IGF2013 ในวันที่สามนี้มีห้องน่าสนใจคือ การพูดคุยเกี่ยวกับ gTLD หรือโดเมนขั้นสูงสุดแบบใหม่ ที่เปิดให้บริการ เช่นที่เราเคยได้ยินข่าว ".คอม" หรือกระทั่ง ".thai" กันมาก่อนหน้านี้ ทุกวันนี้กระบวนการยังคงเดินหน้าต่อไป ทาง ICANN จัดห้องเสวนาหนึ่งห้อง แล้วเชิญทั้งเจ้าหน้าที่ของ ICANN ตัวแทนภาครัฐ (GAC) เอกชนคือไมโครซอฟท์ และตัวแทนตามภูมิภาคมาพูดคุยถึงกระบวนการขอ gTLD ในปัจจุบัน และสิ่งที่ได้เรียนรู้กันมาแล้ว
Arkam Atallah เจ้าหน้าที่ฝ่ายชุมชนเทคนิค ICANN
- ตอนนี้ ICANNN เซ็นสัญญาไปแล้วมากกว่า 60 สัญญา มีคำขอ gTLD จำนวนหนึ่งถูกหยุดไว้เนื่องจากข้อเสนอของ GAC และประเด็นร้องเรียนอื่นๆ
- สัญญาที่เซ็นไปแล้ว จะเข้าสู่ช่วงทดสอบ predelegation
- เมื่อทดสอบสำเร็จแล้ว จะเข้าสู่การตรวจสอบตามข้อกำหนดของ IANA จากนั้นจึงนำ gTLD เหล่านี้เข้าสู่ root DNS
- เมื่อเข้าสู่ root DNS แล้ว ผู้ให้บริการเหล่านี้จะเริ่มรับจดทะเบียนได้ จะเข้าสู่ช่วง sunrise เปิดให้ผู้ถือครองเครื่องหมายการค้าจดก่อนเป็นเวลา 60 วัน
- คำถามว่าจะมีรอบสองเมื่อไหร่ - ตอบว่าจะไม่เร็วไปกว่าสองสามปีหลังจากรอบแรกจบลง แต่ตอนนี้ก็เริ่มได้รับแรงกดดันจากบริษัทที่พลาดรอบแรก ให้เปิดรอบที่สองแล้ว
Heather Dryden จากกระทรวงอุตสาหกรรมแคนาดา ประธานบอร์ด GAC
- รัฐบาลหลายรัฐบาลกังวลกับชื่อจำนวนหนึ่ง ทาง GAC จึงเข้ามาชี้ปัญหาคำขอชื่อโดเมนจำนวนหนึ่ง
- ICANN ควรจัดหมวดหมู่ของโดเมนตั้งแต่แรก เพื่อสร้างกฎในแต่ละหมวดหมู่
- ช่วง early warning มีคำร้องจากรัฐบาลเตือนถึงชื่อ TLD ใหม่ๆ ถึง 242 รายการ ในจำนวนนั้น 129 รายการมาจากออสเตรเลีย
- หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ช่วง early warning ทาง GAC จะออกคำคัดค้าน GAC objection
- โดยรวมๆ แล้วคำขอจำนวนมากผ่านกระบวนการไปได้ และหวังว่ากระบวนการในรอบต่อๆ ไปจะได้รับการปรับปรุงให้ดีกว่านี้
- เรื่องที่คัดค้านเข้ามา เช่น ประเด็นศาสนา และการเมืองในภูมิภาค ไปจนถึงการที่โดเมนบางส่วนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่มีการควบคุมเช่นธนาคาร ทำให้กลุ่มปกป้องผู้บริโภคออกมา
Paul Mitchell ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายนโยบายเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์
- มีหน่วยงานจำนวนมาก ไม่มีหน่วยงานวางแผนเกี่ยวกับ gTLD โดยตรงในตอนแรก
- มีการวิเคราะห์ว่าชื่ออะไรอาจจะผ่านเข้าไปเป็น gTLD บ้าง และจะกระทบต่อแบรนด์ของไมโครซอฟท์อย่างไร
- แบรนด์ของไมโครซอฟท์มีจำนวน บางแบรนด์เป็นคำทั่วไป เช่น Office สุดท้ายตัดสินใจส่งคำขอไป 11 ชื่อ ภายใต้กลุ่ม 4 แบรนด์
- ตอนนี้วิศวกรกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการรับ delegate เข้ามา
- กระบวนการสร้างโดเมนจริงๆ จะเป็นหลังจากนี้ ที่ไมโครซอฟท์ต้องประชาสัมพันธ์ว่าโดเมนที่ไมโครซอฟท์ได้รับมาเหล่านี้มีไว้เพื่ออะไร
- การรับเป็นผู้จดทะเบียน (registrar) คงพร้อมในเร็วๆ นี้
- ไมโครซอฟท์ต้องสื่อสารความหมายของโดเมนอีกมาก ว่าจะเป็น .microsoft หรือ microsoft.com กรณีที่ชัดเจนเช่น .xbox ที่มีชุมชนเฉพาะของตัวเอง
- เห็นด้วยที่จะเปิดรอบสอง แต่เห็นว่าควรรออย่างน้อยสี่ปี เพื่อให้เบราว์เซอร์ผ่านไปหลายรุ่นพอที่ปัญหาหลายๆ อย่างจะผ่านไปแล้ว
- เขาแปลกใจที่มีคำขอ gTLD ที่เป็น IDN (โดเมนภาษาอื่นๆ) น้อยกว่าที่คิด เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่เปิดขึ้นมาได้
Janis Karklins จาก UNESCO
- ICANN เรียนรู้บทเรียนการจด IDN TLD มาตั้งแต่การรองรับ IDN ใน ccTLD
- มีคนนับพันล้านคนในโลก ที่มองตัวละติน เหมือนคนยุโรปมองภาษาจีน
- UNESCO วิเคราะห์บทเรียนที่ได้จากการทำ IDN ใน ccTLD โดยปีนี้วิเคราะห์ร่วมกับ Verisign (จะเปิดเผยเบื้องต้นในงานนี้ในวันต่อๆ ไป
- การวิเคราะห์พบว่ามีประเด็นแยกออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือตัวองค์กร ทั้งนโยบายจดทะเบียน ที่บางประเทศเมื่อเปิดให้จดทะเบียนแล้วมีการจดทะเบียนจำนวนมากทันที เช่น รัสเซีย อีกกลุ่มหนึ่งยอมรับการจดยาก และปริมาณการจดทะเบียนมีจำกัด
- ความตื่นตัวของสาธารณะเป็นอีกประเด็นที่ทำให้มีการจดทะเบียนมีจำกัด ทุกวันนี้มีปริมาณการจดทะเบียนชื่อแบบ IDN เพียง 2%
- ปัญหาอีกด้านคือประสบการณ์ผู้ใช้ ตัวอย่างสำคัญคืออีเมลที่ยังใช้งานไม่ได้ทั่วไป อีเมลที่เซิร์ฟเวอร์รองรับ IDN อาจจะถูกส่งต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่รองรับ IDN ทำให้อีเมลไปไม่ถึงปลายทางอยู่ดี
- เบราว์เซอร์ยังคงไม่รองรับ IDN เป็นส่วนมาก
Tijani Ben Jemaa จากสมาพันธ์สมาคมอินเทอร์เน็ตเมดิเตอร์เรเนียน
- ค่าส่งคำขอแพงมาก ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถเข้าร่วมได้
- ไม่มีการโปรโมทในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้คนไม่รับรู้
- ICANN ตั้งกองทุน 2 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาได้ 14 ใบ แต่กองทุนกลับมีเงื่อนไขคือหากไม่ตรงตามเงื่อนไขกองทุน จะไม่สามารถสมัครตามปกติได้อีกเลย
- คำขอ 1930 ใบ มีเพียง 1% มาจากแอฟริกา และ 1.25% มาจากแอฟริกา กองทุนนั้นได้ใช้สนับสนุนคำขอเพียงชุดเดียว
- กองทุนควรเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่เพื่อให้กองทุนทำงานได้ตามที่วางไว้ และประกาศในประเทศที่ยากจนให้มากกว่านี้
- Akram ตอบประเด็นไม่โปรโมทว่า ICANN มีโครงการโปรโมตหลายโครงการ คำขอก็เข้ามาจากทั่วโลก และการโฆษณาที่ดีที่สุดคือความสำเร็จของรอบนี้ เมื่อมีการเปิดโดเมนใหม่ๆ รอบต่อไปคนจะตระหนักความสำคัญของ gTLD
- Tijani ยืนยันว่าการสื่อสารของ ICANN ยังคงจำกัดอยู่ในซีกโลกฝั่งเหนือเท่านั้น ทำให้ประเทศจำนวนมากเสียโอกาส และหากทำงานได้ดีจริงๆ กองทุนที่ตั้งมาคงไม่เสียไป 13 คำขอฟรีๆ
Comments
ขาดอะไรไปรึเปล่าครับ
"ได้ใช้" นี่ "ได้ให้" รึเปล่าครับ?
?
อักษรจีนนี่อย่าว่าแต่คนยุโรปเลยครับ คนเอเชียด้วยกันนี่ยังถอดใจ orz ขนาดอักษรไทยเทียบกับฝั่งยุโรปว่าหนักหนาพอควรแล้วนะ
ชื่อทวีปซ้ำกัน น่าจะตกหล่นหรือเปล่าครับ
สะกดไม่เหมือนกันแต่น่าจะเป็นคนเดียวกันใช่ไหมครับ