นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังเผยกำลังเตรียมแผนสนับสนุนให้มีการใช้งาน e-payment มากขึ้น เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะทำให้จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นอีกกว่าแสนล้านบาท แนวทางหนึ่งที่เสนอคือการลดภาษีสำหรับการจ่ายผ่านระบบ e-payment ให้จ่าย VAT 7% เท่าเดิม ขณะที่การจ่ายเงินสดต้องจ่าย 10%
นายสมชัยกล่าวว่า "ถ้ามีบัตรเพิ่มความสะดวกแล้วเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแค่ 7% หากไม่ใช้ ยังใช้เงินสด แสดงว่าคนนั้นมีปัญหา เราต้องให้สรรพากรไปตรวจสอบ นอกจากนี้คที่มีรายได้น้อยก็จะเข้าถึงบริการการเงินด้วย โดยเรื่องสวัสดิการนั้นจะจ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด"
ภาพจาก National e-Payment
ที่มา - สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
Comments
จะมีบัตรจ่ายเงินแห่งชาติหรือเปล่าเนี่ย
ที่ใกล้เคียงคงเป็น บัญชี AnyID มั้งครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ถ้าเงินเข้าคงสะดวก แต่เงินนี่จะใช้อะไรยืนเพิ่มเปล่าหว่าอันนี้ยังไม่เห็น
จะเข้าจะออก ปัญหาคือค่าธรรมเนียม และการแก้ปัญหาเมื่อมีการปลอมแปลง ...
ร้านโชว์ห่วย transaction ละ 20- 30 บาท ค่าธรรมเนียมการโอนจะเป็นอย่างไร
แล้วถ้าเงินในบัญชีหายใครรับผิดชอบ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ตอนนี้มีบัตรเดบิตของทุกธนาคาร และ บัตรRabbit card กำลังแข่งขันกันอยู่แล้วครับอันนี้รัฐบาลให้เป็นการแข่งขันของภาคเอกชนและFintech
ถ้ามีบัตรแห่งชาติจริงๆ ผมคงไม่กล้าใช้ น่าจะห่วย
ดูจาก comment บน ดูแล้ว แห่งชาติใช้เบอร์มือถือไม่ก็รหัสประจำตัวประชาชน อันนี้หวังว่าคงแค่รับเงิน ถ้าเงินออกคงน่าจะมีไรยืนยันมากกว่านี้
ส่วนพวก Rabbit นี่สะดวกตรง contactless ก็หวังมาหลายปีว่าจะใช้ร่วมบริการอื่นๆ เพิ่มได้ จริงๆ ผมหวังไว้ว่า ใช่ไปถึงรถเมล์ เลยนะครับ เคยเห็นที่จีน เขาใช้บัตรแตะกัน , Supermarket ก็บัตร เมื่อสมัยปี 2008 เลยนะครับ ฮ่าๆ
ดีใจเห็นบอกลดภาษี แต่เข้ามาอ่านกลายเป็น "จ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ตามปกติ"
หลังวิกฤต ต้มยำกุ้ง เหมือนไทยจะขึ้น VAT ไป 10% พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ก็ปรับลดให้เหลือ 7% และก็เพื่อกระตุ้นรายจ่ายอีกทาง ทุกปีรัฐบาลก็จะประกาศคงอัตรา VAT ไว้ที่ 7%
สงสัยพอเปลี่ยนเป็น e payment จะได้โอกาสขยับ VAT ไปอยู่ที่ 10% เสียทีหรือเปล่า เอิ่ม
ผมว่าไม่ ผมว่าต่อไปใครใช้จ่ายอะไรก้จะถูกบันทึกการทำธุรกรรมหมด (ยกตัวอย่าง) เช่น ซื้อส้มตำ 30 บาทปัจจุบันยังไม่มีการบันทึก ต่อไปต้องมีการบันทึกทุกครั้ง แบบนี้ล่ะมั้งผมว่า
VAT เป็น 10% มานานแล้วครับ ไอ้ 7% นี่คือเขาผ่อนผันอยู่
ตาม พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรพุทธศักราช 2481 มาตรา 80 กำหนดอัตราภาษีร้อยละ 10 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีประกาศพระราชกฤษฎีกาเรื่องลดมูลค่าเพิ่มตามบริบทแต่ละช่วงเวลา ล่าสุดคือ พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 549 ที่ลดเหลือร้อยละ 6.3
ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดที่ร้อยละ 6.3 อีกร้อยละ 0.7 คือเทศบาลเก็บในอัตราหนึ่งในเก้าของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 (ที่มา กรมสรพพากร )
เป้าหมายคือการจัดเก็บภาษีที่เข้มงวดขึ้น ให้ร้านค้าเข้าระบบภาษีให้ครบถ้วนครับ...
แทนที่จะบอกว่า เพื่อลดกระบวนการที่ซ้ำซ้อน ลดต้นทุนการจัดเก็บเงินสด ฯลฯ ดันมาโพล่งขู่ว่า ถ้าใครยังใช้เงินสด จะโดนสรรพากรสอบภาษีซะงั้น
แต่แนวคิดตั้งต้น มันก็บ่งบอกวิสัยทัศน์ของคนคิดจริงๆนะ เมื่อก่อน คิดจะลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วพอเศรษฐกิจขยายตัว ก็ได้ภาษีมากขึ้นตามไปด้วยเอง แต่ตอนนี้ กลายเป็นออกมาตรการที่เข้มงวดในการจัดเก็บภาษี แต่ไม่มีผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วมันจะได้เพิ่มสักเท่าไร? ไม่ต่างจากการพยายามผ่าท้องเอาไข่ทองคำ...
+1 คล้ายๆ แนวคิดที่ว่าจะเก็บภาษีรถเก่าแพงขึ้นเพื่อกระตุ้นให้คนซื้อรถใหม่ที่ปล่อยมลพิษน้อย (แทนที่จะใช้วิธีลดภาษีรถใหม่ที่ปล่อยมลพิษน้อย)
อันนี้เป็นข้อเสนอของ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ครับ
รถไฟฟ้าภาษียังแพงครับ สงสัยกลัวคนไม่ใช้น้ำมันหรือเปล่าหนอ
พอดีประเทศนี้นำเข้าน้ำมันง่ายกว่าขอตั้งโรงไฟฟ้าครับ :p
คงมาแนวเดียวกับ "ไม่ได้หนีภาษี จะกลัวอะไร" มั้งครับ
จริงๆ ถ้ามองว่า ระหว่างลดภาษี ให้เอกชนเอาเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจเอง กับ เข้มงวดเรื่องภาษี (บังคับเก็บคนที่ไม่ยอมจ่าย) แล้วได้เงินมาเอาไปให้รัฐใช้จ่ายลงทุนเอง ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนกันครับ
แต่จะเอาไปใช้จ่ายคุ้มมั้ย สร้างประโยชน์ได้แค่ไหนคงเป็นอีกเรื่องนึง....
เก็บภาษีเข้มงวด ไม่ได้กระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรงครับ นอกจากคาดหวังว่า รัฐจะใช้เงินได้มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม(ซึ่งมันก็คนละเรื่องกับการเก็บภาษี)
ลองมองดูข้อเท็จจริงง่ายๆที่ผ่านมาครับ ปีที่แล้วจัดเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าไปเกือบสองแสนล้าน ต่ำสุดในรอบสิบปี เพราะเศรษฐกิจโลกแย่บวกกับภาวะทางการเมือง ถึงจะเข้มงวดกับการจัดเก็บแค่ไหน มันก็ไม่พอส่วนที่ลดไปอยู่ดี แถมกลับกลายเป็นจะทำให้เศรษฐกิจหยุดโต เกิดเงินฝืด เพราะคนโดนเก็บภาษีมากขึ้น(รายจ่ายมากขึ้น) ไม่เหลือเงินไปใช้จ่ายในระบบอื่นๆครับ
เราถึงเห็นการพยายามหั่นงบ ประกันสุขภาพ งบการศึกษา แถมโครงการใหญ่ๆแบบรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟฟ้าในกทม.หลายสายก็ชะลอไม่มีกำหนด เพราะรัฐไม่มีรายได้จะไปลงทุนเอง หวังลมๆแล้งๆให้เอกชนมาลงทุนให้แบบ PPP ซึ่งยากยิ่งกว่ายากในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้
เขาลดภาษีจนติดดิดละครับ ลดนิติบุคคล ส่วนบุคคลธรรมดา โดนภาษีแทบจะเท่าเดิม เพราะส่วนใหญ่ รายได้ไม่ค่อยถึงเป้าอยู่ละ
มันอาจจะเป็นวิธีที่สะดวก และ ถูกใจนิสัยคนไทยที่สุดครับ
คือการให้รางวัล และ ลงโทษ
ลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่าง AnyID สิครับ ถ้าถูกกว่า 25 บาทต่อรายการ รับรองแม่ค้าพ่อค้าแห่กันมาใช้ให้ลึ่ม
ถ้าหากไม่ใช้ ยังใช้เงินสด แสดงว่าคนนั้นมีปัญหา...
"หากไม่ใช้ ยังใช้เงินสด แสดงว่าคนนั้นมีปัญหา เราต้องให้สรรพากรไปตรวจสอบ"เอิ่ม ไม่รู้จะอธิบายยังไง
"หากไม่ใช้ ยังใช้เงินสด แสดงว่าคนนั้นมีปัญหา"
อาจจะหมายถึงว่า มีไรปิดบัง หลบเลี่ยงภาษีหรือค้าของผิดกฏหมายอยู่ ต้องเข้าไปตรวจสอบ
แบบนี้มากกว่านะครับ
นอกจากนี้คที่มีรายได้น้อยก็จะเข้าถึงบริการการเงินด้วย
"นอกจากนี้คนที่มี"
คนที่ใช้เงินสด จะรู้ได้ไง คือไม่ยอมใช้บัตรอะเหรอ หรือใช้แค่ครั้งสองครั้งละ
คือ จ่ายนายสมชัย ?
Good idea with stupid visions and reasons..... It will not work from the start at all.
Get ready to work from now on.
ซื้อส้มตำไก่ย่างรถเข็น รูดบัตรได้ไหมครับ?
แล้วเครื่องรูดบัตร เอาของบริษัทไหนดี มันต้องพันล้านเครื่องแน่ ๆ ซ่อมไหวมั้ยนะ
ตามแนวทางนี้ ส้มตำไก่ย่างรถเข็นก็ต้องมีเครื่องรูดบัตรครับ (หรือวิธีรับบัตรจ่ายทางอิเล็คทรอนิกส์อื่นๆ เช่น โอนเงินตรง) ส่วนเครื่องรูดเดี๋ยวก็มีแบงก์ไปจีบเอง
เครื่องเสียขึ้นมาทำไงดีครับ หยุดขายส้มตำไปเลย - คงยากนะ แม่ค้าก็ยังคงรับเงินสด ไม่ต้องจ่ายค่ากระดาษสลิป ค้าขายก็ไม่ต้องหยุดเพราะเครื่องเสีย - ดูแท็กซี่ก็ได้ สมัยแรก ๆ มีบางคันขยันพิมพ์ พอต้องจ่ายค่ากระดาษค่าซ่อมก็เลิกไปเอง
เดี๋ยวนะครับ ผมอาจเขียนสั้นไป ที่บอกว่าตามแนวทางนี้ต้องมีเครื่องรูดบัตร คือในกรณีที่ต้องการเสีย VAT 7% นะครับ ไม่ได้ห้ามใช้เงินสดเลย ก็ใช้ได้แต่ต้องเสีย 10% เท่านั้นเอง
พอมีช่องที่ว่า ใช้เงินสดก็ได้ ก็จะใช้เงินสด ไม่ใช้บัตรครับ เพราะไม่ยุ่งยาก แบบนี้จะมีจำนวนเยอะมากครับ สุดท้ายแล้วก็จะเป็นแบบที่เป็นอยู่ คือ ตามสบายผู้บริโภคและผู้ขาย ความพยายามนี้ก็จะล้มเหลวในที่สุด
มีช่องที่ว่า ใช้เงินสดก็ได้แต่เสียแพงกว่า น่ะนะครับ
ความสะดวกผู้ขายนี่เชื่อครับ แต่ความสะดวกผู้บริโภคนี่ผมว่าคงไม่น่าใช่ส่วนมากที่ยอมจ่ายเพิ่มแน่ๆ ถ้าไม่มีปัจจัยอื่นมาหนุนเพิ่ม (ตัวอย่างง่ายๆ ก็ เวลาจะเอาเงินสดไปจ่ายค่าใช้จ่ายที่ว่า)
คือพวกพ่อค้าแม่ขายทุกวันนี้ "หนีภาษี" กันอยู่แล้วครับ อันนี้คือรัฐก็มีมาตรการหลายๆ อย่างพยายามบีบให้เข้ามาในระบบ
ส่วนที่บอกมีช่องว่า ถ้าใช้เงินสดก็ได้ จะใช้เงินสด ถ้าเกิดใช้เงินสดแล้วของแพงกว่าล่ะครับ? หรือถ้ารูดบัตรแล้วลดราคาให้ (เพราะ VAT ถูกกว่า) จะใช้แบบไหนกันครับ
คุณล้อเล่นรึเปล่าน่ะ ส้มตำไก่ย่างรถเข็นมันไม่มี vat ไม่ต้องจดทะเบียนการค้านะ คุณอยากรูดบัตรเค้าก็ไม่ขายให้ ให้คุณไปซื้อเจ้าอื่น
ตามกฎหมาย ส้มตำไก่ย่างรถเข็นก็ต้องเสียภาษีเงินได้ครับ ร้านจำนวนไม่น้อยที่ไม่จ่ายภาษี และร้านอีกจำนวนไม่น้อยที่เสีย แต่ไม่ได้เสียตามยอดที่ควรจะเสีย (ก็หนีภาษีนั่นแหละ)
ผมหมายความว่า เขาไม่ไปจดทะเบียนหรอกครับ แล้วก็ไม่มีใครตามไปเอาเรื่องเอาราว ให้เขาส่ง vat เขาก็ทำไม่เป็น บัญชีก็ไม่เป็น ได้แต่หากินไปวัน ๆ เงินได้มาก็ไม่เหลือเท่าไหร่ เสียแค่ภาษีสังคมให้เจ้าถิ่น ให้เทศกิจได้แค่นั้น
ร้านค้านี่ต่อให้ไม่ต้องจดทะเบียนก็ต้องเสียภาษีเงินได้ครับ
แล้วเรื่องพวกนี้อ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ครับ มันเป็นสิ่งที่ต้องแลกมาถ้าจะทำ
ถ้าจะมีรถ ต้องมีใบขับขี่ ต้องดูแลรถให้สภาพดี ควันไม่ดำ ฯลฯ
จะมีปืน ต้อง ฯลฯ (ผมไม่รู้ แต่เงื่อนไขก็เยอะ)
จะเก็บของเก่าขาย ต้องรู้ว่าที่ไหนเก็บได้ ที่ไหนห้ามเก็บ
จะทำมาหากิน ต้องรู้เรื่องภาษีครับ
ถ้าทำอะไรโดยไม่ศึกษา อันไหนทำผิดไปแล้วโดนตามเก็บตามเช็ดทีหลังจะมาอ้างว่าไม่รู้ทีหลังไม่ได้ครับ ถึงจะเห็นคนใช้ "รู้เท่าไม่ถึงการณ์" กันเต็มไปหมดก็เถอะ ถ้าทำแล้วเงินที่ได้มามันไม่คุ้มก็เลิกครับ ไปทำอย่างอื่น ถ้าไม่ศึกษาข้อมูลเพื่อทำอย่างอื่นให้อยู่รอดได้จะอดตายก็คงโทษใครไม่ได้ครับ หรือถ้าเป็นอาชีพที่มีจำเป็นต้องมีอาชีพนั้นๆ ที่อยู่รอดด้วยตัวเองไม่ได้อยู่ในสังคมด้วยก็ให้ทางรัฐมาช่วยเหลือครับ ถ้ารัฐไม่ช่วยเหลือ อาชีพนั้นๆ หาย แล้วรัฐจะล่มจมก็ปล่อยให้มันล่มไปครับ ไม่ใช่มาอ้างนู่นนี่บีบคอยึดไปจากคนอื่นเฉยๆ
ทุกวันนี้ทางเท้าโดนยึด ท่อระบายน้ำตัน ทางเท้าเละเพราะขยะจากร้านพวกนี้ ต้องใช้ภาษีถมลงไปเยอะมากแล้วครับ คนขายก็กินกำไรไปโดยแทบไม่ต้องมาตามเช็ดตามล้างสิ่งสกปรกที่ทิ้งไว้ด้วยซ้ำ
(คอมเมนต์แบบยังไม่ได้เกลาความคิดละเอียดมากเอาแบบผ่านๆ ถ้าจุดไหนผิดหรือไม่สมควรชี้แนะได้ครับ)
ไปตามไล่เก็บภาษีกับพวกนี้เพิ่มภาระให้กับกรมสรรพากรเปล่าๆ ครับ เพราะสุดท้ายก็ต้องคืนภาษีไปทั้งหมดอยู่ดีครับ
ผมว่า 90% ของพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ รายได้ต่อปีของพวกเขามันยังไม่ถึงกำหนดที่ต้องเสียภาษีเงินได้ครับ
มองผ่านๆ อันไหนไม่อยากเก็บก็ข้ามได้เลยเหรอครับ เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์แยกแยะดีล่ะครับ อารมณ์และจิตใจคนทำงานนั้นๆ เหรอครับ? ถ้าแบบนั้นดีกว่าเค้าคงเขียนลงกฎหมายไปแล้วครับ การที่ "ไล่เก็บภาษีกับพวกนี้เพิ่มภาระให้กับกรมสรรพากรเปล่าๆ ครับ เพราะสุดท้ายก็ต้องคืนภาษีไปทั้งหมดอยู่ดีครับ" นี่มีประโยชน์อะไรกับรัฐและประชาชนในรัฐบ้างครับ?ที่สำคัญ มันไม่ใช่เพิ่มภาระครับ มันเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่มีมาตั้งแต่ต้นแล้ว
อีกอย่าง พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอยนี่ที่รายได้เยอะ (เยอะมาก) นี่ไม่น้อยเลยนะครับ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็เช่นกัน (แผงลอย ลอยอยู่บนคลาวด์ :p )
+1
เพื่อนผมทำร้านอาหารเล็ก ๆ จดทะเบียน เสียภาษี ทำตามข้อกำหนดร้านอาหารทุกอย่าง แม่มมาตรวจอยู่นั่นแหละ ทั้ง ๆ ที่ส่งผลตรวจให้แล้ว ตรวจจากหน่วยงานรัฐด้วยกันเองด้วย สองสามเดือนมาตรวจ สองสามเดือนมาตรวจ เป็นอะไรมากรึเปล่า ตรวจทั้งถังดักไขมัน เครื่องกรองน้ำดื่ม ความสะอาดในร้าน-หลังร้าน ฯลฯ
เพื่อนบอกไอ้ร้านแผงลอยฝั่งตรงข้ามล่ะทำไมไม่ไปตรวจมันบ้าง เห็นมันทิ้งขยะเอย เศษอาหารเอย น้ำมันเอย ลงท่อตลอด ที่ตั้งร้านนั่นก็บนฟุตบาท ไม่น่าจะจ่ายภาษีอะไร มันไม่ผิดรึไง จนท. ตอบกลับมาสั้น ๆ "ทำอะไรไม่ได้หรอก เดี๋ยวหาว่ารังแกประชาชน" อ้าว เฮ้ย!!
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
คุณ hisoft ช่วยตอบสิ่งที่ผมอยากตอบให้หมดเลย XD
ก็ตามนั้นแหละครับ เพิ่มเติมให้ว่า ในฐานะมนุษย์เงินเดือนที่โดนบังคับจ่ายภาษีทุกเดือนๆ ผมไม่พอใจอย่างยิ่งที่คนเหล่านี้ไม่เสียภาษีครับ ทั้งที่ก็มีรายได้ บางรายเยอะกว่าผมด้วยซ้ำ ในขณะที่ผลประโชชน์จากรัฐก็ได้สิทธิไม่แตกต่างกัน การจะอ้างว่ารายได้น้อย/ทำภาษีไม่เป็น/หาเช้ากินค่ำ ฯลฯ มันเป็นข้ออ้างหลีกเลี่ยง "หน้าที่" พลเมืองครับ
เสียครับ เพราะมีแค่เงินได้ที่ได้จากการขายอาหารสดที่ยังไม่ได้แปรรูปที่ไม่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย นอกนั้นเสียหมดครับ
รัฐกำลังจัดซื้อเลยครับ คลังเปิดประมูลติดตั้งเครื่อง EDC ส.ค.นำร่องส่วนราชการ 2 หมื่นจุด
ไม่จำเป็นครับ ทำระบบแบบ PP ก็ได้แต่อินเตอร์เน็ตละ
ระบบที่ต้องพึ่งพาคนอื่นนี่ สำหรับคนระดับรากหญ้า จะไปรอดเหรอครับ เน็ตเจ๊ง ไม่ต้องขาย เครื่องเจ๊ง ไม่ต้องขาย แบตหมด ไม่ต้องขาย ใช้สมาร์ทโฟนไม่เป็น ไม่ต้องขาย ตังในเครื่องระบบเติมเงินหมด ไม่ต้องขาย เครื่องหาย ไม่ต้องขาย - ไหวไหมครับ
ส้มตำไก่ย่างปกติเสีย Vat กันด้วยเหรอ?
อาจจะรวม VAT ไปแล้วก็ได้ครับ
ถ้าไปซื้อของจากร้านค้าที่เสียภาษี (เช่น ไปซื้อไก่ที่ห้าง) ก็โดนภาษีซื้อไปแล้วครับ แต่ภาษีขายถ้าไม่ได้ยื่นก็ไม่เสียแหงๆ
แม่ค้ารถเข็นอาจจะไม่ได้ยื่นภาษี ถือว่าเป็นรายได้น้อยละมั้งครับ ถ้าเข้าระบบหมดก็คงรุ้ยอดขายจริงๆ แต่ในปฏิบัติจริงจะมีคนเข้าระบบหมดจริงเปล่า
จะว่าไปผมก็สงสัยนะว่า ขายส้มตำไก่ย่างรถเข็นเนี่ย ผิดกฎหมายหรือเปล่าหว่า ?
เฉพาะที่ผมนึกออกตอนนี้ ทำการค้าขายโดยที่สิ่งที่ขายไม่ผิดกฎหมายก็สามารถกระทำได้ด้วยสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญ พวกค้าเร่ค้าแผงลอยไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ถ้ามีรายได้ก็ต้องภาษีเงินได้ ที่จะผิดน่าเป็นเรื่องอื่น เช่น อนามัย สถานที่ขาย ราคาสินค้า
มันก็เหมือนสั่งให้ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนั่นแหละครับ สุดท้ายคนก็ไม่คาดเหมือนเดิม
ผมว่างานนี้ก็อีหรอบเดียวกัน
ถึงคนส่วนใหญ่จะยังไม่ทำตาม แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลยนะครับ
ถ้าคิดแค่ว่าทำอะไรก็คงไม่ได้ผล ผมว่ารัฐก็คงไม่ต้องทำอะไรแล้วหละครับ เพราะทำมาก็เหมือนเดิม คนในประเทศไม่ให้ความร่วมมือ แล้วก็มาด่ารัฐว่าไม่ทำอะไรเลย ติดเป็นลูปไปไม่สิ้นสุด
ใช้ไม่ได้หรอก
ถ้าคิดว่า ชีวิตมันสะดวกขึ้นเพราะใช้ ไอ้ที่ว่ามา
BTS MRT คงไม่มีใคร ไปหยอดเหรียญแหย่แบงค์ใส่ตู้แล้วล่ะ
เติมน้ำมันคงไม่มีใครจ่ายเงินสดแล้วล่ะ
รออีก50ปีเหอะ ก็ออกร่างต้นแบบไว้น่ะดีให้สังคม ระบบการค้า การใช้ชีวิต มันได้มี แนวทางปรับตัว
แต่บังคับกัน แบบ ปี สามปี ให้ สำเร็จ ไม่ได้หรอกนะ
เฮ้อ
ฺผมก็ยังหยอดเหรียญแหย่แบงค์อยู่ โคตรไม่สะดวก ถามว่าอยากใช้บัตรมั้ย อยากใช้ครับ แต่ปัญหาคือผมไม่ได้ไป BTS บ่อย ๆ เดือนนึง 1-2 ครั้งเอง บางเดือนไม่ได้ใช้เลย ผมไม่คิดว่าควรจะซื้อบัตรเก็บไว้ (โดยเฉพาะบัตรที่มีวันหมดอายุ หรือบัตรแบบเหมา) ทุกวันนี้บัตรเต็มกระเป๋าไปหมดแล้ว เงินไม่มี มีแต่บัตร
ทำบัตรที่ใช้ร่วมกันได้ ไม่หมดอายุง่าย ไม่เสียเปรียบเมื่อไม่ได้ใช้บ่อย ๆ ยุติธรรม ตรงไปตรงมา ออกมาสิครับ ผมยินดีรับความสะดวกอันนั้น ปัญหาคือปัจจุบันมันยังไม่สะดวกจริง ๆ ไง ผมถึงไม่ใช้ และผมคิดว่าที่เห็นหลายคนยังไม่ใช้ก็เพราะเหตุผลใกล้เคียงกันนั่นแหละ
ป.ล. แถมให้ ทางด่วนก็เหมือนกัน ดันมีสองค่าย แถมวันดีคืนดีก็พัง แล้วมีปัญหากับการเบิกจ่ายอีก (มีคนจำนวนมากเบิกค่าทางด่วนได้นะครับ แต่ต้องใช้ใบเสร็จ ซึ่งเติมเงินมันไม่มีให้ หรืออาจจะมีให้แต่ยุ่งยาก?)
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
เวลาของคุณเหลือทั้งสิ้น 00:00:00:05 ปีบ...บ
สนับสนุนการบีบ SME ให้เข้าระบบภาษีจริงๆซักที
กิจการของคนที่รู้จักนี่มีบัญชีอย่างน้อย2เล่ม บางที่3เล่มด้วยซ้ำ
ไม่ยอมจะจ่ายภาษีกันอย่างเดียวเลย
แล้วเงินในบัตรมันมาจากไหน?ถ้าต้องเอาไปผูกกับบัญชีธนาคาร นี้มันเพิ่ม risk โดยไม่จำเป็นสักนิด
คืออยากให้พกแต่เงินสดหรอครับ เทรนโลกเขาใช้บัตรจ่ายกันหมด
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับประเด็นของผมครับ
งงว่า
1.แล้วร้านค้ารายย่อยจะต้องมีเครื่องอ่านทุกร้านเลยใช่ไหม?
2.รัฐผลักต้นทุนค่าเครื่องไปให้คนค้าขายหรือรัฐออกให้?
3.ถ้ารัฐผลักภาระไปให้พ่อค้าแม่ค้า พ่อค้าแม่ค้าก็ผลักภาระไปที่ผู้บริโภคอยู่ดี
4.เครื่องพังทีหรือระบบดับที การค้าไม่หยุดไปหมดหรือ?
5.ถ้าเงินแบบใหม่มันวุ่นวายและยุ่งยาก คนก็หันไปใช้ commodities money อยู่ดี
6.บัตรหายที หรือ โดนสร้างบัตรปลอม ไม่แย่เหรอ?
1.แล้วร้านค้ารายย่อยจะต้องมีเครื่องอ่านทุกร้านเลยใช่ไหม?
ใช่ครับ EDC หรือ Mpos หรืออาจจะเป็น mobile application บนมือถือ
2.รัฐผลักต้นทุนค่าเครื่องไปให้คนค้าขายหรือรัฐออกให้?
คนค้าขายออกครับ เป็นเหมือนต้นทุนหลักที่ต้องจ่ายของการดำเนินธุรกิจ
3.ถ้ารัฐผลักภาระไปให้พ่อค้าแม่ค้า พ่อค้าแม่ค้าก็ผลักภาระไปที่ผู้บริโภคอยู่ดี
ใช่ครับ เช่นเดียวกับ VAT,ค่าตกแต่ง,ค่าบริการ,ภาษีต่างๆ,ค่าแอร์,ค่าห้องน้ำ,ค่าทิชชู่,ค่าจ้างพนักงานหน้าตาดี ทุกอย่างผลักภาระไปที่ผู้บริโภคหมด
4.เครื่องพังทีหรือระบบดับที การค้าไม่หยุดไปหมดหรือ?
ใช่ครับ เช่นเดียวกับไฟดับ น้ำปะปาไม่ไหล การค้าก็หยุดไปหมดเช่นกัน
5.ถ้าเงินแบบใหม่มันวุ่นวายและยุ่งยาก คนก็หันไปใช้ commodities money อยู่ดี
ตามสะดวกครับ จะใช้เงินสด ทอง เปลือกหอย หรือสินค้าในการแลกเปลี่ยนก็ได้เช่นกันตามที่จาริตและกฎหมายรองรับ
6.บัตรหายที หรือ โดนสร้างบัตรปลอม ไม่แย่เหรอ?
แย่เลยครับ น่าสงสารจริง ถ้าบัตรหายก็ทำบัตรใหม่ครับ เช่นเดียวกับเงินสดหาย กระเป๋าเงินหายเช่นกัน
นอกจากนี้เป็นหน้าที่ของภาคเอกชน เช่น ธนาคาร หรือ FinTech ที่จะออกแบบระบบที่ดีและปลอดภัยครับ
รัฐสร้างกติกา รวมถึงออกมาตรการต่างๆมาสนับสนุน
การปกครองที่ได้ผลนะครับ มันต้องมาจากประชาชนให้การสนับสนุน คุณพยายามไปบังคับเขาในสิ่งที่เขาทำตามไม่ได้ มันไม่มีทางได้ผลหรอกครับ จินตนาการเข้าไปเถอะครับ ลองดูสักตั้งก็ได้ ไม่รอดหรอก ... ที่ผมเห็นแน่นอน คนขาย EDC รวยแน่ ๆ โครงการนำร่องก็ขายได้ทีเดียวหลายแสนตัวแล้ว ยังจะค่าบำรุงรักษาอีก แล้วที่จะตามมาคือ เครื่อง EDC ที่จะตั้งอยู่เฉย ๆ หรือไม่ก็พังเป็นกองพะเนิน ... แล้วก็ชิพการ์ดนั่น เราผลิตเองไม่ได้ ต้องนำเข้า กี่สิบล้านชิ้น ขายเครื่อง Encode พิมพ์บัตรอีกกี่เครื่อง งานนี้รวยกันไปตาม ๆ กัน ส่วนราชการก็ ตั้งงบกันเข้าไปเถอะครับ ค่าซ่อมบำรุงเครื่อง EDC แพงแน่ ๆ
ผมไม่คิดว่าเขาจะให้ใช้เครื่อง EDC กันไปซะทั่วหรอกนะ มือถือมี Internet มี Application มี ต้นทุนถูกกว่าตั้งเยอะ
มันไม่ใช่การบังคับอะไร มันคือหน้าที่ที่ทุกคนควรจะทำ แต่ไม่ทำกัน จนต้องให้เขาบังคับ
เอาจริงๆ ถ้าอยากให้เข้าระบบ VAT กันเยอะๆให้ออกหวยใบกำกับภาษีครับ รับรองคนซื่้อขอใบเสร็จทุกใบแน่นอน
ผมคงไม่ขอเพราะไม่มีดวงด้านการเสี่ยงโชคใดๆ แต่ชอบไอเดียคุณครับ
เขาลืมไปไหมว่าโลกนี้ยังมี Visa และ Mastercard :o
ช่วยระดับ บริษัทมหาชนเป็นหลัก แต่มากดดันพวก Sme ssme แทน
จะว่างั้นก็ไม่ถูกซะทีเดียวครับ
บริษัทมหาชนหรือบริษัทใหญ่ๆ เค้าจะมีทีมงานที่จัดการเรื่องรายได้และภาษีเป็นหลัก ซึ่งทีมงานเหล่านี้จะเก่งในเรื่องการโยกย้ายถ่ายเงินเพื่อทำให้บริษัทสูญเสียรายได้น้อยที่สุด ซึ่งวิธีการต่างๆ ก็เป็นวิธีการที่แยบยลเพื่อเลี่ยงภาษีแบบไม่ผิดกฏหมายของประเทศนั้นๆ แล้วรัฐเอาผิดกับพวกนี้ไม่ได้ด้วยนี่สิ เพราะ เค้าถือว่าเค้าใช้ช่องโหว่ของกฏหมายให้เป็นประโยชน์ หรือไม่ก็ไปตั้งบริษัทในประเทศที่ภาษีน้อยซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติที่บริษัทใหญ่ทำกัน
สรุป ก็คือ ผมยังมองไม่เห็นเลยว่ารัฐจะไปช่วยบริษัทมหาชนเป็นหลักยังไง ที่ถูกคือ รัฐเอาผิดกับบริษัทมหาชนเหล่านี้ไม่ได้มากกว่า เพราะกฏหมายไม่เอื้ออำนวย
เพราะฉะนั้น ผมมองว่ารัฐไม่ผิดที่มากดดัน SME หรือ บริษัทขนาดกลางหรือย่อมแทน ซึ่งบริษัทที่ไม่มีทีมบริหารจัดการรายได้ก็ต้องรับกันไปเต็มๆ ครับ แล้วอีกอย่างผมเชื่อว่า บริษัท SME เหล่านี้ถ้าในอนาคตสามารถเติบโตขึ้นมาเป็นบริษัทมหาชน ก็คงไม่พ้นที่จะหาวิธีเลี่ยงภาษีให้ได้มากที่สุดเพื่อลดรายจ่ายเหมือนกันครับ
เสียภาษีมากไม่เป็นปัญหาเลยครับ ถ้ารู้ว่าเงินที่เสียเอาไปพัฒนาประเทศจริงๆ
ไม่ใช่เอาไปให้นักการเมืองโกงกิน
ก่อนจะแก้เรื่องภาษี แก้เรื่องคอรัปชั่นน่าจะตรงประเด็นกว่านะครับ
แก้พร้อมกันก็ได้นี่ครับ ไม่ต้องให้ถนนลูกรังหมดก่อนหรอก
จริงๆผมว่ามีไม้เด็ดอยู่ครับ
ให้ซื้อของแล้วเอาไปหักภาษีได้ไปเลยช่วงนึงซักปี2ปี
แค่นี้พนักงานเงินเดือนก็ซื้อแต่ร้านที่หักได้แล้วครับ
ผมว่ารัฐลองเชิงมาหลายรอบแล้ว
พวกช๊อปช่วยชาติเที่ยวช่วยชาตินี้เห็นๆเลย