แม้การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯผ่านไปแล้ว แต่ปัญหาข่าวปลอมยังกดดัน Facebook อยู่ และ Facebook ก็ให้สัญญาว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้แพลตฟอร์มสะอาดปราศจากข่าวปลอม ก่อนหน้านี้Facebook จ้างคนเพิ่มเป็นพันรายเพื่อตรวจสอบข่าวและโฆษณาจากบัญชีน่าสงสัย ล่าสุดออกมาเผยว่ากำลังทำฟีเจอร์ที่คาดว่าจะเป็นไม้ตายสู้กับข่าวปลอมได้
Facebook กำลังทดลองฟีเจอร์ให้ผู้ใช้ตรวจสอบข่าวสารบน News Feed ได้โดยไม่ต้องออกจาก Facebook เลย คือเพิ่มปุ่ม Information หรือปุ่ม i ขึ้นมาใต้ลิงก์ข่าว เมื่อผู้ใช้กดที่ปุ่มนั้นระบบจะแสดงข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้น เช่น มาจากสำนักข่าวอะไร ข้อมูลเกี่ยวกับสำนักข่าวนั้นๆ รวมถึงข่าวนี้มีเว็บไซต์ข่าวไหนนำเสนออีกบ้าง ระบบยังแสดงโลเคชั่นด้วยว่าข่าวนี้มีการแชร์ที่พื้นที่ใดบ้าง และหากในกรณีที่มีข่าวไม่น่าเชื่อถือปรากฏบน News Feed ระบบก็จะไม่แสดงลิงก์ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง
Facebook ระบุว่าฟีเจอร์นี้จะเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจของผู้รับข่าวสารว่า ข่าวใดควรเชื่อหรือไม่เชื่อ และฟีเจอร์นี้เป็นเพียงแค่การเริ่มต้นเท่านั้น และฟีเจอร์นี้ก็เป็นหนึ่งผลลัพธ์จากโครงการ Facebook Journalism Project ที่ Facebook ร่วมมือกับสำนักข่าวที่เชื่อถือได้ทำเครื่องมือให้เว็บข่าวใช้งาน Facebook หลากหลายและสะดวกมากขึ้น
ที่มา - Facebook Newsroom
Comments
"แชร์ก่อน ขี้เกียจกด"
"แชร์ก่อน เดี๋ยวค่อยอ่าน"
อ่านแล้ว ไม่รู้ว่าจริงรึเปล่า แต่ "ถ้าเป็นเรื่องจริงล่ะ"
ถ้ามันไม่ใช่ที่ข่าวแชร์มา แต่เป็นข่าวที่ก๊อปมา จะเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อของข่าวหรือเปล่า...
ข่าวปลอมบางข่าวไปซื้อ ads ขึ้นโพสแนะนำน่ะสิ เฟซลงให้แซะงั้น
อันนี้โดนใจ
report พวกbot พวกacoountโดนแฮกTokenมาโพสลิงค์เพื่อขายAds
report ยากมาก
ใช้ในไทยคงจะไม่ได้ผล ขนาดเข้าไปบอกว่าข่าวปลอมพร้อมหาหลักฐานมายัน ยังไม่เชื่อว่าปลอมเลย ไปเชื่อข่าวปลอมๆกันsmh
เอออยากรู้เหมือนกันว่า ข่าวพวกนี้แม่งแชร์กันมาจากไหน น่าสนใจจริงๆ
ถ้าในเมกา น่าจะเป็น Donald Trump และทีม ที่เป็นเจ้าของวลี alternative facts ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)