กระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา (DoE) ได้ประกาศความสำเร็จครั้งใหญ่ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่น โดยสามารถสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นซึ่งให้พลังงานสูงกว่าพลังงานที่ใช้ก่อให้เกิดปฏิกิริยา (Net Energy Gain) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เปิดทางไปสู่ความเป็นไปได้ในการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่นเชิงพาณิชย์ในอนาคต
ปัญหาที่ผ่านมาของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นมาจากพลังงานที่จำเป็นต้องใช้ในการก่อปฏิกิริยาที่สูงมากเพื่อสร้างพลังงานและแรงกดดันต่ออะตอมของสารตั้งต้น เช่น ไอโซโทปของไฮโดรเจน ให้เข้าใกล้กันมากพอที่จะรวมตัว (Fusion) กันได้ โดยที่ผ่านมาเตาปฏิกรณ์ที่อยู่ระหว่างการทดลอง เช่น Tokamak ใช้เทคนิคการบีบอัดพลาสมาของสารตั้งต้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าทรงโดนัท ซึ่งต้องใช้พลังงานสูงจนมากกว่าพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาฟิวชั่นที่เกิดขึ้น
นักวิทยาศาสตร์จาก Lawrence Livermore National Laboratory (LLNL) ของ DoE ได้ใช้เทคนิค Inertial Confinement โดยการนำอะตอมไฮโดรเจนใส่ไว้ในเปลือกห่อหุ้มขนาดเล็ก (ขนาดเท่า "เม็ดพริกไทย") และยิงเลเซอร์กำลังสูงที่ปรับแต่งค่าพลังงานและจังหวะการยิงใส่ โดยในวันที่ 5 ธ.ค. 2022 ที่ผ่านมา กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เลเซอร์พลังงานสูงระดมยิงใส่สารตั้งต้น 192 ครั้ง พลังงานจากเลเซอร์ที่ส่งไปถึงอะตอมสารตั้งต้นรวม 2.05 เมกะจูลส์ ส่งผลให้เกิดความดันและอุณหภูมิภายในสูงกว่าดวงอาทิตย์จนเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นขึ้นเป็นช่วงสั้น ๆ (1 ในพันล้านวินาที) และสร้างพลังงานจากปฏิกิริยาฟิวชั่นได้ 3.15 เมกะจูลส์ นับเป็นการสร้างพลังงานสุทธิ (Net Energy Gain) ได้เป็นครั้งแรก และสามารถทำซ้ำให้เกิดผลแบบเดียวกันได้
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ยังเป็นเพียงก้าวแรกในการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้สร้างเลเซอร์ยังไม่มีประสิทธิภาพความคุ้มค่าด้านพลังงานเพียงพอ (อุปกรณ์ใช้พลังงาน 300 เมกะจูลส์เพื่อสร้างเลเซอร์พลังงาน 2 เมกะจูลส์) รวมถึงในการใช้งานจริงต้องหาทางคงปฏิกิริยาให้เกิดขึ้นเป็นเวลานานต่อเนื่องและสร้างพลังงานโดยรวมสูงพอในระดับที่ใช้ในโรงไฟฟ้าได้ (พลังงานที่ได้ในครั้งนี้มากพอจะ "ต้มน้ำได้ไม่กี่กา") โดยต้องใช้เวลาอีกนับสิบปีกว่าจะพัฒนาไปถึงการใช้เชิงพาณิชย์ได้ อย่างไรก็ดี การประกาศครั้งนี้จะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการแข่งขันด้านพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชั่นของในอนาคต
ที่มา กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ , BBC , AP
Comments
ปีที่แล้วให้พลังงาน 1.37 MJ จากพลังงานที่ใช้ไป 1.92 MJ (72%) แถมยังทดลองซ้ำไม่ได้ ปีนี้ให้มากกว่าเสียที ส่วนจะทำซ้ำได้ไหม ต้องรอดูต่อไป
จะทันรุ่นเราไหมเนี่ยที่ค่าไฟจะได้ถูกลง
ทันครับเขากำหนดขึ้น production ในอีก 10 ปี แต่ผมว่ามีประเทศอื่นขึ้นได้ก่อนเพียงแต่ประสิทธิภาพอาจยังไม่ดีเท่า
สำหรับผมถ้าอีกสัก 20 ปี พอทันมากกว่านี้ต้องลุ้น 😅
อยู่ที่ว่าหมายถึงโลกได้ใช้หรือไทย(เรา)ได้ใช้
ถ้าโลกได้ใช้ น่าจะทันนะครับ
แต่ถ้าคุณหวังค่าไฟถูกลง คงจะหวังว่าไทยได้ใช้ อันนี้ผมขอทำนายไว้ก่อนว่าไม่ทันครับ
ปัญหามันเย้อออออ แม่แต่โรงไฟฟ้าพลังงาวนิวเคลียร์ฟิชชั่น โลกเค้ามีคนใช้กันไปนานแล้วไทยยังไม่มีโอกาสได้ใช้เลย
แต่ก็ไม่แน่หรอก เราอาจจะก้าวข้ามขั้นไปฟิวชั่นเลยก็ได้
เห็นด้วยครับมีคำว่า "นิวเคลียร์" คนไทยหลายคนก็กลัวกันแล้ว เอาชัวๆ ก็คงหลังจากคนไทย(สมอง)ยุคไดโดเสาร์หมดไป อาจจะพอมีหวัง ก็อาจจะต้องไปสู้ต่อในเรื่อง corruption และผลประโยชน์อีกทีว่าจะได้สร้างมั้ย
ถึงเราคิดว่าเราเจ๋งแค่ไหน ซักวันเราก็ถึงจุดที่ดูเป็นไดโนเสาร์ในสายตาบางคนครับมันมีแค่คนที่รู้ กับยังไม่รู้ แค่นั้นแหละครับ
ผิดแล้วละครับ มันมีแค่คนที่รู้ คนที่ไม่รู้ และคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้"ไดโนเสาร์" มันคือพวกหลังสุดนี่แหละ
ที่ต้องเอานิ้วมาจิ้มกันใช่มั้ยครับ
รวมร่างเป็น เบจิโต้
อะไรของคุณครับเนี่ย!!!
น่าจะก้าวข้ามไปฟิวชั่นเลยนะครับ เพราะมีข่าวว่าหน่วยงานไทยได้เครื่องต้นแบบจากจีนมาทำวิจัยเหมือนกัน แต่ก็เพื่องานวิจัย ถ้ามองจากมุมบริหารแสดงว่ามีแนวโน้มทิศทางสนับสนุนไปทางนั้น ต้นปีหน้าน่าจะได้เห็น
https://www.youtube.com/watch?v=3-GOkx5sNR8
ถ้าประเทศนี้ยังเป็นถิ่นกาขาวอยู่ ไม่มีทางครับ
ถูกลงไหมนี่ไม่แน่ครับ กว่าจะผลิตได้จริง กว่าต้นทุนจะต่ำพอใช้ในงานเชิงพาณิชย์ ต้นทุนจริงๆ ตอนสร้างยังไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่ โซลาร์เซลล์กว่าจะคุ้มสร้างฟาร์มใหญ่ๆ นี่ใช้เวลาหลายสิบปี
แต่น่าจะทันที่จะทำให้ "ค่าไฟนิ่งขึ้น" มีการใช้งานแม้อาจจะแพงแต่ก็นิ่ง (มองแบบฝรั่งเศสที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์สูงๆ แต่ไม่มีกากนิวเคลียร์)
lewcpe.com , @wasonliw
ค่าไฟถูกลงอาจจะยากครับ เพราะที่ค่าไฟแพงตอนนี้ก็ไม่ได้มาจากต้นทุนจริงซักเท่าไหร่ ถ้าอยากจะให้ถูกลงจริง ๆ ทำได้ตอนนี้เลยไม่ต้องรอ fusion ครับ แค่ลดส่วนที่ไปซื้อมาสำรองที่เว่อร์มาก กับลดเงินที่ต้องจ่ายให้โรงไฟฟ้าจิ๋วที่เปิดขึ้นมาเพื่อรับเงินจากอุดหนุนจากรัฐแต่ไม่ได้เดินเครื่องจริงเลยก็ลดค่าไฟได้แล้วครับ
อย่างเร็วที่สุดที่เชิงพานิชย์จะใช้ได้ต้อง 30+ ปี (น่าจะ 40 มากกว่า) ก็คือราวๆ 2060เรามาไกลเรื่องฟิวชั่นแล้วก็จริง แต่ก็ยังอีกไกลนักกว่าจะใช้งานมันได้คุ้มค่า
จริง ๆ ถ้าจะเอามาใช้เลย
ใช้ฟิชชั่นก่อนก็ได้นะครับ แต่เหมือนจะมีคนไม่อยากให้ค่าไฟถูก
เลยจัดม๊อบมาประท้วงอะไรแบบนี้ตลอด 😥
เทคโนโลยีนิวเคลียร์ พัฒนามาเรื่อยๆอนาคตถ้ามันทำแล้วคุ้มค่า จะมีการแอบสร้างธาตุมีค่ามั้ยนะ
ก็ยังต้องใช้พลังงาน 300 เมกะจูลส์ เพื่อให้ได้ 3 เมกะจูลส์300 > 2 > 3
300 > 2 อันนี้มันเป็นการสูญเสียพลังงานตอนแปลงไฟฟ้าเป็นเลเซอร์ครับ ตอนนับเรานับแค่พลังงานที่เข้าระบบตรงส่วนนั้น คิดเสียว่าเป็นพลังงานที่ใช้ start เครื่อง
ถัดมาน่าจะเป็นทำให้พลังงานที่ได้ออกมาไปทำปฏิกิริยาลูกโซ่ให้มันเกิดขึ้นเองต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ ละมั้งครับ คือถ้าพลังงานส่วนที่ได้ออกมามันตัดเอาส่วน 2/3 ไปทำให้ข้างๆ เกิดลูกโซ่ต่อไปเรื่อยๆ เราก็เก็บเกี่ยว 1/3 ไปเรื่อยๆ ได้
มีอีกปัญหานึงคือ 3MJ ที่ออกมา ไม่ได้หมายถึงเราจะเก็บมันได้หมดน่ะครับ
และตอนนี้การเก็บพลังงานจากฟิวชั่นซึ่งมีหลักๆสามอย่าง นิวตรอน แกมม่า นิวตริโน มีประสิทธิภาพต่ำมากๆ(ๆๆๆ)
ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ต้องการได้พลังงานอย่างน้อย 20 เท่าของใส่เข้าไป ถึงจะคุ้มในเชิงเศรษฐศาสตร (ประสิทธิภาพการแปลงพลังงาน 5%)
เลเซอร์ฟิวชั่นเลี้ยงปฏิกิริยาให้อยู่นานๆไม่ได้เหมือนพวกพลาสม่าด้วย
.
แม้การทดลองครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญ แต่ยังเหลืออีกหลายก้าวเหลือเกินกว่าฟิวชั่นจะใช้งานทั่วไปได้
ทีมนักวิทย์ฯ เค้าบอกว่า เลเซอร์ที่ใช้ตอนนี้สร้างขึ้นมาโดยไม่ได้สนใจประสิทธิภาพเลย ต้องการแค่ให้มันยิงได้แรงพอ นานพอ ตรงเวลาพอสำหรับการทดลองเท่านั้น มันเลยดึงพลังงานมหาศาล ถ้าจะเอาไปใช้จริงยังไงก็ต้องปรับแต่งเลเซอร์กันอีกครับ
อีกอย่างคือ ตอนนี้เป็นการทดลองสเกลเล็ก ถ้าอนาคตทำโรงไฟฟ้าจะต้องสร้างเครื่องที่ใหญ่ขึ้นอีก ซึ่งโดยรวมจะ Economies of Scale พลังงานจากเลเซอร์ใกล้เคียงกับพลังงานที่ใส่เข้าไปมากขึ้นครับ
อาห์ ความฝันที่จะได้เห็นกันดั้มเข้าใกล้ไปอีกหนึ่งสเต็ป
รอวีดีโอ Thunderf00t เลยว่าจะออกมาแบบไหน แล้วพอบอกว่าได้พลังงานมากกว่าที่ใช้ในการสร้างนี้ จะเข้าข่ายละเมิดกฎ Thermodynamics ไหมเนี่ยสิ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ไม่ละเมิดครับ
พลังงานที่ใส่ไป คือแค่ใช้บีบอะตอมเข้าหากันครับ ส่วนพลังงานที่ออกมา มาจากการที่มันฟิวชั่นกันแล้วมวลรวมลดลงกลายเป็นพลังงาน ตามกฏ E=mc^2
ใน 20ปีอาจได้ใช้ แต่ถามว่าถูกไหม ผมว่าไม่ ของแบบนี้ไม่มีทางถูกในช่วงแรกๆหรอก กว่าจะถูกเราตายไปละ 555แต่ก็ดีใจครับ ที่มนุษย์เรายังพัฒนาได้เรื่อยๆ
ถ้าเกิดหาวัสดุที่สามารถทนความร้อนระดับนั้นได้เจอคงจะมีอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาอีกเพียบแน่ ๆ เลย
น่าตื่นเต้น
ตอนนี้ใช้สนามแม่เหล็กอย่างเครื่อง Tokamak ในการควบคุมความร้อนครับ ไม่ให้สัมผัสกับวัสดุเครื่อง
เรื่อง technology ส่วนตัวเชื่อว่า ระดับความก้าวหน้ามันจะเป็นแบบ step ไม่ใช่ linear (เช่น อาจจะมี lab ซักที่ อยู่ๆ ก็โชว์ออกมาว่า ใช้พลังงาน 20 M เพื่อสร้าง Laser ที่ 5 M ได้วันมะรืนนี้ หรืออาจจะอีกสิบปีก็เป็นไปได้) ดังนั้น เรื่องนี้ผมคิดว่านะ ได้ใช้ แต่อย่าไปหวังมากกว่ามันจะทันรุ่นเรา ง่ายๆ กว่านั้น เมื่อไหร ก็เมื่อนั้นละครับ
พอพูดถึง Laser สำหรับงานวิจับแล้วอดนึกถึง leonard ไม่ได้ 555
ยังต้องรออีกนาน ไม่รู้ใครจะทำสำเร็จก่อนกัน ระหว่างจีนกับเมกาและก็ยุโรปด้วย