Tencent บริษัทเทคโนโลยีจีนรายใหญ่ประกาศเข้าสมาชิกระดับพรีเมียร์ของ RISC-V International ผู้ออกมาตรฐานชุดคำสั่งสำหรับซีพียูแบบโอเพนซอร์ส ทำให้ตอนนี้องค์กรสมาชิกระดับเดียวกันกลายเป็นองค์กรจากจีนแล้ว 13 องค์กรจาก 25 องค์กร บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของจีนล้วนเป็นสมาชิกระดับนี้ เช่น Huawei, Alibaba Cloud, ZTE
ค่าสมาชิกระดับพรีเมียร์อยู่ที่ปีละ 250,000 ดอลลาร์ต่อปี บริษัทจะได้ที่นั่งในบอร์ดและกรรมการควบคุมด้านเทคนิค (technical steering committee) แต่ตอนนี้บนเว็บไซต์ RISC-V ยังไม่มีชื่อบอร์ดจาก Tencent แต่อย่างใด
ตัว RISC-V International ก่อตั้งจากบริษัทสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็จดทะเบียนในสวิสเซอร์แลนด์ และบริษัทนอกสหรัฐฯ ก็ให้ความสนใจอย่างมากโดยเฉพาะบริษัทจีนหลังจากเริ่มสงครามการค้ากับสหรัฐฯ รัฐบาลที่เป็นสมาชิกระดับพรีเมียร์ของ RISC-V อีก ประเทศคืออินเดีย ที่แสดงความสนใจมาตั้งแต่ปี 2020
ชิปประสิทธิภาพสูงที่บริษัทจีนออกแบบส่วนมากมักใช้สถาปัตยกรรม Arm แต่ก็มีข่าวว่า Arm เริ่มไม่ยอมขายสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ให้บริษัทจีนไปพัฒนาต่อ การลงทุนใน RISC-V จึงเป็นช่องทางลดความเสี่ยง แต่กระนั้นบริษัทเทคโนโลยีจีนก็ยังต้องพึ่งซอฟต์แวร์ออกแบบชิป, โรงงานผลิตชิป, และเครื่องจักรผลิตชิปจากผู้ผลิตที่อยู่ในเป็นมิตรกับสหรัฐฯ อยู่
ที่มา - South China Morning Post
Comments
ชุก -> ชุด
RISC-V นี่ก็ของอเมริกา หรือยุโรปปะครับ ทำไมยังรอดอยู่อ่ะที่จริงผมมองว่าจีนไม่ควรเข้ามาได้เลยด้วยซ้ำ เพราะเห็นแก่ตัว ไม่แบ่ง know how และอื่นๆอีกมาก ถ้าเทียบกับตะวันตกกับอเมริกา
สถาปัตยกรรม RISC-V เป็น open source ส่วนองกรณ์ที่ดูแลตอนแรกอยู่เมกา แต่ภายหลังย้ายไปยุโรป
เพราะคำสั่งจริงๆ คือห้าม entity (บุคคล บริษัท) สหรัฐฯ ไปเก่ียวข้อง หรือในกรณีประเทศพันธมิตรไหนยอมทำตามก็เป็น entity ของประเทศนั้นๆ ครับ ถ้าโค้ดมันแจกแล้วอีกฝ่ายเอาไปใช้เองโดยไม่ได้ให้บริการอะไรก็ไม่เกี่ยวกัน
เคสนี้จะไปเหมือนกับ AOSP ของแอนดรอยด์ที่จริงๆ หัวเว่ยก็ยังใช้งานได้จนทุกวันนี้ แค่ใช้ Google Play ที่กูเกิลต้องเป็นคนให้บริการโดยตรงไม่ได้
ส่วนระดับองค์กร เขาเป็นองค์กรสวิส แม้มาตรฐานเริ่มต้นจะทำในสหรัฐฯ เยอะ ก็ต้องไปกดดันรัฐบาลสวิสเอา เหมือนตอนกดดัน ASML ผ่านรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
lewcpe.com , @wasonliw
หลักๆเลยคือมัน open source ครับ เปิดหมด ใครจะเอาไปทำอะไรก็ได้ ตัวองค์กรณ์ที่ดูแลก็แค่ดูมาตรฐานทั่วๆไปอารมณ์เดียวกับ linux foundation แต่เป็น hardware แทน
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
รอดู OS support อย่างเดียวเลย ถ้ารองรับได้ก็ดีไป หรือลง AOSP ได้แต่ใช้ Google's service ไม่ได้ก็จบเหมือนเดิม
เผลอๆ หลังจากนี้ ทุกอุปกรณ์ที่ขายในจีนจะไป RISC-V ทั้งหมด ตั้งแต่อุปกรณ์ขนาดเล็กไปยัง Server ขนาดใหญ่ แทนที่ ARM และ Arch อื่นๆ จากผลพวงสงครามการค้าและความขัดแย้งกับฝั่งตะวันตกที่นับวันมีแต่แย่ลงเรื่อยๆ
และความที่เป็น Opensource และ royalty-free แบบนี้ด้วย ยิ่งมีอิสระในการออกแบบและทำ CPU มาขายเองหรือส่งออกไปนอกจีนได้อีกโดยไม่กระทบกับปัญหาลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเลยด้วย และอาจเป็นช่วงรอยต่อเปลี่ยนผ่านจาก ARM, x86-64 และ Arch อื่นๆ ไป Arch ของจีนที่พัฒนาและใช้เองในอนาคตได้อีกต่อ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ขายได้แต่ในจีน แล้วอยู่รอดได้หรือครับ ขนาดมือถือhuawei ปากบอกว่าขายแค่จีนก็พอ สุดท้ายต้องกลืนน้ำลายแตกbrandลูกให้บ.ในเครือไปข่ายในยี่ห้อใหม่ เพราะไม่มีgoogle service ขายนอกประเทศนี่แหละ
ผมว่าอย่าง Windows phoneนี่ทรัพยากรมากกว่าบ.จีนซะอีก ยังไม่รอดเลย เพราะไม่มีapp ที่คนใช้ประจำมาลง และถึงจะลง AOSP ได้ แต่ถ้าapp ไม่รองรับcpuนั้นๆก็จบ เหมือนๆกับยุคนึงฮิตcpu atom-x86 ในมือถือ/tabletเพราะขายถูกกว่า ตอนหลังก็เจ๊งเพราะไม่มีคนทำแอพมารองรับcpu พวกนี้แล้ว
อีกอย่างสุดท้ายก็ไม่ต่างจากยืมจมูกคนอื่นหายใจไหม วันดีคืนดีถ้าประเทศที่มูลนิธิตั้งเปลี่ยนเงื่อนไขเพราะโดนรบ.สหรัฐกดดัน ก็จบเห่เหมือนเดิม?
เวลาคนบอกว่าจีนไม่ต้องค้าขายกับใคร แค่ขายคนจีนก็อยู่รอดได้ ผมนึกถึงตัวอย่างhuaweiทุกที...ที่สำคัญเกรงว่าRISC-V ทีทำมาสุดท้ายก็ลง AOSP แล้วแอบsideload apk กันเหมือนเดิม?เพียงแต่พอใช้cpu สถาปัตฯใหม่อาจจะต้องใช้กำลังภายในจ่ายเงินให้คนทำแอพ compileให้รองรับเพิ่มด้วย
ก็อาจจะเป็นอย่างนั้นครับ แต่ได้ยินว่าตอนนี้ RISC-V ยังตามหลัง ARM อยู่เป็นสิบปีเหมือนกัน (และคุ้น ๆ ว่าบ.ที่พัฒนา RISC-V จริง ๆ จัง ๆ ตอนนี้เป็นบริษัทลูกของ Intel) ดังนั้นการจะเปลี่ยนแบบปุบปับเลยน่าจะทำได้ยาก