ภายหลังจากที่ Apple เปิดบริการชำระเงินแบบใหม่ Apple Pay ไปได้ไม่นานนัก รวมถึงได้ ประกาศ
พาร์ทเนอร์อีก 34 ราย (นับ Apple และร้านค้ารองเท้า Foot Locker อีก 4
8 ร้านแล้ว) แต่ทว่ากลับไม่มีร้านค้าปลีกหลายราย ตั้งแต่ Best Buy, Walmart, Kmart หรือแม้แต่ 7-Eleven (ในสหรัฐอเมริกานะครับ ไม่ใช่ในไทย)
สำหรับสาเหตุที่กลุ่มเหล่านี้ไม่มีอยู่ในรายชื่อ สาเหตุสำคัญที่สุดคือ ร้านค้ากลุ่มนี้ได้ รวมกลุ่ม เพื่อทำมาตรฐานการจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเองในนาม CurrentC ซึ่งว่ากันว่าจะเปิดบริการในครึ่งปีหน้า
และด้วยสาเหตุนี้เองจึงกลายเป็นที่มาสำหรับข่าวนี้ เพราะว่าเมื่อช่วงเดือนที่แล้วภายหลังจากที่แอปเปิลเปิดตัว Apple Pay สำนักข่าว Wall Street Journal ได้รับการยืนยันจากทาง Walmart และ Best Buy แล้วว่า ทั้ง 2 ห้างนี้จะไม่สามารถรับการจ่ายเงินจากช่องทางนี้
ขณะเดียวกัน เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เว็บไซต์ SlashGear รายงานจากบันทึกภายในที่หลุดมาของ Rite Aid ร้านขายยาชื่อดังในสหรัฐที่ระบุว่า ทางร้านเตรียมจะปิดช่องทางการจ่ายเงินผ่าน NFC ในเร็ว ๆ นี้ ส่งผลให้ผู้ใช้ไม่สามารถจ่ายเงินผ่านทาง Apple Pay, Google Wallet และ Softcard (หรือชื่อเดิมคือ ISIS )
นอกจากนี้ เว็บไซต์ MacRumors ได้รับรายงานจากผู้ใช้งานในทวิตเตอร์และฟอรั่มของเว็บไซต์ว่า ร้านขายยา CVS ได้เริ่มดำเนินการปิดการชำระเงินผ่าน NFC เรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ดี มาตรฐานการจ่ายเงินนามว่า CurrentC กลับไม่ได้มีธนาคารไหนหนุนหลังให้เลย ซึ่งก็เท่ากับว่า มาตรฐานนี้ต้องการตัดคนกลางและค่าธรรมเนียมจากบัตรเครดิตออก (ต้นฉบับใช้คำว่า middleman) และจะใช้การชำระเงินที่ต่างจากปกติ คือจะหักจากบัญชีธนาคารโดยตรง หรือไม่ก็จะหักจากบัตรเครดิต "บางราย" ที่ดีลกับ CurrentC เท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกที่ร้านค้าหลายรายจะไม่ใช้บริการการชำระเงินจากบริษัทอื่น ๆ และเลือกที่ใช้มาตรฐาน CurrentC แทน
โดยในรายชื่อที่เผยในเว็บไซต์ของ Merchant Customer Exchange (MCX) พบว่ามีพาร์ตเนอร์รายสำคัญตั้งแต่ Gap, Old Navy, 7-Eleven, Kohls, Lowes, Dunkin' Donuts, Sam's Club, Sears, Kmart, Bed, Bath & Beyond, Banana Republic, Stop & Shop, Walmart, Wendy's หรือแม้แต่ปั๊มน้ำมันรายใหญ่ ๆ ของสหรัฐ
ต้องติดตามดูต่อไปว่าสุดท้ายแล้ว มาตรฐาน CurrentC จะไปรอดจริง ๆ หรือไม่ หรือสุดท้ายจะยอมแพ้ Apple Pay แล้วเข้ามาใช้บริการดังกล่าวแทน
ที่มา: The Verge
Comments
ตัดกันขนาดนี้กลายเป็นว่า NFC ใน Apple มีก็เหมือนไม่มี
Google Wallet มีสถาบันการเงินที่รองรับ Visa, MasterCard, Discover, Citi, Sprint (as mobile carrier billing)
ส่วนร้านที่รับชำระใน us ก็มี Best Buy, RadioShack, Subway, Toys "R" Us, Walgreens, Dairy Queen, McDonald, CVS Pharmacy เป็นต้น
ทำมานานแล้ว เปิดรับสมาชิกตลอด ดูจะใหญ่พอสมควรแต่ก็ไม่ดัง
ปล. เพื่อนผมเอาบัตร smart purse กับ bts ใส่ในเคสมือถือ มันบอกว่าอยากใด้ไช้งานก่อนตาย ผมก็ ... นะ สุดท้ายแล้วธนาคารที่ไม่อยากจ่ายส่วยให้คนกลาง น่าจะทำเป็น nfc สติกเกอร์เอาไว้แปะหลังมือถือออกมาบ้าง
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
มันคงใกล้ถึงยุคที่มนุษย์จะเลิกพกเงินเป็นปึกพกบัตรหนาๆแล้วผมว่า ต่อไปมนุษย์คงจะถืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แค่ชิ้นเดียวที่เก็บข้อมูลทั้งหมดไว้เหมือนบัตรประชาชน ไปไหนก็ใช้จ่ายตังตัดเงินผ่านธนาคารโดยตรง ตัดปัญหาเรื่องไปเที่ยวแล้วต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินให้วุ่นวาย แต่ก็อย่างว่า ระบบแบบนี้คนกลางก็รวยกันเลยทีเดียว
เมื่อธุรกิจไปใด้ดีระดับหนึ่ง จะมีคู่แข่งออกมาครับ ธนาคารเองก็ยังมีหลายยี่ห้อเลย
ตอนนี้ใน us มี Google Wallet, Softcard, Apple Pay, CurrentC
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
Visa, MasterCard เป็นสถาบันการเงินด้วยเหรอครับนี่ ผมเพิ่งรู้
financial services ... ผมหาคำที่เหมาะสมไม่ใด้นะครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แปลตรงๆ "บริการทางการเงิน" ผมว่าก็เข้าใจง่ายนะครับเช่น[Google Wallet มีบริษัทผู้ให้บริการการเงินที่รองรับได้แก่ Visa, MasterCard, Discover, Citi, Sprint (as mobile carrier billing)]
ถ้าจะแบบชาวบ้านๆ หน่อยก็ประมาณนี้ครับ ผมว่าน่าจะเข้าใจง่าย[Google Wallet นั้นมีบริษัทบัตรเครดิตรองรับบริการได้แก่ Visa, MasterCard, Discover, Citi, Sprint (as mobile carrier billing)]
ในเว็บ Visa ก็เห็นเรียกตัวเองว่า วีซ่าๆ
ในนี้อ่านๆดูแล้ว เหมือนจะใช้คำว่า ผู้ให้บริการทางด้านการเงินนะครับ แบบด้านบนว่าเลย ลองใช้ประกอบการพิจารณาดูนะครับ
http://www.cisco.com/web/TH/technology/financial_service.html
ผมว่าเรียกสถาบันการเงินก็ไม่ผิดครับ แต่แค่ทำธุรกิจเฉพาะด้าน
เหมือนธนาคาร ที่เอาจริงๆควรเรียกว่า Financial Intermediaries มากกว่า
@TonsTweetings
เอาตาม พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 นะครับ
“สถาบันการเงิน” หมายความวา
(๑) ธนาคารพาณิชย(๒) บริษัทเงินทุน
(๓) บริษัทเครดิตฟองซิเอร
ถ้าตามนิยามข้างต้น ก็ตอบได้ว่า Visa, MasterCard "ไม่ใช่" สง. ครับ
แก้ด้วยการ หากผู้ใช้นำ smart phone เข้าห้างเหล่านี้ โทรศัพท์จะใช้ไม่ได้ ,ลบชื่อห้างเหล่านี้ออกจากระบบ ค้นหา , ลบที่ตั้ง ออกจาก Map ให้กลายเป็นที่ว่างเปล่า
คิดแนวขำๆ นะครับ สุดท้ายเขาก็ต้องยอมตามใจลูกค้า ถ้าลูกค้าจะใช้แต่ไม่มีให้ใช้ เขาก็ไปเจ้าอื่นที่มี
CurrentC ไม่น่าจะต่างจาก apple pay / google wallet มากนักในส่วนของผู้ไช้
แต่ในส่วนของเจ้าของธุรกิจการที่สามารถรองรับ os ใด้หลากหลาย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ทั้ง credit card issued และ เจ้าของ os เป็นเรื่องใหญ่มาก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
Apple อาจจะเอาคืนไม่ยอมให้แอพ CurrentC เข้ามาอยู่ใน App Store ได้เช่นกัน (ถ้ากูเกิลเอาด้วย CurrentC ก็คงต้องกลับลำไปง้อ Amazon)
@TonsTweetings
ผมไม่รู้ว่า CurrentC จะมาในรูปแบบใหน อาจเป็น qr code ที่ทำงานผ่าน browser อาจเป็นสติกเกอร์แปะข้างตัวเครื่อง อาจไช้การฟ้องร้องเอา หรืออาจจะขู่ไม่ขาย 6s ในช่วงเปิดตัวปีหน้า แต่ผมเดาว่า CurrentC น่าจะคาดเดาพฤติกรรมของ apple ใด้แนวเดียวกับเรา
ส่วน android สามารถเข้าถึง nfc ใด้อยู่แล้วอย่างมากคือ side load
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
QR Code ครับ
ถึงจะเป็น QR ผมก็ว่าต้องใช้แอพนะครับ
... มันคือแนวคิดเวลาโดนเบียดบังผลประโยชน์นะครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แอพที่ผมว่านี่รวมไปถึงเว็บแอพและอื่นๆ ด้วยนะครับ เห็นท่านก่อนหน้าพิมพ์แค่ QR code แล้วรู้สึกเหมือนว่ามันจะไม่ต้องใช้อะไรเลย
ครับถ้าเป็น web app ทำครั้งเดียวลงใด้ทุกระบบ คนที่เป็นส่วนน้อย เช่นไช้ wp, web os, firefox os ก็ไม่ต้องทำ app แยก ที่นิยมหน่อยอย่าง Android/ios อยากจะทำ app ก็ไช้ WebView ช่วยใด้ ... แถมป้องกันเจ้าของ os ดิ้นจะเอาเงินใด้ 100% ด้วย
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
Gap, Old Navy, 7-Eleven, Kohls, Lowes, Dunkin' Donuts, Sam's Club, Sears, Kmart, Bed, Bath & Beyond, Banana Republic, Stop & Shop, Walmart, Wendy'sร้านใหญ่ๆทั้งนั้น Old Navy เคยเวะไปใช้บริการนะ ผมใช้บัตรเดบิทอย่างเดียว
Good comment. เรื่องความปลอดภัยของระบบนี่ไม่ค่อยพูดถึงกัน
CurrentC นี่เป็น App แบบหนึ่งแล้วถ้า Apple กับ Google ร่วมมือกันไม่ให้ App นี้ลง Store ของตัวเอง แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
สงสัยว่าถ้าทำแบบนั้นจริงๆ จะมีคนถูกฟ้องข้อหากีดกันทางการค้าหรือเปล่า
nfc ของ apple ไช้กับ apple pay อย่างเดียวครับ
อาจเป็น app บน android เพียงอย่างเดียว หรือไม่ก็ไม่ไช้ nfc ก็ใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ไม่โดนหรอกครับ เพราะส่วนแบ่งการใช้จ่ายผ่าน Google Wallet/Apple Pay มีนิดเดียวจริงๆ (แต่เขาคงไม่ทำ เพราะว่าสองรายนี้ตอนนี้เหมือนจะเป็นการผลักดัน Standard)
@TonsTweetings
นั่นแหละครับ ที่ผมสนใจ เพราะว่าตอนนี้คนที่นั่นเริ่มคิดว่า นี่เป็นการกีดกันทางการค้าแล้ว
แต่คนที่กีดกันคือ ห้างร้านที่รวมตัวแบน Apple Pay หรือ Google Walletเพราะร้านมีระบบจ่ายเงินของตัวเอง แต่ไม่ยอมให้ระบบจ่ายเงินของจา้วอื่นให้ใช้งานได้
แต่ตอนนี้คงยังไม่โดนฟ้อง เพราะ CurrentC ยังไม่ได้มีการใช้งานใดๆ
ส่วนระบบ CurrentC รู้สึกจะไม่ใช้ NFC นะครับ แต่ใช้ระบบ QR code แทน
ดังนั้นร้านเหล่านี้จึงเลือกปิดช่องทางการจ่ายเงินผ่าน NFC ทั้งหมดซึ่งกระทบทุกจ้าว ได้แก่ Apple Pay หรือ Google Wallet
รวมถึงระบบการจ่ายเงินของใครก็ตามที่ใช้ NFC
โหดมาก
ต้องดูฝีมือ Tim Cook ว่าจะไปคุยยังไง
ส่วนตัวผมว่า CurrentC ต้องการจะสกัดดาวรุ่งทั้งในเรื่องของ Mobile Payment space และแผนของตัวเองที่จะต้องการกีดกัดการใช้จ่ายผ่าน Visa และ MasterCard ซึ่งจะมีการทำ Liability shift จากตัวเองไปสู่ร้านค้าเอง
CurrentC เลยพยายามที่จะทำระบบใหม่ของตัวเองที่สามารถเข้าถึง direct debit ได้โดยตรง (ว่าง่าย ๆตัวเองได้ current account ของผู้ใช้ในธนาคารมาโดยตรง) อารมณ์เดียวกับ EFTPOS ทำให้ไม่ต้องวุ่นวายกับเรื่อง liability อีกต่อไป
@TonsTweetings
ผมคิดว่าเค้ารวมตัวกันเพื่อต่อรองกับ Apple/Google นะ เช่นว่า ถ้าเพิ่มส่วนแบ่งรายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่เท่าไรถึงจะยอมร่วมด้วย เพราะ CurrentC เพิ่งจะเริ่มต้นยังมีเวลาให้ทั้งสองเจ้าไปต่อรองกันอีกหลายยก
เท่าที่อ่านจับใจความได้ว่า Current C ทำให้ไม่มีภาระเรื่องค่าธรรมเนียมสำหรับร้านค้าถูกต้องไหมครับ?
สรุปแล้ว ระบบจ่ายเงินของอเมริกาก็อืดอาดต่อไป เพราะญี่ปุ่นใช้ NFC มาหลายโยชน์ๆๆๆๆ แล้วครับ
555+ การ์ตูนนี้เลย แต่ตอนนี้หวังว่าประเทศไทยคงจะไม่เป็นอย่างนี้เลย
สองคนในเรื่องทำงานที่ Apple ครับ
ฮามาก 555
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ผมเห็นด้วยกับ CurrentC นะครับ
ตอนนี้ระบบมือถือมันไปเยอะมากแล้วครับ เราสามารถจ่ายเงินผ่านระบบ NFC (ไม่ใช่เฉพาะ Apple pay) , QR code , ระบบ ID transection code (ระบบโอนเงินผ่านธนาคารตามปรกติ) ดังนั้นการที่จะให้มีตัวกลาง หรือ middle man (ทางผ่าน) คงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกระทำต่อไป
สิ่งที่ CurrentC จะต้องเน้นคือเรื่อง "ส่วนลด" ที่เอามาชดเชยกับค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต
ซึ่งหาก CurrentC ติดตลาดล่ะก็ พวกบัตร mastercard , visa มีต้องเครียดล่ะครับ
ที่ US นี่คนส่วนมากจ่ายผ่าน เดบิต มากกว่า เครดิต ครับบางครอบครัวไปซื้อของที่ Supermart นี่ มีบัตรลดราคา มากกว่าของที่ตนเองจะซื้อเสียอีก
ที่นู้นคน "ตระหนี่" มากกว่าคนไทยหลายเท่าครับ
CurrentC นี่ทำให้ผมนึกถึง thai smart card ที่เข็นไม่ขึ้นของ CP/7-11 จริงๆ
@TonsTweetings
โอ้ ความรู้ใหม่ ผมคิดมาตลอดว่าที่ US บูมมากๆ กับเรื่องของ credit card
ผมว่า Current C ก็เป็นทางเลือกที่ดีของการจ่ายสดแล้วได้ส่วนลดครับ
เพราะผมก็ซื้อของแบบขอจ่ายสดพร้อมส่วนลดบ่อยๆ
แต่ในทางกลับกัน ผมไม่เห็นด้วยกับการปิด NFC เพื่อไม่ให้รายอื่นใช้งานได้ครับ
เพราะถ้ามีทางเลือกแล้วมั่นใจว่าดีจริง ก็เปิดทั้งสองแบบ แบบ Current C ก็มีส่วนลดก็ว่าไป
Apple Pay ก็จ่ายเต็มแล้วเอาแต้มไปแลกทีหลังกับบัตรเครดิตก็ว่าไป ใครอยากใช้แบบไหนก็ใช้ไป
ทำแบบนั้นนอกจากต้องเสียค่าต๋งให้ ApplePay กับรายอื่นๆ ที่ใช้ NFC แล้วยังจะพาลทำให้ CurrentC ดับก่อนเกิดอีกน่ะสิครับ
เห็นด้วยตรงเรื่องส่วนลดเลยครับ ปกติปั๊มน้ำมันในอเมริกาก็คิดราคาเงินสดกับบัตรเครดิตไม่เท่ากันอยู่แล้ว ทำไมของอย่างอื่นถึงไม่ตั้งราคาต่างกันบ้าง
หรือจริงๆ เป้าหมายของ CurrentC คือฮุบค่าธรรมเนียมเอาไว้เอง แทนที่จะจ่ายบ.บัตรเครดิต
เกี่ยวกับการเจลเบรกหรือเปล่าครับ
ไม่เกี่ยวเลยครับ อันนี้พวกค้านค้าบอล็กเองเลย
เอาจริงๆ ถ้า CurrentC เกิดบูมใน USNFC ก็คงไม่มีหนทางแล้ว ที่จะเกิดและเติบโตได้ใน US
ดีครับ มีคนถ่วงดุลย์เอาไว้ ไม่งั้นต้องเทตาม Apple หมด
ไม่ดีแน่ครับ อย่างแรกคือมันไม่หักผ่านบัตรเครดิตทำให้ไม่มีการกัน fraud
แล้วอันนี้รวมไปถึง Visa PayWave กับ Google Wallet ด้วยไม่ใช้แค่ Apple Pay อย่างเดียว
คนบน reddit ทั้ง /r/Apple กับ /r/Android ออกมาต่อต้านกันใหญ่เลยครับ
ดูที่นี่ และ นี้ เลยครับ
ประเด็นคือมันไม่ใช่แค่ apple เจ้าเดียวนะสิครับ :/
เห็นขั้นตอนการจ่ายด้วย CurrentC แล้วร้านค้าแสดงรูป QR code -> ลูกค้าใช้กล้องมือถือถ่าย QR code นั้น ผ่าน app ของ CurrentC -> ลูกค้าทำรายการ กดตกลง แล้ว app เดิมจะขึ้น QR code อันใหม่ -> ร้านค้าถ่ายรูป QR code อันใหม่จากลูกค้า -> เสร็จสิ้นการจ่ายเงิน
ฟังดูแล้วค่อนข้างวุ่นวายอยู่นะครับเนี่ยNFC เร็วกว่าเยอะ
APPLY แบนแอพแน่นอน
น่าจะให้ร้านค้าทำแอพ NFC เป็นมาตรฐานกลาง ใช้ฟรีมากกว่า บริษัทส่วนใหญ่น่าเห็นด้วยกว่านะครับ(Apple ยอมได้ถ้าผู้ใช้แอพมีเยอะกว่าของตนมาก)
ตอนนี้มีแต่รายใหญ่อย่าง Samsung กับ Apple ที่มีมือถือ NFC บริษัทอื่นส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยเห็นด้วยกับ NFC อีก เพราะไปแย่งผลประโยชน์มากไป
ลองนึกถึงตอนเราเล็ง QR Code ไปมาระหว่างคน ซื้อและคนขายดูสิครับคงน่าหงุดหงิดน่าดู
จากที่ลองใช้ทั้ง NFC และ QR code ก็ไม่ได้รู้สึกว่าอันไหนสะดวกกว่าอันไหนนะ QR code มันอารมณ์เหมือน barcode ทั่วไป คนเข้าใจง่าย ส่วน NFC นี่จะงงๆ หน่อย ส่วนว่ายืนเล็งๆ ของ QR code มันจะลำบาก จากที่ใช้ NFC มา ก็ต้องมายืนเล็งเสากับตัวรับเหมือนกันครับ เพราะสัญญาณในการรับมันก็ไม่ได้ไกลมาก แถมถ้าใส่เคสนี่ต้องเช็คเคสที่ใช้ด้วยว่าไปบังสัญญาณจนรับ-ส่งไม่ได้ด้วยหรือเปล่าอีก ><"
ถ้าตัวระบบจ่ายเงินออกแบบให้กล้องส่องไปยังหน้าจอตัวเองไว้โดยมีกระจกใสเป็นแท่นวางไว้ระหว่างกลางน่าจะช่วยให้ง่ายขึ้นได้นะครับ คนซื้อก็เอาโทรศัพท์วาง กล้องหลังก็หันไปหา QR คนขาย แล้วกล้องคนขายก็เห็น QR คนซื้อพอดี ทีเดียวจบ
จ่ายด้วย QR Code จะเหมือน SCB UP2ME ไหม?
กำลังคิดเหมือนกันเลยครับ
เพียงแต่แทนที่จะให้แบงก์เป็นตัวกลาง ก็รวมกลุ่มกันทำเองซะเลย ซึ่งผมว่าก็เวิร์คดีนะ แต่ในฐานะผู้ใช้แล้ว NFC น่าจะสะดวกกว่า