Nikkei Asia รายงานว่าแอปเปิลมีแผนอัปเกรดให้ iPhone รุ่นใหม่ที่ออกมาทั้งหมดใช้จอ OLED ซึ่งตอนนี้ iPhone ทั้งหมดเป็นจอ OLED อยู่แล้ว ยกเว้น iPhone SE ที่เป็น LCD จึงเป็นข้อมูลยืนยันอีกแหล่งว่า iPhone SE 4 ที่คาดว่าจะออกมาปีหน้าจะใช้จอ OLED
ผลกระทบนี้ทำให้ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนจอ LCD ที่แอปเปิลใช้อยู่ได้แก่ Japan Display (JDI) และ Sharp ถูกยกเลิกคำสั่งซื้อล่วงหน้าแล้ว
ก่อนหน้านี้ทั้ง Mark Gurman แห่ง Bloomberg และ Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สายซัพพลายเชน ก็ให้ข้อมูลว่า iPhone SE 4 จะใช้จอ OLED ส่วนบอดี้เป็นแบบเดียวกับ iPhone 14 หน้าจอ 6.1 นิ้ว
Robert Wu ซีอีโอของ Sharp เปิดเผยในการประชุมผู้ถือหุ้นล่าสุดว่า บริษัทจะเริ่มไลน์การผลิตจอ LCD ใหม่สำหรับอุปกรณ์ใหม่ ในช่วงสิ้นปีงบประมาณของบริษัท (มีนาคม 2024) โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดใดๆ นอกจากเพียงว่า บริษัทกำลังอยู่ในช่วง R&D ของคอนโซลรุ่นใหม่
ข้อมูลดังกล่าวพอจะชี้ไปที่ Nintendo Switch รุ่นใหม่ ที่น่าจะถูกเปิดตัวหลังมีนาคม 2024 โดยที่ผ่านมา Sharp เป็นผู้ผลิต LCD ให้ Nintendo DS และเป็นผู้รับประกอบตัวเครื่อง Nintendo Switch
หลัง Xiaomi เปิดตัว Mi 11 Ultra ใช้เซ็นเซอร์กล้องขนาด 1/1.12 นิ้ว ไปแล้ว วันนี้ Sharp ไม่ยอมน้อยหน้า เปิดตัวมือถือ Sharp Aquos R6 มือถือหน้าจอ 6.6 นิ้ว มาพร้อมเซ็นเซอร์กล้องหลัก LEICA Summicron ขนาดใหญ่ 1 นิ้ว ความละเอียด 20.20 ล้านพิกเซล (เกือบจะเป็นเครื่องแรกของโลก ขึ้นกับว่านับ Panasonic Lumix CM1 ปี 2015 ที่มีเซ็นเซอร์ 1 นิ้ว 20 ล้านพิกเซล ว่าเป็นมือถือหรือไม่)
Sharp เปิดตัวไมโครเวฟรุ่นแรกที่มาพร้อมระบบเชื่อมต่อ Wi-Fi และรองรับการทำงานร่วมกับระบบสั่งการด้วยเสียง Alexa
ไมโครเวฟรุ่นใหม่ของ Sharp มีสองความจุ คือ SMC1139FS ความจุ 1.1 คิวบิกฟุต และ SMC1449FS ความจุ 1.4 คิวบิกฟุต โดยระบบสั่งการด้วยเสียง Alexa มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในกิจกรรมทำอาหารทั่วไป เช่น ละลายน้ำแข็งเนื้อ ไปจนถึงสั่งทำป๊อปคอร์นของ Orville Redenbacher
สำหรับรุ่น 1.1 คิวบิกฟุตจะมีคำสั่งที่รองรับระบบสั่งการด้วยเสียงกว่า 30 คำสั่ง และอีก 10 พรีเซ็ทที่สั่งได้ผ่านเสียงเท่านั้น ราคา 149.99 ดอลลาร์ และรุ่น 1.4 คิวบิกฟุตมีคำสั่งที่รองรับระบบสั่งการด้วยเสียงกว่า 70 คำสั่ง และอีก 50 พรีเซ็ทที่สั่งได้ผ่านเสียงเท่านั้น ราคา 169.99 ดอลลาร์
- Read more about Sharp เปิดตัวไมโครเวฟสั่งการด้วยเสียงผ่าน Alexa
- 6 comments
- Log in or register to post comments
Toshiba ขายธุรกิจโน้ตบุ๊กให้เพื่อนร่วมชาติ Sharp ในปี 2018 โดย Sharp เลือกใช้แบรนด์ใหม่ Dynabook ทำตลาดแทน
แต่ Toshiba ยังมีหุ้นเหลืออยู่ 19.9% ในบริษัท Dynabook Inc. ซึ่งล่าสุด Toshiba ประกาศขายหุ้นก้อนนี้ให้กับ Sharp แล้ว (ตามเงื่อนไขตอนปี 2018 ที่ Sharp มีสิทธิซื้อหุ้นก้อนที่เหลือเพิ่มหรือ call option) ตอนนี้ Dynabook จึงมีสถานะเป็นบริษัทลูกของ Sharp แล้ว 100% และถือว่า Toshiba ถอนตัวออกจากธุรกิจโน้ตบุ๊กอย่างเป็นทางการ
ที่มา - Toshiba , The Register
จากที่ Sharp Thailand ประกาศนำโน้ตบุ๊กแบรนด์ Dynabook (Toshiba เดิม) เข้ามาทำตลาดไทย วันนี้มีรายละเอียดแล้วว่านำสินค้ามาขาย 3 รุ่น ได้แก่
Sharp ยื่นฟ้อง Tesla Motors ในญี่ปุ่น โดยอ้างว่าบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐละเมิดสิทธิบัตรอุปกรณ์เครือข่ายบนรถ พร้อมทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามคำเข้า Tesla ทั้ง 3 รุ่นที่จำหน่ายในญี่ปุ่นคือ Model S, Model X และ Model 3
Sharp ที่ตอนนี้เป็นบริษัทลูกของ Foxconn ของไต้หวัน กำลังยื่นฟ้องหลายบริษัทฐานละเมิดสิทธิบัตร อาทิ Xianyang CaiHong Optoelectronics Technology ผู้ผลิตแพแนลทีวีจีนฐานละเมิดสิทธิบัตรแพแนล LCD และ Oppo ฐานละเมิดสิทธิบัตรด้านอุปกรณ์สื่อสารและสมาร์ทโฟน
ที่มา - Asian Nikkei Review
หลายคนอาจคุ้นเคยโน้ตบุ๊กแบรนด์ Toshiba ที่เคยมาทำตลาดในบ้านเราอยู่ช่วงหนึ่ง (เช่น รุ่นบางเบา Portégé) แต่เมื่อ Toshiba ประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างหนักในช่วงปี 2015 ทำให้ธุรกิจหลายส่วนหยุดชะงัก และจบด้วยการขายบางธุรกิจออกไปเพื่อลดการขาดทุน
ชะตากรรมของธุรกิจโน้ตบุ๊กของ Toshiba จบลงด้วย การขายให้ Sharp เพื่อนร่วมชาติในปี 2018 โดย Sharp ในฐานะเจ้าของใหม่เลือกใช้แบรนด์ Dynabook ทำตลาด แทนการบอกว่าเป็น Sharp หรือ Toshiba ตรงๆ (รีแบรนด์ในปี 2019) และเลือกทำตลาด Dynabook ในบางประเทศเท่านั้น เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
ท่ามกลางกระแสมือถือยุคใหม่ที่มาพร้อมจอแสดงผลแบบมีติ่งหรือรอยบาก แต่ Sharp Aquos R2 Compact เป็นมือถือรุ่นใหม่ล่าสุดมาพร้อมหน้าจอที่มีติ่งบนคล้ายหยดน้ำและรอยบากด้านล่างคร่อมปุ่มโฮม รวมถึงเป็นสแกนลายนิ้วมือในตัวด้วย
Sharp Aquos R2 Compact จะวางขายเฉพาะในญี่ปุ่น กลางเดือนมกราคมปีหน้า โดยสเปกมีดังนี้
เราเห็นไมโครซอฟท์พยายามเจาะตลาดจอภาพขนาดใหญ่เพื่อการประชุมด้วยสินค้าตระกูล Surface Hub มาได้สักพักใหญ่ๆ แต่ที่ผ่านมายังมีแต่สินค้าของไมโครซอฟท์เองเท่านั้น
ล่าสุดไมโครซอฟท์หันมาจับมือกับพาร์ทเนอร์ช่วยผลิตของออกมาขายแล้ว โดยใช้ชื่อแบรนด์ว่า Windows Collaboration Display
ผู้ผลิต Windows Collaboration Display รายแรกคือ Sharp ตัวจอมีขนาดใหญ่ถึง 70 นิ้ว มีกล้องและเซ็นเซอร์ติดตั้งอยู่ด้านบนของหน้าจอ รองรับการใช้งานเป็นไวท์บอร์ด และเชื่อมต่อกับ Microsoft Office, Microsoft Teams ได้ สินค้าจะเริ่มวางขายภายในปีนี้ ราคายังไม่เปิดเผย
ไมโครซอฟท์ยังประกาศชื่อของ Avocor เป็นผู้ผลิตจออีกรายหนึ่ง แต่ยังไม่มีตัวอย่างสินค้ามาแสดงเหมือนกับของ Sharp
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า Sharp อยู่ในขั้นตอนเจรจาปิดดีล เพื่อซื้อส่วนธุรกิจพีซีทั้งหมดของ Toshiba ที่มูลค่าราว 5,000 ล้านเยน หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้
Sharp คาดว่าดีลนี้จะทำให้บริษัทซึ่งถอนตัวจากธุรกิจพีซีไปตั้งแต่เมื่อปี 2010 จะกลับเข้าสู่ตลาดได้อีกครั้ง เนื่องจากตอนนี้มี Foxconn เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ และ Foxconn เองก็รับจ้างประกอบพีซีให้กับผู้ผลิตรายอื่นอยู่แล้ว ขณะเดียวกันธุรกิจพีซีก็เป็นธุรกิจที่ขาดทุนสะสมของ Toshiba การขายกิจการออกไปก็จะช่วยให้ฐานะการเงินบริษัทดีขึ้น
Toshiba ชี้แจงว่าบริษัทยังประเมินทางเลือกหลายอย่างสำหรับธุรกิจพีซี รวมทั้งมีการเจรจากับผู้สนใจซื้อกิจการบางรายอยู่จริง
วันนี้ Sharp แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่นประกาศลงทุน 3 ล้านเหรียญหรือราว 100 ล้านบาทในไทย เพื่อย้ายฐานการผลิตทีวีจากมาเลเซียกลับมาที่ไทยเต็มตัว (ย้ายออกไปราว 10 ปีก่อน) พร้อมลงทุนขยายสายการผลิตสินค้ากลุ่มทีวีที่โรงงาน Sharp Manufacturing ในจังหวัดนครปฐมเพิ่มเติม เพื่อให้มีกำลังผลิตเพียงพอต่อความต้องการในภูมิภาค
หลายคนอาจยังไม่ทันใช้ทีวีแบบ 4K กัน แต่ Sharp ก็ไม่รั้งรอ เดินหน้าเทคโนโลยีจอภาพไปสุดทางด้วยทีวีระดับ 8K ที่จะวางขายในเดือนตุลาคมนี้ที่ประเทศจีน และช่วงต้นปี 2018 ในประเทศอื่นๆ
ทีวีซีรีส์นี้ของ Sharp เรียกว่า AQUOS 8K Series ความละเอียด 7680x4320 อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของทีวี 8K ตัวนี้คือมันต้องรับ ภาพ 8K จากอินพุต HDMI เท่านั้น ยังไม่รองรับ สัญญาณภาพ 8K ผ่านการถ่ายทอดสัญญาณทีวี ตามระบบ broadcasting
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าทีวี 8K ตัวนี้ราคาเท่าไร แต่มีข่าวลือออกมาว่า 1 ล้านเยน หรือประมาณ 3 แสนบาท
Tai Jeng-wu ประธานบริษัท Sharp Corp. และบอร์ดของของ Foxconn Technology Group เปิดเผยระหว่างการขึ้นพูดที่มหาวิทยาลัย Tatung ในไต้หวันหลังเข้ารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ว่า แอปเปิลจะเปลี่ยนแพแนลหน้าจอใน iPhone รุ่นถัดไปจาก LTPS เป็น OLED
นาย Tai ไม่ได้ระบุว่า iPhone รุ่นไหนที่แอปเปิลจะเปลี่ยนมาใช้หน้าจอ OLED พร้อมยืนยันว่า Sharp จะเป็นผู้ผลิตหน้าจอ OLED ป้อนให้ โดยปัจจุบันหน้าจอ LTPS ที่แอปเปิลใช้อยู่ก็ได้ Sharp เป็นผู้ผลิตเช่นกัน
ที่มา - Asian Nikkei Review
Kimi no Na wa หรือ Your Name หนังอะนิเมชั่นภาพสวยของมาโคโตะ ชินไค ผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้กำกับที่เหงาที่สุดในโลก กำลังทำรายได้ใน Box Office ญี่ปุ่นขณะนี้
ล่าสุด Sharp ตาดี แอบเห็นคอมพิวเตอร์รุ่นเก่ากึ้กของ Sharp ผลิตในปี 1987 และเลิกผลิตในปี 1993 ปรากฏอยู่ในฉากหนึ่งของหนังด้วย คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็คือ X68000 ทาง Sharp จึงทวิตไปถามผู้กำกับชินไคโดยตรงว่าใช่รึเปล่า ซึ่งคำตอบที่ได้รับก็คือ ใช่แล้ว นี่เป็นคอมพิวเตอร์ X68000 ของ Sharp
ในที่สุด ดีล Foxconn ซื้อหุ้น 66% ของ Sharp ที่ยืดเยื้อมานานก็จบลง โดย Foxconn จ่ายเงินให้ Sharp จำนวน 3.81 พันล้านดอลลาร์เรียบร้อยแล้ว
Kozo Takahashi ซีอีโอของ Sharp ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวานนี้ และบอร์ดของ Sharp จะประชุมกันวันนี้เพื่อแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ ซึ่งคาดว่า Tai Jeng-wu มือขวาของ Terry Gou ประธานของ Foxconn จะมานั่งเป็นซีอีโอแทน
Terry Gou เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะผลักดันธุรกิจจอภาพของ Sharp ต่อไป โดยเฉพาะจอภาพแบบ OLED
ที่มา - Wall Street Journal
มือถือคุ้มค่าราคาย่อมเยาอย่าง Android One มีผู้เล่นมาร่วมด้วยอีกราย คราวนี้เป็น Sharp ที่เปิดตัวมือถือรุ่น 507SH ในญี่ปุ่น มาพร้อมคุณสมบัติเด่นคือกันน้ำกันฝุ่นตามมาตรฐาน IPX5 และ IP5X ตามลำดับ
สเปกอื่นๆ ดังนี้
- หน้าจอ IGZO ขนาด 5 นิ้ว ความละเอียด 720p
- ซีพียู Qualcomm Snapdragon 617 ความถี่ 1.5GHz
- แรม 2GB
- พื้นที่เก็บข้อมูลในตัว 16GB
หลังจาก ดีล Foxconn ซื้อ Sharp ได้ข้อยุติว่า Foxconn ซื้อหุ้น 66% แทนการซือยกบริษัท
ล่าสุด Sharp ออกมาให้ข่าวว่าเจ้าของใหม่ Foxconn เตรียมเปลี่ยนบอร์ดและผู้บริหารของ Sharp เกือบยกชุด (เรียกว่าแทบจะล้างบางกันทีเดียว) ปัจจุบัน Sharp มีบอร์ดทั้งหมด 13 คน ในจำนวนนี้มี 12 คนจะต้องลงจากตำแหน่ง บอร์ดชุดใหม่จะลดเหลือแค่ 9 คน และมี 6 คนที่แต่งตั้งโดย Foxconn
ส่วนซีอีโอ Kozo Takahashi จะต้องลงจากตำแหน่งเช่นกัน และ Foxconn จะตั้งผู้บริหารสูงสุดลำดับสองขององค์กร Tai Jeng-Wu มานั่งเก้าอี้ซีอีโอแทน การเปลี่ยนแปลงจะมีผลในเดือนมิถุนายนนี้
ความคืบหน้าล่าสุดของ Foxconn ซื้อ Sharp หลังจาก แผนการของ Foxconn หยุดชะงักเพราะมาค้นพบข้อมูลหนี้สินของ Sharp เพิ่มเติม วันนี้ Foxconn ออกมาประกาศแล้วว่าจะซื้อหุ้น Sharp เพียง 66% จากเดิมที่ตั้งใจจะซื้อทั้งบริษัท
Foxconn จะจ่ายเงินทั้งหมด 3.89 แสนล้านเยน หรือประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์ (น้อยลงจากข้อเสนอเดิมที่ 6.2 พันล้านดอลลาร์)
Terry Gou ประธานของ Foxconn อยากซื้อ Sharp มานานแล้ว (เขาพยายามซื้อครั้งแรกในปี 2012) ภายใต้วิสัยทัศน์ว่า Foxconn ไม่ควรเป็นแค่บริษัทรับจ้างผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว แต่ควรขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้บริโภคโดยตรงด้วย การซื้อ Sharp จะช่วยให้ Foxconn เป็นเจ้าของทั้งแบรนด์และสายผลิตภัณฑ์ในเวลาอันรวดเร็ว
ถึงแม้ บอร์ด Sharp ลงมติรับข้อเสนอซื้อจาก Foxconn เรียบร้อย แต่เรื่องนี้อาจไม่จบลงอย่างที่คิดซะแล้ว เพราะฝั่ง Foxconn ออกมาประกาศ "ชะลอ" การเซ็นสัญญาซื้อกิจการกับ Sharp ซะอย่างนั้น
เหตุผลของ Foxconn ระบุว่าเพิ่งทราบ "ข้อมูลใหม่" เกี่ยวกับสถานะทางการเงินของ Sharp เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือโอกาสที่จะเกิดหนี้สินได้ในอนาคตกว่า 100 รายการ มูลค่ารวมกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์ (ตอนนี้ยังไม่ถือเป็นหนี้ แต่อนาคตไม่แน่) ซึ่ง Foxconn ต้องขอเวลาศึกษาข้อมูลอีกสักระยะหนึ่ง
ที่มา - Wall Street Journal
ชะตาชีวิตของ Sharp มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญในวันนี้ เพราะบอร์ดของบริษัทตัดสินใจ รับข้อเสนอซื้อมูลค่า 700 พันล้านเยนหรือ 6.2 พันล้านดอลลาร์ จาก Hon Hai Precision Industry หรือที่เรารู้จักกันในแบรนด์ Foxconn เรียบร้อยแล้ว
ก่อนหน้านี้ Sharp ได้รับข้อเสนอสองทาง จาก Hon Hai ซึ่งเป็นบริษัทไต้หวัน และจาก INCJ ของรัฐบาลญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของ Hon Hai มีมูลค่าเยอะกว่ามาก
ชะตาชีวิตของ Sharp ที่อยู่ระหว่างการเลือกว่าจะขายให้ กองทุน INCJ ของรัฐบาลญี่ปุ่น (เจ้าของ Japan Display) กับ Foxconn จากไต้หวัน เริ่มชัดเจนมากขึ้น เมื่อ Sharp บอกว่าน่าจะไปทาง Foxconn มากกว่า
Kozo Takahashi ซีอีโอของ Sharp บอกว่าบริษัทขอเวลาตัดสินใจ 1 เดือน ข้อเสนอที่ได้รับตอนนี้คือ Foxconn เสนอเงินมากกว่าเท่าตัว (ประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์) ส่วน INCJ อยู่ระหว่างการหาเงินสนับสนุนจากธนาคารในญี่ปุ่นเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม Sharp เปิดรับข้อเสนอจากทั้งสองฝ่าย ไม่ได้เซ็นสัญญาเจรจากับรายใดรายหนึ่งเท่านั้น (exclusive negotiation rights)
อาจถึงยุคที่บริษัทผู้รับจ้างผลิตยิ่งใหญ่จนสามารถซื้อแบรนด์ได้แล้ว ล่าสุดหนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่า Foxconn บริษัทไต้หวันผู้รับจ้างผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ เสนอซื้อกิจการ Sharp ด้วยมูลค่า 5.3 พันล้านดอลลาร์ หรือ 6.25 แสนล้านเยน
Sharp ประสบปัญหาการเงินอย่างหนักในช่วงหลัง บริษัทมีหนี้ก้อนโตที่ต้องจ่ายในเดือนมีนาคมนี้ และกำลังอยู่ระหว่างการเจรจารับเงินทุนจาก Innovation Network Corp. (INCJ) กองทุนนวัตกรรมที่สนับสนุนโดยรัฐบาลญี่ปุ่น (บริษัทเดียวกับที่เป็นเจ้าของหุ้นใหญ่ใน Japan Display) ตามข่าวบอกว่าข้อเสนอของ Foxconn เยอะกว่า แต่ INCJ อาจเสนอราคากลับให้แพงกว่านั้นได้
หลังจากเป็นข่าวลือ ครั้งแล้ว ครั้งเล่า เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal รายงานข่าวล่าสุดว่า Sharp หนึ่งในบริษัทสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น อยู่ระหว่างการเจรจากับหลายบริษัทเพื่อเตรียมขายส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหน้าจอ (คราวนี้ไม่ใช่แค่ LCD อย่างเดียว) หลังจากที่ผลประกอบการเมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่าบริษัทขาดทุนมหาศาล
ถ้าจำกันได้ เมื่อหลายเดือนก่อน Sharp ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีรายใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ ซึ่งอาจจะรวมถึง การขายธุรกิจหน้าจอ LCD ออกไป ตอนนี้มีรายงานว่ามีคนสนใจซื้อธุรกิจ LCD ของ Sharp แล้ว
จากรายงานของ Nikkei ระบุว่า Hon Hai Precision Industry Co หรือที่คุ้นกันในชื่อ Foxconn วางแผนจะระดมทุนเพื่อเข้าซื้อธุรกิจหน้าจอ LCD มาจาก Sharp หลังจากก่อนหน้านี้เคยพูดคุยกันถึงการทำธุรกิจร่วม ก่อนจะจบลงในช่วงปี 2012 เนื่องจากทาง Sharp กังวลว่า Foxconn จะมีอำนาจในการควบคุมธุรกิจมากเกินไป