Tailscale ผู้ให้บริการควบคุมการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ผ่าน Wireguard ปรับปรุงฟีเจอร์ Tailscale SSH ให้สามารถใช้งานในเบราว์เซอร์ได้โดยตรง เหมือนกับหน้าคอนโซลของผู้ให้บริการคลาวด์จำนวนมากที่เปิดให้ลูกค้าเข้าควบคุมเครื่องจากในเบราว์เซอร์ แต่ความต่างของ Tailscale คือมันไม่ได้เป็นเพียงการนำหน้าจอเทอร์มินัลมาแสดงบนเว็บเท่านั้นแต่อาศัยการรันซอฟต์แวร์ทั้งหมดในเบราว์เซอร์ผ่าน WebAssembly โดยตรง
ทาง Tailscale พอร์ตชุดซอฟต์แวร์แบบเดียวกับที่ใช้งานในไคลเอนต์ปกติ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ของ Tailscale เอง, Wireguard, ชุดเน็ตเวิร์ค, และ SSH จากนั้นเมื่อล็อกอินแล้ว Tailscale จะสร้างกุญแจยืนยันตัวตนชั่วคราว (ephemeral auth key) โหลดเข้าไปในไคลเอนต์ในเบราว์เซอร์
WireGuard ซอฟต์แวร์ VPN น้องใหม่ที่กำลังมาแรง ออกเวอร์ชัน 0.3 บนวินโดวส์ (ตัวเลขล่าสุดคือ 0.3.2) ถือเป็นการอัพเกรดฟีเจอร์ใหญ่หลายอย่าง เพื่อให้ตามทันแพลตฟอร์มหลักคือแอนดรอยด์และลินุกซ์ ที่เลขเวอร์ชันไปถึง 1.0 แล้ว
Debian testing (ชื่อรหัส Bullseye) เปิดใช้งานโมดูล WireGuard ในเคอร์เนลเป็นค่าเริ่มต้น หลังจาก โมดูลเข้าไปยังโครงการลินุกซ์เคอร์เนล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
โมดูล WireGuard จะอยู่ในโครงการเคอร์เนลหลักตั้งแต่ Linux 5.6 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี Ubuntu 20.04 LTS ที่กำลังจะออกเดือนหน้านั้นใช้ Linux 5.4 หรือ 5.5 แต่ทาง Canonical จะพอร์ตโมดูล WireGuard กลับไปใช้งานด้วย ทำให้ Ubuntu เวอร์ชั่น LTS ตัวต่อไปจะมี WireGuard มาในตัวค่อนข้างแน่
- Read more about Debian เปิดโมดูล WireGuard เป็นค่าเริ่มต้นใน testing
- 3 comments
- Log in or register to post comments
เราเห็น Mozilla เปิดบริการ Firefox VPN แบบส่วนขยายบนเบราว์เซอร์เดสก์ท็อปมาได้สักระยะ โดยยังมีสถานะเป็น Beta, จำกัดประเทศ และประกาศตัวชัดเจนว่าเป็นบริการแบบเสียเงิน ( เพราะเป็นช่องทางหารายได้ใหม่ๆ ของ Mozilla )
WireGuard ซอฟต์แวร์ VPN น้องใหม่ที่เปิดโค้ดออกสู่สาธารณะเมื่อปี 2016 ส่งซอร์สโค้ดเข้าไปอยู่ในโครงการเคอร์เนลลินุกซ์เป็นทางการ โดยคาดว่าโค้ดชุดนี้จะมาพร้อมกับลินุกซ์ 5.6 ที่กำลังจะออกเดือนเมษายนนี้
WireGuard เป็นซอฟต์แวร์ VPN ที่มีจุดเด่นในการใช้งานค่อนข้างง่าย, คอนฟิกไม่ซับซ้อน, และรองรับกระบวนการเข้ารหัสใหม่ๆ หลายตัว เช่น ChaCha20, Poly1305, BLAKE2 ทำให้ไม่โหลดซีพียูนักเมื่อใช้งานในซีพียูประสิทธิภาพต่ำ
ตัวโค้ดของ WireGuard นั้นมีขนาดเล็กเพียงประมาณ 4,000 บรรทัดเท่านั้น เทียบกับ OpenVPN ที่มีขนาดโค้ดนับแสนบรรทัด
ที่มา - ZDNet
Cloudflare เปิดตัวบริการ WARP ที่เป็น VPN ใช้งานง่ายไม่ต้องลงทะเบียนใดๆ มาตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน แต่วันนี้ก็เพิ่งเปิดให้ใช้งานจริง หลังจากเปิดให้เข้าคิวรอมาถึง 5 เดือน
WARP เป็นบริการ VPN ที่ไม่ต้องการการลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัวใดๆ ยกเว้นต้องการความเร็วเพิ่มเติมผ่านเครือข่าย ARGO โดยคิดราคาไม่เกิน 4.99 ดอลลาร์ต่อเดือน และราคาจะลดลงไปประมาณราคา Big Mac ในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยราคาจะอยู่ที่ 60 บาทต่อเดือน
ถ้าใครเคยเซ็ตอัพซอฟต์แวร์ VPN อย่าง IPSec หรือ OpenVPN จะพบว่าโดยทั่วไปแล้วมีความสับสนค่อนข้างมาก การเซ็ตอัพต้องอาศัยการสร้างใบรับรองที่น่าสับสนสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ปัญหาเช่นนี้เป็นจุดที่โครงการ WireGuard ที่เกิดใหม่เข้ามาแก้ปัญหา แต่ปัญหาสำคัญของ WireGuard คือรองรับแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ครบถ้วน เทียบกับ IPSec ที่รองรับแทบทุกที่ หรือ OpenVPN ที่มีแอปรองรับทุกแพลตฟอร์ม แต่ตอนนี้ WireGuard ก็ออกแอปทดสอบบนแอนดรอยด์เพิ่มเข้ามาแล้ว
นอกจากความง่ายในการเซ็ตอัพแล้ว WireGuard ยังรองรับกระบวนการเข้ารหัสแบบใหม่ๆ เช่น ChaCha20-Poly1305 ทำให้ประหยัดแบตเตอรี่บนโทรศัพท์มือถือไปได้ ขณะที่กระบวนการพอร์ต OpenVPN เพื่อให้รองรับ ChaCha20 นั้นยังไม่สมบูรณ์