Ubuntu เป็นดิสโทรลินุกซ์ที่พัฒนาต่อจาก Debian และใช้ระบบแพ็กเกจ .deb มาโดยตลอด แต่ในปี 2014 Ubuntu ก็สร้างระบบแพ็กเกจแบบใหม่ชื่อ Snappy หรือ Snap ขึ้นมา ข้อดีของมันคือเป็นระบบแพ็กเกจยุคสมาร์ทโฟน รันแอพแยกจากตัวระบบปฏิบัติการ (app isolation) ติดตั้งแล้วลบออกง่าย ไม่ติดปัญหา dependency และดาวน์โหลดไฟล์ตรงจากนักพัฒนาได้ไม่ต้องรอ repository/PPA
ที่ผ่านมา Snappy ถูกใช้กับ Ubuntu Core เวอร์ชันเซิร์ฟเวอร์ และ Ubuntu Phone เวอร์ชันมือถือ โดย มีแผนจะใช้กับ Ubuntu เวอร์ชันเดสก์ท็อป ด้วย
วันนี้ทางต้นสังกัด Canonical ออกมาประกาศแล้วว่า Ubuntu 16.04 LTS ที่จะออกช่วงปลายเดือนนี้ จะเริ่มรองรับแพ็กเกจแบบ Snappy แล้ว โดยจะยังใช้คู่กับระบบ .deb แบบเดิมต่อไป
ที่มา - Ubuntu Insights , OMG Ubuntu
Comments
น่าสนใจมากครับ ส่วนใหญ่ Server ผมก็ใช้ไม่กี่อย่าง File Server,Web Server ,Database Server,Proxy Server นอกนั้นไม่เคยใช้มันเลยจริงๆ
เป็นแนวคิดดีๆ ที่โลก Windows ใชมานานหลายปีดีดัก แต่ linux fanboy กลับคิดว่าระบบคลังซอฟท์แวร์ดีกว่าซะงั้น ทั้งที่มันสร้างปัญหาเรื่อง dependency ให้ปวดหัวแบบกระทบกันเป็นลูกโซ่เลย
ผมว่า โดย concept มันไม่ได้มีปัญหานะครับ ลองดูตัวอย่าง Android, Ios ก็จะเห็นว่า ระบบนี้ มันดี และปลอดภัยกว่า
ถ้ามันจะแย่จนทำให้เกิดปัญหาที่คุณว่า มันก็เกิดจาก ecosystem เท่านั้นละครับ ไม่ได้เกิดจาก concept นั้น
อีกอย่าง ถ้าระบบคลัง Software มันแย่จริง Windows คงไม่หันแนวทางตัวเองมาทางนี้หรอกครับ Windows ลองดูใน Win 8 เป็นต้นมา ที่ Windows พยายาม push ให้ทุกสิ่งอย่าง มาอยู่บน store ที่ควบคุมทุกอย่างได้ อย่างที่ Ios และ Android เป็น แต่คงยาก และนาน เพราะจุดเริ่มต้น มันไม่ใช่แบบนั้นครับ
คลังซอฟต์แวร์ กับ Store นี่มันคนละอย่างกันนะครับ อันนี้คือตัว UI ว่าผู้ใช้ค้นหาแอพได้อย่างไร
แต่เคสของข่าวนี้คือตัวแพ็กเกจที่มีสถาปัตยกรรมต่างกันครับ
ผมว่าแนวคิดคลัง software ดีกว่าแบบที่ Windows ใช้เยอะนะครับ เวลาลงโปรแกรมไม่ต้องมานั่ง install คลิ๊ก next next ที่ละโปรแกรม แล้วยังไม่ต้องกังวลเรื่องจะติดไวรัสด้วย
มันอาจจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน คลังซอฟแวร์อาจจะเหมาะกับระบบปิด แต่อีกแบบอาจจะเหมาะกับระบบเปิด
ใช่ครับ ทุกอย่างก็มีดีมีเสียต่างกัน แต่สำหรับผมให้คะแนนไปทางแบบที่วินโดวส์ทำมากกว่า เพราะเวลาที่เสียไปกับการคลิก next นั้นไม่ได้มากมายอย่างมีนัยยะสำคัญอะไร บางครั้งผมกลับเสียเวลาหาชื่อ package ที่ต้องใช้มากกว่าอีก แต่อันนี้เป็นประเด็นรองนะครับ
ประเด็นหลักคือเรื่อง dependency นั่นแหละ
ตอนแรกก็คิดว่าตัวเองไม่ชิน แต่ผมใช้ linux มาเกือบสิบปีก็ยังรู้สึกว่ามันไม่ดี (มาก) อย่างที่คนอื่นเค้าเชียร์กัน แล้วนี่ ubuntu เปลี่ยนมาใช้แบบนี้อีกแสดงว่าคงไม่ใช่แค่ความไม่ชินของผมแล้วล่ะ
ถ้าต้องลง Windows ใหม่แล้วต้องลง driver ประมาณ 10 ตัว โปรแกรมอีก 30-40 ตัว เทียบ click next ทีละตัว ๆ กับ Linux ติ๊ก ๆ ๆ เลือกโปรแกรม จะแตกต่างกันมากครับ
สำหรับ Linux ผมชอบระบบ package ของ Arch Linux มากที่สุดแล้วครับเข้าใจง่าย ถ้ารู้สึกว่ามันติดตั้งยาก config ยากก็ลอง Mangaro ดูก็ได้
Windows มันมี PowerShell มันก็พอๆกันกับ Linux Shell แต่คำสั่งของ PowerShell เนี่ยหืดขึ้นคอกว่ากันเยอะ
ส่วนเรื่อง repo หลังๆผมเริ่มปลงละ บางตัวหายบ้าง กลับไปลง Windows Server ตามเดิม - -*
อย่างที่บอกครับว่าประเด็นหลักคือเรื่อง dependency ส่วนการลงโปรแกรมจำนวนมากไม่ว่าจะวินโดวส์หรือลินิกส์ก็เป็นเรื่องน่าเบื่อทั้งนั้น
ผมใช้ Linux Arch Manjaro เป็นหลัก(มีสามเครื่องก็ลงสามเครื่อง) และผมชอบ repo ของมันนะ เยอะดี อยากจะลงอะไรก็ผ่าน CommandLine เอาผมชอบแบบนี้ ก็ไม่รู้หรอกว่าแบบไหนเหมาะ
ปกติเครื่อง server ลงไม่กี่อย่าง ส่วนมากก็น apt-get จบ แต่ถ้ามองในแง่ของ desktop user แล้ว ก็ย่อมอยากได้อะไรที่มันดู"ใหม่"จริงๆ Snappy ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่เชื่อว่าสาย admin คงไม่ค่อยชอบสักเท่าไร