Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จากเหตุ ความกังวลผลกระทบคลื่น 5G ที่อาจกระทบการบิน ขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) ตั้งแต่ปลายปีก่อน ทาง FAA จึงได้จัดทำหน้า 5G and Aviation Safety เพื่อแจ้งความคืบหน้าในการปรับปรุงมาตราการความปลอดภัยจากประเด็นดัวกล่าว ที่นอกจากข่าวสารและลิงก์เอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมีแสดงตำแหน่งสนามบินในสหรัฐอเมริกาที่มักประสบเหตุทัศนวิสัยต่ำและอยู่ในพื้นที่บริการ 5G จำนวน 87 สนามบิน และรายชื่อรุ่นเครื่องบินที่แสดงสัดส่วนจำนวนสนามบินที่อนุญาตให้ลงจอดจากทั้ง 87 สนามบินดังกล่าว

และ FAA ยังได้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เช่น
- อนุมัติเครื่องวัดความสูงด้วยคลื่นวิทยุของอากาศยาน (Radio Altimeter) จำนวน 20 รุ่น ซึ่งคิดเป็นประมาณ 90 เปอร์เซ็นที่ใช้ในเครื่องบินเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ให้ใช้งานในตอนเกิดเหตุทัศนวิสัยต่ำระหว่างนำเครื่องลงจอดสนามบินในบริเวณที่มีใช้งานคลื่น 5G แล้ว
- รับข้อมูลตำแหน่งเครื่องส่งสัญญาณ 5G รวมทั้งข้อมูลระดับพลังงานจากบริษัทเครือข่ายโทรคมนาคม
- อำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้ผลิตอุปกรณ์การบินและบริษัทเครือข่ายโทรคมนาคม
- ทำงานร่วมกับสายการบินเพื่อลดเหตุความล่าช้าหรือเหตุยกเลิกในพื้นที่ได้รับผลกระทบ
- พิจารณาให้ใช้ระบบ GPS นำทางในสนามบินบางแห่ง
- ร่วมหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมการเดินทางทางอากาศ
- ทำงานร่วมกับสายการบินเพื่อกำหนด Alternative Method of Compliance (AMOC) เพื่อพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของเครื่องวัดความสูงด้วยคลื่นวิทยุของอากาศยานในบางสถานการณ์ ควบไปกับที่ยังต้องทำตามประกาศผู้ทำการในอากาศ (NOTAM) ที่ออกมาก่อนหน้านี้

ที่มา : FAA

ข้อมูลเสริม เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ชี้แจงว่าสัญญาณ 5G ในไทยไม่กระทบการบิน เนื่องจากช่วงคลื่นห่างกัน โดยคลื่น 5G ในประเทศไทยใช้ในย่านความถี่ 2.6 GHz ซึ่งถือว่ามีช่วงห่างจากย่านความถี่ของเครื่องวัดความสูงด้วยคลื่นวิทยุของอากาศยาน (4.2 – 4.4 GHz) ค่อนข้างมากในระดับปลอดภัยจากการรบกวน โดยสำนักงานการบินพลเรือนจะติดตามความคืบหน้าประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

Get latest news from Blognone