Google ได้เปิดตัว Android Things ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับอุปกรณ์ IoT พร้อมให้นักพัฒนาดาวน์โหลด Developer Preview ไปทดสอบกันแล้ว
สำหรับ Android Things นั้นจะพัฒนาบน Android API และบริการต่าง ๆ ของ Google ดังนั้นเครื่องมือพัฒนาก็จะใช้ในแบบที่นักพัฒนา Android คุ้นเคย และไม่ต้องเรียนรู้ใหม่มากนัก ได้แก่ Android SDK, Android Studio, Google Cloud Platform และ Google Play Services โดยนักพัฒนาที่ดาวน์โหลด Android Things ไปแล้วสามารถรันบน อุปกรณ์ที่รองรับ อย่าง Intel Edision, NXP Pico หรือ Raspberry Pi 3 ได้ทันที
ในงาน CES 2016 ปีนี้ นอกจากฝั่งเกมที่ ASUS เปิดตัวสินค้าใหม่มาเพียบแล้ว ฝั่งที่เกี่ยวกับกูเกิลอย่างโน้ตบุ๊กที่ใช้ Chrome OS เองก็มีเปิดตัวมาด้วยอย่าง Chromebook C202 ที่ออกแบบมาเพื่อจับตลาดการศึกษาโดยเฉพาะ
Chromebook C202 เป็นโน้ตบุ๊กเน้นความทนทาน ตัวเครื่องบุกันกระแทกจากการตกหล่น และออกแบบมาให้สามารถเปลี่ยนอะไหล่ได้ง่ายในยามที่ชิ้นส่วนพัง แม้ว่าจะมีเพียงเครื่องมือช่างพื้นฐาน ส่วนสเปคตัวเครื่องมาในระดับมาตรฐานของ Chromebook ดังนี้
กูเกิลจัดงานสัมมนาด้าน IoT ชื่อ Ubiquity เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 11-12 มกราคม 2016 ที่ซานฟรานซิสโก
เนื้อหาของงานเกี่ยวกับ Internet of Things และ Ubiquitous Computing หัวข้อที่มีบรรยายได้แก่ Brillo, Weave, Android Wear, Beacons, Google Cast, Android TV, Android Auto
ความน่าสนใจของงานนี้คือหัวข้อการบรรยายเหล่านี้ เคยเป็นส่วนหนึ่งของงาน Google I/O มาก่อน แต่รอบนี้ถูกแยกมาจัดเป็นงานของตัวเอง น่าจะสะท้อนว่ากูเกิลจริงจังกับเรื่อง IoT มากขึ้นมาก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่น่าจับตาคือ Brillo และ Weave ที่เปิดตัวในงาน Google I/O 2015 ซึ่งน่าจะมีการอัพเดตความคืบหน้าในงานนี้อีกพอสมควร
กูเกิลเปิดตัว Project Billo ระบบปฏิบัติการสำหรับ Internet of Things เมื่อช่วงกลางปีที่งาน I/O 2015 จากนั้นก็เงียบหายไปพักใหญ่ๆ
ความคืบหน้าล่าสุดคือกูเกิลเริ่มเชิญนักพัฒนาภายนอกร่วมทดสอบ Brillo แล้ว นักพัฒนาที่ได้รับเชิญเข้าร่วมโครงการจะได้ SDK ไปร่วมทดสอบ ( สมัครเข้าร่วมโครงการได้จากหน้า Brillo ) และกูเกิลก็เริ่มปล่อย ซอร์สโค้ดบางส่วนของ Brillo ขึ้น Git ของ Android แล้วเช่นกัน (ขณะที่เขียนข่าวยังไม่มีไฟล์ซอร์สจริงๆ แต่มีไฟล์ manifest ถูกอัพโหลดขึ้นมาแล้ว)
Imagination ผู้ถือสิทธิ์ซีพียู MIPS ประกาศเปิดตัวบอร์ด CI40 อัพเดตจาก CI20 เมื่อปีที่แล้ว แม้ว่าตัวบอร์ดจะยังไม่วางขาย แต่ทางบริษัทก็เปิดเผยซอฟต์แวร์ที่จะซัพพอร์ตแล้ว
ตัวสำคัญที่สุดคือ Brillo ของกูเกิล ที่เปิดตัวตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทางแอนดรอยด์รองรับสถาปัตยกรรม MIPS มาได้พักใหญ่ การซัพพอร์ต Brillo ด้วยจึงทำได้ไม่ยากมาก
อีกสองแพลตฟอร์มที่รองรับ คือ OpenWRT ที่รองรับชิป MIPS มานานเพราะถูกใช้งานในเราท์เตอร์จำนวนมาก และตัวสุดท้ายคือเดเบียนที่รองรับ MIPS เต็มรูปแบบมานานแล้วเช่นกัน
ตัวบอร์ดยังไม่เปิดวันวางจำหน่าย ระหว่างนี้มีเพียงให้ลงทะเบียนอีเมลแสดงความสนใจ
ตามที่มีข่าวลือว่า กูเกิลจะเปิดตัวระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์ Internet of Things ในชื่อ Brillo ตอนนี้ Project Brillo ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการบนเวที Google I/O 2015 แล้ว
Brillo เป็นระบบปฏิบัติการที่ลดส่วนจาก Android ลงมา และขัดเกลาตัวระบบให้ทำงานเฉพาะส่วนเลเยอร์ชั้นล่าง อย่างเคอร์เนล, HAL , ส่วนควบคุมระบบส่วนกลาง และการเชื่อมต่อ (Wi-Fi, Bluetooth) ส่วนสำคัญคือเป็นระบบปฏิบัติการที่ต้องการสเปคต่ำมากในการรัน
เว็บไซต์ The Information รายงานแผนการบุกโลก IoT ฉบับกูเกิลด้วยระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่ออกแบบมาจับอุปกรณ์กลุ่มนี้โดยเฉพาะในโค้ดเนมว่า Brillo
Brillo เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานกับอุปกรณ์กินพลังงานต่ำ จำพวกสมาร์ทโฮม เช่น หลอดไฟ ที่ล็อกประตู ฯลฯ ที่มักจะมีทรัพยากรให้ใช้น้อยนิด (มีแรมแค่ 32MB-64MB) โดยแนวทางของ Brillo ทำมาเพื่อให้การพัฒนาอุปกรณ์แนวนี้ทำได้สะดวก และเข้ากันได้มากขึ้น ด้วยการเสนอให้ผู้ผลิตสามารถใช้ Brillo ได้ฟรี