โดเมนเนมระดับบนสุด .io เป็นที่นิยมของโลกไอทีไม่น้อย เพราะชื่อดูเท่เหมือนศัพท์ I/O ในโลกคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเว็บที่ใช้โดเมนเนม .io ได้แก่ github.io, sentry.io หรือร้านเกมอินดี้ itch.io เป็นต้น
แต่ชะตากรรมของโดเมนเนม .io เริ่มไม่ชัดเจนเสียแล้ว เพราะโดเมนนี้อาจถูกเลิกใช้งานไปอย่างถาวร
เหตุผลเป็นเพราะว่าโดเมนเนม .io เป็นโดเมนเนมระดับบนสุดที่อิงตามรหัสประเทศ (ccTLD หรือ Country Code Top Level Domain) แต่ประเทศเจ้าของ .io เป็นประเทศที่แทบไม่มีใครรู้จัก นั่นคือ British Indian Ocean Territory หรือ Chagos Islands เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กกลางมหาสมุทรอินเดีย (อยู่ใต้ศรีลังกาและมัลดีฟส์ลงไปอีกไกลพอสมควร)
บอร์ด ICANN ตกลงตามข้อเสนอของ Internet Assigned Numbers Authority (IANA) ที่เสนอให้ สงวนโดเมน .INTERNAL สำหรับการใช้งานภายในเท่านั้น
ความพยายามสร้างโดเมนสากลสำหรับใช้งานภายใน มีมาตั้งแต่ปี 2022 โดย ICANN สั่งให้ศึกษาว่าควรใช้โดเมนใด และ IANA ก็ได้ข้อสรุปและเสนอบอร์ดเมื่อปีที่ผ่านมา
มติบอร์ดครั้งนี้ทำให้โดเมน .INTERNAL ถูกสงวนไม่ให้เข้า root domain อีกต่อไป ขณะที่ในทางเทคนิคแล้ว องค์กรต่างๆ จะสามารถคอนฟิกใช้งานโดเมนนี้เป็นการส่วนตัว พร้อมๆ กับบล็อคไม่ให้ส่งการคิวรีโดเมนเหล่านี้ออกภายนอก ช่วยให้ลดการรั่วไหลข้อมูลโดเมนภายในองค์กรลง
โดเมน .INTERNAL ถูกวิจารณ์ว่ายาวเกินไป และบางส่วนระบุว่าคำไม่ได้สื่อความหมายเพียงพอ
ICANN ตัดสินใจเลือกโดเมน .INTERNAL เป็นโดเมนมาตรฐานสำหรับใช้งานภายในองค์กร แบบเดียวกับหมายเลขไอพีที่มี private IP ให้ใช้งานภายใน หลังจากเริ่มกระบวนการเลือกโดเมนเพื่อการนี้มาตั้งแต่ปี 2020 และมีตัวเลือกถึง 35 รายชื่อ ก่อนจะตัดเหลือสองชื่อสุดท้ายคือ .INTERNAL และ .PRIVATE และตัดสินในเลือกชื่อเดียวในที่สุด
โดเมนที่ใช้งานเป็นการภายในทุกวันนี้มักอาศัยการตั้ง TLD ขึ้นมาเองตามใจชอบ โดยเลือกชื่อที่ไม่มีการใช้งานมาก่อน เช่น Zyxel เคยใช้ TLD .zyxel-usg
หรือคนจำนวนมากใช้งาน .home
ปัญหาคือโดเมนเหล่านี้กระจัดกระจาย และมีแนวโน้มจะรั่วไหล มีการยิง DNS ออกไปภายนอก
ICANN ประกาศชะลอการซื้อขายโดเมน .ORG จาก Internet Society ให้บริษัท Ethos Capital โดยระบุเหตุผลว่าต้องการขอข้อมูลการซื้อขายเพิ่มเติม
การซื้อขายโดเมน .ORG เป็นเหตุการณ์ใหญ่ของโลกโดเมน โดย Internet Society (ISOC) ประกาศขายบริษัทไม่หวังผลกำไร Public Interest Registry (PIR) ผู้ให้บริการโดเมน .ORG ให้กับบริษัท Ethos Capital เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าถึง 1,135 ล้านดอลลาร์
ICANN เริ่มเปิดให้บริษัทต่างๆ ยื่นขอจดโดเมนระดับสูงสุด (Top Level Domain - TLD) มาตั้งแต่ปี 2012 ทำให้เราเห็นโดเมนแปลกๆ เช่น ตั้งแต่ .google .xxx, หรือในไทยเองก็มี .scb บริษัทที่ยื่นขอจด TLD มักเป็นบริษัทขนาดใหญ่มีทุนหนาพอจะจ่ายค่าธรรมเนียมปีละ 25,000 ดอลลาร์ได้ แต่เมื่อมีโอกาสเพิ่มขึ้นก็มีบริษัทยื่นขอ TLD โดยฐานะทางการเงินไม่พร้อม ล่าสุด Who’s Who Registry เจ้าของ TLD .whoswho ซึ่งขายโดเมนแทบไม่ได้ก็ยื่นขอให้ทาง ICANN ช่วยลดราคา
ที่ประชุมบอร์ด ICANN ยืนยันการเปลี่ยนกุญแจสำหรับรับรองกุญแจ (key signing key - KSK) ในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ นับเป็นการเปลี่ยนกุญแจครั้งแรกของโครงสร้าง DNSSEC นับแต่เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี 2010
กำหนดการเปลี่ยน KSK เดิมกำหนดไว้วันที่ 17 กรกฎาคม 2017 แต่ ICANN พบว่ามีเซิร์ฟเวอร์ DNS จำนวนหนึ่งคอนฟิกไม่ถูกต้อง, ผู้ดูแลระบบไม่ยอมเปลี่ยนกุญแจ, หรือซอฟต์แวร์ไม่รองรับการอัพเดตกุญแจอัตโนมัติ ทำให้หากเปลี่ยนกุญแจไป เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้จะใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ดี เซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับผลกระทบต้องเปิดใช้งาน DNSSEC เท่านั้น หากใช้ DNS ปกติก็จะไม่มีผลอะไร
ICANN ผู้ดูแลระบบโดเมน ยื่นเรื่องให้ศาลเยอรมันตีความว่าการเก็บข้อมูล WHOIS ที่เก็บข้อมูลติดต่อธุรการและข้อมูลติดต่อด้านเทคนิคของโดเมนนั้น ขัดต่อกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล GDPR หรือไม่
ICANN ยื่นเรื่องครั้งนี้เนื่องจาก EPAG บริษัทรับจดทะเบียนโดเมนในเครือ Tucows แจ้งว่าจะไม่เก็บข้อมูลเหล่านี้อีกต่อไป เนื่องจากขัดกับกฎ GDPR
เกือบตลอดระยะเวลาของอินเทอร์เน็ต ระบบหมายเลขไอพีและโดเมนเนมของโลกมีองค์กร ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) เป็นผู้ดูแล แต่ที่ผ่านมา ICANN ถือเป็นองค์กรที่ดูแลโดย National Telecommunications and Information Administration (NTIA) ของสหรัฐอเมริกา
เมื่อวานนี้ (1 ตุลาคม) สัญญาระหว่าง ICANN กับ NTIA ที่มีอายุนาน 18 ปี สิ้นสุดลงเรียบร้อยแล้ว นับจากนี้ไป ICANN จะไม่อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลสหรัฐ แต่จะกลายเป็นองค์กรกลางที่ไม่หวังผลกำไร และมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายราย (multi-stakeholder) ทั้งรัฐบาล ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
Verisign เป็นผู้ดูแลโดเมน .com มาตั้งแต่เริ่มแรกและจนตอนนี้ก็ยังเป็นแหล่งรายได้สำคัญของบริษัท จากชื่อโดเมนทั้งหมด 125 ล้านชื่อ การได้ต่ออายุไปอีก 6 ปีจะรับรองว่าบริษัทจะมีรายได้มหาศาลต่อเนื่อง
แต่ภายใต้ข้อตกลงครั้งนี้ ICANN ที่มอบสิทธิ์ให้ก็ขอความร่วมมือเพิ่มเติมจาก Verisign ในชื่อข้อตกลง root zone maintainer services agreement (RZMA) เพื่อให้ ICANN เข้าดูแลกระบวนการเปลี่ยนแปลง root zone file
- Read more about Verisign เตรียมต่อสัญญาดูแลโดเมน .com ไปจนถึงปี 2024
- 1 comment
- Log in or register to post comments
ตอนนี้ ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ที่เป็นองค์กรสำคัญของอินเทอร์เน็ตในการจัดการระบบชื่อโดเมน (Domain name) และไอพีแอดเดรส อยู่ในช่วงการเปิดรับสมัครซีอีโอคนใหม่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ซีอีโอคนเดิม (Fadi Chehade) ประกาศที่จะยุติการปฏิบัติหน้าที่ในเดือนมีนาคมของปีหน้า ซึ่งทำให้ทาง ICANN ต้องสรรหาซีอีโอรายใหม่ทดแทน
เมื่อวานนี้ได้รับมอบหมายจาก cofounder ให้ไปงานบรรยายสาธารณะหัวข้อ Internet Governance : legal and policy challengesซึ่งบรรยายโดย Jovan Kurbalijaผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งมูลนิธิดิโพล ประธานเวทีอินเทอร์เน็ตเจนีวา และผู้เขียนหนังสือ An Introduction To Internet Governance ( ดาวน์โหลดได้จาก Thai Netizen ) ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์มาค่ะ ซึ่งในงานบรรยายสาธารณะดังกล่าวมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
ICANN พิจารณาข้อเสนอห้ามไม่ให้ผู้ให้บริการจดโดเมนปิดบังข้อมูลผู้จดโดเมนหากโดเมนนั้นถูกใช้งานทางการค้า โดยข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอุตสาหกรรมบันเทิง "Coalition for Online Accountability"
ตอนนี้ทาง ICANN อยู่ระหว่างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นผ่านทางอีเมล comments-ppsai-initial-05may15@icann.org ซึ่งตอนนี้เองก็ มีความเห็นเข้าไปแล้วนับพันรายการ
ในบรรดา gTLD (generic top-level domain) ที่ ICANN เปิดให้จองชื่อเพื่อไปให้บริการได้ มีรายชื่ออีกส่วนหนึ่งที่ ใช้งานได้เฉพาะผู้ที่จดทะเบียนในองค์กรเท่านั้น ไม่สามารถเปิดขายให้กับบุคคลภายนอกได้ กลุ่มนี้จะได้รับยกเว้นไม่ต้องมีจรรยาบรรณสำหรับการให้บริการ ในรายชื่อทั้งหมดมีหลายชื่อน่าสนใจ
.dev ถูกจดโดย Charleston Road Registry Inc. บริษัทลูกที่ทำหน้าที่จดทะเบียนโดเมนของกูเกิล ความพิเศษของ .dev คือตามกติกาแล้ว ICANN ไม่ควรอนุญาตคำทั่วไป (generic string) ให้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ในกรณีนี้โดเมน .dev ทั้งหมดก็จะใช้งานได้กับกูเกิลเท่านั้น
ICANN ประกาศเตือนว่าถูกโจมตีด้วยการสร้างอีเมลที่หลอกว่ามาจากคนในองค์กร (spear phishing) ส่งผลให้แฮกเกอร์เข้าถึงข้อมูลภายในได้
ข้อมูลหลักที่แฮกเกอร์ได้ไปคือ Centralized Zone Data System เซิร์ฟเวอร์โซนไฟล์จากผู้ให้บริการโดเมนระดับบนสุด (top level domain - TLD เช่น .com, .net) ข้อมูลที่หลุดไปเป็นโซนไฟล์ และฐานข้อมูลผู้ใช้ที่มีรายละเอียด เช่น องค์กร, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, และรหัสผ่านที่แฮชแล้ว
เซิร์ฟเวอร์ GAC Wiki ก็ถูกดาวน์โหลดออกไปเช่นกัน แต่ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะอยู่แล้ว ทาง ICANN ยืนยันว่าแฮกเกอร์ไม่ได้เข้าถึงข้อมูลภายใน เซิร์ฟเวอร์ ICANN Blog และ WHOIS ถูกดาวน์โหลดข้อมูลผู้ใช้ไปด้วย
โดเมนระดับบนสุดสำหรับแบรนด์ (brand top-level domain) เริ่มเปิดใช้งานชุดแรกโดยกูเกิลเริ่มเปิดใช้งานทันที วันนี้เราจะสามารถหาไอพีของโดเมน nic.google ได้แล้ว หากเข้าหน้าเว็บกูเกิลจะส่งไปยัง http://www.google.com/registry/ แทน
คำขอใช้งาน TLD สำหรับแบรนด์มีคำขอไป ทั้งหมดถึง 664 แบรนด์ แบรนด์หลักๆ ที่เรารู้จักล้วนขอโดเมนของตัวเองกันทั้งสิ้น เช่น แอปเปิล, อินเทล, เลโก้
- Read more about กูเกิลเริ่มเปิด .google ใช้งานแล้ว
- 10 comments
- Log in or register to post comments
แม้ว่าจะผิดหวังกับโดเมนระดับบน (TLDs) ชื่อตัวเองอย่าง .amazon แต่ล่าสุด Amazon ก็จัดการประมูลเอาโดเมน .buy มาได้ในมูลค่ากว่า 4.6 ล้านเหรียญ และยังเอาชนะคู่แข่งร่วมประเทศอย่างกูเกิลอีกด้วย
นอกจาก .buy แล้วยังมีอีกสองโดเมนที่จัดประมูลพร้อมกันอย่าง .tech ที่ถูก Dot Tech LLC ซื้อไปในมูลค่า 6.7 ล้านเหรียญ (มีรายงานว่ากูเกิลร่วมประมูลด้วย แต่แพ้เช่นกัน) ส่วนโดเมนสุดท้ายคือ .vip ที่ถูกประมูลไปโดย Minds + Machines ในราคามากกว่า 3 ล้านเหรียญ โดยหลังจากนี้ ทั้งสามเจ้าที่ชนะการประมูลจะได้สิทธิ์การดูแล และจดโดเมนในกลุ่มนี้ต่อไปครับ
จนถึงตอนนี้ยังมี TLD ที่ผ่านการประเมินแล้วมากกว่า 100 โดเมน ซึ่งก็น่าจะเปิดให้ประมูลกันเรื่อยๆ ครับ
หลังจากที่ สหรัฐอเมริกาแสดงเจตจำนงที่จะเลิกดูแล ICANN ทำให้ตอนนี้นานาประเทศได้ร่วมหารือกันเพื่อหาแนวทางวางอนาคตให้แก่องค์กรที่สำคัญยิ่งสำหรับโลกอินเทอร์เน็ตแห่งนี้
ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการงานที่เกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ตต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการจัดการระบบโดเมนเนมและเลข IP ซึ่งหน่วยงานนี้ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในปี 1998 และอยู่ในความดูแลของสหรัฐอเมริกามาโดยตลอดจนกระทั่งเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญขององค์กรในครั้งนี้
สำนักกำกับกิจการโทรคมนาคมและสารสนเทศแห่งชาติ (NTIA) ของสหรัฐอเมริกาได้ออกมาประกาศว่าจะเลิกกำกับดูแลองค์กร ICANN หลังข้อตกลงปัจจุบันสิ้นสุดลงในปลายปี 2015
โดยช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลของนานาประเทศได้แสดงความไม่พอใจถึงข้อตกลงที่รัฐบาลสหรัฐฯ มีกับ ICANN ซึ่งทำให้สหรัฐฯ มีอิทธิพลบางชนิดต่อโครงสร้างของอินเทอร์เน็ตโดยรวม โดยเฉพาะหลังการเปิดเผยเรื่องของการสอดส่องอินเทอร์เน็ตโดย NSA และองค์กรของรัฐอื่นๆ
ICANN หรือ Internet Corporation for Assigned Names and Numbers ซึ่งเป็นองค์กรที่คอยบริหารจัดการงานที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของระบบโดเมนเนมและเลขที่อยู่ IP ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อคอยทำงานต่างๆ ที่สหรัฐฯ เคยทำมาก่อน
- Read more about สหรัฐฯ เตรียมเลิกดูแลองค์กร ICANN
- 3 comments
- Log in or register to post comments
IGF2013 ในวันที่สามนี้มีห้องน่าสนใจคือ การพูดคุยเกี่ยวกับ gTLD หรือโดเมนขั้นสูงสุดแบบใหม่ ที่เปิดให้บริการ เช่นที่เราเคยได้ยินข่าว ".คอม" หรือกระทั่ง ".thai" กันมาก่อนหน้านี้ ทุกวันนี้กระบวนการยังคงเดินหน้าต่อไป ทาง ICANN จัดห้องเสวนาหนึ่งห้อง แล้วเชิญทั้งเจ้าหน้าที่ของ ICANN ตัวแทนภาครัฐ (GAC) เอกชนคือไมโครซอฟท์ และตัวแทนตามภูมิภาคมาพูดคุยถึงกระบวนการขอ gTLD ในปัจจุบัน และสิ่งที่ได้เรียนรู้กันมาแล้ว
Arkam Atallah เจ้าหน้าที่ฝ่ายชุมชนเทคนิค ICANN
จาก ข่าวเก่า ที่กูเกิลเสนอให้ ICANN อนุญาตการจดชื่อโดเมนแบบไร้จุด (เช่น http://search หรือ http://app เป็นต้น) ล่าสุด ICANN ได้ตัดสินใจยกคำร้องนี้โดยให้เหตุผลว่า หลังจากตั้งคณะกรรมการมาศึกษาความเป็นไปได้ พบว่าอาจก่อให้เกิด "ความเสี่ยงและความไม่มั่นคง"
แผนที่กูเกิลวางไว้ในตอนเสนอต่อ ICANN คือจะให้ http://search ไปยังเสิร์ชเอนจินที่ผู้ใช้ตั้งค่าไว้ หรือ http://blog จะส่งผู้ใช้ไปยังบริการบล็อกที่ตั้งค่าไว้ก่อน และเป็นในลักษณะเดียวกันกับโดเมนไร้จุดอื่นๆ ที่อาจมีขึ้นในอนาคต
ที่มา - The Verge
- Read more about ICANN ปฏิเสธคำร้องกูเกิลในการขอจดชื่อโดเมนแบบไร้จุด
- 5 comments
- Log in or register to post comments
คณะอนุกรรมการด้านรัฐบาลของ ICANN หรือ GAC (Governmental Advisory Committee) โดเมน .thai และโดเมนเคยออก คำเตือนโดเมน TLD ที่ยื่นขอมาแล้วก่อนหน้า โดยส่วนมากเป็นโดเมนที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ เช่น เมือง, และคำทั่วไปอย่าง health หรือ website ตอนนี้คณะกรรมการได้ไปประชุมกันอีกครั้งที่การประชุม ICANN 47 และได้ข้อสรุปออกมาหลายประการ แบ่งออกเป็นกลุ่ม คัดค้านการพิจารณา, แนะนำประเด็นที่ต้องศึกษาหรือแก้ไข, และไม่คัดค้านการพิจารณาต่อ
ในงาน ICANN47 เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ทาง ICANN ได้ประกาศชื่อโดเมนชั้นบนสุด (TLDs: top-level domains) ชุดแรกออกมา 4 ชื่อ โดยไม่มีชื่อโดเมนภาษาอังกฤษอยู่เลย
สี่โดเมนที่ว่ามีดังนี้ครับ
- .شبكة (ภาษาอาหรับ แปลว่าเครือข่าย)
- .游戏 (ภาษาจีน แปลว่าเกม)
- .сайт (ภาษารัสเซีย แปลว่าเว็บไซต์)
- .онлайн (ภาษารัสเซียเช่นกัน แปลว่าออนไลน์)
ที่มา - ICANN
Internet Corporation for Assigned Names and Numbers (ICANN) ได้เผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับคำแนะนำในการรับมือการโจมตีแบบ DDoS ในกรณีที่เกิดขึ้นกับองค์กรต่างๆ โดยภาพรวมนั้นจะเป็นขั้นตอนการป้องกันเบื้องต้น การติดต่อไปยังผู้ให้บริการทั้ง ISP และเว็บโฮสติ้ง ซึ่งยังรวมไปถึงการติดต่อทางด้านกฎหมายเพื่อเอาผิดในกรณีที่การโจมตีสร้างความเสียหายมากด้วย
ในปัจจุบันทางเลือกสุดท้ายของแฮกเกอร์หากไม่สามารถระงับการให้บริการของเว็บไซต์หรือเซิร์ฟเวอร์โดยช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ก็มักที่จะเลือกการโจมตีแบบ DDoS เป็นไม้ตายก้นหีบ เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและค่อนข้างได้ผลหากมีประสิทธิภาพในการโจมตีที่สูง
- Read more about ICANN แนะนำวิธีรับมือการโจมตีแบบ DDoS
- 3 comments
- Log in or register to post comments
ICANN ประกาศแผนการเปิดตัวโดเมนระดับบนสุด (Top Level Domain) ในวันที่ 23 เมษายนที่จะถึงนี้ โดยตอนนี้มีโดเมนที่ผ่าน การพิจารณาแล้ว 52 รายชื่อ ในจำนวนนี้ส่วนมากเป็นภาษาที่ไม่ใช่ตัวโรมัน เช่น ภาษาจีน, ญี่ปุ่น, อาหรับ
บริษัทหลักที่ได้รับโดเมนเช่น VeriSign และอเมซอน ส่วนบริษัทที่เรารู้จักกกันดีเช่น วอลมาร์ตและซัมซุง ส่วนบริษัทอื่น นั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณา และบางโดเมนที่ผ่านการพิจารณาแล้วไม่ผ่านก็อาจจะได้รับสถานะ "มีสิทธิขอการพิจารณาเพิ่มเติม" เพื่อให้ข้อมูลกับทางกรรมการต่อไป ส่วนบางโดเมนอาจจะถูกถอนใบคำร้องออกไปเลยเนื่องจากไม่ผ่านตามหลักการพิจารณา
The Authors Guild หน่วยงานที่เคยฟ้องร้องกับกูเกิลในคดีการสแกนหนังสือจากห้องสมุดขนาดใหญ่ ยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ ICANN คัดค้านการอนุญาตโดเมน .book, .read, และ .author
จดหมายระบุว่าการปล่อยให้หน่วยงานเอกชนเป็นผู้ถือครองโดเมนเหล่านี้เป็นการต่อต้านการแข่งขัน ทั้งที่หน่วยงานที่ยื่นขอ (คืออเมซอน) ก็ครองตลาดส่วนใหญ่อยู่แล้ว และมีทุนมากพอที่จะขยายขอบเขตของตัวเองไปมากกว่านี้ ขอบเขตของการอาศัยโอกาสที่ครองโดเมนนี้ดูจะไม่มีขอบเขตจำกัด
The Authors Guild เป็นตัวแทนนักเขียนกว่า 8,000 คนในสหรัฐฯ และเป็นสมาคมนักเขียนที่ใหญ่ที่สุด