Unicode Consortium ประกาศร่างมาตรฐาน Emoji 17.0 ซึ่งจะมีผลในการใช้งานกับอุปกรณ์และแพลตฟอร์มตั้งแต่ปลายปี 2025 ถึงต้นปี 2026 ขึ้นอยู่กับการนำไปเริ่มใช้งาน และดีไซน์เพิ่มเติมของแต่ละค่าย
อีโมจิใหม่ที่เพิ่มมาใน Emoji 17.0 มีทั้งหมด 9 รายการ ได้แก่
- ใบหน้าที่บวมปูด (Distorted Face)
- ก้อนเมฆตะลุมบอน (Fight Cloud)
- แกนแอปเปิล (Apple Core)
Unicode Consortium เปิดเผยร่างมาตรฐานของอีโมจิ Emoji 16.0 ซึ่งยังมีสถานะเป็นเบต้า จึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต โดยตามกำหนดเวลาปกติ Emoji 16 จะเริ่มมีผลใช้งานปลายปี 2024 หรือต้นปี 2025 เป็นต้นไป
อีโมจิที่เพิ่มมาในรอบนี้มีทั้งหมด 7 รายการ ได้แก่ ใบหน้าง่วงที่มีถุงใต้ตา, ลายนิ้วมือ, ต้นไม้ที่ใบไม้ร่วง, บีทรูท, ฮาร์ป, พลั่ว และน้ำสาดกระจาย
รายการอีโมจิใหม่นี้ รวมทั้งตัวอักขระที่อยู่ในรอบนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนพิจารณาจนถึง 2 กรกฎาคม และ Unicode Consortium จะประกาศรายละเอียด Unicode 16 เพื่อกำหนดใช้งานต่อไป
ที่มา: MacRumors
Unicode Consortium ประกาศว่า ร่างมาตรฐาน Emoji 15.1 ผ่านการอนุมัติอย่างเป็นทางการแล้ว โดยจะมีอีโมจิใหม่ 118 รายการ เริ่มใช้งานได้ผ่านอุปกรณ์และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป
รายการอีโมจิที่เพิ่มมานี้ แบ่งเป็นของใหม่ 6 อย่าง ได้แก่ นกฟีนิกซ์, มะนาวสีเขียว (Lime), เห็ดสีน้ำตาล, โซ่ขาด, ส่ายหน้า, พยักหน้า เพิ่มอีโมจิครอบครัวใหม่ 4 รายการ ที่ไม่ระบุเพศคือ ผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่-เด็ก, ผู้ใหญ่-เด็ก-เด็ก, ผู้ใหญ่-เด็ก และ ผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่-เด็ก-เด็ก
Unicode Consortium ประกาศร่างมาตรฐาน Emoji 15.1 ซึ่งจะอนุมัติในขั้นตอนสุดท้ายเดือนกันยายนปีนี้ แล้วเริ่มมีผลใช้งานกับอุปกรณ์-แพลตฟอร์ม ตั้งแต่ปลายปี 2023 ถึงต้นปี 2024 ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มอาจออกแบบอีโมจิในแบบที่แตกต่างกัน แต่อิงคำแนะนำพื้นฐานเพื่อป้องกันความสับสน
อีโมจิใหม่ที่เพิ่มมาใน Emoji 15.1 ปีนี้ ได้แก่ ส่ายหน้า, พยักหน้า, นกฟีนิกซ์, มะนาวสีเขียว, เห็ดสีน้ำตาล, โซ่ขาด นอกจากนี้ยังเพิ่มอีโมจิครอบครัว ซึ่งแยกเป็นหลายรูปแบบไม่ระบุเพศได้แก่ ผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่-เด็ก, ผู้ใหญ่-เด็ก-เด็ก, ผู้ใหญ่-เด็ก และ ผู้ใหญ่-ผู้ใหญ่-เด็ก-เด็ก
Unicode Consortium ประกาศ ร่างมาตรฐาน Emoji 15.0 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้เป็นทางการช่วงปลายปี 2022 ถึงต้น 2023 มีอีโมจิเพิ่มมาอีก 31 รายการ ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ
รูปแบบอีโมจิจะแตกต่างกันไปตามแต่แพลตฟอร์มนั้นออกแบบ โดย Emojipedia ได้นำเสนอแบบร่างของอีโมจิใหม่ไว้ ดูได้จากรูปตัวอย่างด้านล่าง
ของใหม่ใน Emoji 15.0 ได้แก่ ใบหน้าส่าย, หัวใจสีเทา, หัวใจสีฟ้า, หัวใจสีชมพูอ่อน, ลา, แมงกะพรุน, กวางมูส, ปีก, ขิง, ดอกไฮยาซินธ์, ถั่วลันเตา, พัดพับ, มาราคัส, ฟลูต, หวีแบบแอโฟร, ขัณฑา สัญลักษณ์ของศาสนาซิกข์, สัญลักษณ์ Wi-Fi, มือผลักด้านซ้ายและขวา
ที่มา: Emojipedia
Oracle ออก Java 18 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน โดยเวอร์ชันนี้ไม่ได้ เป็น LTS เหมือนกับ Java 17 ที่มีระยะซัพพอร์ตนาน 8 ปี ส่วน LTS ตัวหน้าคือ Java 21 ที่จะออกในเดือนกันยายน 2023
ของใหม่ใน Java 18 ได้แก่
- Read more about Java 18 ออกแล้ว เปลี่ยนมาใช้ UTF-8 เป็นดีฟอลต์
- 13 comments
- Log in or register to post comments
Unicode Consortium หน่วยงานที่รับรองมาตรฐานการออกอีโมจิ รายงานสถิติอีโมจิยอดนิยมของปี 2021 โดยใบหน้าดีใจพร้อมน้ำตาไหล หรือ tears of joy (?) เป็นอีโมจิที่คนนิยมส่งหากันมากที่สุด ตามด้วยหัวใจสีแดง (❤️) อยู่ในอันดับที่ 2
ข้อมูลน่าสนใจจากการจัดอันดับนี้พบว่าอีโมจิยอดนิยมใน 10 อันดับแรกนั้น ของปี 2021 เทียบกับปี 2019 ซึ่งมีการจัดอันดับเช่นกัน คล้ายกันมาก โดยมีอีโมจิที่ต่างกันเพียง 1 รายการ รวมทั้งอันดับ 1-2 ก็เหมือนเดิม เมื่อจัดกลุ่มดูว่าอีโมจิประเภทไหนที่คนนิยมส่ง พบว่าใบหน้ายิ้มในแบบต่าง ๆ เป็นกลุ่มอีโมจิที่คนส่งหากันมากที่สุด ตามด้วยหัวใจในรูปแบบต่าง ๆ และกลุ่มใบหน้าที่แสดงความกังวล
ดูรายละเอียดอันดับอีโมจิยอดนิยมแบบแยกรายหมวดได้จากที่มา
เมื่อกลางปีที่ผ่านมามีรายงานการโจมตี CVE-2021-42574 ที่อาศัยอักขระ Unicode สำหรับการพิมพ์จากขวาไปซ้าย ทำให้ตัวแก้ไขโค้ดแสดงอักขระกลับข้างเปิดทางให้คนร้ายอาจจะซ่อนโค้ดเอาไว้ภายในซอร์สโค้ดเอง โดยที่โปรแกรมเมอร์มองไม่เห็นซอร์สโค้ดนั้น
ปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาของภาษาโปรแกรมมิ่งโดยตรง แต่วันนี้ทาง Rust ก็ออกมาประกาศว่าจะป้องกันปัญหานี้ด้วยการเพิ่มกฎตรวจสอบโค้ด (lint) เข้าไปใน rustc ทำให้โค้ดที่มีอักขระ Unicode เหล่านี้คอมไพล์ไม่ผ่าน หากต้องการใช้งานจริงๆ ต้อง escape ตัวอักขระเสียก่อน
Unicode Consortium ซึ่งเป็นกลุ่มที่รับรองการออกอีโมจิใหม่ ประกาศว่า Emoji เวอร์ชัน 14 จะเลื่อนการรับรองจากกำหนดเดิมออกไปอีก 6 เดือน เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19
โดย Unicode 14.0 จะประกาศรับรอง จากเดิมมีนาคม 2021 ออกไปเป็น กันยายน 2021 ทั้งนี้การประกาศเลื่อนดังกล่าวไม่มีผลกับ Emoji 13.0 ที่รับรองไปก่อนหน้านี้ โดยระบบปฏิบัติการหลักจะเริ่มใช้กันช่วงปลายปีตามเดิม
ผลดังกล่าว น่าจะทำให้ในปี 2021 อาจไม่มี Emoji ใหม่ออกมาให้ใช้งาน เนื่องจากหลังประกาศรับรองแล้ว ฝั่งผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ จะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อเพิ่มชุดอีโมจิเข้าไป
- Read more about Unicode เลื่อนการประกาศ Emoji 14.0 ออกไปอีก 6 เดือน
- Log in or register to post comments
Unicode Consortium กลุ่มที่รับรองการออกอีโมจิ ประกาศอีโมจิชุดใหม่ของปี 2020 เรียกว่า Emoji 13.0 ประกอบด้วยอีโมจิใหม่ 62 ตัว และอีก 55 อีโมจิที่มีการแบ่งเพศและสีผิว
ตัวอย่างอีโมจิใหม่ในครั้งนี้ เช่น นินจา, คนกอดกัน, แมวดำ, ไบซัน, แมมมอธ, หมีขาว, แมวน้ำ, เต่าทอง, แมลงสาบ, หนอน, ก้อนหิน, ไม้, ไม้เสกคาถา, เข็มเย็บผ้า, บันได, แอกคอร์เดียน ฯลฯ
สำหรับอีโมจิอาหารที่เพิ่มเข้ามา ก็ตามกระแส ได้แก่ บลูเบอร์รี่, มะกอกออลิฟ, พริกหยวก, แฟลตเบรด, ทามาเล่, ฟองดู และชาไข่มุก
อีโมจิชุดใหม่นี้ คาดว่าจะเริ่มมีผลในระบบปฏิบัติการหลักช่วงครึ่งหลังของปี 2020
Unicode Consortium กลุ่มที่ให้การรับรองว่าจะสามารถใช้อีโมจิชุดไหนออกไปในอุปกรณ์ต่างๆ ได้ออกอีโมจิชุดใหม่ของปี 2019 กว่า 50 ตัว โดยธีมปีนี้ที่ชัดเจนคือความครอบคลุมโดยเฉพาะผู้พิการ มีเพิ่มอีโมจิผู้พิการทางหู นั่งวีลแชร์ พิการทางสายตา แขนเทียมขาเทียม เป็นต้น
ด้านอาหารมีเพิ่มวาฟเฟิล กระเทียม หอมใหญ่ หอยนางรม เป็นต้น อีโมจิสัตว์มีสลอต ตัวนาก อุรังอุตัง ส่วนอีโมจิคนมีท่าทางคุกเข่า และคนที่ยืนคู่กันก็สามารถคละสีผิวได้แล้ว ส่วนอีโมจิสถานที่มีวัดฮินดู วงแหวนดาวเสาร์ และเมื่อรวมจำนวนทั้งหมด แยกตามเพศและสีผิว เราจะมีอีโมจิใหม่ใช้ถึง 230 รูป โดยเริ่มมีผลใช้ 5 มีนาคม 2019
Apple ได้เสนอต่อ Unicode Consortium ให้เพิ่มภาพอีโมจิที่สื่อความหมายเกี่ยวกับผู้พิการและทุพพลภาพ จำนวน 13 ภาพ
Apple บอกว่านี่ไม่ใช่ภาพอีโมจิทั้งหมดที่แทนตัวตนของผู้พิการและทุพพลภาพได้ทุกประเภท แต่อยากให้นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการให้ความสำคัญของบุคคลเหล่านี้ท่ามกลางการสื่อสารบนโลกออนไลน์
มาตรฐาน Unicode 11.0 ได้ถูก ประกาศออกมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ โดยเพิ่มอีโมจิ 157 แบบ แต่ก็มีข้อทักท้วงจากผู้เกี่ยวข้องหลายอย่าง Unicode Consortium จึงประกาศการแก้ไขอีโมจิบางตัวดังนี้
- ล็อบสเตอร์- แก้ไขจากเดิมมี 8 ขา เป็น 10 ขา (รวมก้าม)
- สเก็ตบอร์ด- ปรับรูปแบบให้เหมือนกับสเก็ตบอร์ดในยุคปัจจุบันมากขึ้น
- ดีเอ็นเอเกลียวคู่- ปรับมุมมองจากเกลียวบิดด้านซ้ายเป็นด้านขวา
Unicode ประกาศอัพเดตตารางเวอร์ชั่น 11 เพิ่มอีโมจิอีก 157 แบบ โดยครึ่งหนึ่งเป็นรูปหน้าคน 77 แบบ
ใบหน้ายิ้ม (smiley) ที่น่าจะได้ใช้บ่อยๆ คงเป็นหน้ายิ้มพร้อมหัวใจสามดวง เป็นรูปแบบเดียวกับสติกเกอร์ในเฟซบุ๊กและบริการอื่นๆ ในจีน
ส่วนใบหน้าแบบอื่นๆ ยังมีเพิ่มเติมใบหน้าคนพร้อมลักษณะผม เช่น ผมหยิก, ผมขาว, และหัวล้าน ทั้งหมดมีแยกเพศและสีผิวทำให้จำนวนรวมมีจำนวนมาก
รูปภาพอื่นๆ ที่เพิ่มมา เช่น มะม่วง, นกแก้ว, ขนมไหว้พระจันทร์, ซองอั่งเปา
Unicode Emoji หยุดการรับอักษรในเวอร์ชั่น 11 แล้วและเปิดรับข้อเสนอสำหรับเวอร์ชั่นต่อไป แต่โครงการ Unicode หลักยังคงไม่เสร็จสิ้น และน่าจะเสร็จได้ในกลางปีนี้
Unicode Consortium ประกาศรายละเอียดของมาตรฐาน Unicode เวอร์ชัน 11.0 Beta ส่วนของอีโมจิ ซึ่งจะมีผลในปีหน้า โดยมีทั้งอีโมจิใหม่ที่เพิ่มมา และคุณสมบัติเพิ่มเติม
โดยอีโมจิที่อยู่ในขั้นตอนเสนอเพิ่มเติม อาทิ ซอฟต์บอล, คัพเค้ก, คนผมสีแดง, เบเกิล, จิงโจ้, ตุ๊กตาหมีเท็ดดี้, มะม่วง, หน้าปาร์ตี้ ฯลฯ
ข้อเสนอของ Unicode ที่น่าสนใจคือการเพิ่มคุณสมบัติ ให้สามารถเลือกอีโมจิที่หันไปทางหรือขวาได้เอง จากเดิมผู้ผลิตจะบังคับรูปแบบไปทางใดทางหนึ่ง โดยผู้ผลิตต้องให้การสนับสนุนแนวทางนี้จึงจะมีการนำไปใช้งาน
Unicode 11.0 เวอร์ชันสุดท้ายคาดว่าจะประกาศได้ในครึ่งหลังปี 2018
ที่มา: Emojipedia
มาตรฐาน Unicode เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 10.0 แล้ว มีอีโมจิเพิ่มเข้ามาใหม่ 56 ตัว หนึ่งในนั้นคือสัญลักษณ์ Bitcoin และสัญลักษณ์อื่นๆ รวมกันกว่า 8,518 ตัว ทำให้ตอนนี้ Unicode มีสัญลักษณ์และอีโมจิแล้วทั้งหมด 136,690 ตัว
จากที่ในเวอร์ชัน 9.0 Unicode เริ่มเพิ่มสัญลักษณ์และภาษาที่มีคนใช้น้อย เวอร์ชันนี้ยังคงแนวทางเดิมด้วยการเพิ่มภาษา Gondi ในอินเดียตอนกลางและตะวันออกเฉียงใต้, Nüshu ภาษาโบราณในจีนที่ถูกใช้สำหรับการเขียนกวีโดยผู้หญิง ถูกใช้มาจนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 20, ภาษา Soyombo และ Zanabazar Square ภาษามองโกล และนำไปเขียนภาษาทิเบตและสันสกฤตได้ด้วย
Unicode 10.0 เป็นเวอร์ชันแรกที่ออกมาตรฐานพร้อมๆ กับออกโค้ดให้ผู้ผลิตนำไปใช้งาน
Unicode องค์กรที่อยู่เบื้องหลังการสร้างอีโมจิบนแพลตฟอร์มต่างๆ กำลังเดินหน้าเพื่อความหลากหลายของมนุษย์ ล่าสุดเตรียมทำอีโมจิเป็นผู้หญิงใส่ผ้าคลุมฮิจาบ
ก่อนหน้านี้ Google เคยเสนอให้ทำอีโมจิผู้หญิงในอาชีพต่างๆ และในเอกสารของ Unicode 10.0 ก็มีสัญญาณว่าหนึ่งในอีโมจิชุดถัดไปจะมีผู้หญิงใส่ฮิจาบรวมถึงอีโมจิให้นมลูกเพิ่มเข้ามาด้วย
- Read more about Unicode เตรียมออกอีโมจิใหม่ เป็นสตรีใส่ผ้าคลุมฮิจาบ
- 3 comments
- Log in or register to post comments
มาตรฐาน Unicode 9.0 ออกอย่างเป็นทางการแล้ว โดยทาง Unicode Consortium ได้เพิ่มตัวอักษรเข้ามาใหม่อีก 7,500 ตัวอักษร อีโมจิอีก 72 ตัวที่ประกาศ รับรองไปก่อนหน้านี้ และสัญลักษณ์ใหม่อีก 19 ตัวสำหรับมาตรฐานทีวี 4K
การเปลี่ยนแปลงใน Unicode 9.0 เกี่ยวข้องกับภาษาที่คนใช้น้อยเป็นหลักอย่างการรองรับภาษา Osage ของชนพื้นเมืองอเมริกัน (อินเดียนแดง), ภาษาเนปาล, ภาษาเฉพาะกลุ่มสวาฮิลีในโซมาเลียและภาษาอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา, ภาษาอาหรับที่ใช้ในแอฟริกาเหนือและตะวันตก และภาษา Tangut ซึ่งเป็นภาษาโบราณของชนพื้นเมืองในจีน ซึ่งยังคงพบเห็นได้ตามพงศาวดารหรือบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีน
- Read more about Unicode Consortium ออกมาตรฐาน Unicode 9.0 แล้ว
- 2 comments
- Log in or register to post comments
Unicode Consortium ได้ออกสเปคของมาตรฐาน Unicode 9.0 ซึ่งเตรียมจะประกาศใช้จริงใน 21 มิถุนายนนี้ ตอนนี้มีอีโมจิที่ Apple และ Microsoft คัดค้านการบรรจุลงในมาตรฐานใหม่นี้ คือรูปปืนไรเฟิล
จากรายงานของ Buzzfeed เผยว่า Apple ได้เริ่มพูดถึงการถอดอีโมจิรูปปืนไรเฟิลออก โดยบอกว่า Apple จะไม่รองรับปืนไรเฟิลบนแพลตฟอร์มตัวเอง และบอกให้ Unicode ไม่ให้ทำเป็นอีโมจิซึ่ง Microsoft ก็เห็นด้วย ซึ่งแหล่งข่าวบอกว่าในที่ประชุมนั้นไม่ได้มีการโต้เถียงกันแต่อย่างใด และนอกจากรูปไรเฟิลแล้ว ก็ยังมีอีโมจิอีกตัวที่มีโอกาสจะถูก Unicode ตัดออกก็คือรูป modern pentathlon ที่เป็นรูปผู้ชายยิงปืนพก
กลุ่ม Unicode Consotrium ประกาศรับรองอีโมจิใหม่อีก 72 ตัว โดยจะเพิ่มเข้าสู่มาตรฐาน Unicode 9.0 ที่จะออกในช่วงปลายเดือนนี้ โดยหนึ่งในอีโมจิที่เพิ่มเข้ามา นำมาจากคำแสลงบนอินเทอร์เน็ตอย่าง ROFL (Rolling on the Floor Laughing) หรือแม้แต่สัญลักษณ์อย่าง ¯_(ツ)_/¯ ที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน
อีโมจิอื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาอย่างเช่น หน้าพินอกคิโอ (จมูกยาว) อาเจียน แม้แต่ภาษามืออย่างไขว้นิ้ว จับมือ หรือ facepalm กลุ่มสัตว์อย่างเช่นกอริลลา แรด จิ้งจก กลุ่มอาหารก็มีครัวซอง ขนมปัง เบคอน ไข่ ฯลฯ
ดูภาพอีโมจิใหม่ได้ ที่นี่ ครับ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา BlackBerry ประกาศว่าเตรียมที่จะเพิ่ม emoji ตัวใหม่จากมาตรฐาน Unicode ให้กับ BBM หลังจากที่ Unicode อนุมัติให้ emoji ตัวนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
emoji ดังกล่าวเป็นตัวทำหน้าไม่เห็นด้วยและแปลกใจเล็กน้อย ซึ่งคิ้วด้านขวาจะโก่งขึ้นมา ขณะที่ด้านซ้ายจะกดลงไป โดย emoji ตัวนี้ได้ชื่อเล่นว่า Colbert emoji ที่ตั้งชื่อตาม Stephen Colbert พิธีกรรายการ The Late Show with Stephen Colbert ทางช่อง CBS ของสหรัฐอเมริกา และอดีตผู้ดำเนินรายการ Colbert Report ซึ่งมักชอบทำหน้าตาแบบนี้
ทั้งนี้ emoji ตัวนี้น่าจะเข้าถึงแพลตฟอร์มอื่นภายในปี 2017 ตามรายงานที่ออกมาก่อนหน้านี้
สำรวจ emoji ในโทรศัพท์ สังเกตไหมว่า emoji รูปคนที่แสดงถึงอาชีพต่างๆอย่าง ตำรวจ วิศวกรก่อสร้าง มักเป็นสัญลักษณ์ผู้ชาย ในขณะที่ผู้หญิงจะมีเพียงเจ้าหญิง เจ้าสาวเท่านั้น ผู้พัฒนา Google บางกลุ่มรู้สึกไม่ปลื้ม จึงเสนอ emoji แบบ unicode แบบใหม่ 13 ตัวอย่าง ให้ผู้หญิงมีอาชีพหลากหลายขึ้น
13 emoji แบบใหม่นี้นำเสนอบุคคลในอาชีพต่างๆทั้งชายและหญิงตัวอย่างเช่น อาชีพที่เป็นที่รับรู้โดยทั่วกันอย่าง เทคโนโลยี การเกษตร หรือ rock star เป็นต้น ด้วยหวังว่าจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ผู้หญิง แต่ข้อเสนอนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทางทีมสนับสนุนคาดหวังเต็มที่ว่า emoji แบบใหม่นี้จะได้รับไฟเขียวให้เอาไปใช้
ที่มา - Engadget
มีบทความหนึ่งใน TIME เล่าถึงบุคคลผู้ให้กำเนิด Emoji หรือสัญลักษณ์แทนอารมณ์ที่สิงสถิตอยู่บนหน้าจอผู้ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทั่วโลก
เขาคนนี้ชื่อ Mark Davis จาก Google ที่เป็นประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง Unicode Consortium องค์กรกลางที่ดูแลเรื่องมาตรฐานอักขระดิจิทัลนานาชนิดที่เราอ่านอยู่บนจอ เหล่าสมาชิกมาจากองค์กรเทคโนโลยีชั้นนำ ซึ่งเขาเป็นคนจัดให้มีการโหวตเหล่า Emoji นี้ขึ้นมา และเขาคนนี้เองที่เป็นเจ้าของฉายา "Shadowy Emoji Overlord" ตาม เสื้อที่เขาใส่
บทสัมภาษณ์มียาวกว่านี้ ขอสรุปส่วนต้นกำเนิดของ Emoji ให้รับทราบกันครับ
Unicode พิจารณาอีโมจิใหม่ 38 ภาพเข้ามาตรฐาน Unicode 9.0 มีไอคอนเซลฟี่, facepalm, เป็ด, เบคอน, แตงกวา
กลุ่ม Unicode Consortium รับภาพอีโมจิ 38 ภาพเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณารวมไว้ในมาตรฐาน Unicode 9.0 ที่จะออกกลางปี 2016 โดยภาพหลายภาพเป็นภาพที่ได้รับความนิยมสูงในชุมชนออนไลน์อยู่แล้วจึงถูกเสนอเข้ามาในมาตรฐาน
ภาพที่เพิ่มเข้ามาที่ทั้งกลุ่มภาพไอคอนภาษามือ เช่น จับมือ, กำปั้น, โทรหา, เซลฟี่, หรือ facepalm ภาพกลุ่มท่าทาง เช่น คนเต้น, คนใส่สูท, หัวเราะจนนอนกับพื้น และภาพของกินอื่นๆ เช่น ครัวซอง, แตงกวา, เบคอน, มันฝรั่ง
ภาพทั้งหมดยังเป็นข้อเสนอและไม่ควรนำรหัสไปใช้งานจริง
ที่มา - Unicode Blog
Unicode กำลังพิจารณาข้อเสนอ Technical Report #51 ให้สามารถกำหนดสีผิวให้กับอีโมจิให้กับตัวอักษรอีโมจิที่เป็นรูปคน ทำให้ผิวของคนที่แสดงในอีโมจินั้นเปลี่ยนสีผิวไปได้ตามเชื้อชาติที่ต้องการสื่อถึง
ข้อเสนอยึดรูปแบบสีผิว 6 แบบตาม Fitzpatrick Skin Type แต่ในข้อเสนอจะรวมแบบที่หนึ่งและสองเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถกำหนดสีผิวของอีโมจิได้ 5 ระดับ
ข้อเสนอนี้หากผ่านและซอฟต์แวร์รองรับก็จะแก้ไขอีโมจิที่เป็นคนทั้งหมดให้เปลี่ยนสีผิวได้ รวมถึงหน้าซานต้าครอส, เทวดา, รูปคู่รัก นอกจากนี้ยังมีส่วนเสริมให้รองรับอีโมจิเพิ่มเติม เช่น มือ, เท้า, รอยจูบ ฯลฯ