ท่าทีของประเทศฝั่งยุโรปไม่เป็นมิตรกับ Libra ของ Facebook มาตั้งแต่แรก
ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของฝรั่งเศส Bruno Le Maire กล่าวในงานประชุมด้านเงินคริปโตของกลุ่มประเทศ OECD แสดงท่าทีอย่างชัดเจน โดยเขาบอกว่า "ขอประกาศให้รู้กันชัดๆ ว่า เราไม่สามารถอนุญาตให้เกิด Libra บนแผ่นดินยุโรปได้" ภายใต้แนวทางของ Libra ในปัจจุบัน
Le Maire ยังบอกว่า เอกราชทางนโยบายการเงินของประเทศต่างๆ กำลังถูกคุกคามจากภาคเอกชน โดยองค์กรเพียงแห่งเดียวที่มีอำนาจเหนือผู้ใช้ 2 พันล้านคน
ด้าน Damian Collins ประธานคณะกรรมาธิการด้านดิจิทัลของสภาผู้แทนราษฏรอังกฤษ ก็ให้สัมภาษณ์ว่า Libra เป็นความพยายามของ Facebook ในการตั้งตัวเป็นประเทศ
“It had not occurred to me that a platform that brought people together could also be used to drive them apart.”Early Facebook backer Roger McNamee, who has been described as Mark Zuckerberg's mentor, says he is "incredibly sad" at the state of the social media company. pic.twitter.com/F8EBLEFBNR
— Channel 4 News (@Channel4News) September 12, 2019
ที่มา - Independent , Guardian
Comments
สลิ่มไม่ใช่สถานที่ แต่เป็นทัศนคติเฉพาะกลุ่มบุคคล
นึกว่าเป็นขนมไทยเสียอีก
ซ่าหริ่ม
+1 สำหรับผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลาย ถ้ามีคนที่คิดต่าง คิดไม่เหมือนกับเรา คำนี้ต้องมา!
นึกว่าเล่น pantip?
นี่คือความเห็นหนึ่งในผลพวงการสร้างความแตกแยกและเกลียดชัง ก็หวังว่าสิ่งเหล่านี้จะหมดไปจากเมืองไทยในซักวันนึง
ไปในเว็ปผู้จัดอ่านแล้วอ่านคอมเม้นจะรู้ว่าคอมเม้นนี้น่ารัก
เรื่องความมั่นคงทางการเงิน ไม่มีประเทศไหนอยากให้ถูกสั่นคลอนหรือควบคุมได้ยากหรอกครับ
จริงครับ มันเกี่ยวโยงกับทุกๆส่วน ทุกๆคนในประเทศเลย
อยากเห็นเหมือนกันว่าถ้า Libra เกิดแล้ว มันจะเปลี่ยนแปลงและสร้างปัญหาอะไรบ้าง เหมือนที่กังวลหรือเปล่า ดูทรงแล้วไปแนวกระต่ายตื่นตัวหมด
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ข่าวต่อมา สหาภาพยุโรปออกเงินคริปโต
ยังคิดไม่ออกว่าสหภาพยุโรปจะออกเงิน Cryptocurrency ทำไม ในเมื่อตัวเองมี Euro อยู่แล้ว
จะให้เชื่อถือ Facebook นี่ยาก ทุกวันนี้บางรายก็โดนปิดเฟสแบบไม่มีเหตุผล ภาพโดนบล๊อกจาก AI ที่ตรวจผิดๆถูกๆแล้วการเงินจะรอดมั้ย
ส่วนตัวเจอเองคือ ตั้งขายสินค้าบน Market Place โดนขึ้นเตือนว่าเป็นสินค้าต้องห้ามบ่อยมากๆๆ ต้องทำเรื่องไปบอกว่ามันคืออะไร และก็ยังงงว่า ถูกตรวจจับด้วยคำว่าอะไร ก็ไม่เข้าใจ พยายามอ่านที่เราตั้งว่า มีคำคำไหน มันไปเฉียดกับของต้องห้ามหรือไม่ ก็ไม่มี
ส่วนที่ไม่ได้เจอเอง คือ ติดตาม เพจข่าวฟุตบอล คือ มีแต่ข่าวจริงๆ เพจปลิว เอาคืนมาไม่ได้ เจ้าของเพจบ่นว่า mail ก็ไม่แจ้งเหตุผล
ขำตรงขายเกม หน้าปกเป็นรูปคนถือปืน โดนบอกเป็นอาวุธปืน ระบบตรวจสอบดีจริง
เคยรีพอร์ตกลุ่มดูหนังซูมชนโรง บอกไม่ผิดกฎชุมชน! ต้องตอบกลับไปอีกรอบว่ามันละเมิดลิขสิทธิ์นะ ถึงจะยอมแบนกลุ่มดังกล่าวให้
โฆษณาพนันออนไลน์นี่ก็ขึ้นบ่อยมากทั้งที่รีพอร์ตไปหลายรอบแล้วว่ามันผิดกฎหมาย
ความน่าเชื่อถือของ Facebook แทบจะไม่เหลือ
หลังโดนข่าว ความเป็นส่วนตัว ไหนจะดักฟังเสียงอีก
ถ้าไปทำเกี่ยวกับการเงิน ใครจะไว้ใจละ
จะมีสักกี่ประเทศกันที่เห็นด้วยกับ Libra
The Dream hacker..
มันเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลที่ท้าทายถึงระดับโครงสร้าง อย่างที่อินเตอร์เน็ตทำกับระบบการสื่อสารไปแล้ว เพียงแต่ครั้งนั้นรัฐยังคงมึน ๆ เพราะมันเป็นการเปลี่ยนแปลงเร็วมากจนไม่ได้ทันระวังตัว และประชากรส่วนใหญ่ได้ประโยชน์มหาศาลเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ท แต่ครั้งนี้ระบบการเงินเป็นอีกอย่างหนึ่งที่รัฐคุมอยู่ และได้รับบทเรียนของ internet แล้ว จึงน่าจะระวังตัวกันอย่างมาก
รอดูกันต่อไปว่าการเข้ามาแก้ปัญหาเรื่องการเงินของประชากรโลก จะทำให้ Libra เกิดขึ้น หรือโดนสกัดขาจนเป็นหมัน เรื่องนี้คิดว่าไม่นานเกินรอ เพราะเทคโนโลยีมันไว
เอาเงินมาเทียบกับอินเตอร์เน็ตไม่ได้ครับ สเกลมันต่างกันมากเกินไป การเงินต้องมีการควบคุมและบริหารอย่างดีไม่งั้นวิกฤตไปนานแล้วครับมันไม่ได้จะอยู่ได้อย่างอิสระเหมือนอินเตอร์เน็ต
Internet ก็ควรถูกควบคุมครับ ทุกวันนี้ข่าวหลอก ข่าวจริงปนกันทั่วไปหมด ไม่นับอาชญากรรมทางออนไลน์อีก พอมีปัญหาขึ้นมาก็ร้องให้หน่วยงานรัฐจัดการ แต่ตอนจะออกมาตรการควบคุมก็ไม่อยากจะให้เขาทำ
ผมว่ายุคนี้สิ่งที่ควรถูกควบคุมคือจิตใจของเราเองครับ ไม่มีอีกแล้วที่จะมีใครมาคอยกลั่นกลองข้อมูลเหมือนยุคทีวี
แค่เอกชนคิดจะเป็นใหญ่ทางการเงินก็ตายตั้งแต่ต้นแล้ว พันธมิตรจะเยอะขนาดไหน รัฐบาลก็ไม่มีทางยอมรับอยู่ดี ไม่แปลกใจเลยที่มันจะไม่เกิดตั้งแต่แรก
ยังไม่มีพันธมิตร ครับ มีแต่ facebook ที่พูดเองเอยเอง
คราวนี้มันต่างออกไปนะครับ ลองคิดว่าเฟซบุ๊คเป็นประเทศ ที่มีประชากรอยู่ 2,200 ล้านคน ดูจริงๆ แค่บังคับให้ในระบบซื้อขายในเฟซหรือจะยิงแอด ต้องแลกเป็นเงิน libra ก็เกิดแล้ว
เรียกว่าเป็นการท้าทายอำนาจรัฐครั้งต้น ๆ ก็แล้วกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็รู้แหละว่าไม่สำเร็จ 100% แต่มันก็น่าสนใจว่าจะสำเร็จได้แค่ไหน เพราะหลายเรื่องมันก็แก้ไขปัญหาของธุรกรรมทางการเงินได้จริง ๆ บริษัทเทคฯก็แบบนี้แหละเจอปัญหาหาวิธีการแก้ แต่ครั้งนี้มันไปโดนอำนาจรัฐด้วย
SDR
ขนาดใน USA เองก็ยังไม่ได้สนับสนุนเต็มที่เลย
That is the way things are.
ขนาดเรื่องภาษีนิติบุคคลบริษัทข้ามชาติ ยังไม่มีแนวทางสากลเลย จะเล่นเรื่องทางการเงินอีก น่าจะเกิดยาก แต่ก็คงเกิดนั่นแหล่ะ แต่อาจไม่ใช่ facebook ผมว่าน่าจะเป็นทางจีนมากกว่าที่อาจได้เห็นหยวนดิจิทัล
ถ้าวางจุดยืนเป็นแค่ Blockchain transfer คงโดนแรงต้านน้อยกว่านี้
ปัญหาคือ Facebook เป็นบริษัทที่มีสัญชาติ (สหรัฐอเมริกา) ความซับซ้อนทางกฎหมายเป็นเรื่องน่ากังวลนะ แค่ทุกวันนี้ให้มีอำนาจคุมค่าเงินจริงๆในโลกก็ป่วนจะแย่อยู่แล้ว ส่วนอียูมีกฎหมายรองรับและมีการออกใบอนุญาตเรื่อง cryptocurrency อยู่แล้ว แต่เป็นลักษณะอนุญาตให้แลกเปลี่ยนกันได้