เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2559 มีการเผยแพร่เอกสารผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์คเรื่องที่ประชุมสภาวิศวกรกำลังพิจารณาให้วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร จากแต่เดิมที่ดูแลเฉพาะงานด้าน analog ให้ดูแลงานด้าน digital ด้วย ทำให้อนาคตงานสื่อสารคอมพิวเตอร์ จะต้องได้รับการควบคุมงานจากวิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร
ลักษณะงานที่จะได้รับผลกระทบจากประกาศฉบับนี้ เช่น งานให้คำปรึกษา งานจัดวางแผนโครงการ งานออกแบบ งานติดตั้ง ซ่อมบำรุง รื้อถอน และงานตรวจรับระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยจะต้องมีวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารที่ขึ้นทะเบียนสภาวิศวกรเป็นผู้ควบคุมงานด้วย
เหตุผลที่สภาวิศวกรต้องการออกประกาศฉบับนี้ อาจเนื่องจากการติดตั้งระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ OSI layer ล่างอาจเกิดการรบกวนต่อระบบสื่อสารอื่นๆ จนอาจส่งผลต่อชีวิตหรือทรัพย์สินของประชาชน
ที่มา - Wannarat Suntiamorntut
Comments
แปลว่า ขาย network switch ในงานราชการนี่ต้องปรึกษา "วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร" ?!? โอ้
ภาพไม่ขึ้นครับ ลองบน IE, Chrome
And then why we need TIS approved devices, and NBTC approved wireless devices?
lewcpe.com , @wasonliw
Totally agree! Since devices are already verified, why we need to re-verify it while installation?
เอาจริงๆ เลยนะ ผมว่าสมาคมพยายามตีเนียนลากเอา computer networking เข้าไปเพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้กับสมาคมและสมาชิกมากกว่า เพราะ computer networking มันมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ แต่สมาคมกลับไม่มีอำนาจควบคุมอะไรเลย เพราะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ในขณะที่การสื่อสารแบบ analog ถูกลดความสำคัญลงอย่างมาก จึงทำให้สมาคมต้องออกมาทำอะไรเพื่อรักษาอำนาจที่ว่าครับ
ABSOLUTELY Agree!!
มีประเทศไหนบ้างที่ต้องใช้วิศวกรไฟฟ้าสื่อสารควบคุมงานพวกนี้?
ระบบคลาวด์จะทำไงครับ
another specs to lock
ถ้าเป็นงานเข้าสาย fiber เดินสายโทรคมนาคมภายนอกอาคารก็ว่าไปอย่าง อันนี้เขียนคลุมเครือตีขลุมไปทั่วเลย
ต้องการอะไร?
อนาคตข้างหน้าไฟฟ้าสื่อสารอาจจะยุบรวมกับคอมพิวเตอร์ก็ได้ เพราะในอดีต คอมพิวเตอร์แยกออกมาจากวิศวกรรมไฟฟ้า เพราะเป็นสาขาที่ใหญ่มากและแตกองค์ความรู้ออกไปได้มหาศาล โดยจะเน้นดิจิตอลเป็นหลักไม่เน้นกำลัง
สาขา Computer Engineering ในมหาวิทยาลัยใหญ่ต่างประเทศหลายๆที่เขายุบรวมกับสาขา Electrical Engineeringและหลายที่ก็ควบรวมสาขา Computer Science เข้ากับ Electrical Engineering แล้วไปเรียนแยกแขนงอีกที
Com eng ผมว่าน่าจะมีแต่ที่ไทยนะเดียวนี้เท่าที่เห็นต่างประเทศมีแต่ Com Science แต่ตอนจบบางมหาลัยก็ให้เลือกได้ว่าจะให้เขียนว่าcom eng หรือcom sci
ต่างประเทศจะชื่อใกล้เคียงก็ Electrical & Computer Engineeringแต่พวกดังๆ จะเป็น Electrical Engineering & Computer Science
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_universities_with_computer_engineering_programs
แหม่งานนี้ Lock Spec กันง่ายเลยทีเดียว เอาแค่วิศวกรรมไฟฟ้า ที่มี กว. ก็พอมั้ง เล่นระบุซะละเอียดขนาดนี้งานใหญ่ๆ Lock กันสนุกสนาน ว่าแต่ผลิตวิศวกรด้านมาเพียงพอหรือยังล่ะครับ ถึงจะออกกฎนี้มา
เอาแค่วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร ประสบการณ์ 15 ปีขึ้น มี กว. มีประสบการณ์ในระบบสื่อสารขนาดใหญ่ ผมว่าแค่นี้ก็น่าจะเหลือไม่กี่คนแล้วนะ
ชัดเจนครับ
เอาวิศวะกรไฟฟ้ามาสอบ CCNA ให้ได้ก่อน ถ้าอยากจะริลองสาย Network
เพื่อเฮียก อะไรของมันวะ
ต่อไปสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะทำไงสาขาอื่นดอดมาเอากว.ไป
ถ้าจะทำจริงๆ น่าจะรวมวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร เป็นสาขาเดียวกันออกหลักสูตรร่วมกัน แล้วตั้งชื่อใหม่ไปเลย จะได้ไม่ต้องเป็นที่ถกเถียงกันในอนาคต แต่ประเด็นจะไปตกอยู่กับบุคคลในอดีตที่ไม่ได้ผ่านหลักสูตรใหม่นี้สิ จะทำยังไง? เพราะวิศวกรคอมพิวเตอร์ก็สอบกว.ไม่ได้ ส่วนวิศวกรไฟฟ้าสื่อสารก็ไม่ได้เชี่ยวชาญเท่า
บางมหาลัยในไทย ควบรวมแล้ว และชื่อหลักสูตรประมาณ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร
เดิมมันเคยรวมกัน แล้วถูกจับแยก แล้วเดียวมันก็คงกลับมารวมกันใหม่
ไม่มีผลบังคับนี่ กฏกระทรวง ไม่ใช่หน้าตาแบบนี้ ต่อให้กฏกระทรวงออก ก็สามารถ ร้องศาลปกครองได้
คหสต.
ถ้ากระทรวงไม่ให้ผ่านแล้วสภาวิศวกรจะดึงดันตั้งเป็น
กฎสภาขึ้นมาเหมือนเรื่องกฎข้อบังคับด้านจริยธรรม
สุดท้ายก็ต้องทำตามอยู๋ดีครับ แล้วเหตุผล
เรื่องชีวิตและทรัพย์สินถ้าอ้างเหตุผลเรื่องนี้เข้ามาผมว่ายาก
ที่จะให้ยกเลิกกฎ
อาจจะได้เปิดตำราชนกันล่ะครับว่ามันมีผลด้านชีวิตและทรัพย์สินอย่างไร ใครอธิบายได้ดีกว่าก็ชนะไป
1 กฏสภาก็บังคับได้แต่ วิศวกรที่ขึ้นกับสภาครับ วิดวะคอมฯ หรือเครือข่ายไม่ได้ขึ้นกับสภาก็บังคับไม่ได้ครับ2 กฏสภาไม่มีผลในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการครับ ดังนั้น สภาจะออกกฏมามากมายังไง แต่ ระเบียบไม่ได้เป็นข้อบังคับให้ทำ ส่วนราชการจะถือเป็นเหตุในการกำหนด TOR มิได้ครับ
ยกตัวอย่าง มี พรบ.ความเท่าเทียมระหว่า่งเพศ พ.ศ. 2558 บอกว่า การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระทําหรือไม่กระทําการใด
อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจํากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศ
โดยกําเนิด
แต่ การสอบผู้กำกับ ที่ผ่านมา มีผู้หญิง สมัคร 3 คน แต่ผู้บัญชาการระดับภาค บอกว่าไม่ได้ ไม่เอา ซึ่งผิด พรบ.ฉบับนี้เต็มๆ แต่ก็ไม่มีใครทำอะไร ตำรวจ เหมือนกันครับ เรื่องนี้ ศักดิ์กฏหมาย ระดับ กฎกระทรวง เล็กกว่าพระราชบัญญัติด้วยซ้ำ ครับ
ข้อ 2 ความรู้ใหม่ครับ
อันผมสงสัยนะครับ คือมันจะมีประเด็นโดนบังคับโดย ISO 9001 หรือเปล่าครับ
เพราะ หลายหน่วยงานอย่างประปา ไฟฟ้า เค้าจะมี ISO อยู๋พอมันเป็น
ทาง จป. หรือ auditor ก็จะเอาพวกนี้มาเป็นกฎบังคับกลายๆอยู่
เหตุผลก็ประมาณว่า "เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดความปลอดภัย และเพื่อเป็นการรักษา
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน"
วศ คอมมองตาปริบๆ.. What..
สอบใบรับรองก็พอมั้ง
กะเหรี่ยงจริงๆ
เป็นการหารายได้ทางหนึ่งจากค่าเซ็นแบบ
เดี๋ยวๆไอทีเรียนด้านนี้มากำลังจะใช้หากินไม่ได้
หากินกับลายเซนต์
จากใจวิศวกรโทรคมนาคมไม่อยากให้กฏนี้ผ่านเลยครับ มีใครตั้งโครงการโหวตค้านใน Change.org ไหมครับ
เดี๋ยวๆ แล้ววิศวะคอมล่ะครับ? อ่านดูแล้วมันน่าจะตรงสายมากกว่าไม่ใช่เหรอ
เลอะเทอะ เพ้อเจ้อ
แค่เซ็นต์ก็ได้เงินแล้ว
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
ถ้าผมเป็น it support ลง OS ใหม่แล้วไม่มีสิทธิตั้งค่า network เลยหรือถ้าไม่ผ่านการรับรอง หรือผมเข้าใจผิด เห็นบอกว่ารวมถึงการซ่อมบำรุง