ทีมวิจัยจาก IBM ประสบผลสำเร็จในการจำลองโครงสร้างโมเลกุลของ beryllium hydride (BeH 2 ) บนคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 7 คิวบิต นับเป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยถูกจำลองบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม
แม้ว่าสารประกอบดังกล่าวจะถูกจำลองบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้อยู่ก่อนแล้ว แต่ในอนาคต การค้นหาสารประกอบใหม่ๆ อาจจะต้องมีการจำลองโครงสร้างโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอาจจะไม่เพียงพอต่องานดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จึงคาดหวังให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมมาทำงานเหล่านี้แทน งานวิจัยชิ้นนี้จึงถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวหนึ่ง
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์บนวารสาร Nature ถ้าใครสนใจเทคนิคการจำลองบนคอมพิวเตอร์ควอนตัมก็สามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้
ที่มา - MIT Technology Review , IBM
ภาพจาก IBM
Comments
น่าสนใจมาก
ดูเหมือนว่าในบทความจะบอกแค่ 6 คิวบิต ระบุเป็น Q1-Q6 แต่ในรูปเห็นมี 7 ตัวมุมบนซ้ายเหมือนจะไม่นับรวมเข้ามา
ใช่ครับ คอมมี 7 คิวบิตแต่ในงานวิจัยใช้แค่ 6
คอมฯ ควอนตัม มันเสถียรแล้วหรอครับ?
ผมเข้าใจว่าคอมที่ใช้ทดสอบน่าจะไม่เสถียรนะครับ แต่ก็คงอยู่ในระดับที่รับได้แหละ
มันคำนวณสถานะพื้นไม่ใช่เหรอครับ ไม่ใช่โครงสร้างของสารนะ
ผมอ่านย่อหน้านี้แล้วเข้าใจว่าเป็นอย่างเดียวกัน ตรงนี้ต้องรบกวนขอคำชี้แนะหน่อยครับเผื่อผมจะเข้าใจผิดจริงๆ