ผลจากคำสั่งที่บราซิลสั่ง บล็อกการเข้าถึง X ในประเทศ (แม้ตอนนี้จะ ใช้งานได้ชั่วคราว ) ทำให้แพลตฟอร์มโซเชียลอื่นน่าจะมีคนย้ายไปใช้งานมากขึ้น ที่ได้อานิสงส์อย่างชัดเจนคือ Bluesky แพลตฟอร์มไมโครบล็อกกิ้งที่มีลักษณะคล้ายกับ X แต่ไม่ใช่แค่ Bluesky เท่านั้น
Tumblr เปิดเผยว่าแพลตฟอร์มมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 349.55% ในวันที่บราซิลออกคำสั่งบล็อก X โดยก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งออกมา จำนวนผู้ใช้งานในบราซิลก็เพิ่มขึ้นมาก่อนถึง 30%
Tumblr แพลตฟอร์มบล็อกยุคเว็บ 2.0 ขายกิจการให้ Yahoo! ในปี 2013 จากนั้นก็เปลี่ยนมือเจ้าของมาเป็น Verizon และ ขายต่อให้ Automattic บริษัทแม่ของ WordPress.com ในปี 2019
เวลาผ่านมา 5 ปี Automattic ปรับเปลี่ยนหลายอย่างใน Tumblr ทั้งฟีเจอร์และโครงสร้างองค์กร ล่าสุดบริษัทประกาศแผนการเปลี่ยนระบบเอนจิน backend เบื้องหลังของ Tumblr มาเป็น WordPress โดยไม่เปลี่ยนแปลงฟีเจอร์และ UI ใดๆ เรียกได้ว่าถ้าไม่ประกาศต่อสาธารณะ จะไม่มีทางทราบได้ว่าเปลี่ยน backend แล้ว
Automattic บริษัทแม่ของ WordPress.com และ Tumblr เปิดเผยว่าบริษัทกำลังเจรจาเพื่อขายคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม ให้กับบริษัทที่พัฒนา AI นำไปใช้เทรนข้อมูล ซึ่งในขณะเดียวกัน Automattic ก็ชี้แจงกระบวนการนี้ต่อผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน
โดยทั้ง WordPress.com และ Tumblr ได้ประกาศแจ้งผู้ใช้งานถึงการปิดการทำงาน เพื่อไม่ให้คอนเทนต์ถูกนำไปเทรน AI มีประเด็นสำคัญคือ โดยค่าเริ่มต้นนั้นแพลตฟอร์มพยายามป้องกันไม่ให้มี AI มาดูดเนื้อหาออกไปอยู่แล้ว ส่วนประเด็นที่ Automattic เจรจาขายเนื้อหาโดยตรงกับบริษัท AI นั้น ผู้ใช้งานสามารถตั้งปิดไม่ให้เนื้อหาที่เป็นสาธารณะถูกนำไปเทรน AI ได้ (opt-out) ซึ่งมีส่วนการตั้งค่านี้ทั้งใน WordPress.com และ Tumblr
Tumblr แพลตฟอร์มโซเชียลที่ปัจจุบันมี Automattic เจ้าของ WordPress.com เป็นเจ้าของ ได้ประกาศภายในกับพนักงานถึงแผนปรับโครงสร้างองค์กร โดยมีการปรับย้ายพนักงานจำนวนหนึ่งไปอยู่ที่ฝ่ายอื่นของ Automattic โดยพนักงานที่เหลือจะโฟกัสเฉพาะการพัฒนาฟังก์ชันหลักของแพลตฟอร์มเท่านั้น
ในประกาศนี้บอกว่านับตั้งแต่ Automattic ซื้อกิจการ Tumblr เข้ามาในปี 2019 พร้อมกับพนักงานอีกกว่า 600 คน แพลตฟอร์มยังไม่สามารถ บรรลุเป้าหมาย ที่วางไว้ได้คือมีรายได้และจำนวนผู้ใช้งาน สูงกว่าตัวเลขสูงสุดในอดีต บริษัทจึงเริ่มดำเนินการตามแผนสำรองโดยไม่มีการปลดพนักงาน แต่จะย้ายพนักงาน 139 คน ไปอยู่ในฝ่ายอื่นแทน
ดูเหมือนตอนนี้ใคร ๆ ก็อยากแย่งชิงผู้ใช้งานโซเชียลที่กำลังมองหาพื้นที่ใหม่ ล่าสุด Tumblr โพสต์ถึงแนวทางในอนาคตของแพลตฟอร์มในหัวข้อ Tumblr’s Core Product Strategy เป้าหมายเพื่อให้มีจำนวนผู้ใช้งานมากขึ้น
Tumblr บอกว่าปัญหาใหญ่ที่สุดของแพลตฟอร์มคือไม่ง่ายในการใช้งาน ที่ผ่านมา Tumblr เปิดให้ผู้ใช้งานปรับแต่งฟีดให้ตรงกับความต้องการตนเองมากที่สุด แต่นั่นกลับเป็นปัญหาเพราะมีผู้ใช้จำนวนน้อยมากที่เข้าใจและทำ ซึ่ง Tumblr ต้องลดช่องว่างของความยุ่งยากนี้
ประเด็นหลักที่ Tumblr ระบุว่าจะปรับปรุงคือ
Tumblr เพิ่มฟีเจอร์ไลฟ์สตรีม โดยเป็นการทำงานผ่านแพลตฟอร์มวิดีโอ Livebox เริ่มใช้งานได้แล้วผ่านแอป iOS และ Android เฉพาะผู้ใช้งานในอเมริกาก่อน โดยจะขยายไปทั่วโลก และใช้งานผ่านเดสก์ท็อปได้ในอนาคต
ที่ผ่านมา Tumblr รองรับการไลฟ์สด แต่เป็นรูปแบบให้แชร์มาจากแพลตฟอร์มอื่น ส่วนบริการตัวนี้เป็น native ของ Tumblr เอง ผู้ชมสามารถทิปให้กับครีเอเตอร์ได้ผ่านระบบเงินเสมือน Diamonds
ปัจจุบัน Tumblr เป็นบริษัทในเครือของ Automattic เจ้าของ Wordpress
ที่มา: The Verge
ดราม่าใน Twitter ทำให้บริการทางเลือก Mastodon ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นมาก แนวทางของ Mastodon เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้ใครก็ได้สามารถโฮสต์เซิร์ฟเวอร์เองได้ และเซิร์ฟเวอร์แต่ละแห่งสามารถสื่อสารข้ามกันได้ผ่าน โปรโตคอล ActivityPub ที่เป็นมาตรฐานกลางของ W3C
ปัญหาของ Mastodon คือการตั้งโฮสต์เองทำได้ยากสำหรับคนทั่วไป และตอนนี้ยังไม่มีโฮสต์กลางที่ได้รับความนิยม และมีสเกลใหญ่มากพอ แต่เรื่องนี้อาจถูกแก้ไขเมื่อ Tumblr โซเชียลชื่อดังอีกรายประกาศว่ากำลังรองรับ ActivityPub ในเร็วๆ นี้
Tumblr ประกาศขายเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าเพื่อแสดงตัวว่าเป็น "คนสำคัญ" (Important Blue Internet Checkmarks) โดยระบุว่าใช้ทำอะไรอย่างอื่นไม่ได้เลย นอกจากการแปะหลังชื่อตัวเองในระบบ Tumblr ให้ดูว่าสำคัญ ในราคา 7.99 ดอลลาร์ (แถมบอกด้วยว่าราคาถูกกว่า "ที่อื่น" นะ)
ถ้าแปะป้ายในโลกออนไลน์แล้วยังไม่พอใจ อยากเป็นคนสำคัญในโลกจริงๆ ด้วย Tumblr ยังขาย สติ๊กเกอร์ติ๊กถูกในราคา 3 ดอลลาร์ และ เข็มกลัดติ๊กถูกในราคา 6 ดอลลาร์ ด้วย
โซเชียลเน็ตเวิร์ค Tumblr ปรับนโยบายกลับมาอนุญาตให้โพสต์ภาพเปลือยอีกครั้ง หลังยกเลิกไปเมื่อปี 2018
แนวทางใหม่ของ Tumblr คือสนับสนุนการเผยแพร่งานศิลปะ แต่การตัดสินว่างานประเภทใด "เหมาะสม" เป็นเรื่องยาก จึงพัฒนาฟีเจอร์ชื่อ Community Labels ให้ผู้โพสต์และชุมชนผู้ใช้งานสามารถแปะป้ายแยกประเภทของเนื้อหาได้ (เช่น โป๊เปลือย รุนแรง เล่าประสบการณ์ติดเหล้าหรือยาเสพติด) ฝั่งของผู้ใช้เองสามารถตั้งค่าแสดงผลเนื้อหาตามความต้องการได้หลายระดับ เช่น ไม่แสดงเลย หรือเบลอภาพเอาไว้
Tumblr ประกาศเพิ่มทางเลือก ให้ใช้งานได้แบบไม่มีการแสดงโฆษณาทั้งบนเดสก์ท็อปและแอปมือถือ นั่นคือการจ่ายเงินที่ราคา 4.99 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือจ่ายเป็นรายปีก็จะมีส่วนลดเพิ่มเติม โดยอยู่ที่ 39.99 ดอลลาร์ต่อปี
จุดขายดั้งเดิมของ Tumblr ที่ผู้ก่อตั้ง David Karp เคยบอกคือการไม่แสดงโฆษณา แต่ Tumblr ก็ตัดสินใจให้มีโฆษณาเล็ก ๆ ในส่วน Tumblr Radar ตั้งแต่ปี 2012 เพื่อเป็นช่องทางหารายได้
ข่าวเซอร์ไพร์สของวงการไอทีในช่วงนี้คือ Automattic เจ้าของ Wordpress ซื้อกิจการ Tumblr ต่อจาก Verizon ถือว่าเป็นเรื่องน่าแปลกใจพอสมควร
Matt Mullenweg ผู้ก่อตั้ง WordPress และซีอีโอของ Automattic จึงให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้กับ The Verge
เบื้องหลังการซื้อกิจการ
Automattic เจ้าของ Wordpress ได้ตกลงที่จะซื้อกิจการทั้งหมดของ Tumblr ต่อจาก Verizon เจ้าของปัจจุบัน ทั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าของดีล แต่ข้อมูลจากหลายสื่อบอกว่า มูลค่าที่ตกลงซื้อขายกันนั้นน้อยกว่า 10-20 ล้านดอลลาร์
Yahoo! ซื้อกิจการ Tumblr เมื่อปี 2013 ด้วยมูลค่าที่สูงถึง 1,100 ล้านดอลลาร์ ต่อมาเมื่อ Yahoo! ขายกิจการ ให้ Verizon ทำให้ Tumblr เปลี่ยนเจ้าของมาเป็น Verizon ด้วยนั่นเอง
พาดหัวข่าวอาจดูเกินจริง แต่นี่เป็นข่าวจริงนะครับ
Corey Price ผู้บริหารของเว็บโป๊ชื่อดัง Pornhub ให้สัมภาษณ์ว่าสนใจซื้อกิจการ Tumblr บริการโซเชียลที่เคยมีชื่อเสียงเรื่องภาพโป๊เปลือย แต่ แบนเนื้อหาเหล่านี้ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว และ ส่งผลให้ทราฟฟิกตกลงมาก
Price ยืนยันว่าสนใจซื้อ Tumblr เพื่อกู้คืนนโยบายภาพโป๊กลับคืนมา เขาบอกว่า Tumblr เคยเป็นพื้นที่ของผู้ใช้ที่ต้องการแสดงออกทางเพศ หรือความบันเทิงสำหรับผู้ใหญ่ การที่ Tumblr ยกเลิกนโยบายนี้ไปทำให้คนเหล่านี้ไม่มีพื้นที่แสดงออกของตัวเอง
ข้อมูลจากบริษัทวิเคราะห์เว็บไซต์ SimilarWeb ชี้ว่า ตั้งแต่ Tumblr แบนเนื้อหาอนาจารทั้งหมด ทราฟิกเข้าเว็บก็หายไปถึง 100 ล้านวิวภายใน 1 เดือนหลังจากมีการแบน
จากข้อมูลของ SimilarWeb ย้อนไปในเดือนธันวาคม 2018 ตอนที่ยังไม่แบนเนื้อหาผู้ใหญ่ พบว่ามียอดเข้าชมเว็บ 521 ล้านวิว หลังจากนั้นยอดเข้าชมก็หายไปเหลือ 437 ล้าน และก่อนจะมีการแบนเกิดขึ้น Tumblr ถูกถอนจาก App Store เพราะเนื้อหาอนาจารเด็ก ซึ่ง Tumblr ก็เคยออกมาพูดว่าจะไม่ทนกับเรื่องภาพอนาจารเด็ก และจะดำเนินการแก้ไขปัญหา ผลก็คือ Tumblr เลือกแบนเนื้อหาผู้ใหญ่ออกไปด้วย
จากกรณีเมื่อไม่นานนี้ที่ทาง Tumblr ทั้งถูกถอนออกจาก App Store และไล่ลบบล็อกของผู้ใช้ไปหลายรายโดยไม่บอกกล่าว ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา จนมาในวันนี้ ในหน้าช่วยเหลือได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎเกี่ยวกับ "เนื้อหาอนาจาร" มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2561
โดยในเนื้อหาที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้นได้บอกอย่างชัดเจนว่า ไม่สามารถโพสต์เนื้อหาอนาจารตั้งแต่รูปภาพ, วิดีโอ หรือ ภาพเคลื่อนไหว (GIF) ที่เห็นอวัยวะเพศ หรือการเห็นหัวนมของผู้หญิง รวมไปถึงภาพวาดที่แสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์ในท่าทางต่างๆ (Sex act) แต่ก็จะมีเนื้อหา บางประเภทที่ยังสามารถอยู่บนแพลตฟอร์มได้ตามหลักที่ทางบริษัทกำหนดขึ้น โดยมีกำหนดไว้ดังนี้
อันเนื่องมาจากมีสองข่าวที่คาดว่าเกี่ยวข้องกันเลยขออนุญาตรวมอยู่ในข่าวเดียวกันครับ
Tumblr ถูกถอนออกจาก App Store เพราะมีเนื้อหาอนาจารเด็ก
แอพ Tumblr ถูกถอนออกจาก App Store บน iOS ไปตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา โดยทาง Tumblr ได้ออกมายืนยันผ่านเว็บไซต์ของตนเองแล้ว สาเหตุเกิดมาจากมีผู้ใช้โพสต์ที่เนื้อหาเนื้อหาอนาจารเด็ก
Tumblr เครือข่ายสังคมแบบบล็อกขนาดสั้นได้ออกรายงานยืนยันว่า เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา ทางบริษัทพบบัญชี 84 บัญชีที่มีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลรัสเซีย ผ่าน Internet Research Agency หรือ IRA โดยบัญชีเหล่านี้ถูกใช้เพื่อทำแคมเปญข่าวปลอมในช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2016 ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบแล้ว Tumblr ได้ลบโพสต์และสั่งปิดบัญชีเหล่านี้พร้อมกับทำการสอบสวน และตอนนี้กระบวนการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว Tumblr จึงนำข้อมูลมาเปิดเผยให้ผู้ใช้ทราบ
David Karp ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Tumblr และ ขายกิจการให้ Yahoo ในปี 2013 ในราคา 1 พันล้านดอลลาร์ ประกาศลาออกจากบริษัทแล้ว
Karp บอกว่าเขาอยู่กับบริษัทมา 11 ปี และตัดสินใจว่าจะอยู่ปีนี้เป็นปีสุดท้าย เขาภูมิใจกับสิ่งที่สร้างขึ้นมา และมั่นใจว่าทีมงานที่เหลือจะรับช่วงดูแลต่อได้อย่างดี เขายังไม่ได้ประกาศว่าจะไปทำอะไรต่อจากนี้
Karp ก่อตั้ง Tumblr ในปี 2006 (เปิดบริการจริงในปี 2007) ตอนนั้นเขาอายุ 20 ปี
ที่มา - David's Log , ภาพจาก David's Log
Tumblr ประกาศเปิดระบบโฆษณาบนบล็อกทุกอันบนเว็บไซต์ โดยมีผลวันนี้ (พฤหัสที่ 28) ตามเวลาสหรัฐ แต่ขณะที่เขียนข่าวยังไม่พบโฆษณา
โฆษณาจะถูกเปิดเป็นค่าดีฟอลต์ แต่ผู้ใช้สามารถปิดได้จากหน้าจอตั้งค่า และในอนาคต Tumblr จะออกโครงการพาร์ทเนอร์ แบ่งปันรายได้จากโฆษณาระหว่างบริษัทกับเจ้าของบล็อกด้วย
ที่มา - Tumblr
- Read more about Tumblr จะแสดงโฆษณาสำหรับบล็อกทุกอันในระบบ, เลือกปิดเองได้
- Log in or register to post comments
ในยุคที่ผู้ให้บริการต่างก็มีถ่ายทอดสดเป็นของตัวเอง เช่น Facebook มี Facebook Live, Twitter มี Periscope, YouTube มี YouTube Live, Amazon มี Twitch ตอนนี้ทาง Tumblr เตรียมเปิดตัวบริการถ่ายทอดสดใหม่ของตัวเองในวันพรุ่งนี้แล้วเช่นกัน ซึ่งตอนนี้ได้เปิดหน้า livevideo.tumblr.com ไว้รอแล้ว
ในบล็อก Live Video ของ Tumblr นั้นมีการเผยตารางของการเปิดตัวฟีเจอร์ถ่ายทอดสดในวันนี้ เช่น ถ่ายทอดสดจากดาวอังคาร, ช่วงถามตอบกับ Adam J. Kurtz, เรียนรู้บาสเกตบอลจาก Harlem Globetrotter และอื่น ๆ
- Read more about Tumblr เตรียมเปิดตัวฟีเจอร์ถ่ายทอดสดวันนี้
- 8 comments
- Log in or register to post comments
Tumblr ประกาศเปิดตัวโปรแกรม Tumblr Labs ซึ่งเป็นโครงการทีเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ที่สนใจ ได้ทดลองใช้ฟีเจอร์ใหม่บนเว็บ ก่อนที่จะเปิดให้ใช้งานทั่วไป โดยผุ้ใช้ที่สมัครเข้าโครงการ Tumblr Labs จะสามารถเปิดหรือปิดฟีเจอร์ใหม่ที่ถูกปล่อยออกมาให้ทดลองใช้ได้โดยอิสระ
ฟีเจอร์ใหม่ 4 ฟีเจอร์ที่มาพร้อมกับการเปิดตัว Tumblr Labs คือ Themed Posts, Reblog Graphs, Queue+ และ Inside Tumblrs ซึ่งทาง Tumblr ได้แจ้งเตือนผู้ใช้ด้วยว่า เป็นเพียงฟีเจอร์ทดลอง และผู้ใช้อาจเจอบั๊คหรืออาจใช้งานฟีเจอร์นั้นไม่ได้ในบางครั้ง
ที่มา - TechCrunch
Tumblr บล็อกขนาดสั้นและเครือข่ายสังคมที่โด่งดังอย่างเงียบๆ ในช่วงหลัง บุกเข้าตลาด Instant Messenger อีกราย โดยเพิ่มระบบ Messaging ให้สมาชิกสามารถแชทคุยกันได้โดยตรงแล้ว
Tumblr จะทยอยอัพเดตเพิ่มความสามารถแชทให้เว็บและแอพบน iOS/Android กับสมาชิกทีละกลุ่ม และต้องใช้เวลาสักระยะกว่าจะครอบคลุมสมาชิกทั้งหมด คนที่ได้อัพเดตแล้วจะเห็นไอคอนแชทหน้ายิ้มโผล่เข้ามาบนหน้าจอ
ผู้ใช้งาน Tumblr ทุกรายสามารถแชทหากันได้หมด (ยกเว้นกลุ่มที่ตั้งค่า private) ถ้าไม่ต้องการรับข้อความแชท สามารถตั้งค่าปิดได้
ที่มา - Tumblr
- Read more about Tumblr เพิ่มระบบแชทภายในหมู่สมาชิก
- 2 comments
- Log in or register to post comments
อาจเรียกได้ว่าเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการเสื่อมความนิยมในการทำเว็บไซต์แบรนด์ดอทคอม หลังจาก Nescafé แบรนด์กาแฟในเครือ Nestlé ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก ประกาศเลิกทำเว็บไซต์ของตัวเอง และหันไปใช้บริการแพลตฟอร์มไมโครบล็อกอย่าง Tumblr แทน
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ต่อเนื่องมาจากการรีแบรนด์เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งทาง Michael Chrisment หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Nescafé ออกมาให้ความเห็นว่าการทำเว็บไซต์แบรนด์ดอทคอมแบบเดิมๆ นั้น เป็นภาพสะท้อนของการพูดคุยกับลูกค้าในแบบที่ผ่านมา การเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่จะช่วยให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และสร้างความสัมพันธ์ได้แนบแน่นกว่าเดิม ทั้งฐานลูกค้าปัจจุบัน และเข้าถึงลูกค้าวัยรุ่นได้ดีขึ้น
จากเมื่อปลายปีที่แล้ว ทาง Instagram ได้ออกมา ประกาศจำนวนตัวเลขผู้ใช้งานที่ 300 ล้านคน ซึ่งแซงหน้า Twitter ที่ ไตรมาสก่อนหน้า ไปเล็กน้อย แต่เมื่อค้นพบภายหลังว่ามีบัญชีปลอมและสแปม และ เดินหน้าไล่ลบบัญชีเหล่านั้น ก็คงมีคำถามกันไม่มากก็น้อยว่าแล้วบัญชีที่เหลืออยู่มีจำนวนเท่าไหร่? และยังคงแซงหน้า Twitter เหมือนที่เคยประกาศไว้หรือไม่?
Tumblr บริการเขียนบล็อกออนไลน์อย่างสั้นที่วัยรุ่นนิยมใช้ อัพเดตใหม่พร้อมกับเพิ่มระบบจัดการบทความ (word editor) แบบใหม่ที่ใช้งานได้ง่ายกว่าเดิมมาก
ระบบใหม่ของ Tumblr ที่เพิ่งเปิดตัวนี้จะคล้ายกับของ Medium ที่เป็นบริการเขียนบล็อกเช่นกัน (แต่จะเป็นงานเขียนที่หนักกว่า) ตั้งแต่อินเทอร์เฟซสำหรับแต่งฟอร์แมตที่ถูกทำให้สามารถใช้ได้ในหน้าแรก เมื่อลากเมาส์ครอบตัวประโยคก็จะมีเครื่องมือขึ้นมาให้เลือก (ภาพดูได้ท้ายข่าว) ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นโพสต์ของตัวเองได้ตั้งแต่ตอนกำลังเขียน และยังมีปุ่ม + ที่จะโผล่ขึ้นมาเมื่อขึ้นบรรทัดใหม่เพื่อให้สามารถใส่ภาพ-วิดีโอได้ทันที (ซึ่งก็คล้ายกับ Medium อีกแล้ว)
สำหรับฝั่งแอพที่อัพเดตมาพร้อมกับ ผู้ใช้สามารถรับแจ้งเตือนข้อความจากแฟนๆ ได้โดยตรงจากในแอพแล้ว