Google Cloud Platform อธิบายวิธีการแก้ปัญหา ช่องโหว่ Spectre และ Meltdown ( ที่ค้นพบโดย Project Zero ของกูเกิลเอง ) ว่าสามารถแพตช์ป้องกัน โดยไม่สูญเสียประสิทธิภาพ
กูเกิลบอกว่าเริ่มงานพัฒนาแพตช์หลังค้นพบช่องโหว่ชุดนี้ไม่นาน ช่องโหว่ Spectre ส่วนแรก (Variant 1) และ Meltdown (Variant 3) และสามารถปิดช่องโหว่ได้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2017 โดยไม่ต้องให้ลูกค้าปิดเครื่อง และไม่พบปัญหาประสิทธิภาพแต่อย่างใด
ส่วนที่ยากคือ Spectre (Variant 2) ที่เชื่อกันว่าไม่มีทางป้องกันโดยไม่ปิดฟีเจอร์ของซีพียู และส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง แต่สุดท้ายก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Retpoline ซึ่งเป็นการแก้ไขโค้ดที่ระดับไบนารีตอนคอมไพล์ ปิดไม่ให้ทำ branch-target-injection
เทคนิคนี้ช่วยให้กูเกิลไม่ต้องแก้ไขซอร์สโค้ดของซอฟต์แวร์เดิม และสามารถปิดช่องโหว่โดยแทบไม่มีผลเรื่องประสิทธิภาพเลย ส่งผลให้บริการทุกตัวบน Google Cloud Platform ปิดช่องโหว่เรียบร้อยตั้งแต่เดือนธันวาคม และกูเกิลก็เผยแพร่เทคนิค Retpoline ในรูปงานวิจัยต่อสาธารณะแล้ว
ที่มา - Google Cloud Platform Blog
Comments
:)
โชว์แคปหมู แฮร่!
aws ว่ายังไงหว่า
ตบหน้าอินเทลอย่างแรงเจ้าตัวยังทำไม่ได้เลย...
ไม่เกี่ยวกันมั้ง
ช่องโหว่ยังอยู่ แต่จะไม่มี Software ที่ใช้งานช่องโหว่ได้ เพราะ Google แก้ที่ ไบนารี่ของตัวโปรแกรม
ซึ่ง Google Cloud Platform มันก็ไม่ได้รองรับ Software ทุกอย่างบนโลกอยู่แล้วรับเฉพาะภาษาที่กำหนดไว้
ต่างจากคอมตามบ้าน ที่โหลดโปรแกรมจากไหนก็ไม่รู้ มารันได้
อันนี้ Google แก้ของตัวเองแต่คอมตามบ้านแบบเรา ก็เอามาใช้ไม่ได้อยู่ดี
สงสัยเจ้าอื่นต้องอัพเดตแก้ไขอีกรอบ
หวังว่าจะมี Patch แบบไม่ลดประสิทธิภาพมาให้คอม User ทั่วไปด้วยครับ
นึกถึงคำพูดที่ว่า ทำให้เด็กมันดู
ฮา ..และในความฮามีคนหน้าชาซ่อนอยู่ เสียเหลี่ยมจริงๆ
อ่านและงง หัวข่าวบอก "โดยไม่กระทบประสิทธิภาพ" กลางข่าวบอก "ส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลง แต่สุดท้ายก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้" ท้ายข่าวบอก "แทบไม่มีผลเรื่องประสิทธิภาพเลย" ตกลงลดไม่ลดอะ
"เชื่อกันว่าไม่มีทางป้องกันโดยไม่ปิดฟีเจอร์ของซีพียู"
อูยยยยย โหดแท้เหลา
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!