นักโทษในคุกสามารถอ่านหนังสือที่คนบริจาคเข้าไปได้ แต่หนังสือก็อาจสามารถแทรกยาเสพติดหรือของผิดกฎหมายได้ ล่าสุดหน่วยงานราชทัณฑ์ในเพนซิลวาเนีย หรือ PADOC (Pennsylvania Department of Corrections) ประกาศจะไม่รับหนังสือแล้ว แต่จะเปลี่ยนเป็นอีบุ๊คแทน ซึ่งญาติๆ สามารถซื้อได้ผ่านบริษัทเครือข่าย GTL เท่านั้น
ดูแล้วเป็นความเคลื่อนไหวที่ดี เพราะสามารถลดการจัดการทรัพยากรลงไปได้ แต่การเปลี่ยนเป็นอีบุ๊คนั้นดีสำหรับนักโทษจริงหรือ?
ทำเนียบขาวออก ประกาศ จะใช้เทคโนโลยีลดจำนวนผู้ต้องขังและทำลายวงจรการจำคุกครอบคลุม 67 เขตพื้นที่ในสหรัฐฯ โดยร่วมมือกับ Amazon และ Palantir ในการออกแบบเทคโนโลยี
โครงการนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Data-Driven Justice Initiative (DDJ) หลักๆจะเป็นการใช้เทคโนโลยีเชื่อมข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหานักโทษล้นคุกซึ่งในจำนวนนักโทษทั่วโลกอยู่ในสหรัฐฯถึง 25% มีไม่น้อยเป็นนักโทษความผิดลหุโทษ (ประเภทไม่ร้ายแรง) และไม่น้อยที่ต้องถูกจำคุกก่อนจะมีคำพิพากษาออกมา หรือเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางจิตใจ การเชื่อมข้อมูลจะเข้ามาประเมินและแยกแยะนักโทษเหล่านี้ให้ชัดเจนขึ้น ง่ายต่อการกำหนดว่ากลุ่มไหนควรใช้วิธีจำคุก (ซึ่งควรจะเป็นกลุ่มเสี่ยงมากจริงๆ)
ดูเหมือนว่าต่อไปนี้การซื้อขายของผิดกฎหมายต่าง ๆ ของนักโทษในคุกของสหรัฐจะยากขึ้นอีกเท่าตัว เพราะว่าสภาคอนเกรสได้ให้ผ่านร่างกฎหมาย Safe Prisons Communications Act of 2009 ที่ได้อนุญาตให้คุกต่าง ๆ ในสหรัฐสามารถติดตั้งอุปกรณ์รบกวนคลื่นโทรศัพท์มือถือ ทำให้ไม่มีใครสามารถใช้โทรศัพท์มือถือในคุกได้
งานนี้คงอดไปตาม ๆ กันสำหรับนักโทษที่ชอบติดต่อกับโลกภายนอกผ่านทางมือถือ แต่หากนักโทษคนไหนยังใช้นกพิราบสื่อสารอยู่ก็ไม่น่าจะมีปัญหา
ที่มา - Engadget