เมื่อได้ชื่อว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่ายี่ห้อไหนต่างก็โฆษณาว่าไม่มีการปล่อยมลภาวะแม้แต่นิดเดียว (zero-emission vehicle) และรถยนต์ก็ไม่มีท่อไอเสียอีกด้วย แต่ผู้ใช้รถยนต์ Tesla Model S ในสิงคโปร์กลับโดนเรียกเก็บค่าปรับข้อหาปล่อยมลภาวะเยอะเกินไป
หน่วยงานที่เรียกเก็บค่าปรับคือกรมการขนส่งทางบกของสิงคโปร์ (Land Transport Authority หรือ LTA) โดยจะเก็บค่าปรับผู้ใช้รถที่ปล่อยมลภาวะสูงเกิน โดยจากการคำนวณของ LTA รถยนต์ Tesla Model S ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 222 กรัมต่อกิโลเมตร ซึ่งจัดว่าสูงมาก ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ BMW 530d เครื่องยนต์ดีเซล 3.0 ลิตร ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ราว 144 กรัมต่อกิโลเมตรเท่านั้น
โฆษกของ LTA บอกว่ารถยนต์ Tesla คันที่ถูกปรับ ใช้พลังงานไฟฟ้า 444 วัตต์ชั่วโมงต่อกิโลเมตร โดยทดสอบภายใต้มาตรฐานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับยุโรป (United Nations Economic Commission for Europe) ซึ่งคำนวณอัตราการปล่อยมลภาวะไว้ดังนี้
ในการคำนวณอัตราการใช้พลังงานของรถยนต์ไฟฟ้าล้วนทุกคัน จะนำค่าสัมประสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตพลังงานไฟฟ้า (Grid Emission Factor) เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 0.5 กรัมต่อวัตต์ชั่วโมงเข้ามาคิดด้วย
หรือพูดง่ายๆ คือจะนำจำนวนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาขณะผลิตไฟฟ้ามาคิดด้วยนั่นเอง จึงเป็นที่มาของมลภาวะของรถ Tesla แม้จะไม่มีการปล่อยไอเสียจากตัวรถก็ตาม
เจ้าของรถ Tesla ก็ได้ยื่นประท้วงการเก็บค่าปรับ บอกว่าอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ 444 วัตต์ชั่วโมงต่อกิโลเมตรนั้นสูงเกินไป โดย Tesla เคลมไว้ว่า Model S P90D รุ่นท็อป ใช้พลังงานเพียง 210 วัตต์ชั่วโมงต่อกิโลเมตรเท่านั้น
ด้าน Elon Musk ซีอีโอของ Tesla Motors ทวีต ว่าเขาและนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลี เซียน ลุง รับทราบเรื่องนี้แล้ว และจะสอบสวนต่อไป
ที่มา - Jalopnik
Comments
เมืองไทยปล่อยกันกระจาย มีวันนึงขับมอเตอร์ไซค์เจอควันจากสิบล้อ แทบจะล้ม ทั้งเหม็นทั้งแสบตา
ประเทศที่มันพัฒนาแล้วนี่มันก็พัฒนาจริงๆ
แถมยังเป็นประเทศที่เป็นตลาดกลางน้ำมันอีก ;)
ขยายความได้ไหมครับ ว่า ประเทศที่พัฒนามันเป็นยังไงเหรอครับ
รถคันนี้ นำเข้ามาจาก HK นานแล้ว จอดไว้เป็นปี กว่าจะจดทะเบียนสำเร็จ ดึงเรื่องไปมา red tape สุดๆ
เวลาจะทำเรื่องที่ ต้องจ้างรถมายกไป หา จนท ไม่รู้ตั้งกี่รอบ ทั้งๆ ที่มันก็ไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้าคันแรก ใน sg เพราะ Nissan ก็เคยเอาเข้ามาแล้ว
แต่ จนท ดันโยนกันไปมา บอกว่าจด ไม่เป็นไม่รู้ทำยังไง
สุดท้ายกว่าจะจดได้ ดันมาโดเก็บ emission charge เพิ่มจากรถปกติ ทั้งๆ ที่รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นอื่น ได้รับส่วนลดด้วยซ้ำ
แล้วปกติน้ำมันเค้าคิดถึงการ คำนวณอัตราการปล่อยมลภาวะ ตอนที่ผลิตน้ำมันไหมครับ อยากรู้
+1 อยากรู้เหมือนกัน
ถ้าใช้หลัการคำนวณเดียวกัน (LCA) ก็คิดครับ หลักการ LCA มันคิดตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน ยันการกำจัดซากเลยครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
น้ำมันก็เอามาทำไฟฟ้า คับไฟฟ้าที่ออกมามีต้นทุน carbon เหมือนกัน จริงๆมีเหมือนกันหมด แค่พอฟังว่าเป็นไฟฟ้าแล้วจะเหมือนพลังงานสะอาด
efficiency มันไม่เท่ากันครับ ของโรงไฟฟ้าดีกว่าเครื่องยนต์ในรถ เป็นเหตุผลที่ Tesla ให้ไว้ครับ และมันยังจำกัดจุดปล่อยมลพิษ
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
มีกีคเป็นประธานาธิบดี มันดีแบบนี้นี่เอง
คิดภาษีได้ละเอียดดีนะครับ
โห เค้าคิดละเอียดยิบเลย ไล่ตั้งแต่ขุดเจาะน้ำมัน ขนส่ง แปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าวิ่งไปตามสายส่ง ผ่านหม้อแปลง/หม้อแปลงย่อย กว่าจะถึงจุดชาร์จก็ loss ไปเยอะอยู่นะ
เป็นวิธีคิดที่น่าจะเหมาะกับปัจจุบัน->อนาคตดีครับ เพราะตอนนี้คนเข้าใจเรื่องพลังทางเลือกกับพลังสะอาดผิดๆ กันเยอะ อย่างรถไฟฟ้าถ้าเอามาวิ่งในบ้านเราที่พลังไฟฟ้าส่วนใหญ่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิสมันจะสะอาดกว่ารถไฮบริตหรือเปล่า? รถเครื่องยนตร์ไฮโดรเจนที่ตัวเชื้อพลิงไฮโดเจนยังตอบไม่ได้ว่าจะผลิตจำนวนมากๆจากไหนโดยไม่เข้าไปยุ่งกับวงจรเชื้อเพลิงฟอสซิสอีก หรือน้ำมันจากพืชในยุคที่คนยังอดตายเพราะพื้นทีผลิตอาหารจำกัด
210w.hr/km ของรุ่น P90d น่าจะอ้างอิงจาก ความจุแบต 85kw.hr หารด้วยระยะทางที่วิ่งได้ที่ระบุใน Specแต่ทางการสิงคโปร์น่าจะเอากำลังม้าที่ติดตั้งของมอเตอร์ไฟฟ้ามาคำนวนในรุ่น 90d ตัวเลขเลยต่างกันเท่าตัว
แต่ขับปกติทั่วไปไม่ได้ขับแบบแข่งก็จะใช้กำลังม้าไม่ถึงกำลังม้าที่ติดตั้ง ทั้งนี้ก็ต้องมองว่าทางสิงคโปร์ใช้วิธีการอย่างไร
แบบนี้มลภาวะที่ถูกปล่อยออกมาขณะผลิตและขนส่งน้ำมันก็ต้องเอามาคิดรวมกับรถที่ใช้น้ำมันด้วยสิครับ
ประเทศเค้าใส่ใจพวกรายละเอียดปลีกย่อยดีจังเลยนะครับ
ทำไมเขาไม่คิดกับค่าไฟเอาละ...
ขอนายกเป็น Geek บ้างได้ไหม
ประเด็น เรื่องการเก็บ emission charge โดยอ้างว่า รถยนต์ไฟฟ้า ต้องใช้ไฟจาก national power grid ก็ตลกครับเพราะ LTA ให้เจ้าของรถเซ็นยินยอมว่า จะเสียบปลั๊กชาร์จที่บ้าน ห้ามไปชาร์จตามที่สาธารณะ
ค่าไฟ singapore ก็รวมต้นทุน carbon footprint ไว้อยู่แล้ว ถ้ามาเก็บ emission charge อีก ก็เก็บซ้ำสิครับ?แบบนี้ คนซื้อ iPhone Samsung แล้วชาร์จไฟบ้านต้องมาเสียภาษี carbon foorprint อีกไหม?
ที่คนสิงคโปร์ไม่ค่อยพอใจคือ ตกลง green energy แทนที่จะได้รับการสนับสนุน ดันยุ่งยาก และ เสีย คชจ แพงกว่าใช้ รถน้ำมันอีก -_-"
หรือเรื่องนี้ อาจมีพลังงานบางอย่างซ่อนอยู่เบื้องหลัง ก็เป็นได้
อันนี้ผมเคยมีประเด็นนะครับ
คือประสิทธิภาพของระบบผลิตไฟฟ้าอาจจะส่งผล
ต่อผลทดสอบโดยรวมได้เพราะระบบสาธารณูปโภคไม่ได้เปลี่ยนง่ายๆนะครับใช้กันจนเข็นไม่ไหวหรือไม่คุ้มทุนนี่หละ
ที่บ้านเรียกสองมาตราฐาน นอกบ้านเรียกกีดกันทางการค้า
เป็นประเทศที่แปลกประหลาดมาก
เจ้าของรถบอกผมใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาชาจน่ะ