Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจาก กสทช. ขีดเส้นตาย 22 ก.ค. นี้ ถ้าเว็บเผยแพร่ภาพยังไม่ลงทะเบียนผิดกฎหมาย ซื้อโฆษณาต้องรับโทษด้วย / YouTube - Facebook ยังไม่ลงทะเบียน ทาง AIC (Asia Internet Coalition) ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความเข้าใจนโยบายด้านอินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียแปซิฟิก ที่ประกอบไปด้วย Apple, Facebook, Google, LinkedIn, Twitter และ Yahoo

Jeff Paine ผู้อำนวยการผู้จัดการ AIC ได้ทำจดหมายเปิดผนึกส่งถึง พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เนื้อหาจดหมายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกพูดถึงความกังวลที่มีต่อนโยบาย OTT (Over The Top หรือผู้ให้บริการแพร่ภาพและเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอ์เน็ต) ของ กสทช. ส่วนที่สองคือผลกระทบหากดำเนินนโยบายนี้

ในส่วนแรกของจดหมายนั้น ระบุว่า ผู้บริโภค นักธุรกิจ และผู้ผลิตคอนเทนต์ในไทยทั้งหลายนั้น รู้กันดีว่าธุรกิจเติบโตได้เพราะอินเทอร์เน็ตที่เสรีและเปิดกว้าง แต่หลังจากที่ กสทช. เตรียมดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการดูแล OTT ล่าสุดนั้นจะส่งผลกระทบต่อไทยในแง่การลงทุนในไทยที่มีขีดจำกัดมากขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจก็ชะลอตัวลง โดยเฉพาะธุรกิจดิจิทัล ทาง AIC กังวลว่านโยบายเช่นนี้จะไม่ได้ผ่านการปรึกษาหารือในที่สาธารณะ อีกทั้งไม่ได้ส่งเสริมการลงทุนด้วย

ตามที่สื่อรายงานว่า กสทช. เรียกร้องให้บริษัทต่างๆที่ใช้บริการ OTT นี้ต้องลงทะเบียนภายใน 30 วัน นโยบายดังกล่าวจะสร้างผลกระทบต่อบรรดาเอเยนซี่ทั้งหลาย และทำให้ผู้บริโภทรวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจในการผลิตคอนเทนต์เสียเปรียบ ไม่ได้ส่งเสริมความพยายามของไทยที่ต้องการจะพัฒนาเป็น Thailand 4.0 ไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศการลงทุนแก่นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล

No Description
ภาพจาก Pixabay

ข้อกังวลที่ AIC เป็นห่วง หากดำเนินนโยบายดังกล่าว

ผลสะท้อนจากการดำเนินนโยบาย OTT ของ กสทช. ในระดับโลก

  • แนวทางการกำกับดูแลของกสทช. ทำให้การกำกับดูแล OTT ของไทยแตกต่างจากทั่วโลก
  • การกำกับดังกล่าวต้องสอดคล้องกับพันธะสัญญาตามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ (GATS) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือองค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งไทยเคยมีข้อตกลงว่าจะไม่จำกัดขอบเขตการให้บริการข้อมูลข่าวสารบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ข้อตกลงนี้ครอบคลุมถึงการให้บริการ OTT ด้วย
  • การกำกับดูแล OTT ภายใต้ GATS มีรายละเอียดปลีกย่อย ทางที่ดีที่สุดคือ กสทช. ควรเปิดข้อเสนอที่จะกำกับดูแลต่อสาธารณะให้มีการแสดงความเห็นไปยังกสทช.ก่อน
  • การบังคับให้ผู้ให้บริการ OTT ต้องมีฐานะเป็นผู้เสียภาษีในไทยไม่ว่าจะทำการในไทยหรือไม่ ไม่ตรงกับข้อตกลงการเสียภาษีซ้อน
  • การเรียกเก็บภาษีเป็นกรณีพิเศษจาก OTT สะท้อนให้เห็นว่าไทยไม่สามารถทำตามวิถีปฏิบัติในระดับสากลได้ และทำให้ไทยเสียประโยชน์ในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจด้วย

สร้างผลสะท้อนกลับทันทีต่อเศรษฐกิจภายในประเทศของไทย

  • กรอบความร่วมมือภายใต้ OTT ของ กสทช. ส่งผลทันทีในระดับปฏิบัติการ คือเกิดความเสียเปรียบต่อธุรกิจขนาดเล็กในไทย เพราะสร้างความยุ่งยากภายใต้การกำกับนี้
  • OTT มีธรรมชาติต่างจากบริการกระจายเสียง การกำกับดูแลที่ไม่เหมาะสมอาจกลายเป็นการปิดกั้นแทนที่จะสนับสนุน
  • ผู้สร้างเนื้อหาจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในระบบกระจายเสียงเดิมกลายเป็นผู้เสียหายจากที่ไม่สามารถเผยแพร่เนื้อหาในแพลตฟอร์มเปิดได้

ทาง AIC ยินดีช่วยทบทวนข้อเสนอการกำกับดูแล และให้คำแนะนำต่อการลงทะเบียน OTT ต่อไป

No Description
ภาพจาก กสทช.

เนื้อหาฉบับเต็มในจดหมายเปิดผนึกด้านล่าง

29 June 2017

Chairman Thares
Office of The National Broadcasting and Telecommunications Commission
87 Phaholythin 8 (Soi Sailom),
Samsen Nai, Phayathai,
Bangkok 10400. Thailand

Dear Chairman Thares

Asia Internet Coalition’s (AIC) Response to Recently Announced OTT Regulations for Thailand

Thai consumers, businesses, and content creators are thriving in Asia and around the world, thanks to a free and open Internet. The AIC and the companies it represents are concerned that the National Broadcasting Telecommunications Commission's (NBTC) proposal to regulate “OTT services” will adversely affect Thailand, creating business uncertainty, slowing economic growth, and limiting investments in Thailand’s growing digital sector. We are also concerned that new policies are being formulated without public consultation and these policies are at odds with Thailand's international trade commitments and as a result will discourage investment.

The AIC welcomes constructive engagement with the Thai authorities on OTT regulation. However, the NBTC has not made and draft OTT regulations public. We have also observed press reports that the NBTC will require companies to register as OTT services within 30 days. This effectively requires parties to register to be regulated by regulations which are not in the public domain. The AIC respectfullyencourages the NBTC to promptly share the draft regulation and provide a transparent public consultation process.

The NBTC has also publicly stated that companies not meeting with the NBTC will face “pressure” as they continue to operate. It has recently come to our attention that the NBTC may pressure or otherwise complicate relationships with advertisers as part of this approach. This leaves the industry in a difficult position, facing pressure to be governed by regulations which aren't in the public domain.

Generally, the NBTC's proposal for OTT regulation appears to uniquely disadvantage Thai consumers and content creators compared to many other countries. The proposed regulation would immediately discourage investment and inhibit growth with significant long-term negative impact on Thailand’s overall economy. It also would hinder the government's Thailand 4.0 ambitions. The regulatory uncertainty andthe perception of an unwelcome environment for digital innovators, communicators and content creators could further discourage foreign investment.

The AIC hopes the Thai Government, (including NBTC and the Ministry of Digital Economy and Society) considers the position of foreign and local OTT players in relation to Thailand's overall competitiveness as an investment destination, and as a country providing opportunities for content creators and Small and Medium Enterprises.

The AIC would also like to highlight the following important considerations:

A) Global repercussions of the NBTC's proposal:

  • The NBTC's present proposal makes Thailand a global outlier in regulating OTT services.
  • Regulations must be consistent with Thailand’s obligations under the General Agreement on Trade in Services (GATS) in the World Trade Organization (WTO). Under GATS, Thailand committed to allowing largely unrestricted cross-border supply of “data base access services” and “on-line information . . . services”. These commitments encompass services provided by OTT service providers.
  • The application of GATS to any prospective OTT regulation is complex. The best and only way for NBTC to ensure that a proposed regulation will not lead to adverse action by Thailand’s trading partners at the WTO is to introduce the draft in an open and transparent process, providing sufficient time for potentially affected parties to comment and provide feedback.
  • It appears that the proposal requires OTT service providers to commit to having a taxable presence in Thailand regardless of whether they have a physical presence in Thailand. This appears inconsistent with Thailand’s international double tax
    treaties, and the new international consensus on (i) rules for the prevention of artificial avoidance of permanent establishment status
    and (ii) rules for taxing the digital economy. Thailand has recently become a member of the Inclusive Framework on BEPS, which signals its commitment to adopt the BEPS recommendations.
  • Imposing special tax requirements only on OTT providers creates the perception that Thailand does not follow accepted international norms, and may inadvertently impede the development of the Thai economy.

B) Immediate domestic repercussions on the Thai economy:

  • On a practical level, the NBTC's OTT framework disadvantages Thai small businesses because they are not equipped to comply with such onerous regulatory obligations.
  • Regulating OTT services by way of Thailand's broadcasting regulator may not achieve the desired outcome. Its effect would be to force these services, which are different from traditional broadcasting, into a regulatory regime not suited to the nature of OTT services. The future development of OTT services in Thailand might be
    stifled by the NBTC's proposals rather than encouraged by it.
  • Innumerable Thai content creators, especially those who do not currently work with traditional Thai broadcasters, will be unduly penalized for using open platforms to get their content out to wider audiences.

The AIC welcomes the opportunity to review any written proposals and recommends that the NBTC reconsider implementing the planned OTT registration and regulation.

Jeff Paine
Managing Director
Asia Internet Coalition
Cc. Col Natee, Vice-Chairman of the National Broadcasting and
Telecommunications Commission (NBTC) of Thailand

Get latest news from Blognone

Comments

By: Hadakung
iPhone Windows Phone Android Windows
on 29 June 2017 - 19:48 #995840

ไทยแลนด์โอนลี่จะกลายเป็นไทยแลนด์อโลนแล้วแหละ ก่อนอิกกฏหมายไม่เคยอ่านเลยว่าตัวเองมีพันธสัญญาอะไรต้องปฏิบัติ แถมกฏหมายเจ้าหน้าที่ก็เลือกปฏิบัติชัดเจน

By: langisser
In Love
on 29 June 2017 - 19:48 #995841

ทำไมถึงขึ้นหัวว่า "Facebook ผนึก YouTube ท้วง กสทช" ครับ น่าจะใช้ AIC หรือชื่อเต็มๆแทนรึเปล่าแทนรึเปล่า

By: AmidoriA
Ubuntu Windows
on 29 June 2017 - 20:00 #995843 Reply to:995841
AmidoriA's picture

ใช่เลยครับ misleading มากๆ คนประกาศไม่ใช่ 2 เจ้านี้นะครับ แต่คือองค์กร

By: Sephanov
iPhone Ubuntu
on 29 June 2017 - 20:14 #995844
Sephanov's picture

จะ 4.0 หรือ 0.4 หึหึ

By: bahamutkung
Contributor Android WindowsIn Love
on 29 June 2017 - 20:20 #995845
bahamutkung's picture

WTO เนี่ยออกง่ายกว่าเข้านะครับ ส่วนเข้าๆออกๆนี่ยากที่สุด รัฐบาลทหารยุคนี้อยากเริ่มก็เชิญได้


"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."

By: hs0wkc
iPhone Android Windows
on 29 June 2017 - 20:55 #995848
hs0wkc's picture

สงสัยว่า Asia Internet Coalition ที่ว่า
เป็นกลุ่มความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความเข้าใจนโยบายด้านอินเทอร์เน็ตแห่งเอเชียแปซิฟิกแต่ทำไม่มีแต่บริษัทอเมริกันเป็นสมาชิก
แถมรู้สึกว่าจะห้วงใยประเทศไทยเหลือเกิน

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 29 June 2017 - 21:08 #995849 Reply to:995848
hisoft's picture

แต่ทำไม่มีแต่บริษัทอเมริกันเป็นสมาชิก

ก็ไม่ได้มีแต่อเมริกันนี่ครับ

By: doanga2007
Android Symbian Ubuntu
on 29 June 2017 - 21:12 #995851 Reply to:995848
doanga2007's picture

ที่มีบริษัทอเมริกันเป็นสมาชิก เพราะคนทั่วทั้งเอเชีย ยกเว้นจีนกับเกาหลีเหนือ นิยมใช้เทคโนโลยีจาก US และจริงๆ แล้ว ก็มีสมาชิกจากญี่ปุ่นด้วย คือ LINE / Rakuten และ Viber ซึ่ง Rakuten ซื้อจากเจ้าของเดิม (อิสราเอล) แล้ว ทำให้ Viber ในปัจจุบัน มี Function ใหม่มากขึ้นครับ

ส่วนที่ Asia Internet Coalition ห่วงใยประเทศไทยนั้น เพราะเคยมีบทเรียนจากจีนแล้ว ซึ่งฝั่งจีนนั้น ลามไปถึงการแบน Time Machine ซึ่งจริงๆ แล้ว Time Machine มีประโยชน์ต่อโลกครับ

By: hisoft
Contributor Windows Phone Windows
on 29 June 2017 - 21:27 #995852 Reply to:995851
hisoft's picture

ซึ่งฝั่งจีนนั้น ลามไปถึงการแบน Time Machine ซึ่งจริงๆ แล้ว Time Machine มีประโยชน์ต่อโลกครับ

เค้าแบนแค่ไม่ให้ทำเนื้อเรื่องที่มีการข้ามเวลา? ไม่ได้ห้ามสร้าง time machine มาสร้างประโยชน์ต่อโลก?

By: doanga2007
Android Symbian Ubuntu
on 29 June 2017 - 21:34 #995853 Reply to:995852
doanga2007's picture

ขอบคุณครับ สำหรับคำตอบ เพราะข่าวเรื่อง Time Machine ในจีน ก็รู้สึกคลุมเครือ ซึ่งก่อนหน้านั้น ผมก็หวั่นใจกับจีนเรื่องโอกาสที่ได้สร้าง Time Machine ซึ่งประโยชน์ของ Time Machine หรือการข้ามเวลา ในความคิดของผม คือ ทำให้รู้ว่า iOS 100 มี Function อะไรมาใหม่บ้าง เป็นต้น ซึ่งถ้าสมมติว่า มีการท่องเวลาบนโลกนี้แล้ว คาดว่า ก็จะมี Time Machine ขายตาม Alibaba / Taobao ครับ

By: lingjaidee
Contributor iPhone Android
on 29 June 2017 - 23:20 #995867
lingjaidee's picture

ดีนะครับ ที่รัฐทำแบบนี้ ... เวลามีอะไรทำนองนี้แล้วคนไทยทักกันเองจะเจอมารับที่บ้าน ต้องให้สากลพูด 55


my blog

By: acitmaster
Android Ubuntu WindowsIn Love
on 30 June 2017 - 08:20 #995903
acitmaster's picture

ไม่เป็นสากลเลย

By: Alios
iPhone Android Windows
on 30 June 2017 - 09:14 #995918

เหมือนหนังสือ ที่พยายามทำให้ดูดี และเชิญชวนให้ทุกคนมาอ่าน แต่ห้ามเปิด

By: 0FFiiz
Windows Phone Android Windows
on 30 June 2017 - 10:44 #995935
0FFiiz's picture

คนหนึ่งขับรถจอดไฟแดงเพื่อกลับรถตามปกติส่วนอีกคน ขับรถย้อนศรบนฟุตบาท

ตำรวจจะจับคนขับบนฟุตบาท แต่ คนก่นด่าตำรวจว่าไดโนเสาร์ ใครๆ เขาก็ขับกัน จับทำไม

คือตามจริงสิ่งที่ควรทำคือจับไปอยู่ในกฎเดียวกันแล้วแข่งขันกันนะครับ

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 30 June 2017 - 11:14 #995939 Reply to:995935
lew's picture

คนหนึ่งบอกว่าอยากให้ถนนในหมู่บ้านขับร่วมกับถนนใหญ่ได้ อยากให้แถวบ้านเจริญ ยกถนนเป็นทางสาธารณะจะได้มีรถราผ่าน

วันนี้คืนดีบอกว่ากระบะหน้าปากซอยไม่จ่ายค่าผ่านทาง แถมผ่านหมู่บ้านเราบ่อย เราจะควบคุมถนน แต่อิหลั่กอิเหลื่อว่าจะปิดถนนเลยก็ไม่ได้ ไม่งั้นร้านค้าแถวนี้เจ๊งหมด เลยบอกว่าเราจะควบคุมรถกระบะแล้วกัน ควบคุมอะไรก็ไม่บอก บอกว่าจากนี้ไปจะขับรถผ่านถนนนี้ให้มาลงชื่อ แต่ไม่ลงชื่อก็ยังขับผ่านได้ แต่ถ้าไม่ลงชื่อจะมีปัญหา แต่เราไม่ได้อยากปิดถนน แต่เราก็คิดว่าน่าจะมาลงชื่อ ลงชื่อไปทำไมเดี๋ยวบอก เรามีกฎควบคุมเยอะเลยแต่เรายังไม่ใช้ จะใช้เมื่อไหร่ไม่บอก


lewcpe.com , @wasonliw

By: bahamutkung
Contributor Android WindowsIn Love
on 30 June 2017 - 12:43 #995954 Reply to:995939
bahamutkung's picture

+44


"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."

By: 0FFiiz
Windows Phone Android Windows
on 30 June 2017 - 13:27 #995960 Reply to:995939
0FFiiz's picture

แล้วรถคันที่ขับผ่านอยู่ปกติ และจ่ายค่าผ่านทาง เราจะทำยังไงกับเขาดีครับในเมื่อรถกระบะ เขาเข้ามาขับแบบชิลๆ แต่ไม่ได้จ่ายค่าผ่านทางเหมือนรถคันอื่น

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 30 June 2017 - 14:21 #995972 Reply to:995960
lew's picture

ถนนสายนี้มีมาก่อนทางด่วนที่เพิ่งเปิดอีกครับ ตอนทางด่วนมาเปิดคนยี่สิบกว่าคนคิดว่าดีจัง แย่งกันซื้อตั๋วรายปี ราคาแพงบ้าเลือดแค่ไหนก็ซื้อ ขับๆ ไปสองเดือนบอกว่า อ้าว ข้างล่างก็ค้าขายได้เหมือนกัน ไม่ลำบากต้องโดนจำกัดโน่นนี่ เปิดร้านได้เฉพาะจุดแวะพัก

ผมเองซื้อของโง่ๆ ก็หลายครั้งครับ เล่นหุ้นขาดทุนก็เคย โตแล้วก็รับผิดชอบการกระทำตัวเอง


lewcpe.com , @wasonliw

By: darkleonic
Contributor Android WindowsIn Love
on 30 June 2017 - 14:25 #995974 Reply to:995972
darkleonic's picture

อีกอย่าง ถนนสายนี้ตัดโดยเอกชนและเสียภาษีบำรุงท้องที่ไปแล้วนะครับ


I need healing.

By: lew
Founder Jusci's WriterMEconomics Android
on 30 June 2017 - 14:40 #995983 Reply to:995972
lew's picture

ตอบคำถามว่าทำอย่างไร

ในมุมมองของผม ค่าทางด่วนที่จ่ายไปแล้วก็แล้วกันไปครับ ตอนสร้างทุกคนคิดว่ามันจะดี คนสร้างไม่รู้ คนใช้ไม่รู้

ทุบทางด่วนทิ้ง เอาที่ไปสร้างถนนเพิ่มครับ ไอ้ถนนไม่เก็บค่าผ่านทาง มีคนพร้อมจ่ายแถมช่วยสร้างจะได้เอาที่ไปทำบ้านจัดสรรค์เยอะกว่าอีก ไอ้ถนนเส้นที่แล้วเพิ่งประมูลไปเจ็ดแปดหมื่นล้านนั่นก็ทำถนนแบบนี้

บริษัทบริหารทางด่วนนี่พอรู้ตัวว่าคนไม่นิยมทางด่วนแล้วก็ลดคนลดขนาดบริษัทครับ


lewcpe.com , @wasonliw

By: 0FFiiz
Windows Phone Android Windows
on 30 June 2017 - 15:38 #996002 Reply to:995983
0FFiiz's picture

ถ้าตัดสินตามความรู้สึกผม ผม ok นะ กับการปล่อยผ่านไป ตามแต่ที่มันจะเป็น ถือว่าคนที่จ่าย เสียค่าโง่ไป ผู้บริโภคแบบผม ก็คือ win win

แต่ถ้าลองคิด คิดถึงเหตุผล และภาพรวมแต่ถ้าในมุมของผู้ประกอบการและคนที่มีหน้าที่จัดการในเรื่องนี้ ที่้ต้องหาทางออกให้ทุกฝ่ายแล้ว

ผมก็พอเข้าใจได้ว่า เขากำลังพยายามจะทำให้รถที่เคยสมัคร member ทางด่วนเหมาไว้แล้วเจ็บน้อยที่สุด ถ้าเกิดเขาจะปล่อยผ่าน อะไรที่มันผ่านไปแล้วก็แล้วไป ก็คงเหมือน ลอยแพ คนเหล่านั้น และ มันเป็นการ ไร้ความรับผิดชอบ แบบสุดๆส่วนที่เขายังไม่ได้กำหนดอะไร เพราะก็คงยังหาทางออกไม่ได้แหละ ว่าทางไหนมันจะ ok ที่สุดกับทุกฝ่าย

By: zerocool
Contributor iPhone Android
on 30 June 2017 - 16:05 #996011 Reply to:996002
zerocool's picture

มีใครบังคับให้คนเหล่านั้นเข้าร่วมประมูลในราคานั้นด้วยเหรอครับ ผมว่าลงทุนผิดพลาดเองต้องรับผิดชอบตัวเองถึงจะถูกต้องครับ ไม่ใช่ให้คนไปช่วยอุ้ม

ผมไม่เห็นว่าจะเป็นความรับผิดชอบของผู้จัดประมูลตรงไหน

สมมติว่าผมลงทุนหุ้น 10 ล้าน บริษัทไม่ได้มีการฉ้อโกงแต่เศรษฐกิจเปลี่ยน ตลาดเปลี่ยน บริษัทที่ผมไปลงทุนไม่เติบโตแถมขาดทุน เงินที่ผมลงทุนไปขาดทุนกว่า 50% ผมต้องร้องเรียกหาคนมาช่วยอุ้มไหมครับทั้ง ๆ ที่ผมเป็นคนตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง ?


That is the way things are.

By: waroonh
Windows
on 30 June 2017 - 14:46 #995979 Reply to:995960

ตอนนี้ปี 2017 แล้ว พวกเราก็ออกอวกาศ ไปอยู่บนดาวอังคาร

มีหมู่บ้านเล็กๆ ไกลความเจริญ ชื่อ "ไทย" อยู่ในเขต "ยังไม่พัฒนา"
ด้านหน้าหมู่บ้านเป็นดินแดงๆ ด้านหลังเป็นบ่อโคลน หน้าบ้านมีเล้าหมู
สุ่มไก่ บ้างก็ขุดบ่อเลี้ยงปลา

หมู๋บ้านนี้อยู่ในซอยลึก ห่างไกล ถนนใหญ่ ซึ่งเป็นของเอกชน ข้ามหมู่บ้านรายใหญ่ ออกทุนร่วมกับ องค์การ NASA เพื่อความเจริญของทั้ง ดวงดาว

ในซอยแคบๆ ของหมู่บ้านชื่อ "ไทย"
เป็นหลุมเป็นบ่อ คับแคบ บางช่วงเป็นโคลน ขยะเยอะ โจรเยอะ บางจุด
ก็มีคนตั้งแผงขายกับข้าว มีมอเตอไซวิ่งสวนเลน อยู๋บนทางเท้า มีขอทาน

วันดีคืนดี ก็มีนักเลง อ้างตัวว่า เป็นยามเฝ้าหมู่บ้าน เอาไม้หน้าสาม ฟาดหน้า
คณะยาม ชุดเดิมที่ชาวหมู่บ้าน ช่วยกันเลือกขึ้นมา จนต้องหนีไปอยู่หมู่บ้านข้างๆมีลักษณะ ขี้เกียจสันหลังยาว ไม่มีระเบียบวินัย ไถเงินคนโน้นที คนนี้ที เหมือน
สมัยยังเป็นนักเลง ไม่เคยเปลี่ยน

วันหนึ่ง เกิดเขม่นกับ รถกระบะ ขนส่งคน "ฟรี" ของ Google YouTubeที่หมู่บ้านอื่น ไกลออกไป หลังจาก นั่งรถกระบะ "ฟรี" ของ Google กลับหมู่บ้าน

ก็มานั่งคิดว่า ... จะบอกว่าปิดถนน ห้ามคนในหมู่บ้าน ขับรถเข้า-ออก ก็ไม่ได้
จะไม่ให้ ระกระบะ ของ google YouTube ขับเข้ามา รับผู้โดยสาร ไปส่งข้างนอก
"ฟรี" ก็ไม่ได้ เพราะ ตัวยามกุ๊ยเองก็ต้องนั่ง รถ "ฟรี" ออกไปข้างนอกกับเขาด้วย

ตอนนี้ทำได้แค่ เดินไปบอก บ้าน A บ้าน C บ้าน S ว่าอย่าจ่ายเงิน
แล้วเอาสติกเก้อ สินค้าไปแปะบนตัวรถกระบะนะ ถ้าไม่อยากมีปัญหากับกรู
ส่วนบ้าน A B C จะทำตามหรือเปล่า มันก็อีกเรื่อง

เรียวกว่าครับ

  • แก้คำสะกดผิด กับ เพิ่มผงชูรสลงไปในกระทู้อีก 2 กะละมัง
By: zerocool
Contributor iPhone Android
on 30 June 2017 - 14:24 #995973
zerocool's picture

คนไม่ดู digital TV ไม่มีคนดูช่อง 3, 5, 7, 9 รายได้รัฐน้อยลงเลยต้องหาทางมาเอาเงินเพิ่ม เป็นความคิดของคนที่แข่งแพ้ในตลาดด้วยกฎเดิม ดังนั้นจึงต้องหาทางสร้างกฎใหม่เพื่อให้ตัวเองกลับมาแข่งขันได้ ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาทางหนึ่งนะ แต่เป็นวิธีที่อ่อนหัดไม่มีชั้นเชิง ที่สำคัญไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะตามมาในระยะยาว

ผมอยากเห็นประเทศไทยที่ไม่มี Youtube ไม่มี Facebook block ไปเลยแล้วอีก 10 ปี (ถ้ายังรัฐบาลชุดนี้ยังหน้าทนอยู่ถึงตอนนั้น) มาดูกันว่าประเทศพัฒนาขึ้นหรือพัฒนาลง ให้คนทั่วไปได้รู้ว่าจะไม่สามารถหา video สอนความรู็ได้ง่าย ๆ อีกต่อไป จะดูรายการด้านวิศวกรรม ด้านสถาปัตยกรรม ด้านการแพทย์ ให้ไปหาดูเอาจากช่อง 3, 5, 7, 9 หรือ digital TV เอาเอง ศักยภาพด้านการเรียนรู้ของประชากรในประเทศน่าจะพุ่งอย่างในใจหาย (แค่นี้ก็ผลิตอะไรเองไม่เป็นอยู่แล้ว ถ้าไม่เชื่อหันไปดูรอบตัวว่ามีอะไรที่เป็นยี่ห้อคนไทยบ้าง) คนที่ใช้ Facebook สร้าง page สำหรับขายของก็ไม่ต้องสร้าง มันง่ายไป ไปหาทางสร้าง website เอาเองแล้วหาทางโปรโมตเอาเอง เม็ดเงินน่าจะหายไปจากระบบเศรษฐกิจจำนวนหนึ่ง ซึ่งนั่นหมายถึงเงินภาษีที่ต้องหายลดน้อยตามลงไปด้วย ทั้งภาษีเงินได้ (สำหรับคนที่จ่าย) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (คนได้เงินมาก็ต้องเอาไปจับจ่ายใช้สอยต่อ)

มันมีแนวคิดหนึ่งที่บอกว่าบน internet ไม่มีประเทศซึ่งผมก็เห็นด้วยนะ คือจริง ๆ มันมีแต่การควบคุมทุกอย่างเหมือนที่ควบคุมประเทศมันทำได้ยาก เท่าที่เห็นบนโลกเหมือนจะมีแค่จีนที่ทำได้สำเร็จด้วยเม็ดเงินมหาศาลและจำนวนประชากรที่มากพอที่จะไม่ต้องง้อต่างประเทศมากนัก ส่วนเกาหลีเหนืออยากทำแต่ทำไม่ได้ก็เลยปิดกั้นให้หมดทุกอย่างไปแทน

ถ้าใช้ตรรกะที่ว่าได้เงินจากประเทศไหนบน internet แล้วต้องเสียภาษีให้กับประเทศนั้นด้วย แล้วลองเทียบกับสินค้าที่ซื้อขายกันปกติ พวกที่ขายของส่งออกต่างประเทศ ทำไมไม่เสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศผู้ซื้อเพิ่มด้วยล่ะ ทำไมเสียแค่ภาษีเงินได้ในประเทศตัวเอง ส่วนผู้ซื้อก็เสียภาษีนำเข้าในเบื้องต้น แล้วถ้าขายของได้กำไรก็เสียภาษีเงินได้เพิ่มเติม ถ้ามองบน internet ก็ต้องยกตัวอย่าง ebay เราขุดเอาของเก่ามาขายฝรั่งบน ebay เราได้เงินจากประเทศเขา เราควรเสียภาษีให้ประเทศเขาด้วยไหม

เราอาจจะเป็นประเทศแรกที่คิด model การเก็บภาษีต่างชาติจากการให้บริการบน internet สำเร็จก็ได้ ในเมื่อแข่งสู้ไม่ได้ก็ขัดขาหาเงินเข้ากระเป๋า (ประเทศ ?) กันไป แต่จริง ๆ ผมอยากเห็น Youtube ban ประเทศไทยมากกว่า เพราะผมเชื่อว่าเราต้องล่มสลายก่อนถึงจะเกิดใหม่ได้สำเร็จ

คนจะได้เรียนรู้กันเสียทีว่าอะไรดีไม่ดี ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา


That is the way things are.

By: Mars2005
iPhone Windows Phone Android Blackberry
on 30 June 2017 - 14:30 #995978 Reply to:995973
Mars2005's picture

เค้าคุ้นกับการทำธุรกิจแบบผูกขาด ไม่มีการแข่งขันครับ พอเจอการแข่งขันแล้วคู่ต่อสู้ดันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแข่งขันด้วยเนี่ยเลยไปไม่เป็น ต้องเรียกร้องให้รัฐบีบกลับมาเป็นการผูกขาดอีกครั้ง

มันก็เป็นซะแบบนี้แหละครับ

By: AmidoriA
Ubuntu Windows
on 30 June 2017 - 14:42 #995984 Reply to:995978
AmidoriA's picture

รัฐในที่นี้คือ กสทช ใช่ไหมครับ

ตอนนี้ที่ผมคิดคือ กสทช เค้าพยายามทำอะไรก็ได้เพื่อเอาใจทีวีดิจิตอลแล้วหล่ะครับ เกิดเค้าพังแล้วเจ๊งไป มาฟ้องกสทช หรือ ไม่จ่ายเงินต่อ กสทชนี่คือยิ่งแย่ครับ

ยังไม่นับเรื่องอยากได้ภาษีไปเพิ่มให้รัฐบาล ซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน

By: moneyp1000 on 30 June 2017 - 15:16 #995989 Reply to:995984

ถ้าคนซื้อไปเอาไปใช้ประโยชน์ไม่เป็นไม่เต็มที่ ผมว่าไม่น่ามาเกี่ยวกับคนขายนะครับ อย่างประมูลของหลุดจำนำจากร้านเขาไม่แยกขายอยู่แล้วคุณจะมาเลือกไม่ได้คนมาประมูลต้องรู้ความเสี่ยงอยู่แล้วว่าถ้าขายไม่ได้ก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง ประมูลไปแล้วขายไม่ได้เขาก็ไม่รับซื้อคืนหลอกครั

By: bahamutkung
Contributor Android WindowsIn Love
on 30 June 2017 - 21:44 #996055 Reply to:995984
bahamutkung's picture

ผมเชื่อว่าประเด็นที่จะเอาจริงๆไม่ใช่เรื่องภาษี ไม่ใช่เรื่องช่วยทีวีครับ ลองตามข่าวแถ-ลงของท่านนี้ในช่วงสามปีจะเห็นว่างานหลักของท่านคืออะไร


"With the first link, the chain is forged. The first speech censured, the first thought forbidden, the first freedom denied, chains us all irrevocably."

By: waroonh
Windows
on 30 June 2017 - 15:10 #995988

โพสแล้วเงียบกันหมดเลย

ให้เข้าใจตรงกันนะครับ
Facebook, Google, LinkedIn, Twitter และ Yahoo
คือบริการ level ดาวเคราะห์ ถ้า ข้ามไปดาวอังคารได้ คุณจะเห็น 5 บริษัทนี้ก่อน ที่จะเห็นบริการอื่น

บริการ Class นี้ ไม่มีการแข่งขันนะครับ
แค่มี หรือ ไม่มี ทุกวันนี้ ไม่ได้เก็บค่าใช้งาน
บริการ "ฟรี"

อยากได้ ดีกว่านั้น เค้ามีให้เลือก คือ "แบบเสียเงิน"ไม่ได้ ง้อให้ใช้ ไม่ได้อ้อนวอนให้ใช้ ไม่อยากใช้ ก็อย่าใช้

(ตัด Apple ออก เพราะ เป็น บ. ขาย hardware พร้อมบริการ บนตัวเครื่อง)

By: moneyp1000 on 30 June 2017 - 16:59 #996027 Reply to:995988

น่าคิดว่าถ้าเขายอม แบบมีเงื่อนไขว่าจะเก็บค่าบริการการใช้งานสำหรับคนไทยขึ้นมานี้งานเข้ากันเลยทีเดียว

By: Virusfowl
Contributor Android Symbian Windows
on 1 July 2017 - 04:13 #996070

อาย เค้า มั้ย


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.

By: adamy
iPhone Android Blackberry Ubuntu
on 1 July 2017 - 08:49 #996076

ในฐานะที่ทำ Digital TV อยู่ ... อยากรู้ว่าทำไมคนชอบมามาทักท้วงว่า Digital TV คือสาเหตุของการเข้าควบคุม OTT ด้วยน่ะครับ ทางกลุ่ม Digital TV เองก็ตีกันกับ กสทช. ไม่น้อย บางเรื่องก็อยู่ในขั้นศาล บางเรื่องก็ทะเลาะกันอยู่เป็นประจำ ส่วนเรื่อง OTT นั้นกลุ่มผู้ประกอบการ Digital TV ไม่เห็นด้วยเลยนะครับ เพราะในกลุ่มบริษัท Digital TV นั้นมีบริษัทลูกหรือหน่วยงานเฉพาะสำหรับ OTT ด้วย ดังนั้นการทองฝั่ง Digital TV ไม่ได้มองถึงภาษีเพียงอย่างเดียว แต่มองถึงการคุกคามสื่ออย่างกว้างขวาง เพราะเมื่อทุกคนลงทะเบียนแล้วจะทำอะไรก็ทำได้ในอนาคต

ดังนั้นหลายๆความเห็นที่มักเขียนทำนองว่า ทสทช. บีบ OTT เพื่อ DTV นี่ไม่ใช่เลยนะครับ DTV อยู่ได้ด้วย OTT เหมือนกันครับ ยิ่งตัวกฏหมายเองที่ครอบคลุมเหมือนกับว่าคนทั้งอินเตอร์เน็ตเข้าข่ายต้องลงทะเบียนนี่เหมือนทำให้ กสทช. ได้รับอำนาจเทียบเท่าพระเจ้าไปในตัวเลยครับ พอให้ทุกคนบนเน็ตลงทะเบียนได้ ก็แปลว่าทุกคนต้องทำตามกฏกสทช. เท่านั้น ถ้าบอกว่าทุกคนในอินเตอร์เน็ตต้องจ่ายให้ กสทช. ก็แทบจะเหมือนกับว่าประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีภาษีเพิ่ม หรือถ้าใครไม่ลงทะเบียนก็ใช้ตัวบทนิยามนี้กล่าวหาได้ว่าเป็นสื่อ

มันยังมีจุดอ่อนมากเกินไปจนต่อไปให้อำนาจ กสทช. มากกว่า คสช. เองเสียอีกครับ

ขอบคุณครับ สวัสดีครับ

By: panurat2000
Contributor Symbian Ubuntu In Love
on 2 July 2017 - 19:07 #996167
panurat2000's picture

และทำให้ผู้บริโภทรวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจ

ผู้บริโภท => ผู้บริโภค

การกำกับดังกล่าวต้องสอดคล้องกับพันธะสัญญา

พันธะสัญญา => พันธสัญญา