เมื่อโทรศัพท์ แท็บเล็ตหรืออุปกรณ์ใดๆ มีปัญหา แต่ถูกบังคับให้ซ่อมในจุดที่ผู้ผลิตให้การรับรองเท่านั้น ผลปรากฏว่าค่าซ่อมนั้นแพงกว่าที่อื่น ล่าสุด โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมแก้ปัญหานี้ Bloomberg รายงานว่า ไบเดนจะให้คณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (Federal Trade Commission หรือ FTC) ร่างกฎหมาย Right-to-Repair
เป้าหมายของกฎ Right-to-Repair คือ หยุดผู้ผลิตจากการจำกัดความสามารถของผู้บริโภคในการซ่อมผลิตภัณฑ์ในร้านค้าอิสระหรือซ่อมด้วยตนเอง ส่วน FTC จะรับผิดชอบการออกแนวทางและขอบเขตของคำสั่ง ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือและผู้รับเหมาของกระทรวงกลาโหม คาดว่าการลงนามคำสั่งของไบเดนจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่วันข้างหน้า
หากมีการลงนามคำสั่งจริง คาดว่าจะเกิดกระแสต้านจากบริษัทผู้ผลิต ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย การติดตั้งดัดแปลงอุปกรณ์ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอันตรายภายหลังได้
สหรัฐฯ ไม่ได้เป็นเพียงประเทศเดียวที่ผลักดันให้มี Right-to-Repair คณะกรรมาธิการยุโรปยังประกาศแผนการที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ครอบคลุมสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และแล็ปท็อป นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมองว่ากฎนี้สามารถยับยั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากผู้บริโภคจะไม่ทิ้งอุปกรณ์ที่ชำรุดอีกต่อไป เนื่องจากมีค่าซ่อมสูง
Photo by Kristin Hardwick on StockSnap
ที่มา - Android Community
Comments
ถ้าส่งไปซ่อมร้านนอก แล้วพังมากกว่าเดิม รัฐบาลจ่ายค่าซ่อมรับช่วงนะโดนมาแล้ว ซ่อมร้านนอก โดนวางยา ทีเดียวไม่จบ
มันก็รับความเสี่ยงกันเองอยู่แล้วนะถ้าไม่ได้ซ่อม ศ. และปรกติสินค้าที่ไม่ซ่อม ศ. ก็มีในระเบียบอยู่แล้วว่ารับความเสี่ยงเอง วงการรถยนต์เค้าก็อยู่กันมาได้ครับ
จุดที่ดีต่อผู้บริโภคคือ มันทำให้งานซ่อมอิสระพัฒนาไปอีกขั้น และแข่งขันกับ ศ. จากผู้ผลิตไปในตัว เพราะบริษัทผู้ผลิตจะถูกบังคับให้ต้องขายอะไหล่ให้กับร้านซ่อมอิสระ ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา และคุณภาพ
ผมจำได้สัก 20 ปีก่อนทีวี-เครื่องเสียงราคาแพง นิยมซ่อมมากกว่าซื้อใหม่ ร้านซ่อมอิสระได้รับความนิยมสูงมาก เพราะงานซ่อมได้คุณภาพดี ราคาไม่แพงมีอยู่เยอะ แต่พอหลังๆ การซ่อมมันแพงพอๆ กับซื้อใหม่ เลยไม่นิยมซ่อม แต่มันก็มาซึ่งขยะ แล้วประกอบกับการซ่อมก็ผูกขาดกับ ผู้ผลิต เพราะอะไหล่จากบริษัทผู้ผลิตมักไม่จำหน่ายร้านซ่อมอิสระ ลูกค้าก็ไม่มีทางเลือก โดนบีบให้ซื้อใหม่ไปกลายๆ ไปอีก
เค้าไม่ได้จะบังคับให้ไปซ่อมร้านนอกนะครับ ไม่ไว้ใจก็ส่งศูนย์เหมือนเดิมได้
เค้าไม่ได้บังคับให้ต้องซ่อมข้างนอกนะครับคุณ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
คนละเรื่องกันเลยครับอันนี้คือการให้เจ้าของผลิตภัณฑ์ขายอะไหล่หรือออกแบบชิ้นส่วนที่สามารถซ่อมโดยบุคคลที่สามได้ ทำให้ซ่อมเองหรือร้านซ่อมนอกสามารถหาอะไหล่และดำเนินการซ่อมเองได้ และคุณก็มีสิทธิ์ไม่เลือกใช้งานร้านนอกไปเลือกใช้บริการซ่อมของผู้ผลิตได้ เหมือนเดิม
เรามีทางเลือกดีกว่าผูกขาดนะครับ
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ตำแหน่งสาวกไม่พอ บวกมโนผู้ถือหุ้นเข้าไปด้วยอีก แจ๋วไปเลย
เกินไปครับ เรื่องซ่อมไอโฟนแล้วดันได้เครื่องยำอะไหล่ที่เกิดขึ้นในบ้านเรามันเกิดขึ้นซ้ำๆจนเข้าขั้นทุเรศเลยแหละ แต่เรื่อง rights to repair ผมสนับสนุนอยู่แล้ว
จริงๆเครื่องยำนี่ทุกยี่ห้อด้วยซ้ำ และก็ พวกขายๆใน app ส้ม app น้ำเงิน นี่ยิ่งไม่กล้าซื้อ ปลอมยันกล่อง บางอย่างก็ปลอมยันรีวิวอยากได้ถูกๆ ไปซื้อเครื่องติดโปรคุ้มกว่าเยอะเลย
ไม่เชิงปลอมรีวิว แต่ส่วนมากมันให้รีวิวเฉพาะตอนแกะกล่อง และที่แสบคือแอปส้ม แก้รีวิวไม่ได้ด้วยนะ
รีวิวไหนแย่ร้านค้าลบทิ้งได้ด้วยนะครับ เหอะ ๆ
เคยรีวิวแย่แล้วโดนร้านแบนด้วยครับ
โอ้วนึกว่าจะโดนกดดันไม่ผ่าน กฎหมายนี้ดีมันรวมไปถึงซ่อมรถ เครื่องจักรการเกษตร ลดรอบปีอุปกรณ์ที่ตกรุ่นดี
อยากให้ประเทศไทยมีกฏหมาย สินค้าทุกชิ้น ต้องรับประกัน 2 ปี
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ผมว่าไม่ควรนะครับ บังคับไปเค้าก็ต้องบวกค่าความเสี่ยงต้นทุนไปในราคาขาย บังคับของแพงขึ้นอีก
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
มันมีประกันกากๆบางเจ้า ซึ่งบังคับไปก็ทำให้ของแพงเปล่าๆ ไม่ได้ประโยชน์
ขอนโยบายไม่พอใจคืนสินค้าได้น่าจะดี
อันนั้นยากเพราะว่าชิ้นส่วนบางชิ้นรับประกันไม่ถึง อย่างผมเพิ่งไปดูดอกลำโพงของแอมป์กีตาร์ ที่ตามมาตรฐานตลาดรับประกันแค่ 90 วัน เนื่องจากเป็นพาร์ทที่ผู้ใช้ทำพังได้ง่ายและผู้ผลิตจับยากว่ามันพังเพราะการผลิตที่ผิดพลาดหรือเปล่า
เอาจริง ๆ ผมขอแค่สามารถคืนเงินได้ถ้าซื้อของแล้วไม่พอใจภายใน 30 วัน ก็ยิ้มละครับ (
.
ขอแค่ให้ทุกบริษัทขายอะไหล่แท้ให้ร้านข้างนอกก็พอแล้ว
จริงๆแล้วสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือซ่อมถูก ซ่อมสะดวก(ร้านที่ซื้อส่งเคลมได้ ไม่ต้องไปอีกที่) ถ้าซ่อมไอโฟนกับสโตร์ได้ถูกๆ จะซ่อมข้างนอกไปทำไม
ถ้าซ่อมราคาถูก แล้วจะขายสินค้าได้รึครับรู้กันอยู่ว่ายุคคนรุ่นใหม่ เครื่องไม่ทนพังง่ายเรียกค่าซ่อมแพงเพราะอยากให้ซื้อใหม่
สถานการณ์ตอนนี้คือ ถ้าคิดค่าซ่อมแพงได้ (เพราะไม่มีตัวเลือก) จะคิดค่าซ่อมถูกไปทำไมนะสิครับ
งั้นก็บังคับให้อัพเกรดเวอร์ชันซอฟต์แวร์ให้เป็นรุ่นล่าสุดทุกรุ่นทุกยี่ห้อด้วยสิ
เกี่ยวไรครับ ไม่บอกให้เขาแจกน้ำส้มคนซื้อทุกคนด้วยล่ะครับ
โอโฟน ขายในเมกามากสุดด้วยสิ
ที่น่าสนใจคือ ข่าวนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับไอโฟนเลย แต่เหมือนทุกคนจะพุ่งประเด็นไปที่ไอโฟนกันทุกคน
ถ้าตามข่าว FTC ที่เกี่ยวกับ right to repair แทบทุกข่าวจะมุ่งไปที่ Apple และแนวทางกีดกันร้านซ่อมอิสระไม่ให้ซ่อมเครื่องได้
ซึ่ง Apple หนักข้อกว่ายี่ห้ออื่นๆ ทั้งการมีข้อความเตือนแบตฯ ที่ไม่ได้เปลี่ยนโดนแอปเปิ้ลเอง หรืออุปกรณ์อย่างจอภาพ ฯลฯ ที่มักจะมีข้อความแสดงว่า ไม่ได้เป็นอะไหล่จากแอปเปิ้ลโดยตรง