บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ โดยฉีกตัวจากการขายโทรศัพท์มือถือที่ยอดซบเซาลง หันไปทำธุรกิจใหม่ที่ไม่ใช่มือถือ (non-mobile) ให้มากขึ้น โดยใช้ชื่อแบรนด์ Open by i-mobileทำตลาด ธุรกิจใหม่จะมีทั้งบริการร้านค้าปลีก และอีคอมเมิร์ซ
นอกจากนี้ i-mobile ยังเตรียมกลับมาทำธุรกิจ MVNO อีกครั้ง โดยเช่าโครงข่าย CAT Telecom และใช้แบรนด์ Open ทำตลาดเช่นกัน
โครงสร้างธุรกิจของ Samart i-mobile
โครงสร้างธุรกิจเดิมของ Samart i-mobile แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ขายโทรศัพท์มือถือแบรนด์ i-mobile, ธุรกิจด้านมัลติมีเดีย (BUG 1113, เว็บ EDTGuide.com, แอพ-เกม-ดูดวง, ธุรกิจด้านสื่อกีฬา i-Sport) และธุรกิจโทรคมนาคม MVNO (แบรนด์ 3GX เดิมที่เช่าโครงข่าย TOT)
แต่โครงสร้างธุรกิจใหม่ของ Samart i-mobile จะแยกชัดเป็น 2 ส่วน คือธุรกิจมือถือ (mobile) และธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่มือถือ (non-mobile)
เบื้องต้นในปี 2016 Samart i-mobile ตั้งเป้าว่าธุรกิจมือถือจะมีรายได้ 7,000 ล้านบาท ส่วนธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่มือถือ มีรายได้ 1,000 ล้านบาท
ธุรกิจ Mobile Business
ธุรกิจโทรศัพท์มือถือจะยังเป็นธุรกิจหลักของ Samart i-mobile ต่อไป โดยบริษัทยังออกมือถือรุ่นใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ธุรกิจโครงข่าย MVNO (3GX เดิม) จะถูกโยกมาอยู่กับธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ใช้แบรนด์ใหม่ว่า OPEN โดยเช่าโครงข่ายของ CAT Telecom และจะแถลงข่าวอีกครั้งในเร็วๆ นี้
การรวมธุรกิจมือถือและ MVNO เข้าด้วยกัน ทำให้บริษัทสามารถออกผลิตภัณฑ์ใหม่ Open Pack แพ็กเกจเครื่องมือถือพร้อมซิม Open โดยจะเปิดตัว 3 รุ่นคือ i-STYLE 811, i-STYLE 219, Hitz 22 3G ในเดือนพฤษภาคมนี้
ธุรกิจ Non-Mobile Business
ฝั่งธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่มือถือ บริษัทจะหันไปเน้นธุรกิจค้าปลีก (รีเทล) โดยเปิดร้าน Open Lifeเป็นร้านไลฟ์สไตล์ที่มีผลิตภัณฑ์และบริการหลายอย่าง ดังนี้
- ขายโทรศัพท์มือถือ Open และ gadget อื่นๆ เช่น หมวกจักรยาน สายรัดข้อมือสุขภาพ อุปกรณ์สวมใส่ได้ อุปกรณ์สมาร์ทโฮม
- O'Fix บริการซ่อมโทรศัพท์มือถือ รับซ่อมมือถือทุกแบรนด์ มีมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา รับประกันอะไหล่ 90 วัน ผ่อนค่าซ่อมได้ 0% นาน 6 เดือน
- O'Pay บริการรับชำระสินค้าและบริการต่างๆ ที่เดียวจ่ายได้หมด
- O'Top+up ตู้เติมเงินและชำระบิลออนไลน์ บัตรเครดิต สินเชื่อ ประกันภัย
- O'Cafe ร้านกาแฟ เอาใจคนรักสุขภาพและรักกาแฟ
- O'Money บริการโอนเงินต่างประเทศ ผ่านบัตรเติมเงินมือถือ
บริษัทจะเปลี่ยนร้าน i-mobile เดิม 28 สาขาที่มีอยู่ ให้เป็นร้าน Open ทั้งหมดภายในสิ้นปี 2559 และจะขยายสาขาไปในทุกจังหวัด ขยายร้านทั้งผ่านการลงทุนของบริษัทเอง และผ่านแฟรนไชส์ด้วย
ส่วนธุรกิจอื่นที่ไม่อยู่ใต้แบรนด์ Open จะเป็นธุรกิจ Digital Commerce ครบวงจร
- WappWapp (แว้บแว้บ) บริการอีคอมเมิร์ซ จัดส่งอาหารถึงบ้าน
- Thailand Mall เว็บไซต์ขายสินค้าไทยสู่ตลาดโลก
- Thaland Checkin บริการช่วยแนะนำข้อมูลและให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว
- บริการการตลาดดิจิทัล ผ่านการซื้อบริษัท Phoinikas
- บริการดิจิทัลคอนเทนต์เดิม (BUG, EDT, i-Sport)
รายละเอียดของแบรนด์ Open ดูได้จาก Open by i-mobile
Comments
ถ้าอยากให้ปังกว่านี้นี่ ควรรีแบรนด์ i-mobile ด้วยนะ ทำฟ้อนท์/โลโก้สินค้าให้ดูทันสมัยรวมทั้งชื่อซีรีส์ของมือถือ
เห็นด้วยครับแล้วส่วนตัวผมว่าทิ้ง i-mobile ไปเลย เอา Samart มาใช้เลยยังจะดีเสียกว่า
ผมว่ายากนะ เพราะคนเขาติดชื่อนี้กันแล้ว
คนต่างจังหวัดติดนะครับ ชื่อ i-mobile เขารู้จักกันดี ส่วนพวกเราชาว IT ไม่ค่อยจะใช้กัน
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
Pไม่เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนโลโก้ก็ยังดี น่าเกลียด
หวังว่าจะไม่มีให้อัพเกรด firmware ที่ศูนย์แล้วนะ รู้สึกหลอนเบาๆ
Mekokung's Story บล็อกส่วนตัวที่ย้ายไป Blogger แล้วนะ
ลด fragmentation ของมือถือด้วยครับ นี่ออกมามั่วซั่ว ซอยรุ่นจนทับกันเองไปหมด แถมปล่อยออกมาถี่เหมือนไม่มี cycle แทนที่จะแบ่งให้ชัดว่าตัวไหนจับตลาดไหนช่วงฤดูกาลไหน
โคร่งข่ายมือถือของ CAT นี่ ช่องยังไม่เต็มอีกหรอนี่ เห็นมีแต่คนมาเช่า
ถูกใจ "รับประกันอะไหล่ 90 วัน ผ่อนค่าซ่อมได้ 0% นาน 6 เดือน" ที่สุด...
fup สัก 1.5 เมกไปเลยสู้เพนกวิน
แล้วคือ TOT เลิกให้เช่าแล้วเหรอครับ
ทำทำไมแบบนี้
Re-banding ทั้งทีก็ยังใช้ by i-mobile ควรตัดทิ้งไปเหอะ คำว่า i-mobile และมันก็ out มาทั้งfont ทั้งภาพลักษณ์ รวมถึงชื่อรุ่นต่าง ๆ ก็ควรจะหยุดสร้างความสับสน และซ้ำกันเองไปมา
จะเปิดชื่อธุรกิจใหม่ก็ตั้งชื่อใหม่ไปเลยไม่ต้องมีอะไร refer ถึง i-mobile ซึ่งมันก็ไม่ได้น่าเชื่อถืออะไรเท่าไรเลย