ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เซ็นคำสั่งประธานาธิบดี (executive order) เพิ่มมาตรการส่งเสริมการแข่งขันทางธุรกิจของบริษัทอเมริกัน ลดปัญหาการผูกขาดจากการควบรวมธุรกิจ (consolidation) ที่เพิ่มขึ้นสูงในช่วงหลัง
คำสั่งประธานาธิบดีฉบับนี้ ประกอบด้วยมาตรการจำนวน 72 ข้อจากหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ และครอบคลุมอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่เกษตร การบิน สุขภาพ ขนส่งฯลฯ ส่วนที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมี 3 ประเด็นคือ
- การซื้อกิจการคู่แข่งเพื่อตัดโอกาสในอนาคต (killer acquisition) - ประกาศนโยบายของรัฐบาล ควบคุมการควบรวมให้เข้มงวดมากขึ้น
- การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลมากจนเกินควร - ให้ FTC ออกกฎเรื่องการเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน
- บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ แข่งขันกับรายเล็กอย่างไม่เป็นธรรม - ให้ FTC ออกกฎที่ระบุว่าวิธีใดบ้างไม่เป็นธรรม
ในคำสั่งประธานาธิบดีฉบับนี้ ยังมีเรื่อง กฎ Right-to-Repair สำหรับผู้ผลิตสมาร์ทโฟน และกฎเรื่อง net neutrality ของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วย
คำสั่งของไบเดนถือเป็นคำสั่งทางบริหาร ที่มีผลต่อหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐเท่านั้น ในรัฐสภาสหรัฐเองยังมีร่างกฎหมายหลายฉบับที่เป็นเรื่องการกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยี และมีผลต่อบริษัทเอกชนมากกว่าด้วย
ที่มา - White House
Comments
กฏหมายของประเทศที่เจริญแล้วมันดีจังอ่ะ ถ้าบ้านเรามีกฏหมายป้องกันการผูกขาดตั้งแต่ยุค 80 ป่านนี้ลูกหลานเราคงจะไม่มีเบียร์เพียง 2 ยี่ห้อ, ไม่มี CP ปกครองประเทศกลายๆ แบบนี้
ชังชาติเกิน เมกาพึ่งจะประกาศ จะเอามาเทียบกับไทยยุด 80 ขรรมหนักมาก
แต่กฏหมายป้องกันการผูกขาดเค้ามันก็ทำหน้าที่ของมันได้อย่างดีครับ ไม่ต้องรักชาติ ชังชาติ ก็รู้ได้
ผมว่าเค้าพูดถึงบริษัทที่ผูกขาดนะไม่ได้เกี่ยวกับชาติ แล้วทำไมสองบริษัทที่ผูกขาดอย่างที่ จขกท.เค้าว่าเนี่ยมันต้องเกี่ยวกับชาติของความหมายคุณด้วยยายๆลุงข้างบ้านทำเบียร์ขายไม่ได้เหรอครับ? หรือจะเปิดร้านขายของชำก็ไม่ได้?
ชังชาติ 5555555
sterotype เดียวกันหมดเลย
ถ้าเป็นตปท คิดว่า cp ควบ makro ควบ lotus คงเป็นไปไม่ได้ กฏหมายเขามีมานาแล้ว และใช้ได้จริง ต่างกันคนรักชาติแถวนี้มากๆ
แนวคิดคุณนี่แหละคือชังชาติก่อนจะแก้ปัญหาอะไร เราต้องยอมรับว่ามันมีปัญหาก่อน นี่คือเรื่องพื้นฐานของพื้นฐาน
แต่เป็นสิ่งที่รัฐไทยไม่เคยทำได้
สลิ่มเกิน แค่นี้ก็เรียกชังชาติล่ะ
ขรรมไรอะ
สลิ่มเกิน กฎหมายผูกขาดอเมริกามีใช้มาตั้งแต่ 2433 ละ อันนี้คือมาตรการเพิ่มเติม
ไม่ใช่แถว่าไม่ได้ผูกขาด แค่มีอำนาจเหนือตลาดแบบบางประเทศ
ชังชาติ!
"ชาติ" ในความหมายของคุณคือ "เบียร์ 2 ยี่ห้อ" + CP เองหรือครับ?"ชาติ" ในความหมายของคุณไม่ได้มี "ผู้บริโภค" ซึ่งก็คือประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในนั้นเลยใช่ไหมครับ?
ยึดทรัพย์ 3 จ้าวข้างต้นนั่นให้ล้มละลายก็ยังไม่เท่ากับ "ชังชาติ" เลยครับ เพราะประชาชนส่วนใหญ่จะมีโอกาสทางธุรกิจขึ้นมาทันทีเอาจริงๆ นะครับ ยุบธุรกิจ 3 จ้าวนั้น เพิ่มกฏหมายพิเศษให้ประชาชนทั่วไปทำได้ (โดยเฉพาะ 2 จ้าวแรก) นี่ วิกฤติ COVID จะดีขึ้นกว่านี้ทันทีครับ
รังแกคนแค่ 3 ตระกูลเพื่อคนอีก 70 กว่าล้านคนทั่วประเทศ ผมว่า "คุ้ม" ครับ (ลูกจ้างคนไทยของพวกเขาทั้งหมดรวมกันไม่ได้ถึงล้านคนนะครับ)
อย่าว่าทำไม่ได้นะครับ เคยมีคนคนบางกลุ่มรังแกตระกูล "ชินวัตร" ยังยอมรับและทำกันได้เลย ทั้งที่ "ชินวัตร" ไม่ได้เบียดเบียนประชาชน "โดยตรง" เลย
ดูเอาครับ ว่าวิกฤตินี้ใครโกยจากกระเป๋าประชาชนไป https://youtu.be/FLsdDMMqIbIนอกจากกระทิงแดงแล้ว รายได้พวกเขาไม่ได้ "ส่งออก" เป็นหลักนะครับ
ดูเหมือน "ชาติ" ของคุณจะมีแค่เจ้าสัวเองนะครับ
ผมว่า cp เขาไม่ได้ผูกขาดขนาดนั้นหรอกครับ เขาแค่อยู่มานานเลยใหญ่โต
ปัญหามันอยู่แค่คนอื่นไม่สามารถขึ้นมาได้เพราะทุกคนมุ่งมั่นที่จะเตะตัดขากันตั้งแต่เริ่มแหละ
เคยฟังคุณหนุ่ยพูดเรื่องจะสร้าง steaming ของไทยแต่เจ้าของ content ไม่ให้โอกาส. ทุกคนบอกว่าจะทำอยู่พอดี
สุดท้ายก็ไม่มีเจ้าไหนทำออกมาให้ยิ่งใหญ่ได้สักอัน
แล้วก็ไปร่วมมือกับ app จากต่างประเทศซะงั้น !!
แทนที่จะร่วมมือกับ app คนไทยด้วยกันเองตั้งแต่แรก
CP เนี่ยแหละครับ ผูกขาดจนมีอำนาจเหนือตลาดสมบูรณ์แบบเลย
เพราะเป็นเจ้าใหญ่สุดที่มีตั้งแต่ต้นน้ำ (อาหารสัตว์) ยัน retail เลย (7-11)กลไกของประเทศที่พัฒนาแล้ว เค้าจะไม่ยอมให้เกิดการควบรวมที่จะก่อให้เกิด อำนาจเหนือตลาด อย่างตอน cp ซื้อ lotus หรือ makro ก็เป็นตัวอย่างที่ดี
หรือถ้าสร้างขึ้นมาเอง ก็อาจจะโดนบังคับให้แยก เช่น windows ie หรือแม้แต่เรื่อง appstore ที่กำลังเป็นประเด็น
อำนาจเหนือตลาดหรือการผูกขาด อาจจะไม่ได้ห้ามคนอื่นทำเบียร์มาแข่ง หรือเปิดร้านสะดวกซื้อแข่ง
แต่มันทำให้คนที่จะแข่งด้วย เสียเปรียบอย่างรุนแรงเช่น 7-11 สามารถขายสินค้าจาก cp ได้ราคาถูกกว่า family mart เป็นต้น
หรือถ้าคุณอยากจะขายสินค้าใน 7-11 ก็ต้องยอมตามเงื่อนไขที่อาจจะเสียเปรียบมากๆ เพราะหากคุณไปขายที่ family mart ก็มีจำนวนสาขาน้อยกว่า 7-11 มาก
รู้สึก lotus หรือ makro. มีทางเลือกแค่ จะให้ cp ซื้อ หรือให้เป็นของต่างชาติไม่ใช่เหรอครับ
family mart, jiffy ก็มีโปรของตัวเองอยู่แล้วมันสามารถแข่งขันได้. ถ้าเกิดทำให้ดีเท่าก็จะแข่งขันได้อยู่แล้ว
ตอนนี้แค่ตัวระบบ กับการเทรนพนักงาน ก็โดนทิ้งแบบขาดไปค่อนข้างไกลเลย. ทำให้คนเลือกที่จะเข้า 7-11 อยู่ดี. ทั้ง ๆ ที่สองเจ้านั้นเจ้าของก็มีทุนมหาศาลเช่นเดียวกัน
"ถ้าทำให้ดีเท่า" นี่แหละครับคือประเด็น CP ครอบครองหลายธุรกิจและเอื้อกันเองในเครือ ทำให้มันเกิดการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม จึงเป็นเรื่องยากที่บริษัทอื่นจะเข้ามาแข่งได้ครับ
"มีทางเลือกแค่จะให้ CP ซื้อ" ผมว่ามันก็น่าจะเห็นชัดแล้วนะครับว่า CP ผูกขาดอยู่หรือไม่
เขาผูกขาดขนาดนั้นเลยแหละครับ
ใช่อยู่ที่การแข่งขันทางธุรกิจมันตัดขากันได้ แต่มันต้องอยู่บนพื้นฐานทางกฎหมายที่เท่าเทียมบนสนามเดียวกันกับ CP นี่ไม่ใช่เลย ไม่มีการแข่งขันที่เท่าเทียมอยู่ รายใหม่รายย่อยยังไงก็เสียเปรียบเต็มๆ
ไม่ใช่แค่ CP แต่การควบรวมกิจการขนาดใหญ่ในประเทศเรา มันเป็นสิ่งที่ผิดปกติแน่ๆในมาตรฐานของกฎหมายตะวันตก
CP นี่ผูกขาดเต็มตัวแล้วครับ
ส่วนแบ่งในตลาดของร้านสะดวกซื้อ (แยกออกจากร้านโชห่วยนะครับ) 7-Eleven มีจำนวนสาขามากกว่าคู่แข่งมาก (น่าจะเกิน 50% ไปเยอะอยู่) ยึดทำเลหัวหาดไปเกือบหมดแล้ว ป้ายรถเมล์ ตลาด ชุมชน อพาร์ทเมนต์ ออฟฟิศ โรงพยาบาล สถานศึกษา คู่แข่งแทบไม่เหลือพื้นที่ให้เจาะเพื่อมาแข่งขันแล้วครับ
อีกทั้งยังได้สิทธิ์ไปซื้อร้านค้าส่ง wholesale อย่าง Makro ซึ่งเป็นร้านค้าส่งที่โชห่วยมักไปซื้อสินค้ามาขาย เท่านั้นยังไม่พอยังได้รับอนุญาตให้ไปซื้อร้านค้าตลาดสมัยใหม่ supermarket อย่าง Tesco Lotus ที่เป็นแหล่งที่ผู้คนนิยมไปจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเข้าบ้านอีกด้วย
เก็บหมดทั้งเล็ก กลาง ใหญ่
ถ้าคิดว่าแค่นี้หนักแล้ว CP ก็ยังมีส่วนแบ่งของปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ ฟาร์มสัตว์ เนื้อไก่ เนื้อหมู ไข่ไก่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นวัตถุดิบต้นทางสำหรับการประกอบอาหารทั้งสิ้น
ด้วยความพร้อมสรรพรอบด้านเช่นนี้ ร้านค้าของ CP เช่น 7-Eleven จึงได้เปรียบและทรงพลังเหนือคู่แข่งมาก แค่ได้เปรียบด้านทำเลก็มหาศาลแล้ว นี่ยังได้เปรียบด้านต้นทุนและความสามารถในการผลิตสินค้าเองอีก ร้านสะดวกซื้ออื่น ๆ ถึงไม่สามารถแข่งขันได้
ทั้งหมดทั้งมวลเป็นผลจากความเก่งในการบริหารจัดการของ CP ด้วยส่วนหนึ่ง ข้อนี้ผมไม่ปฏิเสธ แต่กฎระเบียบสังคมของเรามันก็หละหลวมเกินไปด้วย ซึ่งทุกคนก็คงรู้กันดีว่าเพราะอะไร
That is the way things are.
ถ้าจำได้ สมัยรบ.มาร์ค ปตท.สนใจจะซื้อคาร์ฟูร์ที่กำลังจะถอนตัวออกจากไทย เพื่อเอามาเป็นsupply chain ร้านมินิมาร์ทในปั๊มแทน...ที่ทำสัญญากันอยู่
รมต.คลังและนายกตอนนั้นออกมาขวาง อ้างว่าปตท.ควรขายน้ำมันอย่างเดียว ห้ามไปทำอย่างอื่น ใช้อำนาจผู้ถือหุ้นใหญ่ของปตท.สั่งให้หยุดซื้อ.. สุดท้ายคาร์ฟูร์ก็ให้เจ้านึงโดยไม่มีคู่แข่ง(คนซื้อไม่เกี่ยวกับ..โดยตรงหรอก)
แต่วันนี้ปตท.แยกบ.OR ออกมาเพราะทำรายได้ดี สัดส่วนกำไรมากกว่าการขายน้ำมันซะอีก(หลักๆคือรายได้จากกาแฟและการบริหารพื้นที่) แต่ก็ยังทำสัญญากับ...ยาวไปอีกหลายปีทั้งๆที่ศักยภาพ OR พร้อมสุดๆแล้ว
ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นไปตามปกติธรรมดา ก็แปลกแล้ว...
อ่านข่าวไบเดนที่เด้งมารัวๆช่วงนี้แล้วรู้สึกว่า เหมาะจะเป็นประธานาธิบดีของอเมริการในสภาวะแบบนี้จริงๆแฮะ
ชังชาติเพื่อประชาธิปไตย?
ผมว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่ององค์ความรู้และวิสัยทัศน์นะ จะไปว่า cp ตรงก็ไม่ค่อยถูกเพราะสร้างจนใหญ่ไปแล้ว ถ้าจะตำหนิจริงๆ ก็ควรจะตำหนิที่คนไทยเราขาดวิสัยทน์ทั้งแต่แรกเริมนั้นแหละ ให้เดาเอา คนทั่วไปก็คงไม่มีใครคิดว่าเค้าจะเป็นใหญ่ได้เจ้าเดียวแบบนี้ แต่....ก็นั้นแหละนะ ถ้าจะทำจริงๆ ก็ทำได้นะ ณ ปัจจุบัน โดยออกกฏหมายย้อนหลังอะไรสักอย่างตัวอย่างเช่น 7 ห้ามมีเกิน 1000 สาขาทั่วประเทศ แค่นี้ ก็พอจะทำให้ เจ้าอื่นๆได้เกิดบ้างแหละ (ซึงก็จะส่งผลดีกับบรรดาลูกจ้างในระบบด้วย)
ใหญ่แล้วก็จับแยกได้ครับ แยกบริษัทซัพพลาย กับบริษัทค้าปลีกออกจากกันก็ได้ ไม่งั้นเอาเปรียบเขาหมด
เขาส่งลูกหลานญาติมิตรเข้าไปเป็นรัฐบาล เพื่อกำหนดนโยบาย
และก็ทำอย่างอื่นตามแนวทางแบบไทยๆ (เข้าเวบไหนของ CP ก็จะเห็นรูปหราหน้าแรก)
อีกเยอะแยะ
ส่วนการจำกัดสาขา ผมว่าไม่ฉลาด
ใหญ่โตไม่ใช่เรื่องผิดครับ ที่ผิดก็คือการใช้ใช้อำนาจเหนือตลาดที่เกิดจากความใหญ่โตในการควบคุมและผูกขาดตลาด
ตัวอย่างการใช้อำนาจเหนือตลาดในทางที่ผิดก็เช่น... การให้สิทธิพิเศษกับธุรกิจในเครือตัวเองเหนือคู่แข่ง เช่น ขายวัตถุดิบจาก CP ให้โรงงานในเครือ CP ด้วยราคาถูกแต่ขายให้โรงงานอื่นในราคาแพง หรือถ้าเอาแบบที่เราเห็นกันคือในร้านสะดวกซื้อที่มีการวางสินค้าในเครือ CP ในตำแหน่งที่ดีกว่าสินค้ายี่ห้ออื่นๆ
ซึ่งที่ผ่านมาคนที่ทักท้วงก็มีมาตลอดนั่นแหละครับ แต่ด้วยคนไทยหลายคนเคยชินกับระบบทุนนิยมก็เลยไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ผิดอะไรรวมถึงยังไม่ตระหนักถึงอันตรายจากการผูกขาดก็เลยไม่กระตือรือร้นที่จะแก้ไขอะไร ผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่ยังงงอยู่เลยว่า Apple Google Amazon Microsoft เขาโดนฟ้องอะไรกันเลยด้วยซ้ำ
แต่จะตำหนิคนทั้งประเทศก็กระไร ถ้าคนทั้งประเทศสามารถเดินหน้าด้วยตัวเองได้ก็คงไม่ต้องมีภาครัฐ เพราะงั้นที่น่าจะโดนตำหนิที่สุดก็คือภาครัฐที่กำกับดูแลนั่นแหละครับ ที่ไม่สามารถประชาสัมพันธ์และจัดการเรื่องนี้ได้ทันท่วงที (ตอนควบรวมโลตัสยังออกมาพูดอยู่เลยว่ามีอำนาจเหนือตลาดแต่ไม่ผูกขาดเลยไม่ทำอะไร)
ส่วนวิธีการแก้ปัญหา วิธีที่นิยมทำกันคือบังคับจับแยกธุรกิจครับ ในกรณีของ 7-11 ก็คือบังคับให้ CP แบ่งขายธุรกิจ 7-11 ไปให้คู่แข่ง (ซึ่งในกรณีนี้ก็คงจะมี Family Mart Lawson Jiffy ละมั้ง?) จะขายให้ทั้งหมดหรือเก็บไว้บางส่วนอันนี้ก็แล้วแต่กรณีไป
งงความเห็นแบบ อยู่มานานแล้วเลยใหญ่โต… แบบเพิ่งควบรวม makro ไปเมื่อห้าหกปีก่อน แล้วล่าสุดก็ซื้อเทสโก้โลตัส นี่คือใหญ่เพราะอยู่มานาน???
เรื่องกฏหมายป้องกันการผูกขาดนี่คงต้องอธิบายให้คนเข้าใจกับคำว่า "ป้องกัน" เสียก่อน
จะรอวัวหายล้อมคอก รอให้เกิดการผูกขาดแล้วค่อยแก้ไข มันไม่ทันการครับ เพราะเมื่อถึงตอนนั้นมันก็เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว (ผู้บริโภคและธุรกิจรายย่อยทั้งหลาย) และการแก้ไขก็ทำได้ยากด้วย (เพราะคู่แข่งตายกันไปหมดแล้ว)
นั่นคือเหตุที่ต่างประเทศเขาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนการ "ป้องกัน" อันเป็นที่มาของกฏหมายป้องกันการผูกขาด
ส่วนคนไทยบางคน ยังมัวแต่อ้างว่าเขาสร้างมาเขาเป็นเจ้าของจะทำอะไรก็ได้ หรืออ้างว่ายังมียี่ห้ออื่นในตลาดอยู่ยังไม่ได้ผูกขาดเลย หรืออ้างว่ามีอำนาจเหนือตลาดแต่ยังไม่ผูกขาดก็มี ถ้ายังเปลี่ยนความคิดพวกนี้ไม่ได้ก็ป้องกันการผูกขาดไม่ได้หรอกครับ
แล้ว CP ผูกขาดไหม? การที่ไม่ใครทำอะไรหรือแย่งส่วนแบ่งตลาดไปจาก CP ได้เลยนี่แหละเป็นสัญญาณของการผูกขาดแล้วล่ะครับ สถานการณ์ CP ตอนนี้ก็คือมีธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำและมีการเอื้อผลประโยชน์ให้กันเองเหนือคู่แข่ง (เช่น ขายวัตถุดิบในเครือเดียวกันในราคาที่ถูกกว่าขายให้คู่แข่ง หรือร้าน 7-11 วางสินค้าในเครือในตำแหน่งที่ดีกว่าสินค้าอื่น) ทำให้ไม่มีทางเลยที่คู่แข่งจะเข้ามาสู้ได้ตราบที่เท่ามีส่วนหนึ่งของธุรกิจอยู่ในระบบของ CP ถ้าคิดจะสู้คือทุกอย่างต้องอยู่นอกระบบ CP ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในปัจจุบัน
ทางแก้ตอนนี้ก็คงมีแค่จับขายธุรกิจบางส่วนให้คู่แข่ง (เช่น แยกธุรกิจร้านค้าออกจากการผลิตสินค้า) แต่คู่แข่งจะมีเงินซื้อหรือเปล่านี่สิ นี่แหละที่ว่าการผูกขาดยิ่งฝังรากลึกยิ่งแก้ยาก
ขอบคุณมากครับ หลังๆ ก็ขี้เกียจอธิบายแล้วเหมือนกันครับ
คนไทยบางคนยังติดค่านิยมเรื่องผลตอบแทนที่ควรค่าแก่ความพยายามอยู่
Like, Thanks
เห็นหลายๆคอมเมนท์แล้วไม่แปลกใจที่ประเทศไทยไม่เคยสนใจกฏหมายตัวนี้
งานแต่งของคุณ บี ทิพาภรณ์ ลูกสาวคนสุดท้องของเจ้าสัวซีพี เมื่อปลายปี 57 มีบุคคลจากทุกขั้วการเมืองในขณะนั้นเข้าร่วม ก็น่าจะสะท้อนภาพอะไรบางอย่างได้นะครับ
บ้านเรามีหน่วยงานนึงครับ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมไม่เคยเบรกดีลนรกเจ้าสัวได้สักที
https://otcc.or.th/
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ดีมากทั้ง ที่ตั้ง ภูมิประเทศ และทรัพยากร ใครๆ ก็อยากได้ครับ ถ้ามีศักยภาพพอที่จะครองทั้งประเทศได้และถ้าผมมีศักยภาพที่จะครองประเทศไทยได้ (ไม่ว่าจากด้านเปิดเผยหรือด้านลับ) ผมก้อจะทำครับ แบบทีละขั้นอย่างแยบยล
แหม ครองแล้วต้องเอาปัญหาทุกอย่างไปด้วยนะครับ ทั้งความยากจนสิ่งแวดล้อม น้ำแล้งน้ำท่วม
คุณก็เวอร์ไป ประเทศอื่นๆ ที่ตั้งภูมิประเทศ ทรัพยากรไรๆ ดีๆเยอะแยะถมไป
พม่าเป็นต้นอุดมสมบูรณ์กว่าไทยด้วยซ้ำ เวียดนามเป็นต้น นี่แค่ในอาเซียนนะ
ไม่มีใครเขาอยากยึดไทยหรอกครับ อย่างมากก็แค่มาสูบเงินหรือทรัพยากร ไม่ได้อยาก"ครอง"หรอกครับมันอยู่ที่เราจะให้เขาสูบหรือเปล่า เช่นขายวัคซีนแล้วเราซื้อรัวๆ หรือเอาสินค้าเกษตรมาดัมพ์ หรือมาหลอกให้เราออกตังค์สร้างศูนย์กระจายสินค้าออนไลน์ให้หน้าตาเฉยเขาจะได้มาขายสะดวกๆ
คุณไม่เข้าใจหรอก
เชื่อไหมเราเคยโพสเรื่องการผูกขาดและการแข่งขันทางการค้าเมื่อ 10กว่าปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเลย (โพสในเว็บบอร์ดยอดนิยมแห่งหนึ่งในประเทศไทย) สุดท้ายกระทู้นั้นก็โดนลบไปและก็หวังว่าวันนี้คนกลุ่มนั้นน่าจะตาสว่างและเข้าใจกันแล้วนะ แต่ถึงจะเข้าใจแล้วก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้วละ คุณสร้างยักษ์กันขึ้นมาเองแล้วคุณจะใช้อะไรไปล้มยักษ์ที่ใหญ่ขนาดนี้หละ **จากคนที่ที่บ้านมีร้าน supermarket จำนวนหลายสาขาในต่างจังหวัดก็ยังจะไม่ไหวเลย
เราแอบคิดว่าทุกวันนี้ถึงเปลี่ยนรัฐบาลแล้วมาจัดการปัญหานี้ก็ยังไม่สามารถทำอะไรกับบริษัทที่เราก็รู้กันอยู่ได้เลยนะ มันใหญ่เกินไปแล้ว
ยอมรับว่าเมื่อก่อนผมก็ไม่เข้าใจเรื่องแบบนี้ครับ
มันไม่ใช่ความผิดแบบจะๆอย่างไปโกงคนอื่นหรือผิดสัญญาอะไรแบบนี้ ก็เลยไม่แปลกที่คนจะมองว่าไม่ผิดอะไร เมื่อก่อนผมก็เคยมองแค่ว่ามันเป็นปลาใหญ่กินปลาเล็กธรรมดา ก็เลยเข้าใจคนที่เขาไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้นะครับ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เข้าใจยากพอสมควรเลย
พอผมได้ไปศึกษาและเห็นเคสตัวอย่างมาบ้าง ถึงได้รับรู้ว่าเรื่องพวกนี้ถ้าปล่อยไปแบบนี้มันจะมีปัญหาเกิดขึ้นในอนาคต แถมปัญหามันไม่ใช่เล็กๆอย่างเรื่องเศรษฐกิจแต่มันอาจไปถึงความมั่นคงของประเทศได้เลยและมันยากที่จะแก้ไขด้วย ก็เลยเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหามันเกิดขึ้น
ในเว็บนี้ยังพอโอเค มีหลายคนที่รับรู้ถึงปัญหาเรื่องพวกนี้แล้ว แต่พอไปเห็นคอมเมนต์ตามโซเชียลแล้ว... ถ้ารัฐไม่ทำอะไรคงอีกนานเลยกว่าจะสื่อสารเรื่องนี้ได้ (ซึ่งรัฐคงทำอะไรได้ยากเพราะดูแล้วเหมือนโดนครอบงำไปถึงโครงสร้างการบริหารประเทศแล้ว)
ตาสว่างเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ครับ ผมดีใจที่มีเพื่อนร่วมทาง
บางทีเราต้องถอยออกมาไกลๆ เพื่อจะเห็นภาพจริงของละคร