Yves Mersch กรรมการของธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank - ECB) ออกมาเตือนว่าหากเงินสกุล Libra ที่นำโดยเฟซบุ๊กได้รับความนิยม ECB จะสูญเสียอำนาจในการควบคุมนโยบายทางการเงิน และกระทบต่อสภาพคล่องของธนาคารในเขตเงินยูโร
นอกจากประเด็นการแข่งขันทางอำนาจแล้ว Mersch ยังชี้ถึงประเด็นความเป็นส่วนตัว ว่าเงิน Libra สร้างโดยเฟซบุ๊กที่ยังต้องชี้แจงแนวทางการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวที่ผิดพลาดจนเป็นภัยต่อประชาธิปไตยต่อสภาในสหรัฐฯ และยุโรป และ Mersch หวังว่าประชาชนยุโรปจะไม่ละทิ้งระบบชำระที่ปลอดภัยที่มีอยู่เดิมไปตามการล่อลวงของเฟซบุ๊ก
ความกังวลต่อเงิน Libra จากหน่วยงานผู้ดูแลเงินสกุลเดิม เช่น ทรัมป์ก็เคยแสดงความไม่เห็นด้วยกับเงิน Libra โดย ระบุว่าเงินดอลลาร์ก็ใช้งานได้เหมือนกันอยู่แล้ว
เงิน Libra นั้นทำตัวเหมือนมี "ธนาคารกลาง" เป็นของตัวเอง โดยมี Libra Reserve ทำหน้าที่เป็นกองทุนสำรองเพื่อควบคุมมูลค่าเงินให้คงที่
ที่มา - Reuters
ภาพจาก pxhere
Comments
นโยบายการทางการ ?
เคยมีคนเสนอให้สามารถเก็บรายได้เข้าบัญชีธนาคารโดยยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ก่อน
แต่ให้เสียตอนถอนออกมาจ่ายเกินวงเงินกำหนดที่ค่าหนึ่งที่ต้องทำการเสียภาษี
คนที่มือหนักจ่ายหนักยังไงก็เลี่ยงภาษีไม่ได้อยู่แล้ว แต่การจ่ายที่เบาๆอย่างน้อยก็เซฟภาษีสิ้นเปลืองเพราะยังไงการอุปโภคบริโภคมันเสียภาษีอยู่แล้ว
พี่ให้ความเป็นส่วนตัวตรงนี้ไม่ได้ พอถึงคราวเจ้าของเงินเขากำลังมีทางเลือกที่มากกว่า พี่ก็โอดครวญ
ผมสมน้ำหน้าพี่นะ
รอดูในไทยด้วย ถ้ามา ผมล่ะคนหนึ่งที่จะใช้ Libra
ก็ทำให้ไม่มีค่าธรรมเนียมในการโอเงินสกุลต่างๆ แค่นี้ก็ Libra น่าจะเกิดยากแล้ว
บางที ธนาคารก็ทำตัวเองเหมือนกัน แถมทำร้ายลูกค้าที่ควรจะดูแลด้วยซ้ำ ก็คงไม่แปลกที่จะโดน Disrupt โดยนวัตกรรมแนวนี้ จากคนไอที ไม่ใช่คนของธนาคาร เกิดทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับธนาคารอีกต่อไป
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ธนาคารกลาง น่าจะเป็นหน่วยงานรัฐมากกว่านะครับ ผมคิดว่าแค่เรื่องค่าธรรมเนียมไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคืออำนาจในการควบคุมกระแสเงิน ที่โยงไปถึงนโยบายการเงินของประเทศต่างหากที่จะทำให้ Libra โดนต่อต้าน อาจมองได้ 2 แบบ คือ
1.เชื่อมั่นในประสิทธิภาพการบริหารของคน หากเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจเช่น แฮมเบอร์เกอร์หรือต้มยำกุ้ง ประเทศนี่ล้มละลายได้เลยถ้าขาดอำนาจควบคุมทางการเงิน
2.เชื่อมั่นในกลไกตลาด ถ้าไม่มีรัฐมาคุมเดี๋ยวจะดีเองไม่เจ๊งหรอก ศก.ถดถอยเดี๋ยวมันก็ส่งสัญญาณจนสมดุลเอง ที่เจ๊งก็เพราะมีรัฐมาคุมทำให้สภาพตลาดถูกบิดเบือนต่างหาก
ใช่เลย
เพราะเขียนข่าวว่า ธนาคาร เฉยๆ คนอ่านเลยนึกว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ ไม่ใช่ธนาคารกลาง
ต้องคนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์บ้างถึงรู้ว่า ธนาคารที่คุมนโยบายการเงินได้ คือ ธนาคารกลาง
ส่วนตัวเชื่อ 1.If you not control, you will be controled.
เรื่อง digital literacy นี่ ชาว blognone คงเก่งกว่าใครในโลกาอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาแต่ financial literacy นี่ ผมว่ายังต้องให้ความรู้กันอีกเยอะมั้งครับ
ผมว่าบางคนแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่า monetary policy กับ fiscal policy ต่างกันยังไงแล้วก็พูดราวกับตัวเองมีความรู้ ว่าที่บรรดาธนาคารกลางออกมาต่อต้านเพราะกลัวเสียผลประโยชน์
เท่าที่เคยคุยด้วย
ไม่ใช่ไม่รู้แค่ financial literacy (เศรษฐศาสตร์) ครับ
แต่ทั้งเรื่อง กฎหมาย การเมือง ฯลฯ เลย (รวมๆคือพวก สังคมศาสตร์)
ซึ่งมันก็ช่วยไม่ได้ แค่ลำพังความรู้ digital ก็ออกมาจนเอาสมองมาตามแทบไม่ทันอยู่แล้ว
จะรู้ศาสตร์อื่นไปซะหมดก็คงไม่ได้
แต่หลายครั้งปัญหาออกไปทางไปฟังข่าวจากกลุ่มการเมืองที่บิดเบือนข้อมูล/หลักการจากตำราจนไม่ฟังคนที่รู้จึงมาแย้ง แถมก่อดราม่าให้ละเหี่ยใจ (- -')
ตอนแฮมเบอร์เกอร์ ผมว่าเจ๊งเพราะอสังหาฯซึ่งเป็นส่วนของเอกชนนะผมเลยว่า ข้อ 2 ยังไม่ถูกต้องซะทีเดียว
ผมเพิ่มข้อ 3 ให้ครับว่า ในสภาวะเศรษฐกิจปกติมันจะมีช่วง Growth กับ Recession สลับไปมาอยู่แล้ว Growth มากก็ต้องขึ้นดอกเบี้ย ลดปริมาณเงิน ดึงเงินออกเพื่อไม่ให้เกิดฟองสบู่ ในทางกลับกันถ้า Recession มาก เศรษฐกิจถดถอย ก็ต้องลดดอกเบี้ย เพิ่มปริมาณเงินให้หมุนเวียน ให้เศรษฐกิจกลับมาโต อันนี้เป็นหลักการเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ซึ่งในโลกนี้ มันอาจจะมีทั้งประเทศที่อยู่ในช่วง Growth หรือ Recession อยู่ก็ได้ ไม่ต้องไปไกลเอาแค่ European Union ก็เคยมีปัญหาว่าประเทศนึงอยากให้ลดดอกเบี้ย อีกประเทศอยากให้เพิ่มดอกเบี้ย แต่ใช้เงินสกุลเดียวกันก็ต้องเอาตาม ECB แถลง แค่นี้ก็ทำ EU แทบแตก(และเริ่มแตก)ไปแล้ว ถ้ามี Libra เท่ากับได้แต่นั่งมองตาปริบๆ ให้คนอื่นคิดเลยว่าดอกเบี้ยจะเป็นเท่าไหร่
โดยระบบ Libra ไม่มีดอกเบี้ย เลยนะครับ
Libra Reserve ได้ดอก (จากสกุลอื่น) แต่ก็ไปจ่าย Libra Investment Token ถ้าไม่มีธนาคารอื่นมาตั้งรับฝาก Libra และปล่อยกู้ Libra ก็ไม่มีใครกำหนดดอกเบี้ยเลย
lewcpe.com , @wasonliw
ผมเอาสองกรณีมารวมกันเอง (EU กับ Libra) ดังนั้นถ้าจะให้เหมาะกับกรณี Libra ขอปรับย้อนกลับมาว่า ถ้าใช้ Libra รัฐจะไม่สามารถควบคุมปริมาณเงินได้ครับ (เพราะไม่ได้เป็นผู้พิมพ์เงินเอง) ซึ่งก็ไปกระทบกับการดำเนินนโยบายการเงินเหมือนเดิมครับ
ส่วนตัวผมไม่คิดว่ามันจะมีนวัตกรรมตรงไหนนะ
เพราะเงินทั่วไปที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ก็แทบจะไม่ได้ยึดติดกับธนาคารกันอยู่แล้วนิครับ โอนก็ค่าธรรมเนียม 0 บาท เปิดบัญชีก็ฟรี กดโยนเงินไปมาได้ง่ายๆ จะถอนเงินสดก็กดจาก app เอา
ตอนนี้หลายบริการยังต้องพึ่งธนาคารอยู่ครับ ต่อให้มี PromptPay และไม่ใช่ทุกแอพฯ จะรองรับด้วย กรณี True Money Wallet ที่พึ่งยกเลิก PromptPay ไปหมาดๆ แม้แต่บัตรเครดิตที่ยังต้องชำระผ่านธนาคาร, แอพธนาคารหรือเคาเตอร์อยู่เลย ชำระข้ามธนาคารหรือผู้ให้บริการไม่ได้ มีแค่ไม่กี่บัตรที่ทำได้
ต่อให้ไม่ได้ธุรกรรมกับธนาคารโดยตรงเหมือนเมื่อก่อนที่ต้องเข้าสาขา การใช้แอพก็เป็นการเข้าถึงธนาคารเสมือนเท่านั้นเอง แค่เปลี่ยนวิธีการเข้าถึงเท่านั้นเอง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมลองมองในลักษณะที่เป็นสกุลเงินนะเงินบาทสามารถโอนได้หลายช่องทางโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม ส่วนจะไปจ่ายเงิน app ไหนก็โอนใส่ app นั้น
แต่ Libra หรือพวกเหรียญคริปโตถ้าเทียบกันแล้วจะด้อยกว่าเพราะมีค่าธรรมเนียม แถมรองรับเฉพาะบางบริการ แล้วที่หนักกว่าคือไม่พึ่งธนาคาร แต่ไปพึ่ง fb หรือเว็ปเทรด ซึ่งจะปิดไปดื้อๆ เมื่อไหร่ก็ได้ น่ะนะ - -"
นโยบายการเงินนี่มันภาพใหญ่กว่าธนาคารนะครับ มันเป็นระดับประเทศ เสียการควบคุมไป คงไม่มีประเทศไหนยอม
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ธนาคารบางเจ้าบางสาขา คนตาบอดยังเปิดบัญชีธนาคารไม่ได้อยู่เลย
บางที่ให้เปิดบัญชีแต่ไม่ให้ทำบัตร ATM
ถ้าอยากถอนเงิน ต้องพาผู้ปกครองมาด้วย ทำเหมือนเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
แอพธนาคาร หลายๆแอพก็ใช้ยาก โปรแกรมอ่านจอภาพเข้าไม่ถึง หรือเข้าถึงแค่บางเมนู
ตู้ ATM ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ส่วนใหญ่กดเงินด้วยตัวเองไม่ได้
ตู้เป็น touch screen ถึงมีปุ่ม เมนูก็เปลี่ยนตลอดๆ
เคยแซวพนักงานธนาคารว่า..
พี่จะให้ผมเอาเงินไปใส่ตุ่มฝังใต้ดินหรือไง
ผมเชียร์ libra เพราะจะทำให้ชีวิตผมสะดวกขึ้นกว่านี้
เป็นกำลังใจให้นะครับ ผมเริ่มเห็นประโยชน์ของ Libra จากการอ่าน comment นี้แหละ
ประเด็นเรื่องตาบอดแล้วเปิดบัญชีไม่ได้ เกิดจากแนวทางการเปิดบัญชี ใช้ระบบ "ลายมือชื่อ หรือลายเซ็น" ในการให้ความยินยอมผ่านเอกสาร ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายและการยอมรับความเสี่ยงของธนาคารเป็นหลัก
จุดที่มาช่วยคนตาบอดให้เปิดบัญชีธนาคารสามารถทำได้ คือการแก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้ใช้อัตลักษณ์แทนลายมือชื่อแทน ซึ่งต้องแก้ไขกฎหมาย และรวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ไม่ยึดถือลายมือชื่อในเอกสารเพียงอย่างเดียวน่าจะเป็นทางออกที่ยั่งยืนกว่า
Facebook ทำอาจลำบาก แต่ยังไงก็หนีไม่พ้นหรอก สุดท้ายมันจะเกิดสกุลเงินดอลล่าห์ดิจิทัล หรือสกุลเงินดิจิทัล ที่ทุกประเทศยอมรับอยู่ดี เพียงแต่ตอนนี้ภาครัฐยังไม่พร้อม ก็ดึงเกมส์ไปก่อน สุดท้ายอาจมีคุยหลังบ้าน แล้วพัฒนาสกุลดอล์ลาห์ดิจิทัลอยู่ดี เงินมันก็มีพัฒนาการของมัน ซึ่งแต่ละรอบก็ใช้เวลาไม่น้อยกว่าจะเปลี่ยนผ่านได้
จะเชียร์นะ ถ้าไม่มีปัญหาความเป็นส่วนตัว
ก็ไม่ต่างจากแนวคิดดั่งเดิมของธนาคาร
แต่เดี๋ยวนี้ความเป็นตัวกลางที่เล่นกับความไม่เป็นตัวกลางมีอยู่หลายวงการทุน