กูเกิลออกมาโปรโมทให้ผู้ใช้ Windows 10 ที่จะหมดระยะซัพพอร์ตในเดือนตุลาคม 2025 เปลี่ยนมาใช้ ChromeOS Flex ที่สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งได้เองบนพีซี เพียงแค่เสียบ USB stick ก็รันได้เลย
กูเกิลบอกว่าตอนนี้ปี 2025 ChromeOS Flex ทำงานได้แล้วบนฮาร์ดแวร์กว่า 600 รุ่น (นับรวมทั้งพีซีและแมค รายชื่อ ) ส่วนการใช้งานในองค์กรก็สามารถบริหารจัดการได้ผ่านระบบ ChromeOS device management
ไมโครซอฟท์ยืนยันในหน้าเว็บชวนอัพเกรดเป็น Windows 11 ว่าแอพในตระกูล Microsoft Office ที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง Word, Excel, PowerPoint, Outlook (ปัจจุบันมีชื่อทางการว่า Microsoft 365 Apps) จะไม่รองรับ Windows 10 หลังสิ้นสุดระยะซัพพอร์ตในเดือนตุลาคม 2025 จำเป็นต้องอัพเกรดเป็น Windows 11 เท่านั้น
Lastly, Microsoft 365 Apps will no longer be supported after October 14, 2025, on Windows 10 devices. To use Microsoft 365 Applications on your device, you will need to upgrade to Windows 11.
ไมโครซอฟท์จะติดตั้ง New Outlook ให้กับผู้ใช้ Windows 10 และ Windows 11 โดยอัตโนมัติ หลัง Mail & Calendar หยุดซัพพอร์ตในช่วงสิ้นปี 2024
กรณีของ Windows 11 หลัง 23H2 เป็นต้นมา จะได้ New Outlook ติดตั้งมาให้อยู่แล้ว ส่วน Windows 10 จะเริ่มผนวกเข้ามาให้ในแพตช์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2025
ไมโครซอฟท์อธิบายชัดเจนว่า ไม่มีวิธีการบล็อคไม่ให้ New Outlook ติดตั้งอัตโนมัติ แต่ถ้าแอดมินองค์กรไม่ต้องการ สามารถถอนการติดตั้งได้ในภายหลังด้วยคำสั่ง Remove-AppxProvisionedPackage และต้องแก้ค่าใน registry ด้วย
Thorsten Urbanski ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยจาก ESET ให้สัมภาษณ์กับ Bleeping Computer ถึงประเด็น ปี 2025 เป็นปีแห่งการอัพเกรดพีซีเครื่องใหม่ใช้ Windows 11 ว่าการเปลี่ยนผ่านรอบนี้จะยากกว่าตอนอัพเกรดจาก Windows 7 เป็น Windows 10
เหตุผลเป็นเพราะตอนนี้ยังมีพีซีที่ใช้ Windows 10 เป็นสัดส่วนที่สูงมาก สถิติของ ESET จากพีซีในประเทศเยอรมนี บอกว่าตอนนี้พีซี Windows 10 ยังมีสัดส่วนสูงถึง 65% (สถิติทั่วโลกจาก StatCounters ใกล้เคียงกันคือ 63%) เมื่อเทียบกับตอนเปลี่ยนจาก Windows 7 เป็น Windows 10 ในปีสุดท้ายของ Windows 7 ก่อนหมดระยะซัพพอร์ต มีสัดส่วนการใช้งานประมาณ 20% เท่านั้น
ถึงแม้ Windows 10 จะ สิ้นสุดระยะซัพพอร์ต ในวันที่ 14 ตุลาคม 2025 หรืออีกประมาณ 10 เดือน ตามที่ไมโครซอฟท์ ประกาศไว้ตั้งแต่ปีแรกที่ออกคือ 2015 แต่ดูเหมือนฝั่งผู้ใช้งานจะยังพอใจกับ Windows 10 อยู่ดี แถมเพิ่มขึ้นด้วย
ข้อมูลจาก Statcounter ของเดือนธันวาคม 2024 วัดเฉพาะส่วนแบ่งเวอร์ชันของ Windows พบว่า Windows 10 ยังมีส่วนแบ่งสูงสุดที่ 62.7% ตามด้วย Windows 11 ที่ 34.12% อย่างไรก็ตามเมื่อดูตัวเลขย้อนหลังไปของเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน พบว่า Windows 10 กลับมีส่วนแบ่งที่เพิ่มมากขึ้นคือ 60.95% และ 61.83% ตามลำดับ ขณะที่ Windows 11 ลดลงคือ 35.58% และ 34.94% ตามลำดับ
ไมโครซอฟท์อัปเดตแพตช์ Patch Tuesday ของเดือนธันวาคม 2024 แก้ไขช่องโหว่รวม 71 รายการ โดยมีช่องโหว่ระดับ Zero-Day ที่มีรายงานการโจมตีแล้ว 1 รายการ CVE-2024-49138 ที่ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงสิทธิระดับ SYSTEM ของ Windows ได้
อัปเดตที่ออกมาของเดือนธันวาคมนี้ไม่รวมช่องโหว่ของ Edge 2 รายการ ที่ไมโครซอฟท์ออกอัปเดตแยกเฉพาะไปแล้วเมื่อต้นเดือน
Patch Tuesday นี้มีผลสำหรับ Windows 10 และ Windows 11
ที่มา: Bleeping Computer
ไมโครซอฟท์ประกาศเตือนผู้ใช้งาน Windows Mail, Calendar, People จะหยุดทำงานในวันที่ 31 ธันวาคม 2024 ตามที่เคยประกาศไว้ตอนกลางปี โดยแอพเหล่านี้จะหยุดทำงานออนไลน์ทั้งหมด รับและส่งเมลไม่ได้อีกต่อไป แต่ยังสามารถอ่านเมล ปฏิทิน สมุดที่อยู่เดิมที่เก็บไว้ในเครื่องได้ สามารถ export ออกมาได้
เป้าหมายของไมโครซอฟท์คือ ให้ย้ายไปใช้ New Outlook แทน ซึ่งผู้ใช้แอพเก่าๆ เหล่านี้สามารถกดปุ่ม "Try the new Outlook" ที่มุมขวาบนของจอได้เลย
Windows 10 จะสิ้นระยะซัพพอร์ตในเดือนตุลาคม 2025 หรืออีกไม่ถึง 1 ปีนับจากนี้ หลังจากนั้นจะไม่มีแพตช์ความปลอดภัยใดๆ ให้อีกแล้ว ซึ่งลูกค้าองค์กรที่ยังไม่พร้อมย้าย สามารถ ซื้อซัพพอร์ตแบบ Extended Security Updates (ESU) ได้อีกนาน 3 ปี โดยคิดราคาปีแรกที่ 61 ดอลลาร์ต่อเครื่อง และจะแพงขึ้นเรื่อยๆ ในปีถัดไป
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศขยายโปรแกรม ESU มายังผู้ใช้คอนซูเมอร์ทั่วไปด้วยเป็นครั้งแรก โดยจะขายให้แค่ปีแรกปีเดียว (ถึงเดือนตุลาคม 2026) ในราคาปีละ 30 ดอลลาร์ ส่วนรายละเอียดของโปรแกรม ESU ฝั่งคอนซูเมอร์จะประกาศให้ทราบในภายหลัง
อีก 1 ปีจากนี้คือวันที่ 14 ตุลาคม 2025 เป็นวันสิ้นสุดระยะซัพพอร์ต Windows 10 ตามที่ไมโครซอฟท์เคยประกาศเอาไว้
Windows 10 ออกครั้งแรกวันที่ 29 กรกฎาคม 2015 ตอนนั้นประกาศไว้ว่ามีระยะซัพพอร์ตนาน 10 ปี จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2025 หลังจากนั้นจะไม่ได้รับแพตช์ความปลอดภัยใดๆ อีก ( สามารถจ่ายเงินซื้อแพตช์ต่อได้อีก 3 ปี ลักษณะเดียวกับตอน Windows 7) คำแนะนำของไมโครซอฟท์คือให้อัพเกรดเป็น Windows 11 นั่นเอง
นอกจาก Windows 10 แล้ว วันที่ 14 ตุลาคม 2025 ยังเป็นวันสิ้นสุดระยะซัพพอร์ตซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ของไมโครซอฟท์ ได้แก่
สถิติผู้ใช้งาน Steam รอบเดือนสิงหาคม 2024 มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ Windows 11 แซงหน้า Windows 10 ได้สำเร็จแล้ว โดยผู้ใช้ Windows 11 มีสัดส่วน 49.17% ของผู้ใช้ทั้งหมด (+3.36%) เอาชนะ Windows 10 ที่สัดส่วนลดลงเหลือ 47.09% (-3.07%) ได้เป็นครั้งแรก ถ้านับรวมผู้ใช้วินโดวส์ทั้งหมดคิดเป็น 96.78% ของ Steam
ระบบปฏิบัติการที่นิยมเป็นอันดับถัดมาคือ ลินุกซ์ 1.92% ตามด้วยแมค 1.30% ซึ่ง ลินุกซ์เอาชนะแมคได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2023 หรือหนึ่งปีก่อนหน้านี้พอดี ด้วยปัจจัยเรื่อง Steam Deck ที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผู้ใช้ Arch Linux (ซึ่งใช้งานใน SteamOS) มีสัดส่วน 0.16% ของผู้ใช้ Steam ทั้งหมด
สัปดาห์นี้มีผู้ใช้ Windows 10/11 ที่ติดตั้งแพตช์ความปลอดภัยรอบเดือนสิงหาคม 2024 รายงานว่าเกิดปัญหาไม่สามารถบูตเข้าลินุกซ์ในระบบที่เป็น dual boot ได้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ยืนยันปัญหานี้แล้ว
แพตช์ความปลอดภัยตัวนี้ ตั้งใจออกมาเพื่ออุด ช่องโหว่ของ GRUB ระบบเลือกบูตที่ใช้งานแพร่หลายในโลกลินุกซ์ ช่องโหว่นี้เปิดทางให้แฮ็กเกอร์สามารถข้ามระบบ secure boot ได้ มันถูกค้นพบมานาน 2 ปี และมีคะแนนความรุนแรง 8.6/10
หลายคนที่เกิดปัญหาคอมพิวเตอร์เกิดอาการเครื่องช้า จะทำอะไรก็รู้สึกว่าอืดอาดยืดยาดไม่ทันใจไปเสียหมด จะรีสตาร์ทเครื่อง หรือเคลียร์ไฟล์ขยะสักกี่ครั้งก็ยังคงชักช้าเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นก็เหลืออยู่ทางเดียวแล้วนั่นก็คือการลง Windows โดยจะเป็นการล้างเครื่อง และกลับไปเริ่มต้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ต่าง ๆ หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่เคยลงไว้ จะต้องหายวับไปกับตา แต่ก็แลกมาด้วยความไวของเครื่องที่กลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ เพราะฉะนั้นใครที่ไม่เคยลง Windows ก็ลองเข้ามาอ่าน วิธีลง Windows ใหม่ ต้องทำยังไงบ้างฉบับง่าย ๆ กันเลย รับรองว่าทำเป็นทุกคนอย่างแน่นอน
บริษัท 0patch (อ่านว่า zero patch) ที่ทำธุรกิจด้านดูแลแพตช์ความปลอดภัยซอฟต์แวร์ ประกาศออกบริการซัพพอร์ต Windows 10 ต่อให้อีกอย่างน้อย 5 ปี ในราคาที่ถูกกว่าการซื้อบริการจากไมโครซอฟท์
Windows 10 จะหมดระยะซัพพอร์ตในเดือนตุลาคม 2025 ถ้าองค์กรต้องการแพตช์ความปลอดภัยต่อ สามารถซื้อ Extended Security Updates (ESU) ต่อจากไมโครซอฟท์ได้อีก 3 ปี ในราคารวม 427 ดอลลาร์
หลายครั้งที่การใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นมักจะเกิดอุปสรรคขึ้นมาเพราะว่าพื้นที่นั้น เต็ม! จึงทำให้การจะเซฟงานใหม่ ๆ หรือลงเกมเพิ่มเติมในเครื่องไม่สามารถทำได้ ซึ่งใครที่ได้ทำการลบไฟล์ขยะออกจากถังขยะแล้ว แต่ยังลงไฟล์เพิ่มไม่ได้ก็อาจจะต้องมีอาการงงกันอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นแล้วมาดู วิธีลบไฟล์ขยะในคอม Windows 10-11 ที่จะทำให้เนื้อที่บนคอมของคุณมีเพิ่มมากขึ้น สามารถลงได้ทั้งไฟล์งานและเกมเพิ่มได้อย่างแน่นอน ซึ่งจะมีวิธีไหนกันบ้างนั้นไปดูกันเลย
เคยเป็นกันบ้างไหม กับตอนที่เรากำลังเลื่อนเมาส์อย่างเมามันไม่ว่าจะเป็นตอนทำงานหรือว่าเล่นเกม แต่แล้วทุกอย่างก็ถูกสะกดให้หยุดนิ่ง ไม่สามารถกดอะไรได้อีกต่อไปแม้ว่าเมาส์จะเคลื่อนที่อยู่ก็ตาม หรือว่าจะเป็นการค้างแบบหนักที่ตัวหน้าจอนั้นไม่สามารถขยับอะไรได้เลยแม้แต่นิดเดียว ก็มักจะสร้างความหงุดหงิดให้แก่ผู้ใช้งานอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นต้องรีบแก้ไขเพื่อให้คอมนั้นกลับมาใช้งาน ใครที่กำลังหาวิธีการอยู่นั้นก็ต้องมาดูกับวิธีแก้คอมค้าง Windows 10-11 ทำแบบไหนถึงจะกลับมาใช้ได้ เพื่อไม่ให้ช่วงเวลาทำงานนั้นต้องหยุดชะงัก
สำหรับการนั่งมองจอคอมไม่ว่าจะเป็น Mac หรือ Windows หากตัวแสงของหน้าจอนั้นมีความสว่างมากเกินไปก็จะทำให้นัยน์ตานั้นได้รับภาระการจ้องมองที่มากเกินไป จนรู้สึกถึงความแสบตาได้ หรือหากแสงไฟไม่พอนั้น ก็ต้องเพ่งสายตามากกว่าปกติ ไม่ได้เป็นผลอันดีต่อดวงตาแต่อย่างใด และจะต้องทำยังไงให้ตัวแสงของหน้าจอนั้นพอดีกับสายตาของเรา ก็ต้องมีการปรับให้แสงที่หน้าจอนั้นไม่สว่างหรือว่ามืดจนเกินไป เพราะฉะนั้นแล้วมาดูการปรับแสงหน้าจอคอม Mac และ Windows ที่สามารถทำได้อย่างง่ายดาย รับรองสบายสายตาอย่างแน่นอน
สำหรับการใช้งานหน้าจอเป็นเวลานานนั้นก็คงจะต้องบอกว่าข้อเสียของมันนั้นมีมากกว่าประโยชน์อย่างแน่นอน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกินไฟ ที่ทำให้ต้องจ่ายค่าไฟมากกว่าปกติ หรือแม้แต่การทำงานของหน้าจอที่นานนั้นก็สร้างอุณหภูมิที่สูง ทำให้ตัวหน้าจอนั้นใช้งานหนักมากขึ้น เข้าใกล้อาการเสียได้อย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการปิดหน้าจอเมื่อลุกจากหน้าจอหลายคนจึงเลือกทำการปิดหน้าจอก่อนเสมอ แต่ว่ามันก็บางครั้งที่อยู่ในช่วงเวลาเร่งด่วน การลืมปิดหน้าจอก็มักจะเกิดขึ้น แต่การลืมปิดหน้าจอจะหมดไป เพราะเรานั้นสามารถทำการ ตั้งเวลาปิดหน้าจอ ได้ที่ตัวคอมเลย ใครที่ใช้ระบบ Windows 10-11 แล้วอยากรู้วิธีทำก็ต้องมาดู วิธีตั้งเวลาปิดคอม Windows 10-11 สามารถทำแบบไหนได้บ้างมาดูกัน
สายตัดต่อมือใหม่ที่พึ่งจะเข้าวงการสำหรับการตัดต่อวิดีโอนั้นก็ย่อมที่จะมองหาโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมไปถึงในเรื่องของราคาที่ต้องได้ราคาที่เป็นมิตรต่อกระเป๋า หรือว่าฟรีเลยยิ่งดี เพราะว่าคนที่พึ่งเริ่มต้นนั้นการฝึกฝีมือให้ตัดได้คล่องรวมถึงทำให้ตัวคลิปมีความต่อเนื่องดูจนจบได้จะต้องมั่นฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นคนเริ่มต้นนั้นยิ้มได้ มาดู 5 โปรแกรมตัดต่อวิดีโอฟรี สำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คในระบบ Windows 10-11 ซึ่งจะมีโปรแกรมอะไรบ้างนั้น มาดูกัน
สำหรับใครที่อยากได้วิดีโอในการทำอะไรสักอย่างบนหน้าจอคอม ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนทำหรือนำเสนองานต่าง ๆ รวมไปถึงอัดคลิป เพลงหรือแม้แต่เกมที่กำลังเล่น เพื่อนำไปตัดเป็นวิดีโอคอนเทนต์สักตัวก็อาจจะต้องมองหาแอปดี ๆ สักตัว เพื่ออัดวิดีโอ แต่ใครที่อยากได้ฟีเจอร์ในการอัดหน้าจอแบบ ฟรี ๆ ไม่เสียเงิน สามารถทำได้เลยโดยที่ไม่ต้องลงโปรแกรมอะไรให้ยุ่งยากอีกต่อไป ก็ต้องบอกเลยว่า Windows 10 และ 11 มีฟีเจอร์ที่สามารถอัดวิดีโอหน้าจอคอมแบบฟรี ๆ สามารถกดได้เลย ใครที่อยากรู้วิธีทำแล้ว ก็มาดูกันเลยกับ วิธีอัดวิดีโอหน้าจอคอม Windows 10-11 สะดวก ไม่ง้อแอป ต้องทำยังไงกัน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้แต่การเล่นเกมนั้น หากเราเจอฉากหรือภาพที่ถูกใจบนหน้าจอ ก็อยากจะบันทึกเก็บเอาไว้ หรือแบ่งปันให้คนที่รู้จักนั้นได้ร่วมชมด้วย ก็ต้องมีการเซฟหน้าจอ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า แคปหน้าจอ ซึ่งจะทำให้เรานั้นสามารถบันทึกภาพเพื่อนำมาส่งต่อ หรือไปใช้ในการทำงาน หลายคนอาจจะต้องเข้าแอปที่มีมากับเครื่อง ซึ่งทำให้เสียเวลารวมทั้งจังหวะที่เล็งไว้ให้หายไป เพราะฉะนั้นลองมาดู วิธีแคปหน้าจอโน๊ตบุ๊คและคอม ง่าย ๆ ทั้ง Windows และ Mac ที่สามารถทำได้เลย ไม่ต้องง้อแอป ซึ่งจะทำยังไงได้บ้างนั้น ไปดูกันเลย
สำหรับภาษาของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น Windows 10 หรือ 11 นั้น ก็มักจะถูกตั้งมาหลัก ๆ ก็จะมีภาษาอังกฤษ หรือบางตัวก็มีภาษาไทยมาให้ใช้งานอยู่แล้ว แต่หากใครที่ตัวคอมพิวเตอร์ไม่มีภาษาไทย หรืออยากใช้ภาษาอื่นอย่างจีนหรือญี่ปุ่น จะต้องทำยังไงบ้าง มาดู วิธีเปลี่ยนภาษาในคอม Windows 10-11 ทำง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน เพื่อให้ตัวคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นมีภาษาที่คุณอยากใช้อยู่ในเครื่อง โดยจะต้องทำยังไงบ้าง และจะทำได้ง่ายขนาดไหน ไปดูกันเลย
ข้อมูลเล็กๆ ที่น่าสนใจจากงานแถลงข่าวเปิดตัวซีพียูใหม่ของ AMD เมื่อวานนี้คือ ชิป Ryzen AI 300 สำหรับโน้ตบุ๊ก จะไม่รองรับ Windows 10 อีกต่อไป ในขณะที่ ชิป Ryzen 9000 สำหรับเดสก์ท็อป ยังรองรับ Windows 10 อยู่ (ทั้งคู่ใช้แกน Zen 5 เหมือนกัน)
ข่าวนี้อาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะ Windows 10 จะหมดระยะซัพพอร์ตในปีหน้า 2025 บวกกับธรรมชาติของพีซีโน้ตบุ๊กที่มีระบบปฏิบัติการวินโดวส์มาให้พร้อมกับเครื่องอยู่แล้ว จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ AMD ตัดการซัพพอร์ต Windows 10 ออกไปเลย (ต่อให้หามาติดตั้งเองก็จะไม่มีไดรเวอร์ให้) ในขณะที่พีซีเดสก์ท็อปยังมีกลุ่มพีซีประกอบ (DIY) ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเอง ทำให้ AMD ยังเลือกซัพพอร์ต Ryzen 9000 ให้ต่อไป
ไมโครซอฟท์ออกอัปเดตแก้ไขบั๊ก VPN ไม่สามารถเชื่อมต่อได้ เมื่ออัปเดตแพตช์ของเดือนเมษายน 2024 ซึ่งตอนนั้น ไมโครซอฟท์ยืนยันปัญหา และแนะนำให้ถอนการติดตั้งไปก่อน
อัปเดตใหม่ที่ได้รับการแก้ไขบั๊ก VPN จะอยู่ในอัปเดตของเดือนพฤษภาคม 2024 สำหรับ Windows 11, Windows 10 ตลอดจนกลุ่ม Windows Server
ทั้งนี้ไมโครซอฟท์ไม่ได้อธิบายสาเหตุที่ทำให้ VPN ใช้งานไม่ได้ในอัปเดตในเดือนเมษายน
ที่มา: Bleeping Computer
ไมโครซอฟท์ยืนยันปัญหาหลังมีรายงานจากคนที่อัปเดต Windows ของเดือนเมษายน Build 22621.3447 (KB5036893) สำหรับ Windows 11 และ Build 19045.4291 (KB5036892) ของ Windows 10 พบว่าไม่สามารถเชื่อมต่อ VPN ได้ โดยบอกว่ากำลังตรวจสอบแก้ไขบั๊กนี้ และจะอัปเดตอีกครั้ง