นางฮิลลารี่ คลินตัน ว่าที่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาพูดว่าหนึ่งในนโยบายของเธอ คือการจัดการกับบริษัทที่เอาเปรียบลูกจ้างของตัวเอง ด้วยวิธีการทำสัญญาจ้างในรูปแบบของผู้ถูกจ้างโดยไม่มีสัญญาจ้างงาน เพื่อที่จะเลี่ยงกฎหมายแรงงานต่าง ๆ
ถึงแม้ว่าเธอจะไม่ได้เอ่ยชื่อบริษัทใดออกมาก็ตาม แต่ค่อนข้างชัดเจนว่าเธอกำลังพุ่งเป้าไปที่บริษัทอย่าง Uber ที่ได้มีการทำสัญญา "จ้าง" กับลูกจ้างในรูปแบบของ "ผู้ให้บริการคู่สัญญา" ซึ่งจะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำและสวัสดิการแรงงาน
เธอบอกว่าชาวอเมริกันหลายคนในยุคนี้สร้างรายได้พิเศษด้วยการปล่อยเช่าห้องนอนที่ไม่ได้ใช้ในบ้านของตัวเอง หรือออกแบบเว็บ ขายสินค้าที่ตัวเองทำเองกับมือที่บ้าน หรือแม้กระทั่งขับรถ ซึ่งส่วนตัวเธอเห็นว่าอุตสาหกรรม "gig economy" แบบนี้กำลังสร้างโอกาสและนวัตกรรมให้กับชาวอเมริกันอย่างมาก แต่มันก็สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา ว่าใครล่ะจะปกป้องลูกจ้าง และสายอาชีพที่ดีในอนาคตจะเป็นอย่างไร
เธอได้เอ่ยว่า บริษัทที่ได้ว่าจ้างลูกจ้างใน gig economy นี้ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถได้รับสวัสดิการทางสังคมที่ลูกจ้างทุกคนพึงได้ ได้แก่ วันลาป่วย, การลาเลี้ยงดูครอบครัว, หรือแม้กระทั่งการดูแลลูกขณะทำงาน ซึ่งสวัสดิการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการแข่งขันของประเทศ
ในขณะนี้ Uber ยังไม่ได้ตอบโต้หรือมีข้อคิดเห็นอย่างไรกับสิ่งที่ฮิลลารี่ได้นำออกมาพูด
ที่มา - C|net
*หมายเหตุ: คำนิยามของผู้ที่ถูกจ้างเป็นลูกจ้างแต่ไม่ได้รับเข้าเป็นพนักงานในบริษัทในข่าวนี้ แหล่งข่าวที่มาได้เลือกใช้คำว่า "Contractor"
Comments
เพื่อที่จะไม่เลี่ยงกฎหมาย ?
ด้วยกัน => ด้วยการ
อุตสาหกกรรม => อุตสาหกรรม
-/-
@TonsTweetings
พูดถึง AirBNB ด้วยนี่ครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ธุรกิจพวกนี้ไม่ใช่ว่าอยากหยุดเมื่อไหร่ก็ได้เหรอครับ ทำไมต้องมีวันลา
ผมว่า Option พวกนี้ มันก็จูงใจให้มาทำงานนะ เช่น อยากหยุดก็หยุดได้ รายได้เยอะกว่างานปกติ อันนี้มองในส่วนที่จะได้
แต่ในส่วนที่จะเสียแล้วไม่อยากจะเสียนี่สิ เช่น ถ้าทำงานปกติ ลาหยุดได้ "แต่ยังได้เงินอยู่" ... หรือ จ่ายภาษี เพื่อสวัสดิการอื่นๆ
มันก็น่าคิดอยุ่ครับ อาจจะมีอะไรที่มากกว่านี้ แล้ว ปัญหานังไม่เกิด ไม่มีกฏหมายควบคุมที่ดีพอ
ดีมากครับ พักนี้ชักเห็น Uber ออกลายบ่อยเกินไปละ มีข่าวให้เป็นชื่อเสียไม่เคยเว้น
ชอบเลย
ผมสนันสนุน AirBNB เพราะบริษัทนี้พยายามทำตามกฎหมายและผลักดันให้มีการแก้/ออกกฏหมายที่รองรับรูปแบบทำธุรกิจใหม่ๆ
แตกต่างกับ Uber ที่เน้นแหกกฏเป็นหลัก
จะจับเขาเข้าระบบ คุณมีระบบที่ดีพอหรือยัง
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ที่อเมริกาไม่มีอาชีพอิสระเหรอ
มีครับ กรณี Freelance ก็มีรูปแบบสัญญาชัดเจน ต้องจ่ายเงินประกันสังคม (Social Security) เป็นนายตัวเอง มีกฎหมายรองรับ ที่อเมริกากฎหมายคุ้มครองสิทธิเค้าเข้มแข็งมาก ดูแลสุดๆ ตกงานก็ไปขอรับเงินสวัสดิการคนตกงานได้ ( เพราะทุกคนต้องจ่ายจริงๆ และ เงินไม่น้อยนิดเหมือนบ้านเราครับ) แต่ที่ Uber ทำ เหมือนเลี่ยงไม่เข้าหมวดใดๆ ซึ่งความจริง ใกล้เคียงกับลูกจ้างชั่วคราวด้วยซ้ำ แต่กลับใช้คำว่าคู่สัญญา
แต่ผมชอบประโยคสุดท้ายของเค้านะ "ซึ่งสวัสดิการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการแข่งขันของประเทศ"
สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ได้เป็นอย่างดี ขณะที่ประเทศเรามองว่าสวัสดิการคือประชานิยม (อันเลวร้าย)
แต่ประกันสังคมบ้านเค้าเก็บโหดจริงๆนะครับ ผมทำพาร์ทไทม์ยังโดนไปเยอะเลย คิดแล้วเสียดายอยู่
กลับกันบ้านเรายังมองว่าการจ่ายประกันสังคม(ที่น้อยกว่าเค้า)ยังเป็นอะไรที่สิ้นเปลืองอยู่เลยครับ ยังอยากให้รัฐอุ้มอยู่ตลอด
ของบ้านเราผมมองว่ามันเปลือง เพราะเข้ารพ. แล้วมันโดนแยกเกรดนี่แหละครับ
พ่อผมเข้านอนรพ.เป็นเดือน ผ่าบายพาสหนึ่งเส้นไม่เสียสักบาท เพราะประกันสังคมนี่แหละคับ ผมว่ามันดีนะ แต่ถ้ารักษาทั่ว ๆ ไป อยากได้เร็ว บริการดี รพ.เอกชน+ประกันสุขภาพดีกว่าอันนี้เห็นด้วย
สวัสดิการจากคนที่ไม่จ่ายคือสิ่งที่เลวร้ายครับ สวัสดิการจากคนที่จ่ายเงินคนคือสิ่งที่ดีครับ
"แต่มันก็สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา ว่าใครล่ะจะปกป้องลูกจ้าง และสายอาชีพที่ดีในอนาคตจะเป็นอย่างไร"
ตรงใจผมเลยครับ
สงสัยมานานแล้วว่า
ถ้าคนที่ทำงานกับ Uber คนขับถูกหลอกไปฆ่าแล้วชิงรถไป
Uber จะดูแลลูกเมียของคนขับไม?
Uber จะชำระหนี้ของรถที่ถูกชิงไปมั้ย หรือว่าตกเป็นภาระของครอบครัวคนขับ?
ผมรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นธุรกิจรูปแบบใหม่มากกว่า รัฐก็จะต้องปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบแปลกใหม่เช่นนี้
มันก็เป็นอีกมุมด้านมืดของ โมเดลธุรกิจแบบใหม่ ที่ลดต้นทุนการจัดการ เพราะใช้สัญญาในเชิงจ้างทำของ ไม่มีการรับผิดชอบนอกเหนือไปกว่านั้น
จริงหรือครับ หรือว่าตั้งใจเลี่ยงความรับผิดชอบ
ดีมากเลยครับ ว่าที่ผู้นำเป็นห่วงสวัสดิภาพของประชาชนขนาดนี้ ผมนึกว่าตั้งหน้าตั้งตาจะรีดภาษีเสียอีกปกติคนให้เช่าห้องนอนตัวเอง หรือขายสินค้า homemade อาจไม่เคยต้องเสียภาษีอ่ะนะ
เยียมเลย
เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์คนนึงเลย
"ซึ่งสวัสดิการเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการแข่งขันของประเทศ"
สวัสดิการดีต่อสังคมและสังคมนิยมแต่ไม่ดีต่อการแข่งขันระหว่างประเทศแน่ๆ
เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะไม่ถูกหักจากกำไรแต่จะถูกบวกเข้าไปในราคาขายซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการส่งออกและการแข่งขันด้านราคาซึ่งผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยสนแค่ว่าอะไรถูกกว่า อะไรคุ้มค่าเงินกว่า จะเป็นมาอย่างไรไม่สน
แม้ว่านโยบายจะฟังดูดีแต่ผมสงสัยว่าผู้คนที่ทำงานกับ Uber หรือธุรกิจอื่นๆ แนวเดียวกันนั้นต้องการด้วยไหมส่วนตัวผมมองว่าเป็นนโยบายหาเสียงซื้อใจสหพันธ์แรงงานมากกว่า ซึ่ง Democratic นั้นมาแนวสังคมนิยมอยู่แล้ว
ไม่รู้ว่ากม.ภาษีเขาเก็บเหมือนกันไหม บ้านเราถ้าขาย/ให้เช่าไม่ว่ารูปแบบใด ผ่านช่องทางไหน ถ้ามีรายได้ก็ต้องถือเป็นเงินได้?
ถ้ามีการนำส่งสรรพากรก็ถือเป็นเงินได้ครับ ถ้าไม่ได้นำส่งก็ไม่ต้องเสียภาษี จริงๆ การจ่ายภาษีบ้านเรายังมีช่องโหว่อยู่หลายส่วนครับ ก็ว่ากันไป
พวกนี้เค้าได้เงินเป็นราย job อยู่แล้วหนิเค้าจะมองตัวเองเป็น partner มากกว่าลูกจ้างรึเปล่า