ประเด็นในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมาบนโลกอินเทอร์เน็ตของไทยที่กล่าวถึงกันมาก คือเรื่องของมติคณะรัฐมนตรีที่ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำระบบ Single Gateway หรือกล่าวอย่างง่ายคือ รวม Gateway ของประเทศที่ออกไปต่างประเทศมาอยู่จุดเดียว เหตุผลหลักคือเรื่องของความมั่นคงเป็นหลัก และหลายภาคส่วนเริ่มต้นกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้บ้างแล้ว
บทความขนาดสั้นชิ้นนี้จะให้มุมมองอีกด้านหนึ่งที่มาจากรัฐศาสตร์ แม้จะไม่นำเสนอว่าควรจะทำอย่างไร แต่จะเป็นฐานของความเข้าใจว่าเรากำลังเจออะไรอยู่ครับ
ทำไมรัฐถึงต้องการควบคุมอินเทอร์เน็ต?
ภาพทำเนียบรัฐบาลจาก Wikimedia โดย Sodacan (Own work) CC BY-SA 3.0
เหตุผลประการสำคัญที่สุดคือเรื่องของ “ความไม่แน่นอน” เป็นหลัก ไม่ใช่รัฐไทยเท่านั้นที่เจอสถานการณ์เช่นนี้ แต่เป็นรัฐทั่วโลกที่ต้องเจอปัญหาเหล่านี้ สำหรับภาครัฐ อินเทอร์เน็ตถือเป็นพรมแดนที่ไม่สามารถเข้าไปจัดการได้ กล่าวในภาษาทางวิชาการคือเป็นพื้นที่ซึ่งรัฐเข้าไปวางหลักการและกำหนดกติกาของสังคมแบบพื้นที่อื่นๆ ไม่ได้
ในกรณีของสหรัฐอเมริกา ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นในการถกเถียงในสภาคองเกรสอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นการออกกฎหมายว่าด้วยเรื่องการควบคุมสื่อลามกอนาจารในเด็ก มีการถกเถียงกันว่า จะบังคับใช้กฎหมายอย่างไร แนวทางในการดำเนินการเป็นอย่างไร และขอบเขตอยู่ตรงไหน เพราะอินเทอร์เน็ตไม่มีขอบเขตและพรมแดนที่เราเห็นได้แน่นอน กล่าวอีกอย่างคือ ผู้ใช้งานสามารถกระโดดข้ามพรมแดนระหว่างรัฐไปมาได้อย่างสะดวกนั่นเอง
นอกจากนั้นแล้ว ความไม่แน่นอนในพื้นที่ของอินเทอร์เน็ต เป็นช่องทางให้มีการไหลของข้อมูลต่างๆ ซึ่งภาครัฐมองว่านี่เป็นเรื่องไม่พึงประสงค์ ตลอดจนถึงเป็นการท้าทายตัวโครงสร้างของรัฐ ซึ่งระบบของข้อมูลภาครัฐใช้แนวทางแบบ broadcast หรือการกระจายข้อมูลจากจุดหนึ่ง ผิดกับแนวทางอินเทอร์เน็ต ที่เป็นการกระจายข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน (self-communications) ระหว่างกัน การควบคุมแนวทางของข้อมูลจึงเป็นไปได้ยากกว่ากันมาก
ด้วยเหตุผลโดยคร่าวสองส่วนข้างต้น รัฐจึงอาศัยสิ่งที่เรียกว่า Raison d’Etat หรือ Reason of the State ที่แปลว่าเหตุผลของรัฐเข้ามาจัดการ Raison d’Etat มีความหมายว่า “ เหตุผลทางการเมืองสำหรับการกระทำหรือตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความยุติธรรม ความเปิดเผย (openness) หรือความตรงไปตรงมานั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ” สำหรับนักวิชาการอย่าง Michel Foucault สิ่งที่รัฐตัดสินใจทำอิงอยู่บนหลัก “ความจำเป็น” ในการ “รักษาตัวรัฐให้อยู่รอด” มากกว่าสิ่งอื่นใด
ความหวาดกลัวของรัฐในข้อนี้ เมื่อมาปรับใช้กับแนวทางแบบ Single Gateway แล้ว ก็ย่อมทำให้รัฐรู้สึกได้ว่ามีความมั่นคง เพราะตัวเองใช้กลไกในการควบคุมการสื่อสารข้อมูล และสร้างความมั่นใจว่าข้อมูลที่อยู่ภายใต้การตรวจสอบจากรัฐนั้น จะทำให้รัฐไม่ถูกท้าทาย ในเวลาเดียวกัน เมื่อถึงยามจำเป็น รัฐก็สามารถ “ตัดขาด” การเชื่อมต่อภายนอกได้ด้วยความรวดเร็ว
ทำไมรัฐไทยต้องสร้าง single gateway?
คำตอบที่ได้มีอยู่สองมิติ มิติแรกคือเรื่องของการสถาปนาอำนาจที่ต่อเนื่องมาจากแนวทางหลังรัฐประหารปี 2549 กับแบบที่สองคือเรื่องของฐานคิดแบบอำนาจนิยม
มิติแรกคือเรื่องของการสถาปนาอำนาจอย่างต่อเนื่อง ในบทความที่มีชื่อว่า “State Repression in Cyberspace: The Case of Thailand” ของ เอม สินเพ็ง อาจารย์ประจำภาควิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ระบุอย่างชัดเจนว่า รัฐไทยมีความพยายามในการสถาปนาอำนาจบนพื้นที่ของอินเทอร์เน็ต นับตั้งแต่การรัฐประหาร 2549 เป็นต้นมา ความพยายามนี้ไม่ใช่แค่การปิดกั้นหรือเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นเหม่ต่อความมั่นคง หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสร้างองค์กร หน่วยงานสนับสนุน และโครงสร้าง อย่างเช่น การออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่อง แม้ในสมัยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทุกรัฐบาลก็ตาม
ภาพอดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (ภาพจาก Wikimedia)
แนวทางการสร้าง single gateway จึงเป็นเสมือนพัฒนาการของการทำระบบควบคุมหรือสั่งการ ซึ่งต่อเนื่องมาจากแนวทางสมัยรัฐประหารเมื่อปี 2549 ซึ่งวางรากฐานไว้อยู่แล้ว
มิติที่สองเป็นเรื่องของฐานคิดแบบอำนาจนิยม ดังจะเห็นได้จากในส่วนกรอบคำอธิบายเรื่อง “เหตุผลของรัฐ” สิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้สภาวะปัจจุบันที่อำนาจทั้งหมด ถูกรวบขึ้นไปที่ คสช. ย่อมทำให้การตัดสินใจสร้าง single gateway เป็นเรื่องที่มีความชอบธรรม เพื่อรักษาฐานอำนาจของรัฐ ซึ่งสอดคล้องแนวปฏิบัติหรือกรอบกฎหมายอย่างมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราวในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสะท้อนแนวคิดของกองทัพที่ดูแลเรื่องของความมั่นคง
มิตินี้จึงมองได้ว่า การเกิดขึ้นของ single gateway จึงเป็นการแสดงตัวตนและสะท้อนแนวคิดของกองทัพบก ในฐานะผู้ใช้อำนาจ ณ ปัจจุบัน
ทั้งสองมิตินี้แม้อาจจะสะท้อนความจำเป็นในการสร้าง single gateway ได้ไม่หมด แต่น่าจะถือเป็นสองปัจจัยหลักในการที่ผลักดันภาครัฐให้ตัดสินใจเช่นนี้
ใช้งานได้จริง?
ปัญหาที่รัฐไทยต้องเผชิญอย่างหนึ่งนั่นก็คือ โครงสร้างของโลกอินเทอร์เน็ตหรือ Cyberspace นั้นมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นและไม่แน่นอนสูงมาก ในปัจจุบัน ไทยมี Gateway อินเทอร์เน็ตรวมแล้วเกินกว่า 10 ที่ ( จากข้อมูลของ NECTEC ) และโครงสร้างเหล่านี้จะ “ขยาย” หรือ “หดตัว” ก็ได้ตามแต่ที่จะต้องการ คำถามคือ มีหลักประกันอะไรหรือไม่ที่ภาครัฐจะมั่นใจได้อย่างไรว่า โครงสร้างอินเทอร์เน็ตจะไม่เปลี่ยนแปลง หากเกิดสมมติว่ามีภาคเอกชนต้องการแอบตั้ง gateway ตัวเองอย่างลับๆ และพร้อมที่จะ “สลับ” ระบบไปมา เพื่อหลบหลีกภาครัฐ
นอกจากนั้นแล้ว ภาครัฐเองยังต้องเผชิญหน้ากับกระบวนการเข้ารหัส ตลอดจนถึงการปลอมตัวตน (anonymity) เพื่อรับส่งข้อมูลต่างๆ อีกมาก ทั้งหมดนี้แม้เป็นเรื่องทางเทคนิค แต่ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายว่าจะสามารถ “ใช้ได้ผลจริง” หรือไม่ (policy execution and action) ในระดับปฏิบัติ นี่ยังไม่รวมถึงปริมาณข้อมูลมหาศาลที่จะต้องสร้างและทุ่มการลงทุนเพื่อทำให้เกตเวย์แห่งชาติเป็นจริงนั้น ต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลและกำลังคนที่เยอะตามไปด้วย
ที่หนักที่สุดคือเรื่องของความมั่นคงของอินเทอร์เน็ตโดยรวม ทุกวันนี้ภาคเอกชนโดยเฉพาะธนาคารของไทย ล้วนแล้วแต่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของอินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารแทบทั้งสิ้น การแขวนชะตากรรมของบริษัทหรือการดำเนินธุรกรรมไว้เพียงจุดเดียว หากเกิดเหตุการณ์ล่มไป สิ่งที่เกิดขึ้นคือความเสียหายทางธุรกิจนับร้อยล้านบาททั้งสิ้น นโยบายนี้จึงเต็มไปด้วยปัญหา แม้ว่าการตัดสินใจจะวางรากฐานอยู่บนหลักความมั่นคงและเหตุผลของรัฐก็ตาม
ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่ วิกฤตการณ์ความเชื่อมั่นและปัญหาทางการเมืองในระยะยาว เพราะเศรษฐกิจและการเมืองนั้น เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนและหลีกเลี่ยงไม่ได้ กล่าวอย่างง่ายที่สุด การสร้างความมั่นคงให้กับรัฐด้วยการสร้าง single gateway หาใช่การสร้างความมั่นคงและมั่นใจในระบบอินเทอร์เน็ตโดยรวมของประเทศไม่
ประชาชนอย่างเราต้องทำอย่างไร?
หากเงื่อนไขของประเทศเป็นประชาธิปไตย ภาคประชาชนจะต้องเข้าไปมีเสียงและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจครั้งสำคัญในครั้งนี้อย่างแน่นอน และเป็นสิ่งที่สมควรจะทำอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม ภายใต้เงื่อนไขและสภาวะปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพยายามผลักดันของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรหลายฝ่ายที่อยู่กับภาครัฐ จะเห็นได้ว่า ความพยายามคัดค้านของภาคประชาชนแทบจะไร้ผล อีกทั้งยังสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะถูกดำเนินคดีตามมาอย่างไม่จำเป็น
หนทางเดียวที่อาจจะพอทำได้ คือการภาวนาอย่างลึกๆ ว่าในที่สุดแล้วความเห็นนี้จะประสบปัญหาจนยากที่จะดำเนินการในความเป็นจริงดังที่ได้ชี้ให้เห็นแล้วในส่วนที่สาม ซึ่งทั้งหมดนี้ก็แล้วแต่ว่าท่านผู้อ่านจะมองเห็นประเด็นนี้อย่างไร
อ้างอิง
Castells, M. (2007). Communication, Power and Counter-power in the Network Society. International Journal of Communication(1).
Foucault, M., & Davidson, A. I. (2009). Security, Territory, Population (G. Burchell, Trans. M. Senellart, F. Ewald, & A. Fontana Eds. Paperback ed.). Basingstoke: Palgrave Macmillan.
Hobson, A. (2004). The Oxford Dictionary of Difficult Words: Oxford University Press.
Johnson, D. R., & Post, D. (1996). Law and borders: The rise of law in cyberspace. Stanford Law Review, 1367-1402.
Limudomporn, P. (2015). Why the Thai government hates online social networks: a theoretical approach examination. Paper presented at the The Sixth Annual Debating Internet Communities and Social Networks Conference, Online. http://networkconference.netstudies.org/2015Bentley/thailand-online-social-networks/
Sinpeng, A. (2013). State Repression in Cyberspace: The Case of Thailand. Asian Politics & Policy, 5(3), 421-440.
Sinpeng, A. (2014). The Cyber Coup. Fieldsights - Hot Spots, Cultural Anthropology Online. Retrieved April 2, 2015, from http://www.culanth.org/fieldsights/568-the-cyber-coup
Skinner, Q. (2010). The sovereign state: a genealogy. In H. Kalmo & Q. Skinner (Eds.), Sovereignty in Fragments. Cambridge: Cambridge University Press.
Villeneuve, N. (2006). The filtering matrix: Integrated mechanisms of information control and the demarcation of borders in cyberspace. First Monday, 11(1).
Comments
ก็ไม่แปลกใจที่พลังของประชาชนไม่สามารถกดดันรัฐบาลชุดนี้ได้ เพราะว่าในตอนนี้ก็ยังมีแบ่งพรรคแบ่งพวกอยู่เหมือนเดิม แถมมีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นด้วยรวมทั้งประชาชนในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านงาน IT ก็ยังคงไม่ใส่ใจในเรื่องนี้มากนักด้วย น้อยคนนักที่จะตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมาอย่างร้ายแรงเช่นในตอนนี้
Get ready to work from now on.
ออกมาก็กลัวโดนจับครับ เราทำได้แค่พูด แต่เขาเอา 44 มาบังคับคือไม่เข้าใจ คนที่สนับสนุนเขามีความสุขกับเรื่องแบบนี้ได้ยังไง
+1
+1
SSL ก็ไม่ปลอดภัยแล้ว ต้องใช้ security อย่างไร จึงจะส่งข้อมูลได้ปลอดภัยมากที่สุด กระทบ REST เอามากๆ
คำตอบของข้า คือ ประกาศิต
(รัฐ)มั่นคง
(รัฐ)มั่งคั่ง
(รัฐ)ยั่งยืน
สิน่ะ
I'm ordinary man; who desires nothing more than just an ordinary chance to live exactly what he likes and do precisely what he wants.
รัฐไทย คืออะไรครับ
ตอนแรกก็คิดว่า จิกกัด
คิดไปคิดมา (เดาว่า)
คงเป็น รัฐ(บาล)(ประเทศ)ไทย
มั้งครับ
รัฐ / รัฐชาติ ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมขอค้านหัวชนฝาการทำ Gateway แบบนี้ ต้องใช้ตัวผ่านข้อมูลขนาดไหน และเนื้อที่เก็บ Log จะมหาศาลขนาดไหน หาก Gateway ที่มีอยู่หนึ่งเดียวล่ม = ธนาคารล่ม ก็เหมือนกับให้ทหารปิดตาไปรบนั่นแล...
ข้าขอทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้ใครมาทรยศข้า
แผนภาพนั่นมัน...
อยากเห็นปลาวาฬทั้งตัวคงต้องว่ายน้ำ(?)หน่อยล่ะครับ
ทหารมีแนวโน้มที่จะมองจากตัวเองเป็นหลัก และเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นไม่งั้น ไม่จะไม่มีความกล้าเดินไปสู่ความหายนะ แล้วพาคนทั้งประเทศไปได้หรอกครับ
แต่ผมเกรงว่าตอนนี้จะกู่ไม่กลับแล้วนะสิครับ ตอนนี้ยิ่งโดยครอบงำ โดนควบคุมอยู่มาก
ผมกลัวว่าเหตุการณ์ชุมนุมที่เพิ่งผ่านพ้นไป และเหตุการณ์ตอน 16 ตุลาฯ มันจะย้อนกลับมาหลอกหลอนเราสักวันนึงนะครับ
Get ready to work from now on.
ถ้าพูดถึง 16 ตุลาฯมันดูจะหลอกหลอนตั้งแต่การยึดอำนาจแล้วละครับ ถ้ามองให้ลึกกว่านี้จะเห็นอะไรมากกว่านี้ แต่เป็นเรื่องที่พูดไม่ได้(ในประเทศนี้) เดี๋ยวจะโดนจับขังลืมครับ....
ปัญหาคือเรื่องการบริหารเศรษฐกิจกับบริหารการรบมันต่างกันนี่ละครับ
เลือกรูปนายกสุรยุทธ์ซะผมคิดไปไกลเลย - -'
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ผมนี่รู้ได้ในพริบตาเดียวเลยว่าเขาเอามาจัดการปัญหาความมั่นคงของอะไร :D
"ได้แต่ภาวนา" อ่านแล้วหดหู่ใจอย่างยิ่ง
ปัญหาคือ พอกลับมาเป็นพรรคการเมือดูแลสมมุตทหารทำตรงนี้ทิ้งไว้ พรรคการเมืองก็ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง เพราะถือว่าตูองก็มีอำนาจ เรื่องอะไรจะทำในสิ่งที่บั่นทอนอำนาจตัวเอง
วิธีจุดให้ติด ก็อาศัยความเปราะบางตรงนี้แหละ ใส่ไฟไปเลย ถ้าพี่ชายน้องสาวกลับมา คนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามก็จะถูกกระทำจากกรณีนี้หรือถ้าพี่หล่อกลับมา พวกเสื้อกีฬาสีแสบตาทั้งหลายก็จะโดนจากกรณีนี้ด้วย
ดังนั้นตัดปัญหาเพื่อความอยู่สบาย ไม่ต้องมาฟาดฟันกันในอนาคตก็ทำให้มันแท้งตั้งแต่ตอนนี้แหละ
อันนี้ก็คิดแบบหยาบไปหน่อยครับ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ใครกลับมาเราต้องให้ทุกคนคิดได้ว่ามันไม่ควรเกิดเพราะอะไรไม่ใช่ตีไข่ใส่แป้งว่าเดี๋ยวคนนั้นจะมาคนนี้จะมาครับงั้นมันก็เหมือนเดิมครับ แล้วอีกอย่างถ้าทำขนาดนนี้ผมคิดว่าเราดเข้าใกล้เกาหลีเหนือแล้วครับ
มีแบบข้อดี
1.
2.
ข้อเสีย
1.
2.
3.
ใหมครับ แหะๆ
เอาแบบลูกทุ่งๆครับ
ข้อดี
1. ตรวจสอบได้หมดทุกกระเบียดนิ้ว(น่าจะเป็นข้อดีของคนมีอำนาจ)
2. สั่งตัดได้ทันที ระงับได้ทันที(ก็ดีสำหรับผู้มีอำนาจครับ เหมือนข้อมูลจัตุรัสเทียนอันเมิงที่จีนเอากะลาครอบพลเมืองของเขาไว้ครับ)
3. การจ้างงานสะพัดครับ (แต่ดูจากเรื่องรับเลือกตำรวจก็น่าจะรู้ว่าใครจะได้ดี)
ข้อเสีย
1. ระบบที่ไม่มีการสำรองเส้นทางความน่าเชื่อถือเท่ากับคอมที่เอาไว้ให้เด็กเกรียนเล่นเคาเตอร์ครับ2. ระบบที่ดีมากพอจะรองรับคนทั้งประเทศอาจจะใช้งบมากกว่ารถไฟความเร็วสูงหรืออาจจะยานอวกาศความเร็วสูงก็ได้ครับ(ดูจากฮาร์ดิสกทม.)
3. ถ้าทำระบบไม่ดีเราอาจจะได้ใช้เน็ตความเร็วประมาณ TOT อย่างพร้อมเพรียงกันครับ
ข้อสุดท้ายผมนี่ร้องเลย
ลืมอีกนิด
ข้อเสีย4. ระบบใหญ่ขนาดนั้นต้องการที่ดินและการวางสายเคบิลใหม่ครับซึ่งต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ แถว กรุงเทพ สมุทรปราาาร นนทบุรี ต้องเวนคืนจากชาวบ้านตาดำๆ
5. ระบที่ใหญ่ขนาดนั้นต้องการโรงไฟฟ้าครับ ซึ่งอาจต้องสร้างใหม่ 1 โรงขึ้นไป เพราะระบบไฟต้องมีสำรอง แล้วจะสร้างที่ไหนก็ต้องใกล้ๆแถวนั้นแหละ แล้วที่ดินละ
ปล. ระบบไฟฟ้าประมาณเอานะครับ ที่ม.เครือข่ายบวกเมนเฟรมบวกเซิร์ฟเวอร์ใช้ไฟฟ้าเกือบๆ 30MW ได้ครับจำไม่ผิดนะ ส่วนใหญ่เหมือนไปกับค่าแอร์ครับแค่ค่าตัวก็ล้านกว่าบาทแล้วเครืองหนึ่งต้องใช้สองเครื่องเป็นอย่างน้อย แล้วก็มีแอร์แบบตู้แช่ให้เซิร์ฟที่ปล่อยความร้อนสูงอีก ห้องแค่ 200 ตารางเมตรเอง
อันนี้มันพ่วงมากเพิ่ม หลายคนไม่สนใจเรื่องนี้ด้วยนะ
เอาตรง ๆ คือรัฐบาลอยากปิดระบบ internet ใจจะขาด แต่ทำไม่ได้ฮะ
จากความรู้สึกผม คือ มีระบบนี้ไปก็ไม่ได้ช่วยอะไร เหมือนช่วงวุ่นวาย ปีที่แล้ว ๆ มา
ที่ปิด กทม. ตรวจระเบิด ทั้งรถไฟฟ้าบนดิน-ใต้ดินทุกวัน เอาบังเก้อทหารมากั้น
ตรวจกระเปา ตรวจเป้ กันทุก 100 m
ก็ยังมีคนขนระเบิดไปวาง ใจกลางเมืองได้ หลายครั้งฮะ (ผมคิดเอาเองว่า คนร้ายน่าจะซื้อจาก
7/11 แถวนั้นแล้ววางระเบิด ก่อการร้ายเลยฮะ ไม่ต้องขนย้ายไปใหน เลยตรวจไม่เจอ)ตอนนี้ผมห่วงแค่ internet gateway ออกต่างประเทศวิ่งช้าลง
กับ มี % ล้มมากขึ้น แค่นั้นเองครับ
เพื่อความมั่นคง ?ของใคร ?
2 คำง่ายๆเลยคับ
ควบคุม , ดูแล
แค่นั้นนอกกันข้ออ้างทั้งนั้นคับ
ผมว่าคำเดียวครับ ควบคุม
เปรียบเทียบให้ชาวบ้านเข้าใจได้ง่ายๆก็คือ ทุกครั้งที่คุณจะโทรหาใครในต่างประเทศ คุณต้องหา call center กลางให้เขาต่อสายให้ก่อน...
เป็น Call center ที่พยายามอยากรู้เราทุกเรื่องมากเลยฮะ
กลับไปสู่รุ่น Pager ชัดๆ
แค่ต่อสายยังไม่พอครับ
Call Center คนนั้นยังพ่วงสายร่วมฟังเราสนทนาต่ออีกต่างหาก
อาจจะคิดว่าจีนทำได้ ไทยก็ทำได้หรือเปล่า
เห็นช่วงนี้นี่พี่จีนตามจีบยังกับอะไร
แต่ลืมไปหรือเปล่าว่าจุดเริ่มต้นมันต่างกัน จีนเขาคอมมิวนิสต์มาแต่ไหนแต่ไร mindset ของประชาชนโดนหล่อหลอมมานาน
ตัดภาพกลับมาที่ไทยที่เป็นแบบประชาธิปไตย(หรือเปล่า?) คนมีอิสระ mindset ก็เป็นอีกแบบ ถ้าอยู่ๆจะมาบังคับ ให้รู้สึกอึดอัดมากเกินไป
มันก็จะกลายเป็นระเบิดเวลา......
ในปีนี้ หรืออาจจะอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ไทยอาจจะต้องพบภาวะการต่อต้านทางการเมืองเยอะขึ้นไงครับ อาจมีการโพสโจมตี ปลุกระดม อะไรต่างๆ มากมาย ผมเดาๆ เอานะว่าน่าจะมีเหตุผลจากการ "เตรียมเปลี่ยนผ่านอะไรบางอย่าง" การรักษาความสงบช่วงเปลี่ยนผ่าน มันก็คงต้องทำแบบนี้
มีความสุขจังเลย
ตัวอย่างเช่นเครือข่ายของ Facebook เครือข่ายของ Google เครือข่ายของ LINE เนาะ ฟังดูดีมากจริงๆ เฮ้อ!
แล้วถ้าทำแบบเมกา คือทำอยู่ แต่ไม่บอก นี่คงจะยอมรับกันได้มากกว่าหรือเปล่าครับ ?
คืออันนั้นทำอยู่แล้วครับแทบจะไม่มีรัฐไหนไม่ทำ(มีบ้างในยุโรป กับประเทศที่ประชาชนแทบไม่รู้จักเน็ต)
ตราบเท่าที่ไม่รู้สึกตัวไม่มีหลักฐานก็ไม่โวยวายครับ
ทำอยู่นี่คือทำอะไรบ้างครับ
ผมเขียนเรื่องนี้มาพอสมควร มันเยอะมาก เวลาถามว่ารับได้คือรับตรงไหนได้ แบบรัฐบาลไทยจะไปตั้งศูนย์ดักฟังในต่างประเทศ?
lewcpe.com , @wasonliw
นี่เขาจะใช้วิธีแบบว่าถ้าปิด social network ไม่ได้ก็ทำให้มันใช้งานได้ช้าจนน่ารำคาญใจอะไรแบบนั้นรึเปล่านะ
คนบางคนถูกอำนาจครอบงำโดยไม่รู้ตัว ไม่่มียารักษา
เจอกันที่ BlognoneV2 ครับ ถถถถถ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
-ดอกไม้มีหลายสี บ้างมีพิษ บ้างมีหนาม ถ้ามองที่เป้าหมายอย่างเช่น ความสวยงาม อย่างอื่นสนใจด้วยเหรอ
-มีดีมีเลวปะปนกัน มีคนเกลียดก็มีคนชัง
-รู้เท่าทันคนอื่น ไม่เอาเปรียบคนอื่นและไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน
-เอาอดีตมาเป็นบทเรียน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด พรุ่งนี้มันจะดีเอง
-อยากให้ลูกหลานอยู่รอด ทำไมไม่สอนการเอาตัวรอดให้เค้า เป็นตัวอย่างที่ดีให้เค้า ทำตามกฎ อย่าทำลาย
-ประสปการณ์มันไม่จำเป็นต้องสำผัสเอง เรียนรู้จากผู้อื่นก็ได้
-อ่านหนังสือมากเล่ม ไม่เท่าอ่านใจตนเองเพียงเล่มเดียว ยิ่งดีใหญ่ถ้าอ่านใจคนอื่นได้
จากคนเก็บกด(ความรู้สึก อิอิ)
อินเตอร์เน็ต => อินเทอร์เน็ต
วางกรากฐาน => วางรากฐาน
bandwidth เกือบ 2 Tbps ขนาดแบ่งช่วยกันดูแล ยังจะไม่ไหวแล้วนี่จะดูแลทั้งหมดเอง หายนะชัดๆ
ธุรกรรมออนไลน์คงได้มีล่ม
ถ้าเน็ตเป็นแบบ tot ก็ไม่รุ้จะต่อทำไม ยกเลิกเน็ตบ้านใช้ชีวิตออฟไลน์แบบเกาหลีเหนือ??
The Last Wizard Of Century.
"พลเอกอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ย้ำซิงเกิลเกตเวย์ ใช้เพื่อการพาณิชย์ เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ไม่ได้มีเจตนาเข้าไปคุมควบการใช้งานของประชาชน ขอให้ประชาชนไปศึกษาข้อมูลซิงเกิลเกตเวย์ ให้ดีก่อนออกมาคัดค้าน"
พวกเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ? ไม่ได้ศึกษาก่อนออกมาค้าน? ช่องทางออกระหว่างประเทศเดียว เพื่อการพาณิชย์ เพิ่มประสิทธิภาพอย่างไร ใครพอจะหาได้ว่าประสิทธิภาพตอนที่เราจะมี Gateway เดียวมันเป็นอย่างไร แล้วตอนนี้ที่มีหลาย Gateway เป็นอย่างไร เอามาเทียบกันดู เทคโนโลยีต่อเทคโนโลยี ผมไม่เชื่อว่า คนใน Blognone จะไม่ได้ศึกษาก่อนออกมาค้าน และเชื่อว่ามีผู้เชี่ยวชาญทาง Network หลายคนที่พอจะอธิบายเป็นภาษาวิชาการและชาวบ้านเข้าใจง่ายๆ ได้ เช่น การทำรูปภาพอธิบายให้ชาวบ้านที่ไม่ได้จบคอมฯ เข้าใจ
คำตอบของข้า คือ ประกาศิต
ตอนนี้เวป ไอซีทียังไม่เปิดเลย หลังโดนชาวเนตสอนเชิง