อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ มีทั้งข้อมูลจริงและปลอม ในแง่การแพทย์มีข้อมูลการดูแลรักษาร่างกายผิดๆ มากมาย คนทั่วไปโดยเฉพาะคนป่วยมักจะเข้าเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาข้อมูลและมีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ป่วยจะเชื่อข้อมูลผิดๆ สถาบันมะเร็ง Macmillan Cancer Support จึงจ้างบุคลากร (ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ) เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก้ไขความเชื่อผิดๆ แก่ผู้ป่วยผ่านออนไลน์
ตัวอย่างข้อมูลผิดในเว็บไซต์ เช่น เบคกิ้งโซดารักษามะเร็งเต้านม และการทำคีโมฆ่าคนตายมากกว่าโรคมะเร็ง โดยบุคลากรที่ทางสถาบันจ้างมาจะทำหน้าที่ตอบคำถามผู้ป่วยผ่านช่องทางโซเชียลของสถาบัน
ศาสตราจารย์ Jane Maher เจ้าหน้าที่แพทย์สถาบัน Macmillan Cancer Support ระบุว่า เป็นเรื่องปกติที่คนเช้าไปค้น Google เพื่อถามอาการ แต่จากสถิติข้อมูลปลอมนับไม่ถ้วนที่เราเป็นเรื่องที่น่ากังวล และน่าสยองขวัญมาก เพราะผู้ป่วยจะเอาชีวิตตัวเองเข้าไปเสี่ยงกับวิธีรักาาแบบผิดนั้น จนเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยเอง ส่งผลให้การรักษาตามขั้นตอนของแพทย์นั้นไม่เกิดประโยชน์เลย
ภาพจาก Pexels
ที่มา - Telegraph
Comments
เช้า => เข้า
ที่เราเป็นเรื่องที่น่ากังวล ?
รักาา => รักษา
น่าจะกำหนดให้พวกที่ให้ข้อมูลผิดๆ ข่าวปลอม โดยเฉพาะที่ไปหลอกคนที่ Vulnerable (ผู้สูงอายุ ผู้ที่ระดับการศึกษาไม่สูง บลาๆ) นี่เป็นอาชญากรรมร้ายแรงนะ แบบถ้าเกิดหลอกจนอีกฝ่ายหลงเชื่อจนตายเพราะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกนี่ก็ฆาตกรรมโดยเจตนาและวางแผนไว้ก่อนเลย อะไรแบบนั้น
ผิดพรบคอมครับ เรื่องการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ แต่ข้อกฎหมายผมไม่แม่นด้วยสิคงต้องรอท่านอื่น
ปัญหาส่วนหนึ่งมันอยู่ที่ตัวแพทย์เองด้วยหรือเปล่าหล่ะครับ อย่าง
3 เดือนตายแน่ เชื่อหมอเถอะ ญาติฟังเสร็จ ผู้หลักผู้ใหญ่ ช๊อกตายนำไปก่อนแล้วทรมาณทรกรรมกันทั้งบ้าน แล้วไม่มีทางออกให้ด้วยนะ ตายแน่นอน หมอรับประกัน
ถึงขนาดนี้ที่ใหนก็ไปหมดแหละครับ ใครบอกให้ต้มอะไรกินก็ทำทั้งนั้นแหละ
ถ้าโชคดี (จริงๆ แบบถูกหวยรางวัลที่ 1 ติดกัน 8 งวด) หาย ต่างคนก็ต่างอ้างไง
นี่ไง หมอบอกว่าตายแน่ จะได้รักษาตัวไง ญาติคนไข้ ก็นี่ไง หายเพราะยาหม้อพื้นบ้าน
โทษนะ มันแก้ไม่ได้หลอก ไอ้โรคมะเร็งเนี่ย มันต้องวนเเวียนกันอยู่ แบบนี้แหละ
ตัวอย่างที่ยกมาคือกรณีที่พบหมอแล้ว หมอหมดหนทางเลยไปหาวิธีอื่นแต่ในข่าวผมเข้าใจว่าที่เป็นปัญหาคือ บางคนยังไม่ได้ปรึกษาหมอเลยนะครับ แต่หลงเชื่อข้อมูล online ไปแล้ว
จากการวนเวียนใน รร.แพทย์มานาน บอกตามตรงว่า ไม่เชื่อเลยครับว่าหมอจะบอกว่า คุณจะตายเมื่อไหร่ เพราะมันบอกยากมากจริงๆ
ในเคสที่มักตอบว่า หมดหวังรักษาแล้ว พูดตามตรงว่า อย่าหวังจะไปกินยาหม้อเลย เพราะมักจะต้องใส่เครื่อง support ชีวิตเต็มไปหมด จะอาหารทางเส้นเลือด ท่อช่วยหายใจ ฯลฯ พอถอดเครื่องช่วย support ชีวิตออกก็ไปในไม่กี่วันแล้ว หรือบางรายถอดแล้วไปเลยก็เยอะครับ
ที่เคยเจอคือ ตรวจเจอระยะสุดท้าย ยังพอมีสติ ยังพอมีแรง แต่พวกนี้ "สถิติในการรักษามันไม่ดี" แพทย์จะตอบตาม evidence ที่มีครับ
+1 ไอ้ประเภท "คุณอยู่ได้อีกสามเดือน" "หมอหมดหนทางรักษาแล้วจริง" มันมีแต่ในหนังในละครแหละครับ เรื่องจริงๆเค้าระบุไม่ได้ขนาดนั้นหรอก
มีอยู่จริงครับ ยืนยันเลยกับครอบครัวผมนี่แหละ ถึงจะบอกไม่ตรงก็เหอะ แต่มีหมอที่พูดแบบนี้จริง
วิธีแก้ ถามหมอทุกโรงพยาบาล
แล้วสรุป คำตอบที่ได้ค่าเฉลี่ยสูงสุด
เรื่องจริงๆ คือ การไปหาหมอใน usa เสียค่าบริการแพงมาก
ถึงจะเสี่ยงแต่ถ้ารักษาตัวเองใด้ไม่มีใครอยากไปหาหมอ ยิ่งโรคแพงๆอย่างมะเร็งบางครั้งทำตัวเองตาย ดีกว่าให้ลูกหลานเป็นหนี้ตลอดชีวิต
samsung ใหญ่แค่ใหน ?https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ปกตินะ เพราะเราไม่สามรถเปลี่ยนหมอได้บ่อยๆ หากต้องการข้อมูลที่หลากหลายก็ต้อง Internet แหละครับเวลาป่วยผมจะหาใน Internet ก่อนเสมอ แล้วค่อยไปหาหมอ (ดีกว่าไปหาหมดโดยที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลย)
ผมเห็นด้วยเรื่องหาข้อมูลในเนทนะครับ แต่เรื่องเปลี่ยนหมอ เปลี่ยนได้เรื่อยๆ เลยครับ บ้านเราค่าใช้จ่ายในการไปปรึกษา + วินิจฉัยก็ไม่ได้แพงมากด้วย แฟนผมไม่สบายก่อนตัดสินใจผ่าตัดก็พบมา 3 ท่านครับ (อันนี้คือในกรณีไม่เร่งด่วน) จะหาเพิ่มอีกก็ได้ถ้ายังไม่มั่นใจ เสียค่าใช้จ่ายครั้งละหลักพัน
เคยผมร่วง แล้วก็ไปกูเกิลเจอว่าเป็นเอดส์ กับเป็นมะเร็งครับ ทำเอา Paranoid ไปตรวจเอดส์ถึงกาชาด ทีหลังเลยต้องกรองเอาว่าเอาแต่เฉพาะเว็บนี้ๆ เท่านั้น
ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีคนไข้ shopping around เยอะมากนะครับ โดยเฉพาะคนที่จ่ายค่ารักษาเอง เจอคนไข้เป็น chronic disease ที่รักษามานานนี่ต้องถามเลยว่า ไปรักษาที่ไหนมาแล้วบ้าง ได้ยาอะไรมาแล้วบ้าง
หาข้อมูลก่อนไปพบแพทย์เป็นเรื่องที่ดีมากครับ แต่จะดียิ่งกว่าถ้าหาวิธีดูแลตัวเองหลังจากแพทย์วินิจฉัยแล้ว และได้จากแหล่งที่ถูกต้อง
หมอทุกวันนี้ยังบอกไม่ได้เลยว่ามะเร็งเกิดจากอะไร ทำไมคนเป็นมะเร็งกันเยอะขึ้นทุกประเทศ โอกาสรักษาหายโดยวิธีการที่ไม่ใช่การผ่าตัดมีมากน้อยแค่ไหน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนเลยครับว่าหมอไม่ได้รู้ทุกอย่าง หมอก็รู้แค่ที่มีเขียนใน paper หรือตามที่เรียนมาเท่านั้นเอง เนื่องจากวิทยาการทางการแพทย์นั้นยังไม่สิ้นสุด วิธีการรักษาแบบใหม่ ๆ มันก็เกิดขึ้นมาได้เรื่อย ๆ ล่ะครับ ขนาดหมอในสาขาความถนัดเดียวกันยังรักษาโรคเดียวกันไม่เหมือนกันได้เลย ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณและทักษะในการวินิจฉัยโรคของหมอแต่ละท่าน และหมอแต่ละคนก็ไม่มีทางได้อ่าน paper ของทุกโรคจนครบทั้งโลกแน่นอน แม้กระทั่ง paper เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ตัวเองถนัดก็ยังไม่แน่ว่าจะได้อ่านครบเลยเพราะว่ามันมีจำนวนเยอะมาก ๆ นี่ยังไม่นับรวมถึงว่ายาน่ะถูกวิจัยคิดค้นและผลิตโดยบริษัทยา ไม่ได้ถูกผลิตโดยหมอ ดังนั้นก็จึงไม่แปลกที่จะมีความเป็นไปได้ที่หมอไม่ได้รู้จักยาหรือกระบวนการทำงานของยาเต็ม 100%
ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้บอกว่าให้เชื่อ Internet หรือใครก็ไม่รู้มากกว่าหมอนะ แค่อยากเตือนให้ทุกคนรู้ว่าหมอก็คือคน หมอก็คืออาชีพเหมือนอาชีพอื่น ๆ ก็มีทั้งเรื่องทีรู้และไม่รู้ วิศวกรโครงสร้างก็ไม่ได้รู้คุณสมบัติเหล็กดีทุกชนิด ไม่ได้รู้เทคนิคการก่อสร้างทุกรูปแบบ โปรแกรมเมอร์ก็ไม่ได้เขียนโปรแกรมเก่งได้ทุกภาษา chef อาหารอิตาเลียนก็ไม่จำเป็นว่าต้องทำอาหารอิตาเลียนอร่อยทุกเมนู ฉันใดก็ฉันนั้นหมอเองก็เฉกเช่นเดียวกัน
That is the way things are.
หมอไม่รู้ทั้งหมด แต่ก็จะพูดเฉพาะที่ตัวเองรู้
และที่สำคัญ หมอที่ตรวจวินิจฉัย และอธิบายผู้ป่วยจะเป็นหมอเฉพาะทางที่มีความรู้ ในด้านนั้น และใช้ชีวิตกับโรคกลุ่มนั้นตลอดอายุการทำงาน มีทั้งความรู้จากการอ่านและประสปการณ์
และพูดตามหลักฐานที่พิสูจน์ได้ จากงานวิจัยครับ
ไม่แปลก ฟังคำหมอเหมือนไล่ไปตาย พวกหมอบ้าน หมอผี หมออินเตอร์เนท ปากหวาน ให้ความหวัง
จากประสบการณ์เลย คนไข้ที่เป็นชาวบ้านถูกหลอกง่าย มักจะเชื่อแบบเชื่อตามๆกันครับ แบบเพื่อนบ้านพูดไม่ต้องไปหาหมอหรอก คนนั้นคนนี้กินนี่กินตามเลย เปิดเคเบิ้ลทีวีก็มีแต่โฆษณาอาหารเสริมอวดอ้างสรรพคุณมากมาย ที่ไม่เห็นทางการจะจัดการอะไร (ดูง่ายก็อาหารเสริมลดอ้วนทั้งหลาย ดารามาทำขายเปิดตัวแทน โพสต์อวดร่ำรวยมากมาย) แล้วพอหลงเชื่อไปซื้อพวกนี้ หรือทำตามวิธีที่ผิด มารพ.ตอนแย่แล้ว พอรู้ตัวว่าที่ทำไปน่ะมันผิด ไม่ได้ผล ถูกหลอกมา ก็จะไม่กล้าไปบอกคนอื่น รู้สึกเหมือนตัวเองเสียหน้า โดนเค้าหลอกมา ไม่กล้าไปบอกคนอื่น ก็เลยยังสามารถหลอกคนอื่นต่อไปได้อีก
อีกอย่างที่ตอนนี้ปวดหัวมากคือข้อความต่างๆที่ส่งกันทางไลน์ ผู้สูงอายุ วัยผู้ใหญ่เล่นไลน์ ก็มีแต่ข้อความก้อปส่งต่อๆกัน แล้วก็เชื่อๆกันต่อไปเรื่อยๆ อีกครับ
เรื่องปรกติของผมเลย
เรื่องราวๆ นี้อยู่คู่สังคมมนุษย์มานานแล้วครับ
เพราะธรรมชาติของคนโดยทั่วไปจะไม่ใช้แนวคิด evidence-based แบบหมอแผนปัจจุบัน แต่มักจะเชื่อตามความรู้สึกของตัวเอง ข้อมูลอะไรที่กระตุ้นความรู้สึกมากๆ ก็จะโน้มน้าวผู้ฟังได้ง่าย
กลับกันกับการแพทย์แผนปัจจุบันที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์ ข้อมูลแบบนี้มันจะไม่ใส่อารมณ์ ไม่กระตุ้น คนฟังก็จะไม่อิน ไม่รู้สึกว่าการรักษาจะได้ผล คนก็แห่แหนกันไปตามกระแสอารมณ์เท่านั้นเองครับ
อีกอย่างก็คือโอกาสที่จะเข้าถึงข้อมูลจากหมอยังถือว่าน้อยมากครับ กว่าคนจะเข้าถึงตัวหมอและได้ข้อมูลไปต้องเสียเวลาเสียเงิน ในขณะที่อินเทอร์เน็ตมันเข้าถึงง่าย ใครๆ ก็เข้าไปได้ ไม่แปลกที่ข้อมูลมันจะแพร่กระจายและด้วยการบอกปากต่อปากก็เลยเกิดเป็นกระแสขึ้นมา
คนมักจะมีแนวโน้มที่จะ "เชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ" ด้วยครับ
ฝั่งหนึ่งบอกว่า "คุณต้องทำการผ่าตัด จากนั้นฉายแสง ทำคีโมหลายเดือน ระหว่างนั้นร่างกายคุณจะอ่อนแอมาก ห้ามทำนู่นนี่นั่น ต้องระวังตัวตลอดเวลา ค่ารักษารวมหลักล้าน"
อีกฝั่งบอก "คุณแค่กินยาซองนี้/ไปซื้อโซดาในเซเว่นมากิน/ไปซื้อสมุนไพรนั้นมาต้ม แค่นี้คุณก็หายแล้ว"
คนย่อมเลือกจะอยากเชื่ออันหลังมากกว่า เพราะมันดีกว่า สั้นๆ ง่ายๆ แค่นั้นเลย