สมัยก่อน ถ้าอยากจะเปิดโลกฟังเพลงกระแสใหม่ๆ อาจต้องฟังรายการ ซอนนี่แอนด์นอร์ คลื่นแฟต 104.5 หรือใหม่หน่อยก็เข้ากรุ๊ปแชร์เพลง ซึ่งส่วนใหญ่จะแปะลิงก์เพลงบนยูทูบ, SoundCloud แลกกันฟัง
ตอนนี้เรามาถึงยุค Music Streaming เป็นใหญ่ ฟังก์ชั่นแนะนำเพลงที่ตรงจริตผู้ฟังอย่าง Discover Weekly ของ Spotify (หรือแท็บ For You ใน Apple Music) ก็เริ่มมีบทบาทกับนักฟังที่ชอบเปิดโลกตัวเองอยู่เสมอๆ และวันนี้มีเรื่องราวเผยไต๋ของ Spotify จาก QZ มาเล่าสู่กันฟังครับ ว่าระบบเลือกเพลงเด็ดรายสัปดาห์ เขาทำงานกันอย่างไร
ที่มา - QZ
ในบทความ The magic that makes Spotify’s Discover Weekly playlists so damn good เล่าถึงระบบ Discover Weekly ใน Spotify ที่จะเลือกเพลง 30 เพลงให้ผู้ใช้ทุกวันจันทร์ทำอย่างไร ในเมื่อทั้งโลกนี้มีเพลงเป็นล้านๆ ที่เกิดมาชีวิตหนึ่งก็คงฟังไม่หมด แล้วมีเหตุผลกลใดบ้างถึงเลือกเพลงเหล่านี้ให้ผู้ใช้ฟัง แถมยังถูกใจเสียด้วย แล้วผู้ใช้มีกว่า 75 ล้านคน จะเลือกเพลงให้ถูกใจทุกคนพร้อมกันในวันจันทร์ เขาทำได้อย่างไร?
I never knew how much I liked the Spotify Discover Weekly playlist until they didn’t update it today and sent me into a BLIND RAGE.
— Brian Barrett (@brbarrett) September 21, 2015
ฟังก์ชั่น Discover Weekly เพิ่งมีแบบเงียบๆ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ถึงวันนี้มีตัวเลขการฟังเพลงจากเพลย์ลิสต์นี้แล้วกว่า 1.7 พันล้านครั้ง (ตามตัวเลขของบริษัทฯ) จนมีอยู่วันหนึ่งฟังก์ชั่นนี้ขัดข้อง ก็มีคนถึงขั้นทวีตบ่นเลยทีเดียว
เพลย์ลิสต์+รสนิยม
กลเม็ดของ Spotify อยู่ที่การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ที่สร้างกว่า 2 พันล้านเพลย์ลิสต์ในระบบ ซึ่งเพลย์ลิสต์แต่ละอันก็พอจะเดาทางรสนิยมและความหลงใหลในดนตรีบางแนวของแต่ละผู้ใช้ได้ รวมถึงให้น้ำหนักความสำคัญกับเพลย์ลิสต์ของผู้ใช้ที่หรือ music curator ที่มีผู้ติดตามมากๆ มาประกอบ
ผนวกกับอีกสิ่งที่ซับซ้อนกว่านั้น Spotify ได้จัดกลุ่มผู้ใช้ตามแนวเพลงและแนวย่อย (micro-genre) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ Echo Nest (ที่เพิ่งซื้อเข้ามาเมื่อปี 2014) ที่เป็นบอทคอยตามอ่านเรื่องราวแนวดนตรีใหม่ๆ ตามเว็บไซต์เพลง และวิเคราะห์ว่าศิลปินรายใดเข้าข่ายแนวดนตรีแนวไหนบ้าง
เมื่อสองสิ่งนี้ผนวกรวมกันก็จะทำงานเป็นอัลกอริธึมให้ Spotify เลือกเพลงออกมาได้ ทำงานคล้ายๆ Amazon ที่จะบอกท้ายเพจของสินค้าแต่ละชิ้นว่า "ผู้ใช้ที่ซื้อสินค้านี้ไปจะซื้ออะไรอีกติดมือไปด้วย" ซึ่งข้อมูลมหึมาเหล่านี้ Spotify ใช้ Kafka ซึ่งเป็นโอเพ่นซอร์ซช่วยดูแลแบบเรียลไทม์
ลองดูแผนภาพนี้ครับ คือเอาเพลงที่คุณฟังและเซฟเก็บมาประมวลรสนิยม และหาเพลงเทียบเคียงจากเพลย์ลิสต์อื่นทั่วระบบ มาจัดเรียงออกมาเป็น Discover Weekly นั่นเอง
เรื่องราวถลำลึกลงไปถึงเรื่องของ big data ที่มีคนสอนให้ระบบเรียนรู้แพทเทิร์นของข้อมูล ซึ่งเป็นผลงานของ Sander Dieleman อดีตนักศึกษาฝึกงานที่ Spotify ปัจจุบันเป็น reseach scientist ให้กับบริษัท DeepMind ที่ทำงานด้าน AI ของกูเกิล
อันนี้คือภาพผังข้อมูลของผู้เขียนบทความนี้ใน QZ ที่ระบบกรองมาว่ารสนิยมการฟังเพลงเป็นแบบไหน มีบางเพลงแปลกแยกออกไปเพราะอาจเปิดฟังด้วยเหตุผลอื่น เช่นเปิดให้ลูกฟัง /มี Passion Pit กับ Jose Gonzalez นะครับที่ฟังเหมือนผม
มีการเล่าโยงไปถึงการเรียนรู้นิสัยหรือรสนิยมแต่ละคนผ่าน Discover Weekly นี้ด้วย และปิดท้ายบทความด้วยวิธีแฮกฟังก์ชั่นนี้ให้ทำงานได้ตรงใจมากขึ้น ด้วยการสร้างเพลย์ลิสต์เฉพาะเพลงที่คุณชอบ เพื่อให้ระบบได้เรียนรู้, กดข้ามเพลงที่คุณไม่ชอบ, ค้นหาศิลปินใหม่ๆ และคุ้ย discography พวกเขามาฟัง ระบบก็จะเรียนรู้และเลือกเพลงดังๆ ของศิลปินรายนี้ และให้เวลาระบบเรียนรู้สักนิด ฯลฯ
Comments
เจ๋งอ่ะ
เมื่อเดิน => เมื่อเดือน
อธิบายซะอยากกลับไปสมัครอีกครั้ง (ตอนนี้ย้ายมา JOOX )
ผมใช้ JOOX เวลากดแชร์ลงเฟส เพลงสะดุด
ออกไปใช้แอพอื่น เครื่องค้าง เพลงเงียบ แอพเปิดใหม่
เป็นเปล่าครับ
เพิ่งลองเมื่อกี้ ...เป็นเหมือนกันเลยครับ
เป็นเหมือนกัน
มิน่าละ ฟังเพลย์ลิสต์ไหนก็โดนใจไปเสียหมด
ดีจริงๆ
แปลและเรียบเรียงได้กระชับและเข้าใจง่ายดี, ชอบๆๆ :) .. แต่ช่วงที่เอ่ยถึง amazon กับ Kafka, อยากให้เอ่ยถึง NLP แถมไว้ด้วยอีกอย่าง
อิงจากช่วงนี้ของบทความต้นทาง.. Their approaches include collaborative filtering, most commonly seen in Amazon’s “customers who bought this item also bought…” feature, and natural language processing, which is how Echo Nest understands music blogs and the titles of playlists. The company uses the open-source software Kafka to manage the data in real-time.
collaborative filtering ที่เอามาใช้กับ recommendation engine อย่างที่ amazon นั้น, มีใช้กันมานานและเยอะมากแล้ว รวมถึงในไทยด้วย.. สิ่งที่ค่อนข้างเด่นกว่ารายอื่นคือการเอา NLP มาทำ semantic processing เพราะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาจิงๆ ไม่ใช่แค่การจับคุ่ keyword จึงทำให้โดนหลอกได้ยากและผลลัพธไม่เปนขยะมากนัก, ซึ่งความสามารถด้านนี้ยังใช้กันจิงจังและได้ผลดีค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะกับภาษาไทยนี่ยิ่งเหนได้ขัด แม้แต่กับกุเกิลเองหากค้นด้วยคำไทยจะมีผลลัพธเปนขยะเยอะกว่าเวลาค้นด้วยภาษาอังกฤษมาก :/
บางศาสตร์ผมยังลงไม่ถึงเหมือนกัน ขอบคุณที่ช่วยเปิดโลกครับ :)
Spotify is not available in your country...
กรำไปลองสมัครมาตะกี้
ส่วนตัว มุด VPN ไปฟิลิปปินส์ไปสมัครครับ และจ่ายด้วย Paypal ที่ใช่ที่อยู่ที่ฟิลิปปินส์ (บัตรเครดิตไทยใช้ได้ครับ) ตกอยู่ที่เดือนละ 100 นิด ๆซึ่งหลังจากสมัครแล้ว จ่ายเงินแล้ว ไม่ต้องมุดฟังครับ ลอกอินปกติได้เลย (ตัวฟรีต้องมุดฟัง)
บน PC ก็ไม่ต้องมุดหรอครับ
US top 50 ฟังได้ทุกเพลงไหมครับ
สมัคคแบบ Singapore โดยจ่ายผ่านpaypal ที่ใช้มี่อยู่ในไทยได้ไหมครับ
For You ของ Apple Music นี่ห่วยมาก เลือกเพลงมาไม่ตรงจริตผมเลย
pittaya.com
ยอมรับเลยว่า เพลยลิสพี่แก เทพสุดแล้ว