ผ่านไปยังไม่ทันข้ามวัน Standard Markdown ที่เพิ่งเปิดตัวออกมา ก็โดน John Gruber ที่เป็นเจ้าของและผู้พัฒนาดั้งเดิมของ Markdown สั่งให้เปลี่ยนชื่อโครงการไปแล้วเรียบร้อย
Markdown นั้นถูกเผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตแบบ BSD ซึ่งอนุญาตให้นำไปใช้งานได้อย่างอิสระ แต่งานที่สร้างต่อจาก Markdown (derivative works) นั้นจะไม่สามารถใช้ชื่อ Markdown ได้หากไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นทางกลุ่มผู้พัฒนาที่ได้พัฒนาสเปคของ Markdown ต่อจากฉบับเดิมของ John Gruber มานานกว่าสองปีจนอยู่ในสถานะที่พร้อมเผยแพร่ออกสู่สาธารณะแล้ว จึงได้ส่งอีเมลไปหา John Gruber เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมเพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับสเปคที่จัดทำขึ้นพร้อมทั้งขออนุญาตเรื่องชื่อของโครงการแต่ก็ไม่ได้รับคำตอบใดๆ จึงเข้าใจว่า John Gruber นั้นไม่มีปัญหาอะไรกับทั้งชื่อและตัวสเปค ทางกลุ่มของผู้พัฒนาสเปคจึงเปิดตัวโครงการนี้ภายใต้ชื่อ "Standard Markdown"
สถานการณ์กลับกลายเป็นว่า John Gruber โมโหมากกับเรื่องนี้จึงส่งอีเมลหา Jeff Atwood และ John MacFarlane ที่เป็นหัวหอกหลักของโครงการนี้และเรียกร้องเงื่อนไขสามข้อคือ
- เปลี่ยนชื่อโครงการ
- ปิดเว็บไซต์ standardmarkdown.com พร้อมทั้งห้าม redirect
- ออกประกาศขอโทษ
พร้อมทั้งบอกว่าถ้าเป็นชื่ออื่นอย่าง "Strict Markdown" หรือ "Pedantic Markdown" ก็อาจจะไม่มีปัญหา
ปัจจุบันทางกลุ่ม Standard Markdown ก็ได้ออกประกาศขอโทษอย่างเป็นทางการพร้อมทั้งเสนอชื่ออื่นๆ ไปจำนวนหนึ่งเพื่อให้ John Gruber พิจารณาแล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบใดๆ อีกเช่นเคย ทางกลุ่มจึงเลือกใช้ชื่อว่า "Common Markdown" ไปพลางๆ ท่ามกลางความกังวลของหลายๆ ฝ่ายที่เกรงว่า John Gruber ก็คงโมโหอีกอยู่ดี
สถานการณ์จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่แน่ชัดว่าอนาคตของโครงการนี้จะเป็นอย่างไร กระแสตอบรับในชุมชนนักพัฒนาก็มีหลากหลายทั้งที่อยากให้ fork โครงการออกมาใช้ชื่ออื่นเลย และที่อยากให้รอ John Gruber อนุญาตก่อน ส่วนใครต้องการติดตามการถกเถียงนี้ก็สามารถเข้าไปอ่านได้ที่คอมเม้นท์ใน Hacker News ครับ
ส่วนตัวผมแล้วคิดว่า John Gruber เองก็ไม่อยากให้มีใครมาทำอะไรกับ Markdown มากนักดังจะเห็นได้จากการที่ไม่อยากร่วมมือกับกลุ่มนี้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว จึงหาเรื่องไม่ยอมให้ใช้ชื่อ Markdown
ที่มา
Comments
Gruber นี่มัน Gruber จริงๅ
กรรม ซะงั้นเลย
ป.ล. เชียร์ให้ fork เป็นชื่อใหม่ แบบไม่มี Markdown ในชื่อไปเลยดีกว่า
ผมว่าลุง PaPaSEK ผิด
Gruber san ไม่ชอบโลโกก็น่าจะบอกกันดีๆ
ไม่เห็นด้วยกับคุณ wiennat ครับ
เรื่องนี้จะไปโทษเจ้าของชื่อก็ไม่ได้ ยังไม่ได้บอกตกลงซักคำเอาไปใช้ซะแล้ว
จะว่าหาเรื่องก็ไม่ใช่เพราะสัญญาอนุญาตระบุไว้ชัดอยู่แล้ว อีกมุมหนึ่งหากงานที่สร้างต่อจากเจ้าของเดิมใช้ชื่อว่า Standard Markdown แล้วแปลว่า Markdown ของ John Gruber มัน Non Standard งั้นหรือ ? ถ้ามองจากชื่อที่ยกตัวอย่างมาเช่น "Strict Markdown" หรือ "Pedantic Markdown" ผมคิดว่าเจ้าของชื่อน่าจะโกรธตรงจุดนี้มากกว่า
ผมก็คิดเหมือนกันว่าเรื่องที่เอาชื่อไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตว่าทำไม่ถูกครับ
John Gruber แสดงท่าทีไม่ให้ความร่วมมือตั้งแต่สองปีก่อนอยู่แล้วน่ะครับ ถ้าเค้าโกรธแค่เรื่องชื่ออย่างเดียวก็ควรบอกให้เปลี่ยนชื่อตั้งแต่ตอนเมลไปถามเรื่องสเปคกับชื่อ (ตรงนี้ผมอ่านที่ Jeff Atwood เขียนไว้แล้วค่อนข้างงงกับลำดับเวลาเหมือนกันว่าเค้าเมลไปถาม John Gruber เรื่องชื่อนี่คือชื่อไหน แต่ผมเข้าใจว่าเป็นชื่อ "standard markdown" นะครับ) แต่นี่เค้ากลับนิ่งเฉยผมเลยเข้าใจว่าเรื่องชื่อนี่เป็นแค่การหาเรื่อง ทางทีมพัฒนาเองก็เกรียนใช่เล่น ทาง John Gruber ไม่ยอมตอบก็น่าจะรู้แล้วว่าเค้าไม่ให้ความร่วมมือ แทนที่จะเปลี่ยนชื่อก็ไปทึกทักเอาเองว่าอนุญาตแล้ว
สรุปคือเกรียนทั้งคู่ครับ :)
onedd.net
ไม่ตอบแปลว่าไม่แคร์ก็ได้ครับ
+1 ครับ ไม่ทราบเรื่องราว แต่อ่านตอนท้ายข่าวใช้คำว่า "หาเรื่อง" เลยผงะไปเล็กน้อย
ครั้งหน้าอาจจะเป็น F_ck U Gruber Markdown เลยก็ได้นะ lol
แกจะหวงชื่อทำไหมนักหนาเนี่ย?
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมเข้าใจว่า ของ Gruber แกเป็นสายหลัก แต่ดันไปออกสายใหม่แล้วบอกว่าสายใหม่เป็นมาตรฐาน แทนที่จะเอาของแกเป็นมาตรฐาน แกเลยเหวี่ยงอ่ะครับ
ผมว่าออกมาพูดด่ามันเหนื่อยกว่ามาตอบอีเมล์ว่าไม่อนุญาตอีกนะ -.-
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมว่าโดยสามัญสำนึกแล้วการนิ่งเฉยคือการไม่เห็นด้วยนะครับ
เท่าที่ผมจำได้ ที่ต่างประเทศนี่เงียบ = ใช่นะครับ
ทางกฎหมายทางแพ่ง นิ่งเงียบ=ยอมรับครับฝรั่งเองถ้านิ่งเฉยก็ถือว่ายอมรับ เช่นกัน เวลาทำงานกลุ่มโดนดักเลยถ้าไม่ตอบถือว่า โอเค
ยกเว้นในคดีอาญาที่นิ่งเฉย=ปฏิเสธ จริงๆคือถ้าจำเลยยอมรับจึงจะถือว่าจำเลยสารภาพ จำเลยยอมรับในเรื่องที่ขัดกันเองก็ถือว่าจำเลยปฏิเสธ
ขอนอกประเด็นนิดเรื่องการส่งจดหมายหรือเอกสารแล้วไม่มีการตอบรับ พอดีอยากแชร์
คือถ้าเป็นกรณีในไทย (เคสต่างประเทศผมไม่ทราบ) ถ้าเป็นลักษณะจดหมายหรือเอกสารรอการตอบรับ อันนี้รวมจดหมายแจ้งเตือน จดหมายทวงถาม และจดหมายอื่นๆ ที่ส่งภายในช่วงมีการทำสัญญาใดๆ
แม้จะเป็นหน่วยงานเอกชนก็ตาม ส่วนมากเมื่อมีการส่งจดหมาย แล้วไม่มีการตอบรับ เขาจะถือกันว่า "ได้รับทราบแล้ว" และถ้าเนื้อความเป็นการขอคำยืนยัน การอนุญาต ก็ถือว่า "ได้ยอมรับแล้ว"
กรณีเคสเอกสาร เวลามีการร่างเอกสารสัญญาคู่พวกความร่วมมือ ร่วมลงทุนอะไรพวกนี้ แล้วสององค์กรต้องติดต่อกัน ส่วนมากจะเขียนบังคับลงสัญญาเลย ว่าถ้ามีการส่งแล้วจริง แล้วไม่มีการตอบรับ ก็ถือว่ายอมรับไปเลย ซึ่งเป็นการบังคับอ้อมๆ ว่า "ได้รับแล้วต้องตอบ"
อันนี้เสริมให้เป็นความรู้นิดๆ
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ผมคิดวา เรื่องไม่ตอบ ถือเป็นการยอมรับ ไม่น่าจะ applicable กับกรณีแบบนี้นะ
ผมเข้าใจว่า เรื่องไม่ตอบถือว่าได้รับทราบหรือยอมรับแล้ว มันอยู่ในบริบทที่มีความสัมพันธ์กันอยู่แล้ว (อย่างจดหมายเตือน จดหมายทวงถาม อะไรพวกนี้ ถ้าส่งถึงมือผู้รับแล้วก็ถือว่าเป็นอันเรียบร้อย) แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในบริบทความสัมพันธ์เดิมที่มีอยู่ ก็น่าจะต้องการ active response นะ
ถ้าเขาส่ง email ไปบอกแต่แรกแล้วตนเองเงียบหรือไม่อ่านเอง ถือว่ายอมรับนะครับEmail ทางกฎหมายให้ค่าเทียบเท่าจดหมาย ลงทะเบียนนะครับ จะอ้างว่าไม่ได้เปิดอ่านไม่ได้ครับ
ผมว่ากรณีนี้เค้าต้องการคำอนุญาตที่เป็นลายลักษณ์อักษรนี่ครับ การไม่ตอบก็ไม่น่าจะนำมาใช้ในกรณีได้รึเปล่าครับ
onedd.net
เคยเจอจดหมายที่ลงท้ายว่าหากไม่ตอบกลับในเวลาที่กำหนดถือว่าอนุญาตไหมครับ
โดยมารยาทแล้วถ้าผมไม่อนุญาตผมต้องตอบกลับครับ
ผมเคยเขียนบทความแล้วมีฝรั่งมาขอเอาไปลงที่อื่นผมก็ตอบกลับครับ
คำถามครับ
แบบนี้ก็ถือว่าละเมิดรึเปล่า ถ้าเราไม่ได้รับจดหมาย ไม่ได้อ่านจดหมายจริงๆ ล่ะ
คนที่จะบอกได้ว่าเราได้รับจดหมายหรือไม่คือผู้ให้บริการ Email ครับมันตรวจสอบได้อยู่แล้วว่าเราได้รับหรือไม่
ส่วนเรื่องไม่ได้อ่านจดหมาย เราไม่สามารถยกเป็นข้อต่อสู้กับคู่กรณีได้ครับ เพราะเขาถือว่าคุณได้รับจดหมายแล้วถือว่ารับรู้แล้ว ถ้าไม่อ่านเองก็ช่วยไม่ได้ จะไปโทษฝ่ายที่ส่งจดหมายไม่ได้ครับถ้าเป็นคดีแพ่งเขาจะต่อสู้ว่าไม่ได้รับจดหมาย แต่ประเภทส่งไปแล้วได้รับแล้วมีหลักฐานแต่ไม่ยอมรับว่าได้รับจดหมายอันนี้ฟังไม่ขึ้น
เรื่องที่เราไม่ได้อ่านจดหมายเองมันถือว่าเราประมาท จะยกเป็นข้อต่อสู้กับอีกฝ่ายไม่ได้ครับ
แล้วถ้าคนเซ็นรับเป็นใครไม่รู้ล่ะครับ? อันนี้ถามเป็นความรู้นะครับ ไม่ได้กวน
หรือไม่จนท.ส่งจดหมายก็เซ็นเองแล้วโยนไว้ในบ้านเรา หรือวางไว้ไหนไม่รู้ลมพัดไป
ขอโทษที่โพสต์นี้ช้าไปมาก
ประเด็นที่ผมสงสัย ไม่ใช่เรื่องว่า email กับจดหมาย หรือข้อสงสัยเรื่องการได้รับนะครับ ประเด็นที่ผมสงสัยคือ หลักการนี้ มัน applicable กับส่วนนี้ของกฎหมายแพ่งจริงๆ หรือ
ปรกติ contract law จะต้องมี offer และ acceptance ซึ่งผมไม่คิดว่า ตามกฎหมาย contract จะนับ silence เป็น acceptance โดยอัตโนมัติ
(สมมติผมส่งจดหมายลงทะเบียนไปที่บ้าน บอกว่า จะซื้อบ้านราคา 10 บาท ถ้าไม่ตอบภายใน 10 วันจะถือว่ายอมรับข้อเสนอ ถึงเวลาผู้รับไม่ตอบ ผมเอาจดหมายนี้ไปฟ้องให้ผู้รับทำตามได้?)
ขออภัยที่หาอ้างอิงดีกว่านี้ไม่ได้ แต่ลองดูตามนี้ครับ What Constitutes Acceptance of a Contract Offer?
กรณีนี้ มันไม่เหมือนการส่งจดหมายแจ้งทวงหนี้ แจ้งขึ้นศาล แจ้งขอ deposition อะไรแบบนี้นะครับ
อ้าวงั้นผมก็เข้าใจผิดน่ะสิ