ในโอกาสเดียวกับที่ กูเกิลเปิดตัวชิปควอนตัม Willow ขนาด 105 คิวบิต ทีม Google Quantum AI ก็เปิดคอร์สสอนวิชา quantum error correction แก้ปัญหาความผิดพลาดของคิวบิท ให้เรียนกันฟรีๆ บน Coursera (ปกติคอร์สของกูเกิลบน Coursera มักไม่ค่อยฟรี แต่รอบนี้มาฟรี)
เนื้อหาของคอร์สนี้สอนเรื่องว่าทำไมคิวบิทซึ่งเป็นพื้นฐานของควอนตัมคอมพิวเตอร์ถึงมีค่าผิดพลาด และมีวิธีแก้ค่ากลับให้ถูกต้องได้อย่างไร คอร์สมีความยาวรวม 29 ชั่วโมง ความยากระดับ Intermediate ผู้สอนคือ Dr. Austin Fowler จากทีม Google Quantum AI โดยตรง ใครสนใจตามเข้าไปเรียนกันได้บน Coursera
Jeff Maggioncalda ซีอีโอ Coursera ให้ข้อมูลน่าสนใจว่า จากที่ปี 2023 กระแสเกี่ยวกับ AI มาแรงมาก จึงทำให้แพลตฟอร์มมีผู้สมัครเรียนรายใหม่ในคอร์สเกี่ยวกับ AI เฉลี่ยทุก 1 นาที สะท้อนว่าผู้คนต่างต้องการอัพสกิลความรู้ในหัวข้อดังกล่าว
Maggioncalda ยังกล่าวในงาน World Economic Forum ที่ Davos ว่าจุดเปลี่ยนสำคัญที่เขามองว่าทำให้คนสนใจ AI มากขึ้น ก็คือ Generative AI หรือ AI สร้างเนื้อหานั่นเอง
Coursera ปัจจุบันมีคอร์สเกี่ยวกับ AI มากกว่า 800 เนื้อหา ซึ่งหลายหลักสูตรเป็นความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำในด้านนี้ เช่น OpenAI หรือ DeepMind ของกูเกิล จำนวนการลงทะเบียนเรียนรวมมีมากกว่า 7.4 ล้านครั้ง
Coursera ประกาศแปลหลักสูตรจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยกว่า 2,000 คอร์ส ครอบคลุมคอร์สยอดนิยมเพิ่มทักษะดิจิทัลทั้งการใช้ Excel, Data Science และโปรแกรมมิ่งโดยใช้ AI มาช่วยในการเพิ่มคำบรรยายในวีดิโอ แปลแบบทดสอบ การประเมินเป็นภาษาไทย
นอกจากนี้ ยังเพิ่มฟีเจอร์ที่เรียกว่า Coursera Coach (เบต้า) สำหรับสมาชิก Coursera Plus ห้ผู้เรียนสามารถถามคำถามที่เกี่ยวกับบทเรียนและการนำไปใช้กับอาชีพได้ และ Coursera ChatGPT ที่จะช่วยแนะนำคอร์สเรียนบนแพลตฟอร์ม
SAP เตรียมรวมบริการฟรีทั้งหมดของตัวเองที่เปิดตัวมาแล้ว และจะเปิดตัวเพิ่มในอนาคตภายใต้ชื่อ SAP Start โดยบริการเหล่านี้บริการคลาวด์ที่จำกัดการใช้งานรูปแบบเดียวกับบริการคลาวด์จำนวนมากที่มักมีบริการฟรีแบบจำกัดเพื่อให้นักพัฒนาเข้าไปทดลองใช้งานได้ง่ายขึ้น
ตอนนี้ SAP Start ยังอยู่ระหว่างการทดสอบเบต้าวงปิด และจะเปิดบริการทั่วไปภายในไตรมาสแรกปี 2023
Coursera สตาร์ทอัพสาย EdTech รวมคอร์สเรียนออนไลน์ ได้ไอพีโอนำบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กแล้ว หลังจาก ยื่นไฟลิ่ง เมื่อเดือนก่อน ด้วยตัวย่อในการซื้อขาย COURที่ราคาไอพีโอ 33 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ราคาหุ้นปิดการซื้อขายวันแรกที่ 45 ดอลลาร์ ทำให้บริษัทมีมูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเป็น 5,900 ล้านดอลลาร์ สูงกว่ามูลค่ากิจการก่อนเข้าตลาดหุ้น ที่มีรายงานครั้งสุดท้ายที่ 3,600 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้รายได้ของ Coursera ในปี 2020 อยู่ที่ 293 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 29% จากปี 2019 และขาดทุน 66.8 ล้านดอลลาร์
- Read more about Coursera เข้าตลาดหุ้นแล้ว มูลค่ากิจการ 5.9 พันล้านดอลลาร์
- Log in or register to post comments
Coursera สตาร์ทอัพ EdTech พัฒนาแพลตฟอร์มรวมคอร์สออนไลน์ได้ยื่นเอกสาร S-1 แก่ ก.ล.ต. สหรัฐฯ เพื่อเตรียมไอพีโอแล้ว โดยบริษัทเตรียมจะออกจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กโดยใช้สัญลักษณ์ซื้อขาย COUR
ธุรกิจหลักของ Coursera คือพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรวมคอร์สเรียนพร้อมรับวุฒิการศึกษาจากคอร์สเรียนออนไลน์ โดยปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยและบริษัทชื่อดังเข้าร่วมหลายแห่ง มีคอร์สให้เรียนหลากหลาย ตั้งแต่ด้านธุรกิจ, เทคโนโลยี, วิทยาการข้อมูล และอื่น ๆ ซึ่งธุรกิจของ Coursera เติบโตสูงมากในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ที่ผ่านมา แพลตฟอร์มมียอดการสมัครเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงขึ้นเนื่องจากแผนประเภท freemium และค่าใช้จ่ายด้านการตลาด
Coursera แพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์จากสถาบันต่าง ๆ ยอดนิยม ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ F อีก 130 ล้านดอลลาร์ ทำให้บริษัทได้เงินจากนักลงทุนรวมแล้วกว่า 300 ล้านดอลลาร์ โดยผู้นำในการลงทุนรอบนี้คือ NEA รวมทั้งเงินลงทุนเพิ่มจากผู้ลงทุนเดิม อาทิ Kleiner Perkins, SEEK Group, Learn Capital, SuRo Capital Corp และ G Squared
มีรายงานว่าเงินลงทุนซีรี่ส์ F นี้ ทำให้ Coursera มีมูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 ล้านดอลลาร์
ซีอีโอ Jeff Maggioncalda ระบุว่าเงินลงทุนรอบนี้ จะนำไปลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงแพลตฟอร์มให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ในการรองรับตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ทั้งผู้เรียน และผู้สอน ย้ายมาใช้บริการออนไลน์กันมากขึ้น
- Read more about Coursera ประกาศรับเงินลงทุน Series F อีก 130 ล้านดอลลาร์
- Log in or register to post comments
โรคระบาด COVID-19 ทำคนตกงานหลักล้าน Coursera จึงเปิดให้องค์กรและคนตกงานเข้ามาสมัครเรียนฟรี เพื่อรีสกิล พัฒนาทักษะเตรียมให้พร้อมกับการหางานในอนาคต ประกอบด้วยหลักสูตรกว่า 3,800 หลักสูตร ใน 400 สาขาวิชาชีพ จากปกติมีค่าเรียนที่ราวปีละ 399 ดอลลาร์
คอร์สที่น่าสนใจมี Cloud Architecture with Google, Cloud Engineering with Google, SAS Programmer คอร์สสอนการเขียนเชิงธุรกิจ มีคอร์สสอนการจัดการสภาพจิตใจในช่วงโรคระบาดด้วย
ตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคคลาวด์ เราก็เห็นปัญหาความปลอดภัยของคลาวด์หลากหลายระดับ ตั้งแต่ ลืมปิดสิทธิการเข้าถึง Amazon S3 ไปจนปัญหาอื่นๆ อีกมาก ทำให้ทักษะด้านความปลอดภัยของคลาวด์ก็เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ล่าสุด Google Cloud ประกาศเปิดคอร์สเฉพาะทาง Security in Google Cloud Platform Specialization ให้เรียนกันฟรีๆ บน Coursera โดยเนื้อหาครอบคลุมด้านความปลอดภัยหลากหลาย ตั้งแต่เรื่อง Identity and Access Management (IAM), Isolation, การตรวจสอบข้อมูลล็อกด้วย StackDriving, การป้องกัน DDoS และการอุดรูรั่วต่างๆ เป็นต้น
Andrew Ng นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งทีม Google Brain และเป็นผู้ก่อตั้ง Coursera ด้วย เปิดคอร์สสอนเรื่อง AI for Everyone ใน Coursera
ตัวคอร์สเปิดรับสำหรับทุกคนที่สนใจ แต่เป้าหมายหลักคือกลุ่มนักธุรกิจที่อยากทำความเข้าใจ AI มากขึ้น รวมทั้งผลของ AI ต่อวงการธุรกิจ มากกว่าจะเจาะกลุ่มคนที่เข้าใจเทคนิคมาก่อนแล้ว
นอกจากจะอธิบายโครงสร้างและการพัฒนา AI แล้ว ยังมีพูดถึงกรณีที่ไม่ประสบความสำเร็จของ AI ด้วย ซึ่ง Andrew Ng บอกว่าไม่ค่อยมีโอกาสพูดเรื่องนี้เท่าไรนัก คนจะได้เห็นภาพว่าจริงๆ แล้ว AI ทำอะไรได้ และไม่ได้บ้าง
Coursera เว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ในการขยายหลักสูตรปริญญาตรีและโท และถือเป็นครั้งแรกของ Coursera ที่ให้ใบปริญญาจริงแก่ผู้เรียน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ประกอบด้วย
- มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนาเปิดหลักสูตรปริญญาโท Computer Science
- มหาวิทยาลัย Imperial College London เปิดหลักสูตรปริญญาโทด้านสาธารณสุขหรือ Public Health
- มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เปิดหลักสูตรปริญญาโท Computer Science และ Data Science
- มหาวิทยาลัยมิชิแกน หลักสูตรปริญญาโทด้านสาธารณสุข
- University of London หลักสูตรปริญญาตรีสาขา Computer Science
อาจไม่เกี่ยวกับวงการไอทีตรงๆ แต่เมื่อนับว่าเป็นคำชี้แนะจากแอนดรูว์ อึง (Andrew Ng) ผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera เว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์ และเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์จาก Baidu ก็ขอนำมาเล่าตรงนี้ครับ
มีคำถามหนึ่งใน Quora ถามถึงเขาว่า มีคำแนะนำอะไรสักอย่างหนึ่งถึงเหล่านักเรียนบ้างหรือไม่? เขาก็ตอบว่า เมื่อคิดว่าจะใช้เวลากับอะไรสักอย่าง ให้คำนึงถึงสองข้อนี้ คือ สิ่งที่กำลังจะทำนั้นจะเปลี่ยนแปลงโลกได้หรือไม่ และ คุณจะได้เรียนรู้อะไรกับการทำสิ่งนี้ (ต่อด้านในครับ)