หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า Jeff Bezos ซีอีโอของ Amazon เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Blue Origin ด้วย โดยเป็นบริษัทเอกชนที่ให้บริการเดินทางไปอวกาศ รวมถึงผลิตจรวดเองด้วย (แบบเดียวกับ SpaceX ของ Elon Musk) ล่าสุดเขาประกาศเปิดบริการส่งของไปยังดวงจันทร์ภายในกลางปี 2020
ตามรายงานระบุว่า Blue Origin มีแผนพัฒนายานอวกาศที่สามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้ในชื่อ Blue Moon มีจุดประสงค์เพื่อการส่งอุปกรณ์การทดลอง, ของใช้ และสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต สำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์ในอนาคตภายในกลางปี 2020
Bezos บอกว่า "ขณะนี้ถึงเวลาที่อเมริกาจะกลับไปดวงจันทร์อีกครั้ง แต่คราวนี้จะไปเพื่ออยู่ การตั้งถิ่นฐานถาวรนั้นยากแต่คุ้มค่า ผมรู้สึกว่ามีคนจำนวนมากตื่นเต้นกับข่าวนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านไฮโดรเจนเหลวที่มีประสบการณ์ด้านการลงจอดของเรามีแนวทางสำหรับการลงจอดบนดวงจันทร์ ผมตื่นเต้นกับมันมากและพร้อมลงทุนด้วยเงินส่วนตัวคู่ไปกับ NASA เพื่อทำให้มันเป็นจริง"
Blue Moon สามารถบรรทุกของได้ 10,000 ปอนด์ หรือ 4.5 ตัน โดยวางแผนไว้ว่าจะลงจอดบริเวณ Shackleton crater ซึ่งเป็นหลุมบนดวงจันทร์บริเวณขั้วใต้ (south pole) เพราะมีแสงแดดส่องถึงตลอดเวลา และเป็นแหล่งพลังงานให้ยาน อีกทั้งบริเวณนี้มีน้ำแข็งอยู่เยอะ โดย Blue Moon สามารถเปลี่ยนน้ำแข็งให้เป็นเชื้อเพลิงได้
จรวดที่ Blue Origin พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า New Shepard ความพิเศษของมันคือสามารถลงจอดแนวดิ่งได้แบบจรวด Falcon 9 ของ SpaceX โดย New Shepard ลงจอดได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2015 จากความสูง 100 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล (suborbital) และ Falcon 9 ของ SpaceX ลงจอดได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2015 จากความสูงเกิน 100 กิโลเมตร (orbital) กล่าวคือ จรวดของ Blue Origin เป็นจรวดของเอกชนลำแรกในประวัติศาสตร์ที่ลงจอดแนวดิ่งได้จากความสูงที่นับว่าเข้าเขตอวกาศ ( Kármán line ) แต่จรวดของ SpaceX มีกำลังมากกว่า บินขึ้นไปสูงกว่า ก่อนกลับลงมาจอดสำเร็จ ในระยะเวลาห่างกัน 1 เดือน
ที่มา - Engadget , The Washington Post
ที่มาภาพ - Blue Origin
Jeff Bezos ที่ฐานปล่อยจรวด West Texas
จรวด New Shepard ขณะถูกปล่อยออกจากฐาน
จรวด New Shepard หลังลงจอดสำเร็จ
Comments
ต้องระบุระดับมั้ยครับ? จำได้ว่า SpaceX ปล่อยของระดับต่ำกว่านั้นมานานแล้ว แต่ไม่รู้ว่า Blue Origin มีปล่อยแต่ไม่เป็นข่าวรึเปล่า เพราะถ้านับแค่ลงจอดนี่ข่าวตอนเพิ่มระดับความสูงยังตั้งแต่ปี 2013 เลยครับ https://www.jusci.net/node/3142 ไม่นับที่ปล่อยก่อนหน้านั้นระดับต่ำกว่านั้นอีก (แต่ทั้งหมดนั้นก็ความสูงแค่เล็กน้อยจริงๆ?)
ต้องระบุครับ ผมเพิ่มในข่าวละ คือของ Blue Origin นี่เป็นเจ้าแรกที่ลงจอดจากการขึ้นไปถึงเขตอวกาศ หรือที่เรียกว่า Kármán line ครับ เป็นความสูงประมาณ 100 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งบริการของ Virgin Galactic ก็พานักท่องเที่ยวขึ้นไปที่ระดับนี้เหมือนกัน ขอบคุณที่ท้วงครับ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
รูปจรวดนี่มัน....เอ่อ...
รู้นะคิดอะไรอยู่
ผมก็คิดแบบนั้น แล้วรูปลงจอดเนี่ย เสียวแว๊บเลย
เท่ห์จริงๆเลยเฮีย
น่าจะขยายความนิดนึง ว่า Blue moon มีไว้ลงจอดบนดวงจันทร์ แต่ต้องพึ่งจรวดอื่นเช่น SLS, Atlas หรือ New Glenn ในการยิงออกนอกโลก