อินเทลเปิดตัว Core Ultra 200S(Arrow Lake) ซีพียูเดสก์ท็อปรุ่นใหม่ของปีนี้ และเป็นครั้งแรกที่ซีพียูฝั่งเดสก์ท็อปเปลี่ยนมาใช้แบรนด์ Core Ultra ตามแนวทางของฝั่งโน้ตบุ๊กด้วย (ลาก่อนระบบ Gen สิ้นสุดที่ 14th Gen) เปลี่ยนมาใช้รหัสตัวเลขรุ่น 3 ตัวแบบเดียวกับฝั่งโน้ตบุ๊ก โดยเริ่มที่ซีรีส์ 200 เลย
Core Ultra 200S ยังใช้สูตร P-Core + E-Core เช่นเดียวกับรุ่นพี่ๆ แต่รอบนี้คือไม่มี Hyperthreading แล้ว (1 คอร์ = 1 เธร็ด) ถือเป็นจุดสิ้นสุดของ Hyperthreading ที่อินเทลใช้มายาวนานด้วย
ฟีเจอร์ใหม่ของ Core Ultra 200S มีดังนี้
- แกน P-Core ตัวใหม่ Lion Cove จำนวนคำสั่งต่อรอบเพิ่มขึ้น 9% (เทียบกับ Raptor Cove ใน 14th Gen)
- แกน E-Core ตัวใหม่ Skymont จำนวนคำสั่งต่อรอบเพิ่มขึ้น 32% (เทียบกับ Gracemont)
- ระบบแพ็กเกจชิป 3D แนวตั้ง Foveros ประหยัดพลังงานลง 40%
- เมื่อรวมการประหยัดพลังงานของ Foveros กับแกนซีพียูใหม่ ช่วยลดการใช้พลังงานของชิปลงได้มาก งานทั่วไปลดลงได้สูงสุด 58% (เทียบกับ 14th Gen) งานเกมมิ่งลดการใช้พลังงานของระบบลงได้สูงสุด 165W, อุณหภูมิระบบลดลงเฉลี่ย 14 องศา
- จีพียู Xe-LPG (ยังเป็นตัวเดียวกับใน Meteor Lake ไม่ใช่ Xe2 ต้องรอ Battlemage) จำนวน 4 คอร์ แต่เป็นครั้งแรกที่นำ Xe-LPG มาใช้กับซีพียูเดสก์ท็อป
- มี NPU บนเดสก์ท็อปเป็นครั้งแรก สมรรถนะ 13 TOPS หากรวมทั้งชิปมีสมรรถนะ AI ทั้งหมด 36 TOPS
- รองรับ PCIe ทั้งหมด 24 เลน มี PCIe 5.0, รองรับแรม DDR5-6400
ซีพียู Core Ultra 200S ที่เปิดตัวชุดแรกมีทั้งหมด 5 รุ่นย่อย ตรงตามข่าวลือ โดยเป็นซีพียูรหัสห้อย K รองรับการโอเวอร์คล็อค และมีรุ่นห้อย F ที่ปิดการทำงานของจีพียู
- Core Ultra 9 285K8 P-Core + 16 E-core, 24 เธร็ด, Turbo Boost Max 5.6GHz, พลังงานสูงสุด 250W
- Core Ultra 7 265K/KF8 P-Core + 12 E-core, 20 เธร็ด, Turbo Boost Max 5.5GHz, พลังงานสูงสุด 250W
- Core Ultra 5 245K/KF6 P-Core + 8 E-core, 14 เธร็ด, ไม่รองรับ Turbo Boost Max, พลังงานสูงสุด 159W
ซีพียู Core Ultra 200S เปิดตัวมาพร้อมกับชิปเซ็ตใหม่ Intel 800 Series รองรับ PCIe 4.0 จำนวน 24 เลน ซีพียูจะเริ่มวางขาย 24 ตุลาคม 2024
ถัดจากนี้ไปอินเทลยังจะมีคิวเปิดตัว Core Ultra 200 รหัส H & HX ที่ใช้แกน Arrow Lake สำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งพลังสูง ในช่วงไตรมาส 1/2025 ตามมา
ที่มา - Intel , Intel (PDF)
Comments
งงว้อยยย
มี NPU อย่างนี้ desktop ก็จะเป็น Copilot+ PC ได้แล้วรึเปล่าครับ
เข้าใจว่าสเปกมันไม่แรงพอนะครับ ต้อง 40-45 TOPS ขึ้นไป
ขอบคุณครับ งั้นอยู่กับเจนเก่าต่อไป 😅
ราคามาแล้วฮะที่ Advice พร้อมให้พรีออเดอร์
งงงง
ไม่มี Gen ล่ะดีละ แค่ตัวเลขรุ่นก็พอละ
..: เรื่อยไป
ไม่เข้าใจเล็กน้อย ด้านบนเขียนว่าไม่มีระบบ Hyperthreading แล้วคือ 1 Core = 1 Thread แต่ด้านล่างรายละเอียดรุ่นยังมี ThreadCore Ultra 9 285K 8 P-Core + 16 E-core, 24 เธร็ด
อันนี้ถามเป็นความรู้ ว่าที่ยกเลิกไป คือประสิทธิภาพ ที่ไม่ใช้ Hyperthread เทียบเท่ากับที่ใช้แล้วหรือ นะ ??
ผมเดาว่าถ้ามี Hyperthreading น่าจะ optimize ประสิทธิภาพต่อ core ได้มากกว่า ตอนนี้แบ่งเป็น core P E อยู่แล้ว ถ้างานไหนเบา ๆ ก็ไป E น่าจะประหยัดพลังงานได้มากกว่าด้วย
ป.ล. เดาล้วน ๆ ไม่เคยอ่านที่ไหนมาก่อน
แบบเก่ามันเป็น 8P/16T และ 16E/16T ครับ รวมได้ 24C/32T
แล้วรุ่นนี้มันตัด Thread ใน P Core ออกครับ เท่ากับว่าเป็น 8P/8T และ 16E/16T = 24C/24T ครับ
ส่วนคำถามล่างก็ใช่ครับ เทียบกับรุ่นปัจจุบัน (Ultra 200) และรุ่นก่อนหน้า (Gen 14)
8 + 16 = 24
เท่าที่จำได้ Hyperthreading มันคือการที่เอางานใส่เพิ่มไปใน pipeline ที่ทำงานอยู่ อย่างเช่น คำสั่ง A ทำงาน 4 รอบสัญญาณนาฬิกา แต่แทนที่จะรอ 4 รอบทำได้ 1 งาน พอผ่านไป 2 รอบ ข้อมูลวิ่งผ่านไประดับนึงแล้วเราก็เอาข้อมูลชุดใหม่ส่งเข้าไปอีก ทำให้ 2 งานเราใช้เวลา 6 รอบแทน 8 รอบ (แบบรวบรัด ของจริงมันซับซ้อนกว่านั้นมาก)ซึ่งในทางปฏิบัติมันมีข้อจำกัดเยอะมาก และหลายๆ งานมันก็ใช้รอบไม่เท่ากันรวมถึงความซับซ้อนอื่นๆ อีก ทำให้การฝืนบังคับ 1 core = 2 thread มันอาจจะมีปัญหา แล้วก็อาจจะไม่เต็มประสิทธิภาพ (ถ้างานนั้นมันยาวจนใส่ได้มากกว่าแค่ 2)
ตัวนี้น่าจะไปแก้โครงสร้างมาเยอะมากทำให้จำนวนคำสั่งต่อรอบเพิ่มขึ้นมาได้มากแล้วโดยไม่ต้องพึ่ง Hyperthreading ทำงานตรงไปตรงมากว่า ประสิทธิภาพออกมาตรงๆ กว่านะฮะ
เท่าที่อ่านดูท่านน่าจะหมายถึง Pipeline Stage นะครับ การซอยงานใหญ่เป็นงานย่อยหลายขั้นตอน หลังจาก Inst A เสร็จขั้นตอนแรก กำลังไปขั้นตอนสอง เราก็สามารถส่ง Inst B เข้าไปทำขั้นตอนแรกได้เลย (เพราะ Inst A เสร็จขั้นแรกไปแล้ว) ซึ่ง A B ก็คือคำสั่งจากโปรแกรมเดียวกันนั่นแหละ ตามลำดับไม่ลัดคิว คิดง่ายๆ ว่าเหมือนการต่อคิวรับอาหารด้วยถาดหลุม
ยิ่งซอยย่อยมากๆ ก็ยิ่งส่งได้รัวๆ
ปัญหาคือถ้ามีการเดาผิด (Prefetch, BranchPred)
ก็จะผิดทั้งหมด ต้องโล๊ะทำใหม่ยกแผง
ส่วน HT หรือ SMT คือCPU มีหน่วยประมวลผลหลายอย่างครับ INT, Float, AVX ต่างๆ ถ้างานไหนทำ Int เป็นหลัก หน่วยประมวลผล Float ก็จะว่างงาน หรือเกิดการ Cache miss ต้องรอ Data จาก Mem (ว่างงาน) ระหว่างนี้สามารถส่งอีกงานเข้าไปได้ มาจากคนละโปรแกรม ปัญหาก็ตามท่านว่ามันซับซ้อน ใช้ทรัพยากรเยอะ ต้องมี Inst Buffer, Fetcher, Decoder ใหญ่และกว้าง ถ้าโปรแกรมมันทำแต่ Int เหมือนกันทั้งคู่ ก็อาจจะไม่ได้ช่วยเท่าไหร่
Intel เคยบอกว่า HT ช่วยได้ประมาณ 30% (แล้วแต่โปรแกรม)ไหนๆ ก็มาทาง P/E core แล้วก็เพิ่ม E-core ไปเลยดีกว่า
อาห์ เอาสองตัวไปรวบเข้าด้วยกันเสียแล้ว T-T ขอบคุณที่ช่วยแก้ฮะ
CPU เดี๋ยวนี้ไปไกลมากครับ มีทุกอย่างPipeline, SMT, SuperScalar, Out of Order บางอย่างต้องทำด้วยกัน บางอย่างก็คล้ายกัน มันก็เริ่มจะเบลอๆ ปนๆ กันไป ผมเองก็ต้องค้นดูก่อนเหมือนกัน 55
อ่านเพลินเลยครับ ได้ความรู้
..: เรื่อยไป
+
แถมให้คือ Intel เคลมด้วยว่าการโยกงานเข้า E-core แทนการใช้ SMT/HT ยังได้ประสิทธิภาพดีกว่าด้วย
ECC support ด้วย Linus จะกลับมาใช้ Intel ไหม
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ECC Support ใน Desktop มีมานานแล้ว ปัญหาคือ Mainboard ต้อง ECC Support ด้วย ซึ่ง Mainboard ทั่วไปไม่ค่อยมี ต้อง mainboard ระดับ workstation
https://www.intel.com/content/www/us/en/products/sku/236784/intel-core-i5-processor-14500-24m-cache-up-to-5-00-ghz/specifications.html
ซื้อ Desktop PC เร็วไปสองปี ฮ่าๆ
CPU รองรับ PCIe5.0 แต่ ชิป800 รองรับแค่ 4.0 เหรอครับ?
The Dream hacker..
รอดูอีก Gen นึงดี (300) ดีกว่ามั้ยนะ เผื่อได้ GPU ใหม่ดีกว่า
อยากได้เครื่องเกมแบบ rog ally แต่เป็น cpu intel
ผมไม่ชอบ AMD
ตอนนี้มีปัญหา notebook AMD ใช้ wifi7 ไม่ได้
ต้อง cpu Intel ถึงใช้ wifi7 ได้
ผมลองต่อกับ router TP Link BE9300 ต่อได้ 5764Mbps
แรงกว่า WiFi 6E ที่ได้ 2401Mbps
สรุปแล้วคือของที่เป็น กขค ของ Intel คือ Hyperthreading มาตลอดเลยหรือเปล่านะ เพราะตอนนี้เรื่องพลังงานก็ตบกับ Apple Silicon ได้สูสีเลย