ซัมซุงเปิดตัว microSD ใหม่ 2 รุ่น การ์ดรุ่นแรกเป็น SD Express microSD ตาม มาตรฐานใหม่ SD Express ที่ออกในปี 2019 ใช้การส่งข้อมูลผ่าน PCIe 3.1 ทำให้แบนด์วิดท์ส่งข้อมูลสูงสุด 985 MBps ในทางทฤษฎี ส่วนการ์ดของซัมซุงมีแบนด์วิดท์ 800 MBps ถือว่าเพิ่มขึ้นมากจาก microSD อินเทอร์เฟซ UHS-1 แบบเดิมที่ความเร็วสูงสุด 104 MBps
ซัมซุงถือเป็นผู้ผลิต microSD รายแรกที่ออกการ์ดแบบ SD Express โดยการ์ดชุดแรกมีความจุ 256GB เริ่มส่งสินค้าตัวอย่างให้พาร์ทเนอร์แล้ว และจะเริ่มผลิตแบบเป็นจำนวนมากภายในปี 2024 นี้
Micron Technology เปิดตัว microSD รุ่น i400 ความจุสูงถึง 1.5TB เน้นตลาดกล้องวงจรปิดสำหรับภาคอุตสาหกรรม (ความจุสูงสุดก่อนหน้านี้คือ 1TB)
การ์ดรุ่นนี้ใช้หน่วยความจำแบบ 3D NAND เรียงซ้อนกัน 176 เลเยอร์เพื่อให้ได้ความจุระดับนี้ Micron บอกว่าพื้นที่ 1.5TB สามารถบันทึกวิดีโอได้นาน 120 วัน เหมาะสำหรับการใช้ในโรงงานหรือไซต์งานที่อยู่ไกล (เช่น เรือสินค้าหรือแท่นขุดเจาะน้ำมัน) ซึ่งอาจมีข้อจำกัดเรื่องแบนด์วิดท์ จะได้ไม่ต้องเปลืองข้อมูลอัพโหลดคลิปบ่อยๆ แต่ยังกลับมาดูภาพย้อนหลังได้เสมอ
ตอนนี้ Micron เริ่มส่งตัวอย่าง microSD i400 ให้พาร์ทเนอร์ด้านโซลูชันกล้องวงจรปิด เช่น Verkada แล้ว
Manfrotto ผู้ผลิตอุปกรณ์กล้องที่โด่งดังในเรื่องขาตั้งกล้อง ได้เปิดตัวสินค้าใหม่เป็นเมมโมรี่การ์ดสำหรับกล้องซีรีส์ Pro Ruggedโดยชูจุดขายด้านความทนที่ Manfrotto เคลมว่าการ์ดของบริษัททนที่สุดในตลาด (toughest memory cards on the market)
Manfrotto Pro Rugged มีให้เลือกทั้ง SD, MicroSD และ CompactFlash โดยมีสเปคดังนี้
Pro Rugged SD มาในความจุ 64GB และ 128GB มาตรฐาน V90 มีความเร็วอ่านเขียนสูงสุด 280MB/s และ 250MB/s ตามลำดับ ส่วน Pro Rugged MicroSD มาในความจุ 64GB และ 128GB มาตรฐาน V30 มีความเร็วการอ่านเขียนสูงสุด 90MB/s
ในยุคที่แล็ปท็อปต่างตัดพอร์ทเชื่อมต่อออกจนแทบจะไม่เหลือ (ยกเว้น VAIO SX12 ) อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่เรามักต้องซื้อพร้อมคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่คือ USB-C hub ซึ่งล่าสุด Sony ก็เข้าร่วมตลาดนี้ด้วย โดยการเปิดตัว USB-C hub สเปกเทพจับตลาดผู้ใช้ระดับโปร
USB-C hub รุ่นนี้ใช้ชื่อว่า MRW-S3 ดูเผินๆ อาจนึกว่าเป็น power bank โดยมันมาพร้อมพอร์ตมากมาย ดังนี้
เมื่อกลางปีที่แล้ว SD Association ได้ออกมาตรฐานใหม่ SD Express ที่ได้ความเร็วส่งข้อมูลสูงสุด 985MB/s ล่าสุดในงาน MWC 2019 นี้ SD Association ได้ประกาศมาตรฐานใหม่เป็น SD 7.1 เพื่อนำมาตรฐาน SD Express มาใช้กับการ์ดที่เล็กลงในชื่อว่า microSD Express
SD Association ระบุว่า มาตรฐาน microSD Express นี้จะนำ PCIe 3.1 และ NVMe 1.3 มาใช้งานกับ microSD เพื่อเร่งความเร็วในการส่งข้อมูลให้ได้ความเร็วในการส่งข้อมูลตามทฤษฎีสูงสุดถึง 985MB/s เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งยังรองรับ interface แบบเดิมของ microSD เพื่อให้ตัวการ์ดยังคงใช้งานกับอุปกรณ์เก่า ๆ ได้ที่ความเร็วต่ำ
Lexar ผู้ผลิตสินค้าหน่วยความจำ ที่เพิ่งจะย้ายไปอยู่ภายใต้ Longsys ได้เปิดตัวการ์ด SDXC ใหม่ Professional 633x ที่ขนาด 1TB
สเปคของตัวการ์ด SDXC รุ่นใหม่นี้ เป็นการ์ด Class 10 UHS-I ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด มีความเร็วในการอ่านสูงสุดที่ 95MB/s สามารถอัดวิดีโอ Full HD, 4K และ 3D ได้ รวมถึงรองรับการถ่ายภาพไฟล์ RAW นาน ๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนการ์ด
Lexar วางจำหน่ายที่ 499.99 ดอลลาร์หรือราว 16,000 บาท และทางบริษัทได้จัดแสดงสินค้าชิ้นนี้ในงาน CES 2019 ด้วย
ที่มา - Lexar
Sony เปิดตัว SD card ซีรีส์ SF-G TOUGH รุ่นทนทานโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นช่างภาพที่ต้องการรักษาไฟล์งานให้ปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งตัวการ์ดนี้ผ่านการทดสอบว่าสามารถทนกับสภาพแวดล้อมที่ทรหดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ยังคงรักษาความเร็วในการเขียนในลักษณะเดียวกับ ซีรีส์ SF-G
ในด้านการเขียนอ่าน การ์ดนี้รองรับมาตรฐาน UHS-II สามารถอ่านได้ที่ความเร็วสูงสุด 300MB/s, เขียนได้ที่ความเร็วสูงสุด 299MB/s, รองรับการอัดวิดีโอความเร็วคลาส V90 มีให้เลือกทั้งความจุ 32, 64 และ 128GB มีซอฟต์แวร์มาพร้อมกับตัวการ์ดคือ SD Scan Utility สำหรับตรวจสอบสภาพการ์ด กับ File Rescue Software ที่สามารถกู้คืนข้อมูลได้
SD Association สมาคมผู้ผลิต SD Card ประกาศมาตรฐานใหม่ของ SD Card ยุคถัดไป แบ่งออกเป็นสองส่วน คือมาตรฐานการส่งข้อมูลแบบใหม่ SD Expressใช้อินเทอร์เฟซ PCIe 3.0 และ NVMe 1.3 สำหรับการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ในความเร็วสูงสุด 985 MB/s และมาตรฐานการ์ดแบบใหม่ SDUCที่ให้ความจุสูงกว่า SDXC เดิม
SD Express สามารถใช้ได้กับ SDXC เดิมที่มีความจุสูงสุด 2TB และ SD Ultra Capacity (SDUC)แบบใหม่ที่มีความจุสูงสุด 128TB นอกจากนี้ยังรองรับการ์ดรุ่นเก่าไปถึง SDHC ด้วย การ์ดที่ส่งข้อมูลแบบ SD Express จะมีโลโก้ EX ต่อท้ายแบบในภาพ
สำหรับ SD Card รุ่นใหม่ที่จะมาพร้อมมาตรฐาน SD Express ยังไม่ระบุราคาและวันวางขายในเวลานี้
Micron Technology ผู้ผลิตอุปกรณ์เก็บข้อมูลได้ประกาศยกเลิกธุรกิจการขายปลีกอุปกรณ์ทุกชนิดในแบรนด์ Lexar อย่างเป็นทางการ และเตรียมขายธุรกิจแบรนด์ Lexar ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดให้กับผู้ที่สนใจจะเข้ามาซื้อ
สำหรับสินค้าภายใต้แบรนด์ Lexar มักจะเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบถอดได้ ปัจจุบันมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดรฟ์, เครื่องอ่านการ์ด, SSD, เมมโมรี่การ์ดหลายประเภท ทั้ง SD, CompactFlash, microSD, CFast, XQD
Sony เปิดตัว SD card ซีรีย์ใหม่คือ SF-G ซึ่งเป็น SD card ที่ปรับปรุงมาสำหรับการใช้งานทั้งการถ่ายภาพและวิดีโอผ่านกล้อง DSLR และ mirrorless
SD card ใหม่นี้สามารถเขียนได้ที่ความเร็วสูงสุดที่ 299MB/s โดยจะต้องใช้เฟิร์มแวร์ของ Sony โดยจะทำให้ SF-G เป็น SD card ที่ไวที่สุดในโลก ซึ่งจะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อใช้กับกล้องที่รองรับมาตรฐาน UHS-II รวมถึง Sony ใช้อัลกอริทึมที่ป้องกันการลดความเร็วการเขียนข้อมูล เพื่อทำให้ตัวการ์ดสามารถใช้งานกับกล้องได้ดียิ่งขึ้น และถ่ายภาพรัวได้เต็มที่
การ์ดนี้ยังมีความเร็วการอ่านสูงสุดถึง 300MB/s เมื่อใช้งานกับเครื่องอ่านการ์ด เพื่อให้ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ไปยังคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็ว
สัปดาห์ที่แล้วแอปเปิลเปิดตัว MacBook Pro รุ่นใหม่ ที่ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในหลายๆ เรื่อง เช่นการตัดพอร์ต USB แบบปกติออกหมดและแทนด้วย USB-C รวมถึงเอาปุ่ม ESC ออกและให้ใช้ Touch Bar แทน นอกจากนี้ยังตัดช่องเสียบ SD Card ออกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่วงการช่างภาพต้องใช้งานเป็นประจำ
ล่าสุด Phil Schiller ผู้บริหารฝ่ายการตลาดของแอปเปิล ได้ให้สัมภาษณ์กับ The Independent ว่าแอปเปิลตัดช่องเสียบ SD Card ทิ้งเพราะเวลาเสียบการ์ดเข้าไปแล้วจะมีส่วนท้ายของการ์ดยื่นออกมา ซึ่งแอปเปิลเห็นว่ามันรุงรัง (cumbersome) เขายังยกตัวอย่างสมัยที่ CompactFlash (CF Card) ยังได้รับความนิยมและเป็นช่วงที่ SD Card เริ่มเข้ามามีบทบาท ว่าตอนนั้นแอปเปิลก็ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง และแอปเปิลก็ไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้ แต่ขณะนี้ทุกคนสามารถใช้การ์ดได้ทั้งสองแบบด้วยเครื่องอ่านการ์ดที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป
ช่วงนี้ Google Maps ขยันอัพเดตบ่อยมาก ในอัพเดตล่าสุดก็เพิ่มฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับออฟไลน์มาดังนี้
- ตัวเลือก Wi-Fi Only โหลดข้อมูลต่อเมื่อเชื่อมต่อกับ Wi-Fi เท่านั้น (หรือไม่ก็โหลดเฉพาะแผนที่ออฟไลน์ที่ดาวน์โหลดเก็บไว้) เอาไว้ใช้สำหรับกรณีค่าเน็ตมือถือราคาแพง (เช่น โรมมิ่งขณะอยู่ต่างประเทศ)
- ตัวเลือกสั่งดาวน์โหลดแผนที่ออฟไลน์ลง SD card ในกรณีสตอเรจภายในสมาร์ทโฟนไม่พอ โดยเฉพาะในสมาร์ทโฟนราคาถูก แต่อยากดาวน์โหลดแผนที่เก็บไว้ เวอร์ชันล่าสุดตอนเราสั่งดาวน์โหลดแผนที่ ก็จะถามแล้วว่าเราต้องการเซฟไว้ที่ internal storage หรือ SD
จะซื้อการ์ด microSD สักใบมีสเปคหลายอย่างที่ต้องพิจารณานอกเหนือจากราคาและความจุ SanDisk แบรนด์สื่อบันทึกข้อมูลภายใต้การนำของ Western Digital เปิดตัวการ์ด Extreme PLUS ของตนด้วยสัญลักษณ์ "Works with GoPro" ที่บอกว่าใช้งานกับกล้องแอ๊กชั่นแคมค่าย GoPro ได้ ในความจุ 16, 32, 64 และ 128GB กับความเร็วระดับ UHS Class 3 (U3) และ Video Speed Class 30 (V30) (อ่านเพิ่มเติม: สมาพันธ์ SD เปิดตัวมาตรฐาน SD Card ใหม่ รองรับวิดีโอ 8K และอัดหลายวิดีโอพร้อมกัน ) โดยราคาความจุ 128GB อยู่ที่ 249.99 เหรียญสหรัฐฯ ครับ
แต่ว่าในข่าวนี้ยังไม่เห็นโลโก้ Works with GoPro เลย
ที่มา - SanDisk
SD Association (SDA) ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของกลุ่มผู้ผลิตสื่อบันทึกข้อมูล เจ้าของมาตรฐาน SD Card ที่เรารู้จัก เปิดตัว class ของการ์ดชนิดนี้เพิ่มเติมในชื่อ Video Speed Class ซึ่งจะรองรับการบันทึกไฟล์ความเร็วสูงกว่าเดิม เพื่อรองรับการใช้งานบันทึกวิดีโอสูงสุดถึง 8K, วิดีโอสามมิติ รวมถึงการบันทึกวิดีโอจากหลายกล้องพร้อมกัน เช่นการบันทึกวิดีโอแบบ 360 องศา
ระดับของการ์ดจะมีสัญลักษณ์ใหม่ตามความเร็วที่รองรับตั้งแต่ 6 ถึง 90 MB/s เป็น V6, V10, V30 รองรับวิดีโอ HD ถึง 4K ส่วน V60 และ V90 รองรับได้ถึงวิดีโอ 8K ครับ ซึ่งจะใช้งานกับ SD Card กลุ่ม SDHC, SDXC, UHS-I และ UHS-II โดยจะมีสัญลักษณ์นี้ใช้ทั้งบนการ์ดและอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกันตั้งแต่บัดนี้ไป นับเป็นสเปคของ SD ลำดับที่ 5 ตั้งแต่มีการผลิตมา
ก่อนหน้านี้เราอาจเคยเห็นพวก SD Card ขนาดที่เสียบเข้าช่อง SDXC reader ของ MacBook Air, Pro ได้แนบสนิท และใช้เป็นไดรฟ์อีกก้อนที่ OS X มองเห็น แต่ตอนนี้มี TarDisk อีกหนึ่งเจ้าที่เพิ่งเปิดตัว และชูว่าเมมโมรีรุ่นใหม่นี้สามารถผสานรวมกับพาร์ทิชั่นเดิมที่เป็น SSD บนเครื่องได้ทันที ผ่านซอฟต์แวร์ Pear ที่ให้มาใช้คู่กัน
สำนักงานดูแลสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ (USPTO) ได้เผยแพร่สิทธิบัตรของแอปเปิล "Combined input port" ที่จะทำให้พอร์ตเพียงพอร์ตเดียว รองรับการเชื่อมต่อหลายรูปแบบได้มากขึ้นด้วยการเพิ่ม contact surface ให้รองรับการเชื่อมต่อหลายแบบ โดยหนึ่งในตัวอย่างที่แอปเปิลได้เลือกใช้ คือพอร์ต USB ที่รองรับการอ่าน SD Card ได้ไปในตัว เชื่อว่าวิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ MacBook Air ขนาด 11 นิ้วสามารถอ่าน SD Card ได้
สิทธิบัตรฉบับนี้ยังอยู่ในขั้นตอนรอการรับรองจาก USPTO แม้ว่าแอปเปิลได้ยื่นจดสิทธิบัตรฉบับนี้ไว้แล้วตั้งแต่ปี 2011 อย่างไรก็ตาม แอปเปิลเป็นหนึ่งในบริษัทไอทีหลาย ๆ แห่งที่ยื่นจดสิทธิบัตรต่าง ๆ ไว้ แล้วไม่ได้นำมาใช้ในสินค้าตัวเองจริง