลิงไม่ใช่มนุษย์ เรื่องลิขสิทธิ์ใช้กับมนุษย์ ภาพนี้เลยเป็นของสาธารณะ แต่ถ้ามีรายได้ใดๆ ก็ควรแบ่งให้เจ้าของอุปกรณ์
ผู้สร้างสรรค์ ควรจะเป็นมนุษย์ผู้ซื้อกล้องมา ชาร์จแบต เสียบเมม ใส่เลนส์ ตั้งค่าสารพัดอย่างเตรียมพร้อมไว้ แล้วแบกกล้องเข้าป่าพร้อมจุดประสงค์จะเอามันไปถ่ายรูป หรือจะเป็นลิงที่ขโมยกล้องไปกดมั่วๆ แล้วได้รูปออกมาโดยที่ไม่ได้มีความสร้างสรรค์ (ไม่ได้ตั้งใจ) อยู่?
สร้างสรรค์ ไม่ได้แปลว่า ต้องตั้งใจ อย่างเดียวถึงจะนับว่าสร้างสรรค์ การไม่ได้ตั้งใจสร้างมัน คือบังเอิญสร้าง แต่เมื่อสร้างแล้วสิทธิ์ก็ตกเป็นของผู้สร้างด้วยทันที
แต่มันยังไม่ได้เกิดภาพในขั้นตอนนี้ คือเตรียมไว้เท่าไหร่มันก็คือเตรียม ยังไม่ได้สร้าง แค่เตรียม
เปรียบกับที่ผมยกตัวอย่าง
ศิลปินคนหนึ่งเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างไว้ ผสมสีเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อม
แต่บังเอิญเดินไปเยี่ยว แล้วมีกระทาชายคนหนึ่ง เดินมาหยิบทุกอย่างที่เตรียมไว้มาวาดเป็นภาพ
ลิขสิทธิ์ควรเป็นของใคร คนเตรียม? คนวาด?
ศิลปินคนหนึ่งเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างไว้ ผสมสีเรียบร้อย อุปกรณ์พร้อม
แต่บังเอิญเดินไปเยี่ยว แล้วมีลิงตัวหนึ่งเดิน มาหยิบทุกอย่างที่เตรียมไว้มาวาดเป็นภาพ (แบบมั่วๆ หลายภาพ แต่สวยอยู่ภาพหนึ่ง)
ลิขสิทธิ์ควรเป็นของใคร คนเตรียม? สัตว์ที่วาด?
เอาไปเทียบกันไม่ได้ครับ นอกจากนี้การที่ลิงถ่ายรูปตนเองออกมายังไม่ใช่การสร้างสรรค์ผลงานตราบใดที่ไม่เอารูปออกมาจากกล้อง เวลาเราฝากคนอื่นถ่ายรูปเราก็เช่นกันครับ ตราบใดที่ภาพยังคาอยู่ในกล้อง การสร้างสรรค์ยังไม่เกิดครับ
แต่การที่เจ้าของกล้องเอารูปออกมาแล้วถ้ามีการปรับแต่งองค์ประกอบภาพด้วยก่อนเผยแพร่งานนั้นเป็นงานสร้างสรรรค์ขึ้นมาใหม่ครับ ลิขสิทธิ์ตกเป็นของเจ้าของกล้องด้วยครับ
ดูกันไม่ออกว่า Wiki มันแถเหรอครับ แล้วภาพที่ Wiki ไปเอามาไปเอามาจากไหน ก็ไปเอามาจากที่เจ้าของกล้องเขาเผยแพร่ถูกไหมครับ Wiki เถียงยังไงก็ไม่ชนะหรอกครับ แบบนี้มันหน้าด้านเกินขโมยผลงานเขามาเฉยๆโดยอ้างเรื่องลิงเนี่ย
+1 ให้ครับ วิกิมันแถ
ถ้าเอาตาม logic คุณ sunback ถ้ามีช่างภาพคนนึงเดินถ่ายรูปอยู่ แล้วโจรไปคว้ากล้องจากมือเค้ามา เผอิญนิ้วไปกดโดนปุ่มถ่าย พอจับได้แล้วโจรถูกฟ้องฐานลักทรัพย์ แต่เจ้าของกล้องก็ลบรูปที่บังเอิญถ่ายไม่ได้เพราะอาจโดนฟ้องฐานทำลายทรัพย์สินด้วยสิ?
ปล. ผมว่าคุณ khow ลองเขียนข่าวขึ้นหน้าแรกดูสักข่าวดีมั้ยครับ จำได้ไม่ติด limit comment
ทันทีที่กดก็เกิดภาพ การสร้างภาพก็นับเป็นการสร้างสรรค์แล้วนะครับ
ส่วนการเอาภาพมาปรับคือการเอาผลงานสร้างสรรค์มาดัดแปลง ไม่ใช่การสร้างสรรค์แน่ๆ
แต่เห็นด้วย ว่ากรณีนี้ผลงานควรเป็นของเจ้าของกล้องสิ Wiki แถชัดๆ
ถ้าสิทธิเป็นของคนกดชัตเตอร์ งั้นอย่างนี้เวลาจะถ่ายรูปหมู่ก็ให้คนอื่นถ่ายให้ไม่ได้แล้วสิ
รู้สึกว่า Wiki แถครับ
Wiki แถครับ
คำว่าสร้างสรรค์ ความหมายกว้างนะและลิงไม่ใช่คน กฎหมายไม่คุ้มครองครับคราวนี้มาดูว่ามันมีองค์ประกอบอะไรวัตถุประสงค์ของกฎหมายลิขสิทธิ์คือต้องการให้คนสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมา
ถ้าคนขโมยกล้องไม่ใช่ลิงแต่เป็นคน เขาก็ต้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ถูกขโมยกล้อง แล้วภาพที่ถ่ายมาก็ไม่อาจเอาไปขายได้เพราะเป็นทรัพย์สินที่เกิดมาจากกระทำผิดต้องถูกริบครับ แถมใช้เป็นหลักฐานในศาลได้ด้วย แต่ที่ขโมยคือลิงฟ้องใครก็ไม่ได้ดังนั้นรูปมันก็ต้องตกเป็นของเจ้าของกล้องก่อน ถ้าอยากให้ภาพเป็น public domain ต้องรอเขาตายก่อนสัก 50 ปี ค่อยไปเอามาใช้ นอกจากนี้กล้องมันมีระบบถ่ายอัตโนมัติด้วย ถ้าเอาที่ Wiki อ้างมาล่ะก็กล้องที่มันลั่นถ่ายภาพเองภาพที่ได้มาก็ไม่มีลิขสิทธิ์น่ะสิ ซึ่งความคิดแบบนี้มันผิดครับ
ถ้าให้ Wiki ชนะขึ้นมามันจะเกิดความไม่สงบอีกเยอะครับ เพราะทาง Wiki หัวหมอชัดๆ
+1 เห็นด้วยต้องดูเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ถ้าลิขสิทธิ์เป็นของลิง Wiki ก็ผิดอยู่ดี ลิงยังไม่ได้อนุญาตให้โพสท์เลย
เออจริง แต่ wiki ก็บอกอีกแหละครับว่า ลิงไม่สามารถครับ ถือเป็น สมบัติ
ขึ้นศาลซะ ให้เป็นคดีตัวอย่าง จะได้รู้ว่ากรณีนี้ใครเป็นเจ้าของกันหน้า เกิดคดีครั้งต่อไปจะได้ไม่ต้องเถียงกันให้ศาลคิดเอาเอง ว่าตัดสินแบบไหนจะดีสุด
อ่านไปแล้วมาลองคิดดูก็มึนจริงๆ ดู comment ก็ไปกันหลายแนว มึนเหมือนในข่าวเลย สรุปควรเป็นของใครดี ฮ่าๆ
ลิงไม่ได้เซ็น model release ดังนั้นถ้าใครก็ตามเอาไปใช้
ลิงมีสิทธิ์ฟ้องได้… #คนละเรื่อง
ให้ wiki เบิกพยานในที่เกิดเหตุมาเลยครับ
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าเอากล้องเราให้ใครถ่ายให้
...
ตลกหน้าลิงตัวนี้มากเลย
นาย A กับนางสาว B ไปเที่ยวและต้องการถ่ายรูป
พนักงาน ก เลยอาสามาถ่ายรูปให้
หลังจากกลับบ้านไป นาย A เอารูปคู่ขึ้น fb และลง caption รายละเอียดพร้อมระบุว่าพนักงานถ่ายให้
เหตุการณ์ 1: พนักงาน ก มาเห็นเข้า จึงทำการฟ้องร้องเรียกค่าลิขสิทธิ์จาก นาย Aเหตุการณ์ 2: บริษัททัวร์เห็นภาพว่าวิวสวย เลยเอาภาพมาตัดรูปคนออกเหลือแต่วิว นาย A มาเห็น เลยโวยวายเรื่องลิขสิทธิ์ แต่บริษัททัวร์ออกมาบอกว่าลิขสิทธิ์ไม่ได้เห็นของนาย A แต่เป็นของพนักงานที่ถ่ายรูปให้ ส่วนตัวพนักงาน ก ก็ไม่ได้รู้เรื่องรู้ราว ไม่รับรู้ข่าวสาร ไม่ออกมาแสดงตัว ไม่พูดอะไรทั้งนั้นเหมือนตัวเองอยู่ในป่า
สรุปว่า ต่อไปจะไปเที่ยวไหน อย่าให้ใครกดถ่ายรูปให้นะครับ ไม่งั้นอาจจะโดนฟ้องร้องเอาได้
ผมว่า น่าจะเป็นของเจ้าของกล้อง มากกว่านะ
เพราะ ลิงใช้อุปกรณ์เจ้าของกล้อง และลิง ไม่สามารถมีลิขสิทธิ ได้
น่าจะตกไปที่เจ้าของกล้องแทน เดาๆ เอา
แต่ที่แน่ๆตอนนี้ทั่วโลกได้นำรูปนี้ไปใช้โดยทั่วกันไปพลางก่อน ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของกล้อง
กลับมาอ่านทีดราม่ายาวฟุดๆ สรุปเวลาลิงไปถ่ายรูปอย่าเผยแพร่ลบไปเลยก็ได้จะได้ไม่ดร่าม่า:P
แต่ลองมาอ่านดูอีกทีแล้วนะครับจริงๆแล้วลิงขโมยกล้องไปโดยที่เจ้าของกล้องไม่ได้บอกให้มันไม่ถ่ายถ้าเป็นคนก็น่าจะผิดตั้งแต่ต้นที่ขโมยไป ไม่น่าจะอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของได้นะครับในเมื่อกระบวนการได้ภาพมันไม่ได้บริสุทธิ์ตั้งแต่ต้น ถ้าผมขโมยกล้องคนอื่นแล้วไปถ่าย ตกลงผมก็เป็นเจ้าของภาพสามารถไปฟ้องเจ้าของกล้องได้หรอครับมันแปลกๆแหะ
เหมือนเขียน code แทบตาย
มีมือดีที่ไหนมากดรัน เป็นเจ้าของ exe ซะงั้น
รึเปล่า?
อันนั้นไม่น่าได้ครับ เพราะการกด compile เป็นเพียงการทำให้มันกลายสภาพเป็น executable มิใช่การสร้างสรรค์
เพราะต่อให้มันไม่เป็น executable ลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นของเจ้าของโค้ดครับ คือเป็นตั้งแต่เขียนโค้ดแล้ว
ถ้าเทียบกันคงคล้ายกับคนถ่ายกับคนล้างรูปมั้ง (แค่เปลี่ยน medium แต่ตัว content ยังคงเดิม)
ถ้าว่าตามกฎหมายไทย ไม่ได้คุ้มครองสิทธิ์ของสัตว์อื่นนอกจากมนุษย์ ยกเว้นเป็นกฎหมายที่ระบุเพื่อคุ้มครองสัตว์โดยตรง
แล้วใครเอาภาพจากกล้องมาเผยแพร่ เจ้าของกล้องหรือว่าบุคคลอื่นมาเจอกล้องภายหลัง
ผมเห็นว่าภาพควรเป็นของเจ้าของกล้อง เพราะ
1. เจ้าของกล้องตั้งใจเข้าไปเดินป่า ซึ่งไม่ใช่ที่ที่ใครก็จะเข้าไปเดินเล่นได้ ถ้าไม่ได้เตรียมตัว
2. กล้องถูกลิงขโมยไป ลิงไม่ได้มาขอยืมไปใช้ซะหน่อย
ทะเลาะกันมากๆ ระวัง จะมีกลุ่มลิงกังดำ มาบุกปิดล้อม เหมือนในหนังเรื่อง Dawn of the Planet of the Apes นะครับ!
ถ้าลิงมาขโมยพู่กันเราไปวาดภาพ ภาพนั้นเป็นของใคร กรณีลิงไม่มีเจ้าของนะ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว