จากเหตุการณ์ที่ผู้หญิงผิวสี Diamond Reynolds ใช้ Facebook Live ถ่ายทอดเหตุการณ์คู่หมั้นของเธอ Philando Castile ถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิตบนรถ หลังจากนั้น Facebook ก็ลบคลิปดังกล่าวออก
เหตุการณ์นี้มี 3 ประเด็นใหญ่ที่ควรกล่าวถึง หนึ่งคือ เป็นอีกครั้งที่คนผิวสีถูกตำรวจยิงตายสอง Facebook กลายเป็นที่พึ่งของคนที่รู้สึกไม่ปลอดภัยและสาม Facebook กลายเป็นด่านเซ็นเซอร์ข้อมูลก่อนออกสู่สังคมไปแล้ว
ไล่เรียงเหตุการณ์กันก่อน
เมื่อวันพุธที่ผ่านมาในเมืองเซนต์ปอล รัฐมินนิโซตา Philando Castile ชายเชื้อสายแอฟริกันอเมริกัน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงเสียชีวิตบนรถ หลังถูกเรียกให้จอดเพราะเห็นไฟหลังรถแตก และคู่หมั้นคือ Diamond Reynolds ผิวสีเช่นกัน หยิบสมาร์ทโฟนถ่ายทอดสดทันที เป็นเวลา 10 นาที
ภาพที่เห็นคือนาย Castile นอนจมกองเลือดที่เบาะนั่ง ตำรวจเข้ามาและยังคงใช้ปืนจ่อที่ร่างเขา ระหว่างนั้น Reynolds บันทึกเหตุการณ์ไปพลาง หันมาพูดกับกล้องไปพลางด้วยสีหน้าตื่นตระหนก ว่า "เขา (Castile) บอกตำรวจว่าเขามีปืน และแค่จะเอื้อมไปหยิบใบขับขี่ บัตรประจำตัวออกมาเท่านั้น เขาก็ถูกทันทียิงตั้ง 4 นัด และยังมีลูกสาววัย 4 ขวบนั่งอยู่ที่เบาะหลังด้วย"
Castile เสียชีวิตในโรงพยาบาล วิดีโอดังกล่าวเป็นไวรัลทันที มีคนดูเป็นล้านครั้ง หลังจากนั้น Facebook นำคลิปออก (โดยให้เหตุผลว่าเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค) และตามธรรมเนียมโลกออนไลน์ คลิปนั้นถูกนำกลับมาอีกครั้ง โดยมีป้ายข้อความคาด เตือนว่าเนื้อหามีความรุนแรง
ประเด็นคนผิวสี
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คนผิวสีถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิต เพราะก่อนหน้านี้สองวันก็มีเหตุการณ์ตำรวจรัฐลุยเซียนายิงชายผิวสีที่ถูกจับกดอยู่จนเสียชีวิต และ 2 ปีก่อนเกิดเหตุใหญ่โตเมื่อ Michael Brown ชายผิวสีถูกตำรวจยิงเสียชีวิต สหรัฐฯที่เป็นดินแดนแห่งความหลากหลาย ตกอยู่ในจุดที่น่าสงสัยว่ายังเป็นเช่นนั้นอยู่หรือไม่
หลังเกิดเหตุการณ์ยิง Castile ก็เกิดการรวมตัวประท้วงหน้าบ้านผู้ว่าการรัฐมินนิโซตา
Facebook กลายเป็นที่พึ่งแทนตำรวจ 911
เมื่อคนรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่ไว้ใจตำรวจ โซเชียลมีเดียจึงกลายเป็นทางออกเดียวของพวกเขา
Reynolds ให้สัมภาษณ์นักข่าวว่า เธอต้องการให้สิ่งนี้เป็นไวรัล ต้องการให้คนทั่วโลกเห็นว่าตำรวจทำอะไรกับเรา เพราะในระหว่างที่คุณกำลังถูกตำรวจคุกคาม คุณจะขอความช่วยเหลือจากใคร ตำรวจงั้นหรือ
แม้จะมีแอพถ่ายทอดสดเยอะ แต่ในสังคม Facebook ที่มีคนเป็นพันล้านคน คนๆ หนึ่งมีเพื่อน มีครอบครัว เป็น friend list เป็นร้อยเป็นพันคน Facebook จึงเป็นโอกาสที่ดีกว่าสำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว
Facebook กลายเป็นหน่วยเซ็นเซอร์เนื้อหา
ช่วงที่ผ่านมา Facebook นำคอนเทนต์ที่สร้างขัดแย้งออกไปจากระบบหลายครั้ง เช่น กรุ๊ปสนับสนุน Bernie Sanders ผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถูกบล็อกชั่วคราวโดย Facebook และกรุ๊ปสนับสนุนประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Rodrigo Duterte ที่มีสมาชิกในนั้นกว่า 3 ล้านคน ก็เคยโดนด้วย
ทั้งหมดนี้ Facebook ให้เหตุผลว่าเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค
คนส่วนใหญ่รับข่าวสารผ่าน Facebook เป็นหลัก จากสถิติแล้ว 2 ใน 3 ของคนอเมริกัน ใช้ Facebook เป็นสถานที่อ่านข่าวใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้น
Facebook กลายเป็นคนกลาง มอบข่าวที่ทุกคนอยากรู้ให้ผู้ใช้ จึงเป็นเรื่องน่าวิตกถ้า Facebook สามารถนำคอนเทนต์ใดออกไปก็ได้ โดยใช้เหตุผลว่า "ผิดพลาดทางเทคนิค" (ไม่นับเนื้อหาที่รุนแรงอย่างการสังหารเหยื่อโดยกลุ่มก่อการร้าย หรือภาพสยดสยอง)
คำถามคือเมื่อชีวิตคนส่วนใหญ่พึ่งพา Facebook มากขึ้น ไม่เพียงเป็นแหล่งข่าวสาร แต่เป็นแหล่งที่สามารถช่วยให้รอดพ้นจากอันตราย ตกลงแล้วเส้นแบ่งในการเซ็นเซอร์ของ Facebook อยู่ตรงไหนกันแน่
ภาพจาก Pew Research Center
เมื่อไม่กี่ชั่วโมงนี้เอง Mark Zuckerberg โพสต์ข้อความถึงเหตุการณ์นี้ว่า เขารู้สึกสะเทือนใจมาก คลิปดังกล่าวทำให้เห็นว่าสมาชิก Facebook คนอื่นต้องอยู่ในสังคมแบบไหน ต้องหวาดกลัวอะไร ตอกย้ำความสำคัญของการเชื่อมต่อกันให้มากขึ้น และอีกไกลแค่ไหนกว่าจะไปถึงจุดนั้น
ที่มา - CNN , Motherboard , Inc.
Comments
เอื่อม => เอื้อม
นัก => นัด
บล็อก => บล็อค
เรื่องเหยียดสีผิวกลายเป็นประเด็นแตกแยกและกำลังลุกลามมากขึ้นเรื่อยเหมือนช่วงยุค 60 ไม่มีผิดเลย เลวร้ายพอๆ กับกลุ่ม ISIS ยังไงไม่รู้ ความกลัวและความโกรธแค้นกำลังจะกลับมาอีกครั้ง...
หยุดสักทีได้ไหม เรื่องเหยียดสีผิวกับเชื้อชาติเนี่ย มันมีอะไรดีขึ้นไหม ไม่มีเลย
Get ready to work from now on.
+1
...สีเสื้อก็ด้วย...
ยากครับ คนแถวนี้ใส่เสื้อผิดสียังตายเลย
ห้ามใส่แดงไปโซนเหลือง ห้ามใส่เหลืองไปโซนแดง
เว่อร์เกินครับ คนไทยเรารับรู้ได้ครับ ผมใส่เสื้อเหลืองเดินไปกินข้าวที่อิมพีเรียลลาดพร้าวได้ปกติ รวมถึงเมื่อก่อนเสื้อเหลืองชุมนุม มีลุงคนนึงขี่จักรยานติดสติ๊กเกอร์เชียร์ฝ่ายตรงข้าม คนที่เดินอยู่บริเวณนั้นก็พูดกันขำๆ โดยลึกๆ แล้วผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่แยกแยะได้ครับ
oxygen2.me , panithi's blo g
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
แต่เท่าที่เคยได้ยิน ถ้าโดนตำรวจอเมริกาเรียกจอด ต้องจอด อย่าลุกออกมา ต้องทำตามคำสั่งทุกอย่าง ต้องโชว์มือให้เห็น ถ้าขยับเกินกว่าที่เจ้าหน้าที่สั่งมีโอกาสถูกยิงได้ง่ายๆ
ตอนนี้ไม่เห็นว่าก่อนหน้าที่ถ่ายทอด มีอะไรรึเปล่า
+1 ผมคิดอย่างนี้นะ คือต้องทำตามทุกอย่างห้ามขัดขืน ถ้าขัดขืนเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ยิงใส่ได้ทันทีเพราะต้องปกป้องตัวเอง
เคยได้ยินข่าวสมัยก่อนคนไทยไปเรียนต่อที่อเมริกา ขับรถผิดอีที่ไหนไม่รู้ ตำรวจเรียกให้จอดเอามือจับที่พวงมาลัย เธอเปิดประตูลงมาจากรถจะมาเคลียกับตำรวจเหมือนที่ไทย โดนยิงสวนเสียชีวิตเลย
แต่ถามว่ากรณีนี้มีความเหยียดผิวมั้ย ผมว่าน่าจะมีส่วน คิดว่าคนผิวสีอาจจะทำเรื่องไม่ดี แต่ในประเทศที่ผู้ก่อการร้ายยังสามารถซื้อปืนได้อย่างถูกกฎหมาย การยิงก่อนอาจจะเป็นการรักษาชีวิตก็ได้ งานนี้อาจจะตายเพราะเข้าใจผิด...
เท่าที่อ่านข่าว เห็นผู้ชายบอกตำรวจหลังจากโดนเรียกให้หยุดรถว่ามีปืนและมีใบอนุญาตพกพา ใบอนุญาตอยู่ในกระเป๋าตัง จะหยิบ ตำรวจบอกอย่าขยับ ผู้เสียชีวิตเลยชักมือกลับ เลยโดนยิง 4 นัด
ถ้าเป็นไปตามนี้ก็อาจคิดได้ว่ากำลังล้วงมือไปชักปืนก็เป็นได้
ผมกลับสงสัยว่า เราควรเอาภาพคนถูกฆาตกรรมขึ้น Social Network จริง ๆ เหรอครับ (แบบสด ๆ ด้วยนะ)
แค่ภาพศพยังไม่ค่อยอยากดูเลย
นั่นก็คือข้อเสียครับ แต่อีกด้านคนบางกลุ่มต่อให้พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ทุกหน้า และจัดงานศพเป็นทางการ เขายังไม่เชื่อเลยว่าคนตายนั้นตายแล้วจริงๆ
แค่เรียนอนุบาล ก็เหยียดกันแล้วใครเรียนโรงเรียนอนุบาลดังกว่ากัน
+1 มีจริงในสังคมไทยครับ แต่คนที่ทำให้เกิดเรื่องแบบนี้ก็ผู้ปกครองเเด็กทั้งนั้น
มันต่างกันนะครับ เหยียดทางเชื้อชาติกับเหยียดฐานะทางสังคม
มันไม่ต่างกันหรอกครับทำไมต้องมองต่างกันด้วย การดูถูกเหยียดหยามกันนี่มันเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดแต่แรกไม่ใช่เหรอครับ
มันต่างกันนะครับ แต่มันไม่เหมาะสมทั้งคู่
ที่ฐานะเรายังสามารถกระเสือกระสนผลักตัวเองให้หนีพ้นได้ ถ้านึกภาพไม่ออกก็อย่างจ่าดราม่าก็ได้ครับ แกพูดบ่อยๆว่าตอนเด็กๆยากจนมีแต่คนดูถูก แต่ก็ผลักดันตัวเองจนเป็นหมอได้ จนตอนนี้มีคนรู้จักและเคารพไปทั่ว
แต่เรื่องสีผิวชาติพันธ์นี่มันติดตัวไปจนตายครับ ยกเว้นจะแบบไมเคิล แจ๊คสันที่ไปเปลี่ยนสีทั้งตัวแบบนั้น ในกรณีนี้คุณจะดิ้นรนยังไงก็เปลี่ยนแปลงมันไม่ได้
ขอย้ำอีกครั้งนะครับ มันต่างกันจริงแต่ก็ไม่เหมาะสมทั้งคู่
ถ้าจะแยกย่อยให้มันต่างมันก็ต่างครับ แต่ถ้ามองแบบภาพรวมมันก็อยู่ภายใต้การเหยียดเช่นกัน ส่วนเรื่องฐานะทางสังคม มันก็มีบางกรณีที่ไม่สามารถสลัดให้หลุดได้เช่นวรรณะในอินเดีย
ระบบวรรณะของอินเดียเนี่ยมันถูกฝังลึดมานานมากและเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาฮินดูด้วยเนี่ยสิ
ถ้าจะให้เปลี่ยนแปลงเลยก็คงทำได้ยากอย่างที่ท่านพูดถึงจริงๆ อาจต้องใช้วิธีอื่นเสริม เช่น การแก้ไขคำสอนศาสนา แก้ไขระบบการศึกษา ออกกฎหมายที่เปิดกว้างกับทุกคนให้มากขึ้น ปรับทัศนคติ หรือต้องใช้วิธีหักดิบอย่างล้างสมองแบบเกาหลีเหนือไปเลยก็คงเป็นไปได้
Get ready to work from now on.
ไม่ได้อะไรมากครับ แต่จะแก้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนของไมเคิลแจ็คสัน แกภูมิใจในความเป็นคนผิวสีของแก แกไม่ได้คิดจะเปลี่ยนสีผิวแก แต่ที่เป็นแบบนี้เพราะแกเป็นโรคด่างขาวครับ
ขอบคุณครับ ผมเข้าใจผิดไปเองครับ
ผู้ตายอาจแสดงอาการพิรุธก็ได้ ใครจะรู้
ต่างกันตรงไหนวะ?
เห็นแล้วขี้น ขอหยาบหน่อย
อยากแบนก็แบน จะได้เลิกเล่นสักที
ต่างกันตรงที่ไม่มีใครเอาปืนไปยิงคนที่เรียนโรงเรียนอนุบาลไม่ดังเพราะคิดว่าจะทำเรื่องไม่ดีครับ
จะขึ้นวะทำไมครับ?? ผมพูดหยาบอะไรตรงไหนเรอะไง??
ต่างกันตรงที่ ทางเชื้อชาติคุณเลือกเกิดไม่ได้ แล้วจะเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้ ในขณะที่ฐานะทางสังคมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่ามาก แล้วการปฎิบัติที่แตกต่างจากฐานะทางสังคมมันก็ไม่ได้มากมายขนาดเชื้อชาติเลย ถึงเด็กเรียนอนุบาลต่างเกรดกัน ถ้าเดินบนถนนด้วยกันแล้วไม่ได้แปะป้ายบอกไว้ ก็ไม่ได้โดนปฎิบัติจากคนทั่วไปต่างกันมากมายหรอกครับ ในขณะที่ทางเชื้อชาติเช่นเด็กผิวดำกับผิวขาวไม่ใช่แบบนั้น
แล้วการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เนื่องจากเชื้อชาติมีมากมายในประวัติศาสตร์ การปฎิบัติก็มีการแบ่งแยกกันมาก ในกรณีข่าวนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง
+1
ดูคลิปได้ตามปกตินะครับ
รากฐานของปัญหานี้คือการพกปืนที่ค่อนข่างเสรีนี่แหละ ทำให้คนระแวงกันเกินจำเป็น
+1 ผมก็คิดเหมือนกัน มันทำลายความเชื่อใจของคนในสังคมไปหมดเลย แล้วสังคมจะเป็นยังไง...เช่น เชื่อว่ามีเคสแบบว่าเห็นคนอื่นรอบตัว(เช่น เพื่อนบ้าน)มี ถึงตัวเองไม่อยากมีก็ต้องมีติดบ้านไว้ ใครจะไปรู้ เผื่อวันดีคืนดีบ้านข้างๆ มันอาจจะเกิดบ้าขึ้นมาก็ได้...
อารมณ์เหมือนเวลาเล่นเกมออนไลน์ multiplayer เลย (เช่น Rust, DayZ, Dark souls etc.) คือมันระแวงอีกฝ่ายไปหมด ต่างฝ่ายคือจ้องจับผิดดูท่าทีกันตลอด แบบ เห็นท่าไม่ดีตูใส่ก่อนเลย มันแบบนั้นจริงๆ นะ :(
เคสนี้ถูกกระพือ เพราะเป็นlive ด้วย ทั้งๆที่ข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจน การถ่ายทอดเกิดหลังยิงไปแล้ว และคนเล่า คือแฟนของคนที่โดนยิง
ในขณะที่ข้อมูลเพียงเล็กน้อยที่หลุดมา ก็น่าสงสัย เช่น โดนเรียกให้หยุดตรวจ บอกว่ามีปืน พยายามจะหยิบใบอนุญาต ซึ่งจริงๆ ก็สุ่มเสี่ยง เหมือนประกาศคำขู่ว่าฉันมีอาวุธ แถมทำท่าจะหยิบอาวุธ ทางจนท.ก็ถือว่าพอจะมีข้ออ้างในการป้องปราบเหตุเช่นกัน แต่เนื่องจากการปลุกกระแสผ่านคลิปที่น่าตกใจ จนลุกลามไปกันใหญ่ จนล่าสุดในการประท้วง มีจนท.โดนซุ่มยิงตายไปสี่นายแล้ว...
เรื่องการร้องเรียนผ่าน social network กับการปลุกระดมโดยชี้นำประกอบข้อเท็จจริงที่ไม่ครบถ้วน ก็เป็นเส้นบางๆว่าเหมาะสมหรือไม่นั่นแหละครับ
ผมว่าชายผิวดำน่าจะแจ้งให้ตำรวจทราบเฉยๆว่ามีปืน ผมเข้าใจว่าถ้าตำรวจเห็นปืนโดยไม่ได้บอกไว้ก่อนอาจจะทำให้ตำรวจชักปืนออกมาได้ซึ่งก็รู้ๆกันอยู่ตำรวจสหรัฐขึ้นชื่อเรื่องดุแค่ไหน โดยรวมแล้วอาจจะเกิดการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน ที่สำคัญเค้ามากับครอบครัวไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะคิดคุกคามตำรวจ
ประเด็นนี้ยังขัดแย้งกัน จนท.บอกว่า เขาบอกให้ยกมือ แต่แฟนของผู้ตายบอกว่า จนท.สั่งให้ผู้ตายเอาid ให้ดู แล้วจนท.ก็ยิงหลังจากผู้ตายพยายามจะหยิบอะไรออกมา
ซึ่งก็คงต้องพิสูจน์ ว่าถ้าจนท.สั่งให้ยกมือ แต่ดันพยายามจะหยิบอะไร ก็อาจจะจุดชนวนให้จนท.ด่วนป้องกันตัวก็ได้
ยังไงก็คงต้องสอบสวนกันต่อไป
แต่ประเด็นคือ การถ่ายคลิปลงด่วนมันปลุกระดมได้ง่าย ไม่ว่าข้อเท็จจริงที่แท้จริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม...ในไทยก็มีเคสแบบเกิดเหตุกระทบกระทั่ง ก็ชิงลงคลิปก่อน ชี้นำก่อนได้เปรียบ คนด่ากันเต็ม แม้ภายหลังจะชี้แจงว่าจริงๆแล้วเหตุการณ์กลับกัน คนก็จำแบบแรกไปแล้ว แถมแนวทางการดำเนินคดี มักจะไปตามกระแสสังคม โดนลงโทษอย่างรุนแรง ในขณะที่คู่กรณี(คนลงคลิป)ก็มีพฤติการณ์ไม่ต่างกัน แต่โดนด่าน้อยกว่า ก็มักจะโดนแค่โทษสถานเบา
เคสนี้ ถ้าให้พูดกันจริงๆ มันคือความหายนะที่มาจากกฎหมายอาวุธปืนของอเมริกานั่นแหละครับ การที่มันซื้อง่าย ทำให้ใครๆ ก็อยากมีปืนไว้ป้องกันตัว แต่มันก็ทำให้กลุ่มแก๊งทั้งหลายมีอาวุธในครอบครองได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน สังคมอเมริกันก็เลยอยู่กันแบบหวาดกลัวกันไปมา พอบวกกับการเหยียดสีผิวโดยเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว (การสงสัยทันทีที่เห็นว่าเป็นคนผิวสีคือการเหยียดอย่างหนึ่ง) มันก็ไปกันใหญ่ พอเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ก็อ้างได้ว่าป้องกันตัว พลเมืองก็พร้อมที่จะลุกฮือแสดงความไม่พอใจรัฐ แล้วก็บรรลัยจักรกันหมด
งงว่าจะบอกตำรวจว่ามีปืนทำไม ยอมทำตามคำสั่งแต่โดยดีก็ไม่น่าจะมีอะไรแท้ๆ คงต้องรอฟังความจากฝั่งตำรวจด้วย
ปกติตำรวจห้ามยิง ถ้าอีกฝ่ายไม่ต่อสู้ขัดขืนนะครับ ถึงอีกฝ่ายจะมีปืนก็เถอะแต่นี่....
พูดยาก กลุ่มคนผิวสีบางกลุ่มเป็น gangster ทำให้โดนเหมารวมเสมอ ฝั่งตำรวจก็ไม่เบาเหลือเกิน ก่อนหน้านี้ยิงเป็นว่าเล่นก็ไม่รู้จักจำ
https://www.youtube.com/watch?v=Zhgwy9y5ttA
เท่าที่ดูสารคดีมา คนผิวขาวพยายามซะเหลือเกินที่จะยัดคนผิวสีเข้าคุก แต่พอเป็นผิวขาวกลับทำทุกอย่างเพื่อให้พ้นคุก = =a
มองเห็นว่าประเทศไทยก็เป็นเหมือนกันที่ต้องให้ Social เป็นที่พึ่งในความยุติธรรมดูจากคดีหญิงไก่ครับ ถ้าไม่ออก facebook ป่านนี้น้องคนนั้นจะได้ออกจากคุกไหม?
เรื่องจริงแหละการเหยีดผิว อย่าเข้าข้าง ตร มากนักเลย เค้ามากับลูก บางทีก็คิดก่อนก็ได้ว่าเค้าคงไม่อะไรแย่ๆhttps://www.youtube.com/watch?v=kL_OoQXHA-U
ผมว่ารอบนี้ผิดทั้งคู่เพราะเข้าใจผิดกัน ตำรวจที่ยิงก็ดูช็อคไม่น้อยเหมือนกัน อีกอย่างเหตุการณ์ก่อนหน้าเราไม่เห็นครับ พูดลำบากแต่จากหลักฐานและจากปากแฟนเค้าเป็นคนเล่า คนขับบอกว่ามีปืน แล้วทำท่าล้วงกระเป๋า ถ้าคุณเป็นตำรวจคุณมีเวลาไม่ถึง 5 วินาทีที่จะคิดว่าเค้าจะหยิบอะไรถ้า ในจังหวะนั้นจะคิดว่าเค้าจะหยิบปืนหรือหยิบใบขับขี่หละครับ
แต่ผมมองว่าตำรวจผิดมากกว่า ซัดไปได้ยังไงตั้ง 4 นัด บ้าไปแล้วอีกอย่างเค้ามากับลูกเมีย ไม่ได้มาเป็นแก๊ง
ผู้หญิงเล่าเหตุการณ์ว่า
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
คือคนผิวสีเนี่ย แม้แต่มาเดินๆสะเปะสะปะในไทยตำรวจไทยก็ระแวงครับอันนี้เรื่องจริง และถ้ามีอะไรตำรวจบ้านเราก็ชักปืนก่อนเหมือนกันต่างกับคนชาติอื่นนะครับที่ตำรวจจะหนีบปืนไว้กะเอวให้นานานทสุดเท่าที่จะทำได้ ถามตำรวจว่าทำไม เขาตอบว่าเพราะร้อยละ80ของคนพวกนี้ไม่ได้มาเที่ยว และ มักก่ออาชญากรรมเช่นค้ายาและมีอาวุธ คือถ้าจะมองว่าตำรวจเหยียดผิวก็อาจจะใช่ แต่อีกด้านก็คนกลุ่มนี้มักจะมีพฤติกรรมให้คนอื่นระแวงจริงๆน่ะล่ะครับ
เป็นเคสที่น่าเศร้าอีกเคสนึง :(
เหตุการณ์ประท้วงทำลายทรัพย์สินและเผารถที่สถานีตำรวจถลาง ภูเก็ตที่เพิ่งผ่านมา ก็มีบางอย่างที่คล้ายๆ กัน และเหตุการณ์นั้น Social media ก็มีบทบาทค่อนข้างมากเหมือนในกรณีนี้
จะว่าไปอีกอย่างนึงคือ ถ้าสมมติว่าเป็นคนขาวทำแล้วโดนแบนแบบนี้ มันจะไม่ถูกว่ามองว่าเป็น racist หรือเปล่า ?
ผมว่ามันถูกเอาออกเพราะมันไม่เหมาะสมมากกว่า
เรื่อง Social Network กลายเป็นที่พึ่งแทนตำรวจยกตัวอย่างในไทยคงน่าจะเป็นกรณีที่มีคนต่างประเทศผูกคอในตึกสาธรยูนีคล่ะมั้งครับ
ตำรวจผิด ทำเกินกว่าเหตุ ไม่ควรยิงให้ตาย
เพราะ ความตาย เป็นอะไรที่ แก้ไขไม่ได้
เคสนี้คนโพสท์น่าจะไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด (อย่างที่เราเห็นกันเป็นประจำ) จากเหตุการณ์ตอนที่ตำรวจสังเกตเห็นไฟรถแตกจึงเรียกให้จอด พอรถจอดตำรวจขอดูใบขับขี่ มีความเป็นไปได้สูงว่าคนขับอาจไม่ให้ความร่วมมือด้วยดี ตำรวจจึงชักปืนออกมาขู่ แต่คนขับดันบอกว่า ผมก็มีปืนเหมือนกัน แล้วทำท่าล้วง ณ วินาทีนั้นเองตำรวจต้องตัดสินใจแล้ว.. แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเงียบไว้(เรื่องมีปืน)แล้วให้ความร่วมมือ เหตุการณ์คงจบอีกแบบ
ถ้าตั้งใจจะล้วงปืนทำร้ายตำรวจจริงๆ แล้วจะบอกไปทำไมล่ะครับว่ามีปืน?
คือ ที่บอกก็เพราะเกรงว่าตำรวจจะมารู้ทีหลัง เลยให้ความร่วมมือโดยแจ้งไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่ตกใจ (เดาว่าผู้ตายคงไม่ได้ทำน้ำเสียงข่มขู่)
กลายเป็นว่าตำรวจตกใจขาดสติไปก่อนเรียบร้อยแล้ว ประชาชนโครตซวย
อย่าลืมว่าสิ่งที่คุณเล่ามาก็เป็นเพียงสมมติฐานหนึ่งที่เป็นไปได้ครับ
แต่งเรื่องเก่งจัง เหมือนอยู่ในเหตุการณ์ เป็นตุเป็นตะ
ไม่มีใครบอกได้หรอกครับ ว่าเขาจะหยิบอะไรออกมาระหว่างใบขับขี่ ใบอนุญาต หรือปืน
ในสถานการณ์ที่มีคนเอาปืนจ่อคุณอยู่ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ โจร หรือนักเลง สิ่งที่ดีที่สุดคือควรจะปฎิบัติตามเขาไว้ก่อน
อย่าคิดว่าเท่เหมือนพระเอกในหนัง
อย่าเอาไปเป็นประเด็นทางการเมืองหรือจุดประเด็นเรื่องการเหยียดสีผิว
กลับเข้าสู่โจทย์หลักของเรื่องนี้ดีกว่าสิ่งที่เห็นได้จากเหตุการณ์นี้ คือ เฟสบุ๊ก ไลฟ์ คือโซเชี่ยลที่มีคนใช้งานเยอะ สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน ซึ่งก่อนหน้านี้ เราจะรู้กันว่า ยูทูปคือโซเชี่ยลหลักด้านวีดีโอ แต่ยุ่งยากมากกับการถ่ายทอดสด หรือสตรีมวีดีโอ งานนี้ เป็นงานหนักของยูทูปเลย ถ้าปล่อยไว้นาน มีหวังได้เป็นตำนานแน่นอน
Youtube กำลังทำ Live มือถือครับ คาดว่าจะปล่อยเร็วๆนี้ ส่วนเรื่อง Live กับ Video คนละตลาดครับซึ่งตอนนี้ Facebook ยังตาม Youtube อยู่ไม่เห็นฝุ่น