OpenSea ประกาศปลดอีกประมาณ 50% ของพนักงานทั้งหมด หลังจาก ปลดพนักงาน ไปก่อนหน้านี้ 20% เมื่อปีที่แล้ว
Devin Finzer ซีอีโอ OpenSea กล่าวว่า การปลดพนักงานรอบนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการยกเครื่องมาร์เกตเพลสใหม่ในชื่อ OpenSea 2.0 เพื่อให้บริษัทออกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้เร็วและมีคุณภาพ จึงเป็นสาเหตุที่ลดจำนวนพนักงานลง เพื่อให้สามารถทำงานใกล้ชิดกับผู้ใช้งานมากขึ้น
ทั้งนี้ Finzer ยังไม่ได้ให้รายละเอียดว่า OpenSea 2.0 จะมีอะไรที่แตกต่างออกไปจากปัจจุบัน
ที่มา: CoinDesk
OpenSea ผู้ให้บริการมาร์เกตเพลส NFT รายใหญ่ ประกาศการเปลี่ยนแปลงสำคัญ โดยจะยกเลิกระบบที่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน สามารถกำหนดให้มีค่าธรรมเนียมในการซื้อขายผลงานต่อ (Operator Filter) แล้วเปลี่ยนมาเป็นระบบที่ผู้ซื้อผลงานแล้วขายต่อ สามารถกำหนดได้เองว่าจะให้มีการจ่ายส่วนแบ่งการขาย กลับไปหาผู้สร้างสรรค์ผลงานหรือไม่ จากเดิมที่ OpenSea กำหนดให้มีการจ่ายส่วนแบ่งกลับเสมอเมื่อเกิดการขายต่อ ตอนนี้สามารถเลือกไม่จ่ายก็ได้
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลตั้งแต่ 31 สิงหาคม 2023 เป็นต้นไป คาดว่าสาเหตุที่ OpenSea ตัดสินใจเช่นนี้ เนื่องจากคู่แข่ง Blur ซึ่งตั้งค่าธรรมเนียมซื้อขาย NFT ต่ำมาก เข้ามาแย่งส่วนตลาดจนขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งแทน OpenSea มาระยะหนึ่งแล้ว
OpenSea ตลาดซื้อขาย NFT รายใหญ่ ประกาศปรับนโยบายสำคัญ 2 ข้อ อย่างแรกคือยกเลิกค่าธรรมเนียมซื้อขายชั่วคราว (ไม่บอกว่านานแค่ไหน) เพื่อกระตุ้นธุรกรรมการซื้อขาย NFT หลังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่ไม่มีค่าธรรมเนียมอย่าง Blur จนทำให้ยอดธุรกรรมของ OpenSea ลดลง
อย่างที่สองคือเปลี่ยนเงื่อนไขส่วนแบ่งรายได้ในการขายต่อ (creator earning) ที่ผู้สร้างชิ้นงานจะได้ส่วนแบ่งด้วยหาก NFT ชิ้นนั้นขายต่อได้ (สูงสุดไม่เกิน 10%) ของเดิม OpenSea กำหนดเงื่อนไขนี้เป็นค่าดีฟอลต์ แต่รอบนี้เปลี่ยนเป็นให้เลือกเองได้ (optional) แทน
Devin Finzer ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง OpenSea ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ถึงอนาคตของวงการ NFT ที่ช่วงหลังซบเซาลงมากเพราะตลาดคริปโตขาลงในปี 2022
Finzer มองว่าแม้ตลาดคริปโตขาลง แต่ NFT ยังมีอนาคต เพราะลูกค้ายังสามารถซื้อ NFT ด้วยเงินจริง เพื่อนำไปเป็นของสะสม จัดแสดงทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ได้อยู่ดี เขาบอกว่าไม่จำเป็นที่ต้องซื้อ NFT ด้วยเงินคริปโตเสมอไป รูปแบบการใช้งานจะกว้างขวางขึ้นกว่าวงการคริปโต
ก่อนหน้านี้ มีบริษัทวิจัยบล็อกเชน ประเมินว่ามูลค่าธุรกรรมของ OpenSea ลดลงถึง 99% นับจากจุดสูงสุด และ OpenSea เองก็ต้องปลดพนักงานออก 20% เมื่อกลางปีนี้
DappRadar ผู้ให้บริการ marketplace สำหรับแอป defi และเก็บวิเคราะห์ข้อมูลจากบล็อคเชน เปิดเผยรายงานว่า OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT รายใหญ่ที่สุดในโลกมีมูลค่าการซื้อขายลดลงราว 99% จากจุดสูงสุดที่มีมูลค่าราว 405.75 ล้านเหรียญเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ลดลงเหลือเพียงราว 5 ล้านเหรียญเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม
มูลค่าการซื้อขายผลงาน NFT บนแพลตฟอร์มลดลงอย่างรวดเร็วไปพร้อม ๆ กับการลดลงของจำนวนผู้ใช้, การลดลงของราคาขั้นต่ำ (floor price) ของผลงาน NFT ชั้นนำ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความสนใจในการสะสมผลงาน NFT ลดลง ขณะที่ความกังวลว่า NFT จะพบกับสภาวะฟองสบู่แตกเริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT รายใหญ่ ประกาศปลดพนักงานประมาณ 20% โดยซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Devin Finzer แชร์ข้อความที่เขาแจ้งยังพนักงานทุกคน ว่าการตัดสินใจนี้เป็นผลจากการเข้าสู่ฤดูหนาวคริปโต (Crypto Winter) ตลอดจนเศรษฐกิจภาพใหญ่ที่ผันผวน จึงต้องเตรียมรับมือหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น
บริษัทไม่ได้ระบุตัวเลขพนักงานที่ถูกปลดออก แต่ให้ข้อมูลตรงข้ามว่าหลังปลดพนักงานแล้ว จะมีพนักงานอยู่ 230 คน
Finzer บอกว่าพนักงานที่ถูกให้ออกจะได้เงินชดเชย หุ้นบริษัท ตลอดจนประกันสุขภาพไปจนถึงปี 2023
ที่มา: TechCrunch
- Read more about OpenSea ประกาศปลดพนักงาน 20%
- 1 comment
- Log in or register to post comments
OpenSea แพลตฟอร์ม NFT ได้แจ้งเตือนผู้ใช้กรณีข้อมูลหลุดเกี่ยวกับอีเมลซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงเรื่องฟิชชิ่งได้
OpenSea ระบุว่า พนักงานที่ Customer.io ผู้ให้บริการอีเมลที่ทำสัญญากับ OpenSea ใช้สิทธิ์การเข้าถึงของพนักงานเพื่อดาวน์โหลดและแชร์อีเมลแอดเดรสของผู้ใช้งาน OpenSea รวมถึงผู้สมัครสมาชิกรับข่าวสาร และนำข้อมูลนี้ไปส่งให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับอนุญาต
สำหรับสเกลการหลุดครั้งนี้ OpenSea ไม่ได้ระบุเป็นตัวเลขที่ชัดเจน แต่ทางบริษัทระบุไว้ว่า “ถ้าคุณเคยแชร์อีเมลให้ OpenSea ในอดีต ให้สันนิษฐานได้เลยว่าได้รับผลกระทบไปด้วย” ซึ่งอนุมานได้ว่าข้อมูลหลุดครั้งนี้น่าจะใหญ่มาก และทางบริษัทกำลังร่วมมือกับ Customer.io เพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว และจะรายงานไปยังเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
FBI จับกุมและตั้งข้อหากับ Nathaniel Chastian อดีตผู้บริหารของ OpenSea ในตำแหน่ง Head of Product ในมกราคมถึงกันยายน 2021 หลักจากพบว่า Chastian ดักซื้อ NFT หลายโหลก่อนที่จะเอา NFT ของครีเอเตอร์ขึ้นหน้าแรกของเว็บ OpenSea
Chastian มีหน้าที่คัดเลือก NFT ที่จะแสดงแบบเด่น (featured) ของ OpenSea ซึ่งมักทำให้ครีเอเตอร์ที่ได้รับคัดเลือกดังขึ้นอย่างมาก FBI ระบุว่าเขาใช้ข้อมูลการคัดเลือกนี้ ไปแอบกว้านซื้อ NFT อื่นๆ ของครีเอเตอร์ที่กำลังได้รับคัดเลือกไว้ล่วงหน้าด้วยบัญชีลับที่ไม่ระบุตัวตน เพราะงานชิ้นอื่นๆ ก็มักจะราคาขึ้นไปด้วยเมื่อตัวครีเอเตอร์ดังขึ้น ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ Chastian ทำกำไร NFT แต่ละชิ้นได้ 2-5 เท่าตัว
OpenSea เว็บไซต์ซื้อขาย NFT รายใหญ่ของโลก ประกาศปรับปรุงระบบการตรวจสอบไฟล์ภาพที่ถูกทำสำเนาหรือดัดแปลงอย่างไม่ถูกต้องเพื่อมาทำ NFT (copyminting) รวมถึงระบบยืนยันตัวตนของผู้ใช้ที่ดีกว่าเดิม
ฝั่งการป้องกัน copyminting ใช้ทั้งซอฟต์แวร์ image recognition ไล่ตรวจภาพทั้งหมดในระบบ และเช็คได้ว่าเป็นภาพที่กลับด้าน หมุน หรือดัดแปลงแบบอื่นๆ กับใช้แรงคนช่วยตรวจสอบว่าถูกต้องแค่ไหน การตรวจสอบจะมีผลกับทั้งภาพเก่าในระบบ และภาพใหม่ที่ถูกส่งเข้ามา
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Discord แชนแนลทางการของ OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยน NFT ขนาดใหญ่โดนฟิชชิ่ง โดยมีบอทอันตรายโพสต์ข้อความปลอมบนแชนแนลพร้อมลิงก์ไปยังเว็บฟิชชิ่งหลอกให้คนคลิกเพื่อขโมย NFT
เหตุการณ์ที่เกิดบน Discord ของ OpenSea คือมีบอทโพสต์ข้อความประกาศ OpenSea ปลอมว่า OpenSea ร่วมมือกับ YouTube พร้อมลิงก์ให้ผู้ใช้คลิก YouTube Genesis Mint Pass เพื่อรับ NFT ฟรี 100 รายการ พร้อมแปะลิงก์ youtubenft[dot]art ซึ่งเป็นเว็บไซต์ฟิชชิ่ง และในเวลาไม่นานนัก ทาง OpenSea ก็จัดการลบลิงก์นี้ออก
OpenSea ประกาศซื้อกิจการ Gem ผู้ให้บริการตลาดซื้อขาย NFT แบบรองรับการเชื่อมต่อกับหลายแพลตฟอร์ม โดยดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า
Gem นอกจากจะรองรับการเชื่อมต่อซื้อขาย NFT หลายแพลตฟอร์มเพื่อลดค่า gas แล้ว ยังให้บริการเครื่องมือวิเคราะห์ ข้อมูลอันดับผลงานอีกด้วย
Devin Finzer ซีอีโอ OpenSea กล่าวว่าดีลนี้จะทำให้บริษัทได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ จาก Gem ตลอดจนเข้าถึงชุมชน NFT โดยเฉพาะในระดับผู้สร้างสรรค์ผลงานมืออาชีพมากขึ้น หลังจากดีลนี้เสร็จสิ้น Gem จะยังดำเนินการอิสระแยกจาก OpenSea ต่อไป
ที่มา: OpenSea
ช่วงต้นปี 2021 Jack Dorsey ผู้ก่อตั้งทวิตเตอร์เปิดประมูลข้อความทวีตแรกของโลกในรูปแบบ NFT (ประมูลรหัสคอมพิวเตอร์ที่แสดง "ความเป็นเจ้าของ" ข้อความทวีตนั้นอีกที) และมีคนประมูลชนะไปในราคา 2.9 ล้านดอลลาร์
สัปดาห์ที่ผ่านมา Sina Estavi นักลงทุนคริปโตที่ชนะประมูลเป็นเจ้าของ NFT ประกาศว่าเขาอยากขาย NFT ชิ้นนี้ ซึ่งเขาคาดว่ามีมูลค่ามากกว่า 25 ล้านดอลลาร์แล้ว โดยยินดีบริจาค 50% ของเงินประมูลรอบใหม่ให้การกุศล
OpenSea เว็บไซต์แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT รายใหญ่บนเครือข่าย Ethereum ทำการตรวจสอบหลังได้รับข้อมูลว่าเว็บไซต์อาจถูกแฮก ก่อนจะพบว่าจริงๆ แล้วผู้ใช้งานถูกโจมตีด้วยอีเมล phishing หลอกว่าเป็น OpenSea และขโมย NFT ไปกว่า 254 โทเคนจากผู้ใช้ 32 คน ก่อนจะขายงานบางส่วนได้เงินเป็น ETH มูลค่ารวมราว 1.7 ล้านดอลลาร์ หรือราว 54 ล้านบาท ภายใน 3 ชั่วโมง
Wired UK มีบทความเล่าถึงปัญหาของ OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ แต่การเติบโตที่รวดเร็วก็ตามมาซึ่งปัญหามากมาย ทั้งเรื่องชิ้นงานปลอม-ก๊อปปี้มา , พนักงานทุจริต และ ช่องโหว่ความปลอดภัย
Wired ชี้ว่าเหตุผลสำคัญเกิดจาก OpenSea เติบโตเร็วมาก เพราะเลือกแนวทางเร่งโตจากการเปิดให้สร้าง (mint) NFT ฟรี จนเจอปัญหาการสเกลทั้งโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรคนไม่ทัน บริษัทเพิ่งมีผู้บริหารฝ่ายความปลอดภัย (Chief Security Officer) คนแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2021 นี้เอง
หลังมีผู้โพสต์ขายงาน NFT ศิลปะไทยประยุกต์ รูปท้าวเวสสุวรรณบนเว็บไซต์ OpenSea ในราคา 9 ETH หรือราว 7.5-7.6 แสนบาท จนในที่สุดก็ขายออก ดูเหมือนว่าจะเป็นการซื้อภาพมูลค่าสูงอีกครั้งในวงการ NFT ไทย แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิด เมื่อชาวเน็ตขุด transaction ในการซื้อขายดู พบว่าแอคเคาท์ที่เป็นผู้ขาย ส่งเงินให้อีกแอคเคาท์เพื่อมาซื้องานตัวเอง
OpenSea เว็บไซต์ขายงานศิลปะแบบ NFT มีบริการสร้างชิ้นงานเป็น NFT (เรียกว่า mint) โดยผู้สร้างงานจำเป็นต้องจ่ายค่าธุรกรรม Ethereum ที่เรียกว่า "ค่าแก๊ส" ซึ่งมีราคาต่างกันไปตามแต่ละช่วงเวลา ข้อเสียของวิธีการนี้คือผู้สร้างงานจำเป็นต้องจ่ายเงินออกไปก่อน และไม่มีอะไรการันตีว่าจะขายงานถอนทุนคืนได้
เมื่อปี 2020 OpenSea จึงเปิดฟีเจอร์ชื่อ lazy minting ให้สร้าง NFT ได้ฟรี เพราะตัวชิ้นงานอยู่บนระบบ NFT เท่านั้น (เมื่อเกิดธุรกรรมครั้งแรกถึงย้ายไปอยู่บนบล็อกเชน Ethereum ค่อยเสียค่าแก๊ส) ช่วยให้ผู้เริ่มต้นเข้ามาสร้าง NFT ได้ง่ายขึ้น
บริษัทความปลอดภัย Elliptic รายงานการค้นพบบั๊กของ OpenSea แพลตฟอร์มขาย NFT ชื่อดัง ที่เปิดให้แฮ็กเกอร์สามารถซื้องาน NFT ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดมากๆ แล้วไปขายต่อในราคาแพงได้
กรณีตัวอย่างเกิดกับงานในคอลเลคชัน Bored Ape Yacht Club NFT หมายเลข #9991 ที่ราคาตลาดขายกันอยู่ราว 198,000 ดอลลาร์ กลับถูกผู้ใช้ชื่อ jpegdegenlove ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามาก (0.77 ETH หรือราว 1,800 ดอลลาร์) แล้วนำกลับไปขายต่อในราคาถูกกว่าตลาดเล็กน้อยคือ 196,000 ดอลลาร์ในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน เท่ากับทำกำไร 194,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 6.4 ล้านบาท)
ผู้ใช้รายนี้ยังซื้อ NFT อีก 7 ชิ้นด้วยช่องโหว่แบบเดียวกัน ทำกำไรไปอีก 31 ล้านบาท
เมื่อเช้านี้ มีรายงาน ว่า OpenSea เตรียมรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่ ล่าสุดมีประกาศอย่างเป็นทางการแล้ว โดย OpenSea รับเงินทุนซีรี่ส์ C เพิ่ม 300 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนนำโดย Paradigm แพลตฟอร์มด้านคริปโต และเฮดจ์ฟันด์ Coatue โดยมีมูลค่ากิจการ 13,300 ล้านดอลลาร์
Devin Finzer ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ OpenSea กล่าวว่าเงินทุนรอบนี้จะนำไปใช้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์, ปรับปรุงการบริการลูกค้า, นำไปใช้ลงทุนในบริษัทด้าน NFT และ Web3 รวมทั้งจ้างพนักงานเพิ่ม
ในประกาศนี้ OpeaSea ยังบอกว่าได้ Shiva Rajaraman อดีตผู้บริหารด้าน Commerce จาก Meta มารับตำแหน่งรองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยพัฒนาระบบในภาพรวมอีกด้วย
มีรายงานว่า OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขายงาน NFT เตรียมรับเงินจากนักลงทุนเพิ่มเติมรอบใหม่ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีมูลค่ากิจการสูงถึง 13,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีเฮดจ์ฟันด์ Coatue Management เป็นผู้ลงทุนหลักในรอบนี้ รวมทั้งมี Paradigm แพลตฟอร์มด้านคริปโตร่วมลงทุนด้วย
เมื่อปีที่แล้ว OpenSea มีมูลค่ากิจการจากเงินเพิ่มทุนที่ 1,500 ล้านดอลลาร์
หากดีลนี้เกิดขึ้นจริง อาจสะท้อนว่านักลงทุนเริ่มสนใจในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ NFT มากขึ้น ยังมีรายงานว่า OpenSea มีแผนนำเงินทุนนี้ไปซื้อกิจการ Dharma Lab ผู้ให้บริการวอลเลต Ethereum เพื่อนำมาต่อยอดบริการต่าง ๆ อีกด้วย
OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT รายใหญ่ สั่งหยุดการซื้อขาย NFT จำนวนทั้งหมด 16 รายการ หลังมีคนรายงานว่าถูกแฮ็กกระเป๋าเก็บคีย์ และถูกขโมย NFT มาขายบน OpenSea
เรื่องนี้เริ่มมจากบัญชีทวิตเตอร์ชื่อ toddkramer.eth ซึ่งระบุว่าทำงานกับแกลเลอรีศิลปะแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก ประกาศว่าถูกขโมย NFT ที่ประกอบด้วยชุดภาพชื่อดัง Mutant Ape Yacht Club และ Bored Ape Yacht Club จำนวน 16 รายการ เขาร้องขอความช่วยเหลือจากชุมชน NFT และแพลตฟอร์มอย่าง OpenSea ซึ่ง OpenSea ก็ตอบสนองด้วยการสั่งหยุดไม่ให้ซื้อขายแลกเปลี่ยน NFT เหล่านี้
วงการงานศิลปะ NFT กำลังเจอบททดสอบสำคัญ เมื่อมีคนนำภาพชิ้นงานยอดนิยมอย่าง CryptoPunks หรือ Bored Ape Yacht Club (BAYC) ซึ่งปัจจุบันมีราคาแพงมากแล้ว ไปกลับด้านซ้าย-ขวา แล้วนำขึ้นมาขายใหม่บนแพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ต่างๆ อย่าง OpenSea
กรณีของ CryptoPunks มีภาพล้อเลียนใช้ชื่อว่า CryptoPhunks (เติม h) ส่วน Bored Ape Yacht Club มีถึง 2 โครงการคือ Phunky Ape Yacht Club (PAYC) กับ PHAYC (ไม่มีชื่อเต็ม แต่ตั้งใจให้อ่านว่า เฟค)
Brian Roberts ซีเอฟโอแพลตฟอร์มให้บริการรถโดยสาร Lyft ประกาศว่าเขาได้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว หลังจากร่วมงานกับ Lyft มาตั้งแต่ปี 2014 โดยจะไปรับตำแหน่งซีเอฟโอที่ OpenSea เว็บซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าบน NFT
TechCrunch มองว่าการย้ายตำแหน่งของ Roberts สะท้อนทิศทางที่ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเทคขนาดใหญ่ มีแนวโน้มจะย้ายไปร่วมงานกับสตาร์ทอัพสาย Web3 มากขึ้น เนื่องจากตลาดที่เกี่ยวข้องกับคริปโตมีการเติบโตสูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
Devin Finzer ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง OpenSea กล่าวว่าจากนี้ Roberts จะเข้ามาช่วยสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะเปลี่ยนมุมมองของธุรกรรมการค้า และการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีส่วนให้เกิดการสร้างนักสร้างสรรค์และผู้ประกอบการในยุคหน้า
ช่วงนี้วงการงานศิลปะ NFT กำลังเฟื่องฟู ย่อมหนีไม่พ้นมิจฉาชีพที่มาหลอกเชิดเงินไป
ล่าสุด โครงการศิลปะ Evolved Apes ขายคาแรกเตอร์ลิงที่เปลี่ยนหน้าตาไปหลายรูปแบบจำนวน 10,000 ตัว หลังขายงานมาแล้ว 1 สัปดาห์ ก็เจอปัญหาผู้รับผิดชอบโครงการที่ใช้ชื่อปลอมว่า Evil Ape ปิดเว็บ ปิดบัญชีทวิตเตอร์หนีไปพร้อมกับเงินจำนวน 768 Ether หรือประมาณ 2.7 ล้านดอลลาร์
กลุ่มผู้ลงทุนในโครงการ Evolved Apes บอกว่าได้กลิ่นไม่ชอบมาพากลมาได้สักระยะ และเริ่มสอบสวนเรื่องนี้ พบว่าศิลปินที่วาดงานก็ไม่ได้รับค่าจ้างจากโครงการ เมื่อเห็นท่าไม่ดี Evil Ape ในฐานะแอดมินที่ควบคุมวอลเล็ตก็หนีหายไป
OpenSea เว็บซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยโทเคน NFT (non-fungible token) ชื่อดัง ออกมายอมรับว่ามีพนักงานรายหนึ่งทุจริต ตัดหน้าซื้อสินค้าที่รู้ว่าจะถูกโชว์บนหน้าแรกของเว็บไซต์ เพื่อหวังขายต่อในราคาที่สูงขึ้น
OpenSea บอกว่าพฤติกรรม insider trade (พนักงานคนในรู้ข้อมูลบางอย่างก่อน แล้วมาหากำไรส่วนตัว) เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ ตอนนี้บริษัทกำลังสอบสวนเหตุการณ์นี้อย่างละเอียด ก่อนตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป
เหตุการณ์นี้ทำให้ OpenSea ประกาศนโยบายว่าพนักงานไม่สามารถซื้อขายสินค้าใดๆ ที่นำมาโปรโมทบนหน้าเว็บไซต์หลัก และห้ามนำข้อมูลภายในไปซื้อ NFT ใดๆ ไม่ว่าจะอยู่บนแพลตฟอร์ม OpenSea หรือไม่ก็ตาม