หากยังจำกันได้ Tesla และ SolarCity เปิดตัวกระเบื้องหลังคาผสานโซลาร์เซลล์ในชื่อ Solar Roof ไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจอย่างมากเพราะมาแทนที่แผงโซลาร์เซลล์แบบเดิมๆ ที่ดูไม่สวยนัก และทนทานต่อสภาพอากาศที่โหดร้ายได้ ล่าสุด Tesla ได้เผยราคาของ Solar Roof แล้ว
Tesla ระบุในบล็อกของบริษัทว่าสำหรับเคสทั่วไป การติดตั้งหลังคา Solar Roof จะมีค่าใช้จ่ายราว 21.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ตารางฟุต หรือประมาณ 8,200 บาทต่อ 1 ตารางเมตร โดยเป็นหลังคา Solar Roof 35% ของพื้นที่หลังคาทั้งหมด ซึ่งราคานี้ต่ำกว่าราคาที่ Consumer Reports เคยคำนวณไว้ว่า Solar Roof ควรตั้งราคาต่ำกว่า 24.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางฟุต ถึงจะคุ้มค่า
สำหรับการติดตั้งนั้น จะไม่ใช่กระเบื้องโซลาร์เซลล์เต็มพื้นที่หลังคา แต่จะเป็นกระเบื้องธรรมดาปูผสมกับกระเบื้องโซลาร์เซลล์ ซึ่ง Elon Musk กล่าวว่าในกรณีทั่วไปมีสัดส่วนระหว่างกระเบื้องโซลาร์เซลล์ต่อกระเบื้องธรรมดาที่ 40:60 แต่ในบางกรณีก็สามารถขึ้นไปถึง 70:30 ได้เลย โดยเมื่อมองด้วยตาเปล่าจากพื้นถนนจะเห็นเป็นกระเบื้องลักษณะเดียวกันหมด
อีกประเด็นหนึ่งที่ Tesla โฆษณาเป็นอย่างมากคือความทนทาน โดย Solar Roof สามารถทนการกระแทกของลูกเห็บขนาด 2 นิ้วที่เดินทางด้วยความเร็ว 177 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ นอกจากนี้ยังได้รับการจัดเรตติ้งการทนลมและทนไฟ ในระดับดีที่สุดอีกด้วย
สำหรับการรับประกัน Tesla ระบุว่ารับประกันแผ่นกระเบื้องตลอดอายุบ้าน (ตราบใดที่ไม่ทุบบ้านทิ้ง ก็รับประกันไปเรื่อยๆ) และรับประกันระบบโซลาร์รวมถึงประกันการรั่วซึมจากการติดตั้งที่ 30 ปี
สุดท้าย Elon Musk ได้ทวีตว่าจะเริ่มขาย Solar Roof ในสหรัฐอเมริกาปีนี้ และจะเปิดให้เกือบทุกประเทศในโลกสั่งได้ภายในปี 2018 โดยตอนนี้เริ่มลงชื่อจองพร้อมวางเงินมัดจำ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐกันได้แล้ว แต่ยังมีแค่แบบ Textured กับ Smooth ก่อน ส่วนแบบ Tuscan กับ Slate จะตามมาปีหน้า
ใครสนใจรายละเอียดเต็มๆ เข้าไปดูได้ที่ เว็บไซต์ Tesla
กระเบื้องแบบ Smooth
กระเบื้องแบบ Textured
Solar Roof tile vs. hail at 110 mph
A post shared by Tesla (@teslamotors) on May 10, 2017 at 12:30pm PDT
Solar roof can be ordered for almost any country. Deployment this year in the US and overseas next year.
— Elon Musk (@elonmusk) May 10, 2017
Comments
บ้านเรายังผิดกฎหมายอยู่ใช่หรือเปล่าครับ?
++อยากทราบรายละเอียดเพิ่มครับ ว่าผิดกฏยังไง?
ไม่ผิด ถ้าไม่ได้ต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้า ที่ผิดเพราะดันลักไก่ต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าครับ
ไม่ได้ผิดกฎหมายครับ แค่ไม่ได้สนับสนุนเต็มที่เฉยๆ
บ้านเราสนับสนุนเยอะมากนะครับ การไฟฟ้ารับซื้อในราคาที่สูงกว่าค่าไฟที่เราใช้อีก แต่ไม่ใช่อยู่ดีดีจะไปจ่ายเข้าระบบดื้อๆโดยไม่ขอ
รับซื้อจริง แต่ไม่ได้รับซื้อทุกหลังครับ เหมือนจะมีโควต้า ด้วย
ใช่ครับการไฟฟ้ารับจำกัดตาม % ที่เขาประมาณจะรับไว้
นั่นแหละครับ คือเยอะแล้ว แต่ก็ไม่ได้เต็มที่พอที่จะดันมันขึ้นมาเป็นโครงการอะไรใหญ่ๆหรือสนับสนุนให้ใช้กันในระดับครัวเรือนทั่วๆไปครับ
ผมว่าน่าจะจ่ายไม่ไหวครับ ราคาน่าจะสูงเกิน
10 ข้อควรรู้ “โซล่าร์เซลล์หลังคาบ้าน”
ถ้าเป็นผมคงทำ off-grid แบบไม่แคร์เรื่องคุ้มทุนครับ เพราะไฟฟ้าทุกวันนี้มันจ่ายไฟแบบ "ชุดใหญ่ ไฟกระพริบ" จริงๆ (เด้งขึ้นลง 170V-145V เป็นมิลลิวินาทีเลยครับ สุดยิดจริงๆ)
เรื่องช่างที่ MA โดนไฟดูดตายไม่น่าเป็นไปได้ เพราะในเมื่อการไฟฟ้าตัดไฟแล้ว Grid มันไม่สามารถ Sync ให้phase และ Frequency ตรงกันได้ มันก็ไม่น่าจะจ่ายไฟออกไปจากตัวมัน
เป็นคำขู่ของการไฟฟ้า ข้อเท็จจริงคือถ้าไฟฟ้าจากสายส่งดับ inverter ของเราก็จะตัดครับ หลักการฝากไฟฟ้าที่ชาวบ้านผลิตได้จาก solar rooftop ไว้กับสายส่งของการไฟฟ้า ที่ต่างประเทศใช้อยู่ รวมทั้ง 43 รัฐในอเมริกา(อ้างอิง อ.ประสาท มีแต้ม, http://www.manager.co.th/south/ViewNews.aspx?NewsID=9590000003258) เรียกว่า net metering คือชาวบ้านติดตั้ง solar rooftop แบบ on grid (ถ้าเป็นแบบ off grid ที่ใช้สำหรับบ้านที่ห่างไกล จะต้องลงทุนเรื่อง Deep cycle battery สำหรับเก็บไฟ แพงมาก)กลางวันหลังคาผลิตไฟได้มาก และเจ้าของบ้านมักออกไปทำงานนอกบ้าน ไฟจะไหลไปฝากไว้บนสายส่ง พอค่ำลง หลังคาผลิตไฟไม่ได้ และเจ้าของบ้านกลับมา ใช้ไฟมากไฟก็จะไหลกลับมาให้ใช้ตามปกติ บางบ้านไฟจากหลังคาน้อยหน่อย ก็จะได้ทุเลาค่าไฟลงบ้าง บางบ้านไฟจากหลังคามาก บางเดือนได้บวก บางเดือนติดลบ หักลบกลบหนี้ คิดราคากันไป หรืออาจใช้ยกยอดไปเดือนต่อไปก็ยังได้ ประมาณนี้ ถ้ารัฐบาลเห็นความสำคัญส่งเสริมจริงจัง ปรับเปลี่ยนการผูกขาดสู่การมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างจริงใจ(ย้ำว่าต้องจริงใจ) ทำให้ประชาชนร่วมมืออย่างแพร่หลาย พร้อมกับส่งเสริมสนับสนุนผู้ผลิตแผงในประเทศอย่างจริงจัง เป็นแบบ two way power grid ผลดีก็คือรัฐไม่ต้องลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลในการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่(เพราะนั่นคือภาษีของเราทุกคน) ป้องกันการคอรัปชั่น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญนี่คือการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของร.9 ที่ให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนครับ
ถ้าไม่มีไฟ main จ่ายมาที่ระบบ on-grid จะไม่ทำงาน เรื่องช่างโดนไฟดูดไม่จริง
+1 meter analog หรือ digital อันที่ การไฟฟ้าฯ เอามาเปลี่ยน ไฟมันก็ไหลย้อนได้หมดนะแหละครับ (เพียงแต่ digital ตัวเลขไม่ย้อนกลับ) ถ้าแบบ on grid มันดูดจริง คงตายกันไปเยอะแล้ว
เข้าใจว่าแซวเล่รใช่หรือเปล่าครับ
จองได้เลยมั๊ย
แล้วระบบไฟมันต่อยังไงหว่า? น่าจะต้องมีการติดต่อกับทางการไฟฟ้าด้วยแน่
ถ้ามีแบตเตอรี่ใหญ่พอ ก็ off-grid ได้เลยนะครับ แต่ถ้าติดเฉพาะแผงคงมาในลักษณะ load balance กัน
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
ตัวแทน รีบนำเข้าไทยด่วนครับ อยากใช้มาก
ประกันน่าสนใจมาก คุ้มค่าในการลงทุนเลยของเดิม ค่าแผงก็โคดแพงแล้ว แถมเจ้งง่ายอีกตะหาก เจ้งก็ซื้อใหม่อย่างเดียว
ว่าแต่ 8200 รวมค่าติดตั้ง แล้ว้าสั่งมาติดที่ไทย ใครจะติดตั้งให้หว่า
หลังคาบ้านผมทรงทรอปปิคอลไม่มีหน้าจั่ว 300 ตร.ม. x 8000 บาทถ้วนๆ
ค่าหลังคาแค่ 2.4 ล้านเองครับ
สมมติคิดราคาเหมาสร้างบ้านนี่ทำแบบหรูเลยยังแค่ตร.ม.ละ 3,000 บาท
ผมว่าไม่ต้องมุงเต็มก็ได้มั้งครับ
อันนี้คิดแค่ 50% นะครับ ถ้าตามแนะนำที่ 40:60 หรือ 40% ก็ 240 ตร.ม.
240 * 8000 = 1.92 ล้านบาท ครับ
อาจต้องดูอีกทีว่า 1 ตร.ม. ผลิตไฟฟ้าได้กี่วัตต์อ่ะครับ
อยากรู้เหมือนกันครับว่าตร.ม.ละกี่วัตต์ เพราะเคยขายโซล่าเซลส์อยู่ช่วงนึง เวลาคำนวณราคาจะใช้คูณเป็นปริมาณวัตต์ ตามสเปคของแต่ละแผง แต่อันนี้เค้ามาเป็นตร.ม.เฉยๆแต่ไม่ได้ระบุปริมาณวัตต์
= หลังคาโซลาร์ล้วน ~8,200 บาทต่อ 3.75 ตารางฟุต - -"
ตอนแรก 8200 รู้สึกชิลๆ พอเม้นท์บนคำนวณตัวเลขมา ผมสะดุ้งเบาๆ เลย...
เวลาซื้อ ผมว่าในไทยส่วนมากจะพิจารณาจากปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ต้องการ (วัตต์) เช่น 300 วัตต์ 600 วัตต์ อะไรก็ว่าไป
แต่เนื่องจากยังไม่รู้กำลังไฟที่ผลิตได้ต่อ 1 ตร.ม. ก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องติดตั้งเยอะขนาดไหนครับ สมมติ 3 x 5 เมตร = 300 วัตต์ คิดราคา 15 ตร.ม.ประมาณ 120K THB ก็ยังแพงอยู่ดี
ถ้าราคานี้คงไม่ใช่ราคาสำหรับคนทั่วไปที่สนใจจะติดตั้งโซลาร์เซลล์อ่ะครับ เพราะนี่ยังไม่รวมระบบเลย มีแค่แผ่นหลังคาเอง
:)
อ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ครับ ที่บอกว่า 21.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ตารางฟุต โดยเป็นหลังคา Solar Roof 35% ของพื้นที่หลังคาทั้งหมด
ไม่แน่ใจผมเข้าใจถูกหรือเปล่า
1. ถ้ามีพื้นที่หลังคาบ้านทั้งหมด 100 ตารางฟุต แปลว่า ถ้าต้องการ solar roof 35% ก็แสดงว่าต้องจ่ายส่วนที่เป็น solar cell 35 ตารางฟุต ซึ่ง = 21.85x35 = 764.75 USD, และส่วนที่เป็นหลังคาปกติ xxx USD ?
ข้อไหนถูกครับ
ตามที่ผมพิมพ์ไว้ก่อนหน้าครับ $21.85 ต่อ 1 ตารางฟุตนี่คือรวมทั้ง solar roof และกระเบื้องธรรมดาแล้ว
ทำมาขายในไทยขอแบบกันลูกปืนตกมาด้วยนะครับ
อ่านหัวข้อไวไป นึกว่าขายโลกหน้า
ซื้อแต่กระเบื้องไม่พอนะ ต้องซื้อรถเค้าด้วย 555
ที่จริงเค้ามี battery ด้วยนะครับ เข้าชุดกันเลย
น่าจะเน้นลูกค้ารถ tesla หรือเปล่าครับ แบบไหนๆ ก็ซื้อรถไฟฟ้าแล้ว ใช้หลังคาชาร์จเข้าแบท จ่ายให้รถด้วยซะเลย
เค้ามีระบบให้ใช้แบตของรถยนต์ช่วยจ่ายให้บ้านตอนกลางคืนด้วยนะครับ ;)
ขอรอ Solar cell ที่ให้ผลผลิตสูงและราคาถูกกว่านี้...ได้ยินข่าวว่า เริ่มมีแบบใหม่แล้ว แต่อยู่ห้องวิจัย
คือเห็นทดสอบ เชื่อครับว่าทน แต่สงสัยนิดนึงว่าทดสอบลูกเห็บในคลิปนี่ทำไมต้องหันของตัวเองเป็นแนวนอนแต่แบบอื่นเป็นแนวตั้ง - -
เพื่อให้คานที่ใช้วางกระเบื้องขวางกับแนวกระเบื้องไงครับ
ทำให้โมเมนตัมเฉลี่ยที่กระทำ ณ จุดกระทบ น้อยกว่าเจ้าอื่นนึกง่ายๆก็เหมือนแท่งไม้ที่ขนาดเท่ากัน แต่ความยาวไม่เท่ากัน พอยึดปลายทั้งสองไว้ อันไหนยาวกว่า เวลามีแรงมากระทำตรงกลางท่อนไม้ก็จะมีโอกาสหักง่ายกว่า
ในกรณีนี้เป็นแผ่นกระเบื้อง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางที่มากที่สุดก็คือตามแนวเส้นทะแยงมุม พอวางแนวขวางปุ๊บ เส้นทะแยงมุมจากมุมที่กระเบื้องทำกับคานที่ใช้วางสั้นลงอย่างชัดเจน โอกาสแตกเลยน้อยลงตาม
ผมก็ว่าวิดีโอการทดลองมันแหม่งๆ เจอคอมเมนต์นี้เลยนึกออก
ก็นั่นแหละครับผมเลยสงสัยว่าจะหมุนให้คนมีข้อครหาทำไม
มันต่อไฟยังไงครับ เวลามันอยู่ติดกัน ขนานไฟฟ้ากันได้ไหม คงต้องมี solution ที่ดีไม่งั้นติดตั้งลำบาก ต้นทุนสูง สายไฟคงยุบยั่บ ถ้าเทียบกับเป็นแผง ก็มาเป็นแผงใหญ่ๆเลย จุดต่อสายไฟน้อย
ของ SCG ที่โชว์ในงานสถาปนิกปีนี้ ตารางเมตรละ 10K ครับ
แต่ยังเป็นตัวต้นแบบอยู่ ต่อไปถ้าทำขายจริงราคาก็จะถูกลงมาอีก แต่ข้อมูลเรื่องความทนทาน ฯลฯ ไม่ได้ถามมาตรับ
@iannnnn
หากเทียบกับแผงขนาดปกติทุกวันนี้ราคาก็ตำ่กว่ากระเบื้องหลังคาเทสลามากพอสมควรนะครับ
แผ่นขนาด 300 วัตต์ ราคายังไม่ถึง 8000 บาทเลย คิดเป็นพื้นที่มากกว่า 1 ตรม.ด้วยนะครับ
แต่ความสวยคงสู้กระเบื้องหลังคาไม่ได้แน่นอน
ผมว่าแบบแยกติดตั้งง่าย เมนเทนง่าย เปลี่ยนง่าย ราคาถูกกว่า ผมรอดูของเทสลานึกว่าจะว้าว
สรุปว่าแหวะ เป็นเทคโนโลยีทางเลือกเพื่อตลาดระดับบนเกือบทั้งนั้น
แพงอิ๊บอ๋าย เป็นของเล่นของคนมีตังค์
ผมว่าปกติของที่เอาอะไรแบบเดิมมาทำให้ "ดูสวย" ก็มักมีราคาแพงกว่าปกติอยู่แล้วนะครับ ด้วยข้อจำกัดที่มากขึ้น กระทบทั้งประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิต
นั่นแหละครับ ผมคงต้องทำความเข้าใจใหม่ว่ามันไม่ใช่เทคโนโลยีเพื่อมนุษยชาติ
เจ้าโซลาร์เซลล์นี่ความจริงก็เป็นพลังงานทางเลือกสำหรับคนมีตังค์อยู่แล้ว มันไม่ใช่ทางเลือกของทุกคน แต่ของเทสลานี่ ...เป็นทางเลือกในทางเลือกอีกที
ที่ Solar Cell ยังเป็น "พลังงานทางเลือก" ผมมองว่ามาจากสองปัจจัยครับ ข้อแรกคือประสิทธิภาพเทียบกับราคา ซึ่งอันนี้ก็ต้องวิจัยกันต่อไปเรื่อยๆ กับอีกเรื่องคือการนำไปใช้งานจริง ซึ่งในมุมมองของผู้ใช้แล้ว การใช้กระเบื้องโซล่าร์เซลล์นี่สร้างแรงจูงใจได้มากเลยนะครับ สำหรับคไทยอาจรู้สึกว่าแพงมากเพราะค่าครองชีพต่ำ + ค่าไฟไม่ค่อยแพง แต่ถ้าเป็นที่ USA นี่ผมว่าชนชั้นกลาง - กลางบนก็ซื้อไหวนะ
ผมแซวแหละครับ พลังงานทางเลือก (ของคนมีกำลังทรัพย์) อะไรแบบนี้
ส่วนของเทสลาเป็น พลังงานทางเลือก ของทางเลือกของคนทีกำลังทรัพย์
ไม่ฮา ...
ผมว่าถ้าแผงที่ว่าไม่มีปัญหาเรื่อง hot spot เหมือนที่ขายกันทั่วไป(แผงไหม้เพราะมีอะไรบางอย่างบังแผงไว้) ผมว่ามันก็โอเคนะ
รอ Mi ก็อปขายถูกๆ
มีตัวแทนจำหน่ายในไทยเหรอยังครับ