จากประเด็นเรื่อง UberX เริ่มให้บริการในไทย แต่พบว่า กลับใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ที่เรียกกันว่าป้ายดำ) จนเกิดคำถามว่าผิดกฎหมายหรือไม่
ทีม Blognone สอบถามประเด็นนี้ไปยัง Uber ประเทศไทยแล้ว แต่ได้รับคำตอบว่าให้สอบถามไปยัง Uber ที่สิงคโปร์ และยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ระหว่างนี้เราจึงสอบถามความเห็นจากนักกฎหมายหลายท่าน และได้รับคำตอบมาดังนี้ครับ
ผศ.ดร.จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรณี Uber ที่แต่เดิมใช้รถลีมูซีน (รถยนต์บรรทุกคนโดยสารได้เกินกว่าเจ็ดคน) จึงอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 แต่ครั้นเปลี่ยนแนวธุรกิจมาจับตลาดล่างใช้รถยนต์นั่งธรรมดา คือรถยนต์บรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน จึงมิได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522แล้ว (เป็นไปตามข้อยกเว้นมาตรา ๕ (๒) (ก) พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ) แต่มาอยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒แทน โดยเข้าลักษณะเป็นรถยนต์สาธารณะตามนิยามมาตรา ๔ (“รถยนต์สาธารณะ” หมายความว่า (๒) รถยนต์รับจ้าง ซึ่งได้แก่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน หรือรถยนต์สาธารณะอื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจําทาง)
พอเป็นรถยนต์สาธารณะ หน้าที่ความรับผิดชอบของ Uber ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ทั้งในส่วนตัวรถยนต์จะต้องมีลักษณะเครื่องหมาย โคม TAXI-METER สีรถ ฯลฯ ตามกฎหมาย รวมทั้งตัวคนขับจะต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดด้วย ตัวอย่างเช่น
- ลักษณะ ขนาด ของรถยนต์ที่จะจดทะเบียนเป็นรถสาธารณะ เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ เครื่องสื่อสาร แผ่นป้ายทะเบียนรถ เครื่องหมายประเภทรถ และเครื่องหมายอื่น รวมทั้งวิธีแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมายสี เครื่องหมายสำหรับรถยนต์สาธารณะ ต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคนที่จดทะเบียนในเขต กทม. พ.ศ.๒๕๕๐ (จังหวัดอื่นเช่นภูเก็ตอาจกำหนดโดยกฎหมายฉบับอื่น แต่จะมีลักษณะทำนองเดียวกัน)
- ในส่วนของคนขับต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่ประเภทรถยนต์สาธารณะ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการขออนุญาต การออกใบอนุญาตประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร และการรับจดทะเบียนรถยนต์รับจ้างในเขตกรุงเทพมหานครฯ เป็นต้น
- นอกจากนี้ ในขณะขับรถรับจ้าง คนขับรถยนต์สาธารณะต้องติดเครื่องหมาย เช่น ชื่อตัวและสกุลของผู้ขับรถยนต์เป็นภาษาไทย ขนาดตัวอักษรสูงไม่น้อยกว่า ๑.๕๐ เซนติเมตร ตัวอักษรต้องเป็นแบบตัวพิมพ์ อ่านได้ง่าย โดยเย็บติดหรือปักไว้ที่อกเสื้อด้านซ้าย สีของตัวอักษรให้ตัดกับสีเสื้อ เป็นต้น
หาก Uber ไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงเหล่านี้ เช่น ใช้รถยนต์ป้ายทะเบียนดำหรือขาว ไม่มีเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนคนขับรถรับจ้างสาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน มีโทษปรับเช่นกัน (น่าจะประมาณ ๒,๐๐๐ บาท)
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้เป็นบทบัญญัติที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำ ส่วนจะบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายได้หรือไม่ เพียงใด เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน
ส่วนประเด็นวิธีการเรียกใช้บริการ ไม่ว่าจะโดยการโบกเรียก หรือโทรศัพท์เรียก หรือผ่าน application ไม่ทำให้ความเป็นรถสาธารณะเปลี่ยนแปลงไปค่ะ เพียงแต่กรณีหลังอาจทำให้การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจยากขึ้นเท่านั้น
คุณพิชัย พืชมงคล กรรมการบริหาร สำนักกฎหมายธรรมนิติ
บริการแท๊กซี่เป็น "บริการขนส่งไม่ประจำทาง" ชนิดหนึ่ง ตามความในมาตรา 4(3) เป็นธุรกิจที่ควบคุมโดยกฎหมาย ผู้ที่จะให้บริการโดยได้รับค่าจ้าง ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ตามมาตรา 65 วรรค 2 และต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนกลาง ตามมาตรา 65 วรรค 1
ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 126 ของ พรบ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522
หมายเหตุ: คัดลอกจาก ความเห็นคุณพิชัยในข่าวเดิม
อาจารย์คณะนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง (ไม่ประสงค์จะออกนาม)
ประเด็นเรื่องแท็กซี่ป้ายดำถือเป็นการใช้รถส่วนบุคคลไปทำการรับส่งผู้โดยสาร ถือว่าผิด พ.ร.บ.รถยนต์ 2522 มาตรา 21 เรื่องการใช้รถผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้อยู่แล้ว ดังนั้น Uber ในฐานะผู้ประกอบการจัดให้บริการที่ผิดกฎหมาย ตามหลักกฎหมายทั่้วไป ก็อาจถือได้ว่าประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย
Comments
จับไม่ยากหรอก
เรียกมาโรงพักวันเดียวก็เกลี้ยงทุกคัน
ง่ายกว่าเดิมอีก
บางจุดใช้เลขไทย บางจุดใช้เลขอารบิค อันนี้จงใจมั้ยครับ
เป็นวิธีพิมพ์ของนักกฎหมายครับอันนี้
แต่ตรงนี้ดูขัดกันมากๆเลยครับ
ไม่ขัดนะครับ ปกติการปรับในโลกความเป็นจริงไม่ได้ปรับตามระดับสูงสุดตามกฎหมายกันอยู่แล้ว
lewcpe.com , @wasonliw
น่าจะหมายถึงเลขอารบิคกับไทยครับ 55555
ผมว่าไม่ใช่นะครับ ปกติจะพิมพ์เลขไทยเพราะอยู่ในระบบราชการ อย่างเช่น อ.จันทจิรา ก็สอนอยู่ที่ธรรมศาสตร์ ส่วนคุณพิชัย อยู่สำนักกฎหมายธรรมนิติ ซึ่งเป็นสำนักงานทนายความปกติติดต่อราชการกับทางศาล ก็ต้องใช้เลขไทย
ในขณะที่นักกฎหมายในบริษัทเอกชน (in house lawyer) หรือบริษัทที่ปรึกษากฎหมายต่างชาติ (Law Firm) โดยปกติที่ไม่ได้มีการติดต่อกับส่วนราชการก็ไม่ได้ใช้เลขไทยครับ
นอกจากเรื่องตัวเลขไทยกับเลขอารบิคที่ขัดกันแล้ว ก็มีตัวอักษรย่อด้วยครับ อย่าง
พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒
ควรเลือกใช้ไปเลขครับว่าจะใช้ พ.ร.บ. หรือพระราชบัญญัติ
A smooth sea never made a skillful sailor.
ผมเข้าใจว่าคุณ MK หมายถึงเขาพิมพ์มาเองแบบนั้นนะครับ
ผมก็คิดว่าผิดกฎหมาย
ในแง่ของกฎหมาย ผมก็ว่ามันผิด แต่เพราะรถที่ถูกกฎหมายสร้างปัญหาให้เรา ทำให้เราคิดที่จะมองหาทางเลือกอื่นๆ จนมองข้ามเรื่องกฎหมายไป
ในแง่กฎหมายคงจะผิด แต่ถ้ามองในแง่บริการแท๊กซี่แล้วบางทีมันก็คือตัวเลือกที่ดีก็ได้นะ
อย่าเอา uber ชั้นไป
ใช้การ์ดกฎหมายป้องกันมะ?
Taxi ป้ายเหลืองไม่รับผู้โดยสารไม่เห็นใช้กฎหมายควบคุมเลย
ตำรวจช่วยโบกแท็กซี่หน้าMBK 3คันไม่ไปสักคัน สุดท้ายโดนจับเลย
ผมเซ็งมากกว่าเวลาเจอ Taxi และรถตู้ป้ายแดง
เพราะป้ายเหลืองของพวกท่านไม่รับผมไงครับ ผมถึงต้องมาใช้ทางเลือกนี้ เฮ๊อะ เอาผิดป้ายเหลือง+จอดให้เป็นที่ ไม่ปาดหน้าก็พอ ขับทียังกับทัวร์นรก จะงีบสักหน่อยก็หัวโขกกระจก
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า
ถ้าป้ายเหลืองไม่รับ แล้วสามารถถ่ายคลิปแจ้ง มีรางวัลนำจับให้ ก็น่าจะดีครับ
พอไม่รับ โทรแจ้ง แล้วไม่รู้จะเกิดมรรคผลอะไร แท็กซี่ก็ไม่หลาบจำ ไม่มีไรดีขึ้น
เห็นด้วยครับ ผมว่าควรจะมีระบบติดตามความคืบหน้าว่าดำเนินการอะไรไปถึงไหนบ้าง
ผมเคยร้องเรียนครับ 3 ช่องทาง
โทร 1584, โทรไปหมอชิต 2, ออนไลน์ http://history.dlt.go.th/pddc_ppt/jsp/security/initLogin.action
ในเว็บจะตรวจสอบสถานะได้ตลอดครับ แต่ว่าผมเห็นค้างอยู่ที่ "ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ" นานโข ก็เลยเลิกสนใจไปเลย ผ่านไปประมาณ 9-10 เดือนครับ มี SMS ส่งมาแจ้งว่าได้ดำเนินการเทียบปรับเรียบร้อย
ช้าไปนะครับ แบบนี้
ผมเคยแจ้งไป 3-4เคส เร็วสุดก็ 3เดือน กว่าจะเรียกมาเปรียบเทียบปรับระยะเวลาดำเนินการมันนานไปครับ
ถ้าจดทะเบียนก็จบใช้ไหมครับ
ตายห่ะ เมื่อวานพึ่งสนับสนุนผู้ทำผิดกฏหมายไป
คนขับรถแท็กซี่ทำผิดกฎหมายเยอะมากจนจะเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว
มีบริการมีตัวเลือกใหม่ๆ ก็พยายามขวนขวายหาความผิดขัดแข้งขัดขา(ซึ่งก็ผิดจริงตามเนื้อข่าวแต่ผมว่าเป็นความผิดที่ไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเหมือนแท๊กซี่บ้านเรา) ส่วนคน(แท๊กซี่บ้านเราส่วนใหญ่)ที่ทำผิดอยู่เห็นๆ ดันจัดการไม่ได้เห็นอยู่ว่าประชาชนเดือดร้อนแต่ไม่แก้ไข
ตกลงกฏหมายมีไว้เพื่ออะไรเหรอครับ(เพื่อป้องกันคนใหม่ๆ ห้ามทำผิดนะแต่คนก่อนๆ ที่ทำผิดอยู่แล้วไม่เป็นไร? นี่ยังไม่รวมพวกคดีฆ่าข่มขืนที่คนทำสารภาพแล้วลดโทษอีกนะ)
ถ้ามีเวลาช่วยจัดการสิ่งเดิมให้ดีก่อนดีไหมครับ
ใครเจอคนใจดีอยากพาเราไปส่ง เราก็ใจดีให้เงินตอบแทน
อยากให้เกิดการแข่งขันแท็กซี่ที่มีคุณภาพด้านความปลอดภัยที่ดีกว่านี้ แต่ก็ไม่อยากให้ฝ่าฝืนข้อกฎหมายครับ
+1
ทำเหมือน CAR POOL แบบเก็บเงิน(ประมาณแชร์ค่าน้ำมันกัน)ก็ผิดไหมครับ ตั้ง facebook page แล้วใครจะไปไหนก็แปะเลย สถานที่ เวลา อะไรแบบนี้
uber คือ uber ไม่ใช่ taxi นี่ครับ
ไม่ได้รับจ้างสาธารณะ ที่ขับๆไปใครโบกก็รับนี่ครับ
แต่เป็นการนัดหมายส่วนบุคคล ว่าจะเจอกันที่ไหนตอนไหนและไปไหน
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522
มาตรา 4 "รถยนต์สาธารณะ" หมายความว่า
(2) รถยนต์รับจ้าง ซึ่งได้แก่รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน หรือรถยนต์ สาธารณะอื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจำทาง
องค์ประกอบคือ รถยนต์ + เกิน 7 ที่นั่ง + รับจ้าง เท่านี้ก็เข้าหลักเกณฑ์แล้วครับ
A smooth sea never made a skillful sailor.
ความหมายของผมคือ uberไม่สาธารณะแต่ก็ตามที่คุณว่า มันเข้าข่ายจริงๆ
ถ้าไม่เคยมีuberเกิดขึ้นเลย
รถกระบะรถตู้ป้ายดำที่วิ่งรับนักเรียนผิดมั้ย
รถเก๋งป้ายดำที่วิ่งรับตามรร.ไปสนามบินล่ะ
และพวกรถป้ายดำที่วิ่งรับส่งคนงานอีกล่ะ
พวกนี้ไม่เข้าข่ายอะไรนี่เหรอครับ
เคยมีใครเอาพวกนี้มาตีความด้านกฎหมายมั้ย
อย่างว่าuberดั้นไปทับเส้นกะคุณชายแท็กซี่กิตติมศักดิ์ซะได้
...ถ้าตัดถูกผิดออกไปนะยังไงก็เชียร์uberก็แท็กซี่ดีๆเจอยากมากทั้งที่มันเกลื่อนเมืองขนาดนั้น
รถตู้ป้ายดำตอนนี้มีเพียบ เห็นด้วยรับส่งคนตามหน่วยงานต่างๆ เช้า-เย็น