Larian Studios ผู้สร้างเกม Baldur’s Gate 3 เกมแนว tabletop RPG ที่ ได้รับรางวัลเกมยอดเยี่ยมประจำปี 2023 จากหลายสำนัก ได้ประกาศรายละเอียดของแพตช์ 8 ที่กำลังจะมาถึงในปีหน้าไว้ใน Community Update ฉบับที่ 30 ไว้ดังนี้
เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา Samsung NEXT หน่วยงานสนับสนุนและลงทุนด้านนวัตกรรมของซัมซุง ได้ประกาศเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนของ Aliro Technologies สตาร์ทอัพด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่แยกตัวออกมา (spin-out) จาก Quantum Information Sciences Lab ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา IBM ได้เปิดศูนย์ IBM Quantum Computation Center ที่รัฐนิวยอร์ก เพื่อสนับสนุนกลุ่มลูกค้า ทีมวิจัย และผู้ใช้ทั่วไปที่ใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ควอนตัมของตน (ผ่านโครงการ IBM Q Experience ) โดยจะมีคอมพิวเตอร์ในระบบทั้งหมด 10 เครื่อง ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ขนาด 20 คิวบิต 5 เครื่อง, คอมพิวเตอร์ขนาด 14 คิวบิต 1 เครื่อง, และคอมพิวเตอร์ขนาด 5 คิวบิตอีก 4 เครื่อง
ไมโครซอฟท์มีความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย และ สตาร์ทอัพ ต่างๆ ทั่วโลก ในการวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาสักพักแล้ว แต่ไมโครซอฟท์ก็เพิ่งเปิดตัวโครงการนี้อย่างเป็นทางการไปเมื่อสิ้นเดือน ภายใต้ชื่อ Microsoft Quantum Network
โครงการความร่วมมือนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
Civilization VI ประกาศภาคเสริมที่สองชื่อว่า Gathering Storm หลังจากที่ปล่อย ภาคเสริมแรก Rise and Fall ไปเมื่อต้นปี
ระบบใหม่ที่จะเพิ่มเข้ามาในภาคเสริมนี้คือ
ภัยพิบัติเช่น การตั้งเมืองริมแม่น้ำจะมีโอกาสเกิดน้ำท่วมเมือง หรือภูเขาไฟระเบิดสร้างความเสียหายกับพื้นที่โดยรอบได้ แต่พื้นที่บริเวณดังกล่าวก็มีทรัพยากร (yield) อุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการพัฒนาเมืองด้วยเช่นกัน ทำให้ผู้เล่นต้องคิดหนักขึ้นว่าจะตั้งเมืองในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงนี้หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีภัยพิบัติอื่นๆ เช่น พายุทะเลทราย เฮอริเคน พายุหิมะ ซึ่งก็เป็นอุปสรรคขัดขวางการเคลื่อนยูนิตหรือกองทัพได้
ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ควอนตัมเมื่อวันสองวันก่อน (13 กันยายนที่ผ่านมา) คือการผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีชื่อว่า The National Quantum Initiative Act โดยสภาผู้แทนราษฎร
รายละเอียดของ House bill ประกอบด้วยแผนพัฒนา 10 ปี การก่อตั้ง National Quantum Coordination Office เพื่อเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างสถาบันและเอกชน จนไปถึงงบประมาณที่จะให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ National Science Foundation, กระทรวงกลาโหม, และกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ เพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมงานวิจัย และจัดตั้งศูนย์วิจัยและสถาบันการศึกษา
หลังจากที่ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง IBM กับ Intel สร้างชิพควอนตัมนำไปก่อน ในที่สุด กูเกิลก็ออกมาเปิดเผยในงานประชุมประจำปี American Physics Society ที่ Los Angeles ถึง Bristlecone ชิพควอนตัม 72 คิวบิตที่กูเกิลกำลังวิจัยอยู่ นับเป็นชิพที่มีจำนวนคิวบิตสูงที่สุดเท่าที่เคยมีการประกาศมา (เทียบกับชิพของ IBM และ Intel ที่มีอยู่ประมาณ 50 คิวบิต)
Alibaba Cloud ร่วมกับสถาบัน Chinese Academy of Sciences (CAS) เปิดให้ลูกค้าใช้เซอร์วิสคอมพิวเตอร์ควอนตัมบนคลาวด์แล้ว โดยจะใช้ชิพควอนตัมแบบ superconducting ขนาด 11 คิวบิตในการประมวลผล ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มี IBM ที่ เพิ่งเปิดเซอร์วิสคอมพิวเตอร์ควอนตัมบนคลาวด์ขนาด 20 คิวบิต ไป
ไมโครซอฟท์ได้ เปิดตัว Quantum Development Kit ไปเมื่อธันวาคมปีที่แล้ว โดยมีภาษา Q# สำหรับเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม และตัว simulator สำหรับจำลองการทำงาน ล่าสุดก็มีอัพเดตเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือดังนี้
ชิพคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ ในงานวิจัย คือชิพแบบ superconducting ที่บริษัทใหญ่ๆ อย่างกูเกิล, IBM, และอินเทลกำลังวิจัยสร้างอยู่ และ ชิพแบบ trapped ion ที่ใช้เลเซอร์ในการดักจับไอออนและแก้ไขสถานะของคิวบิต
แต่โลกของการวิจัยชิพควอนตัมก็ไม่ได้จบอยู่ที่สองแบบนี้เท่านั้น ก่อนหน้านี้ อินเทลเคยประกาศไว้ว่ากำลังวิจัยชิพที่ทำจากซิลิคอนด้วยเช่นกัน โดยเชื่อว่าชิพซิลิคอนนี้จะมีขนาดเล็กกว่าชิพแบบอื่นเมื่อมีจำนวนคิวบิตเท่ากัน สามารถคงสถานะของคิวบิตได้นานกว่า สามารถทำงานที่อุณหภูมิสูงกว่าชิพแบบ superconducting ได้ และที่สำคัญคือ อินเทลมี know-how ในการสร้างชิพจากซิลิคอนอยู่แล้วด้วย
เก็บตกงาน CES 2018 เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา อินเทลได้แถลงว่าสามารถสร้างชิพประมวลผลควอนตัมสำหรับทดสอบ (test chip) โค้ดเนม “Tangle Lake” (มาจากชื่อของทะเลสาบใน Alaska) ขนาด 49 คิวบิตได้สำเร็จแล้ว หลังจากที่เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วก็ เพิ่งสร้างชิพ 17 คิวบิต ไปหมาดๆ ขณะที่เมื่อเดือนพฤศจิกายน IBM ก็เพิ่ง สร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 50 คิวบิต ไป
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา บริษัท Denso และบริษัท Toyota Tsusho ประกาศจะร่วมกันทดสอบการประมวลผลข้อมูลสภาพการจราจรในไทย โดยใช้ข้อมูลตำแหน่งและการเดินทางของรถแท็กซี่และรถบรรทุกกว่า 130,000 คันทั่วประเทศ ประมวลผลผ่านระบบคลาวด์คอมพิวเตอร์ควอนตัมของบริษัท D-Wave Systems
กระบวนการทดสอบโดยคร่าวๆ คือ บริษัท Denso จะพัฒนาอัลกอริทึมบนคอมพิวเตอร์ควอนตัมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และจะส่งผลการวิเคราะห์ไปยังแอพพลิเคชันบนแพลตฟอร์ม TSquare ของบริษัท Toyota Tsusho Nexty Eletronics (ประเทศไทย) ต่อไป ( ข่าวเก่า: สัมภาษณ์บริษัท TTET ผู้สร้างแอพจราจร TSquare จากข้อมูล GPS จริงกว่า 6 หมื่นตัวทั่วไทย )
เมื่อต้นปี IBM ประกาศโครงการ IBM Q มีเป้าหมายเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 50 คิวบิต และเมื่อเดือนมิถุนายนก็ สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 16 คิวบิตเสร็จแล้ว
เมื่อวานนี้ IBM ประกาศว่า ทีมงานได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมต้นแบบ (prototype) ขนาด 50 คิวบิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยจะยังคงทดสอบและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการประมวลผลมากขึ้นเสียก่อน
Stack Overflow มีฟีเจอร์ Developer Story ให้นักพัฒนาสร้าง resume ของตัวเองในรูปแบบของ timeline โดยผู้ใช้เองสามารถกรอกได้ว่าภาษา/เทคโนโลยีไหนที่ตนอยากทำงาน/ใช้งานด้วย และอะไรที่ไม่อยาก (ซึ่งอันที่จริงข้อมูลที่เอามากรอกก็คือแท็กในฟอรั่มนั่นแหละครับ)
นี่จึงทำให้ David Robinson นัก data scientist ประจำ Stack Overflow สนใจขุดข้อมูลจากฟีเจอร์ดังกล่าวขึ้นมา เพื่อดูว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง กล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อินเทลร่วมกับ ศูนย์วิจัย QuTech จากเนเธอร์แลนด์ ผลิตชิพควอนตัมขนาด 17 คิวบิตเพื่อใช้ในงานทดสอบของตัวเองแล้ว
ทีมวิจัยจาก IBM ประสบผลสำเร็จในการจำลองโครงสร้างโมเลกุลของ beryllium hydride (BeH 2 ) บนคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 7 คิวบิต นับเป็นโมเลกุลที่ซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยถูกจำลองบนคอมพิวเตอร์ควอนตัม
แม้ว่าสารประกอบดังกล่าวจะถูกจำลองบนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้อยู่ก่อนแล้ว แต่ในอนาคต การค้นหาสารประกอบใหม่ๆ อาจจะต้องมีการจำลองโครงสร้างโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอาจจะไม่เพียงพอต่องานดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จึงคาดหวังให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมมาทำงานเหล่านี้แทน งานวิจัยชิ้นนี้จึงถือว่าเป็นก้าวที่สำคัญอีกก้าวหนึ่ง
เมื่อต้นเดือน ทีมวิจัยจาก Institute for Quantum Computing และ Department of Physics and Astronomy, University of Waterloo ประเทศแคนาดา ประกาศความสำเร็จในการทดสอบแลกเปลี่ยนกุญแจเข้ารหัสผ่านช่องทางควอนตัม ( quantum key distribution หรือ QKD, ข่าวเก่า มีพูดถึงไว้นิดหน่อย) โดยส่งจากสถานีภาคพื้นดินไปยังเครื่องบินขณะที่กำลังบินอยู่
ที่ผ่านมา วงการ cryptocurrency และ blockchain ได้รับความนิยมล้นหลาม ส่งผลให้ ความต้องการการ์ดจอเพื่อเอาไปขุดเหมืองเพิ่มสูงขึ้น และเริ่มมี ข่าวลือเกี่ยวกับการดัดแปลงการ์ดจอเพื่อใช้ขุดเหมืองโดยเฉพาะ ล่าสุดก็เริ่มมีบางคนปิ๊งไอเดียว่า แล้วถ้าเอาคอมพิวเตอร์ควอนตัมไปขุดเหมืองแทนล่ะ จะขุดเร็วขนาดไหน
คำตอบคือ ขุดเร็วกว่าการ์ดจอแน่ๆ แต่ “มันอาจจะเร็วเกินไปจนไปทำลายระบบ blockchain” ได้เลยทีเดียว
นอกจากนี้ การมาของคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะทำให้ระบบ blockchain ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ เพราะมันสามารถทำลายกลไกการเข้ารหัสและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้อีกด้วย
ถ้ายังจำกันได้ IBM มีเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 5 คิวบิตอยู่ในมือ และมีเป้าหมายใหญ่ว่า จะสร้างคอมพิวเตอร์ขนาด 50 คิวบิตให้ได้
เมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง IBM ก็ได้ประกาศหลักไมล์ของตนว่าตอนนี้สร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 16 คิวบิตเสร็จแล้ว แต่ยังอยู่ในเฟสของการทดสอบ โดยจะเปิดไว้เป็น beta access ผู้ที่ต้องการจะใช้งานสามารถส่งคำร้องขอได้ที่เว็บไซต์ IBM Quantum Experience ( รายละเอียดการสมัคร )
สมรภูมิการวิจัยสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมเริ่มดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเดือนก่อน IBM ประกาศแผนพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมเชิงพาณิชย์ขนาด 50 คิวบิต ล่าสุด กูเกิลออกมาเผยว่าตนก็เตรียมจะผลิตคอมพิวเตอร์ควอนตัมในระดับนั้นด้วยเหมือนกัน (อย่าจำสลับกับคอมพิวเตอร์ของ D-Wave System ที่กูเกิลซื้อมานะครับ)
John Martinis หัวหน้าทีมวิจัยจากกูเกิลเปิดเผยว่า ทีมของเขาเตรียมจะสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 30 – 50 คิวบิตภายในสิ้นปีนี้ และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวอยู่ โดยหากสร้างสำเร็จ คอมพิวเตอร์ดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีอยู่บนโลก เรียกปรากฏการณ์นี้กันว่า quantum supremacy
หลังจากที่ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง D-Wave นำหน้าไปหนึ่งก้าวด้วย การเปิดตัวคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 2,000 คิวบิต ก็ถึงทีของ IBM ที่จะออกมาเผยถึงโครงการด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมของตัวเองถึง 2 หัวข้อด้วยกัน
เรามักจะได้ยินชื่อ Raspberry Pi ในฐานะผู้ผลิตบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋ว และมีตัวเลือกแบบราคาย่อมเยา ( Raspberry Pi Zero ) เป็นสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ที่กลายร่างมาเป็นตัวต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ กระตุ้นการเกิด ชุมชน maker จนไปถึงสนับสนุนวงการการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ตั้งแต่วัยเด็กกันเลยทีเดียว
วันนี้ มูลนิธิ Raspberry Pi ร่วมกับ Computing at School องค์กรรากหญ้า (grassroot organization) เพื่อครูผู้สอนคอมพิวเตอร์แห่งสหราชอาณาจักร สนับสนุนวงการไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัวนิตยสารเป็นของตัวเองในชื่อ “Hello World” วางตัวเป็นสื่อสร้างเครือข่ายระหว่างครูและนักการศึกษา (educators) เรียนรู้และแบ่งปันความรู้ร่วมกันภายใต้หัวข้อ computing and digital making จากทั่วทุกมุมโลก
D-Wave Systems บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ควอนตัมสัญชาติแคนาดา เปิดตัวคอมพิวเตอร์ควอนตัมรุ่น 2000Q โดยมีจำนวนคิวบิตทั้งสิ้น 2,000 ตัว มากกว่า รุ่น 2X ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้าที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2015 ถึง 2 เท่าตัว
D-Wave เคลมว่าคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่นี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น การทดสอบ benchmark พบว่าประมวลผลได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 2,600 เท่า, กินไฟน้อยกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปถึง 100 เท่า , และมีฟีเจอร์ anneal offsets ช่วยคำนวณการแยกตัวประกอบ (integer factoring) ได้ เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 1,000 เท่า
D-Wave หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ กูเกิลเลือกใช้ในงานวิจัยด้าน AI ประกาศเปิดซอร์สโปรแกรมประมวลผลเชิงควอนตัม qbsolv บน Github เพื่อให้นักพัฒนาศึกษาและพัฒนาโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการประมวลผลควอนตัมมากมายนัก
นอกเหนือจากผู้เล่นหลักอย่าง IBM และกูเกิลแล้ว ไมโครซอฟท์เองก็มีศูนย์วิจัยคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ก่อตั้งอย่างเงียบๆ มาตั้งแต่ปี 2005 ใน UC Santa Barbara นาม Station Q โดยเน้นไปที่งานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบ topological ซึ่งไมโครซอฟท์เชื่อว่าทนต่อการรบกวนของสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าแบบอื่น
ล่าสุด เมื่อ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ประกาศอย่างเป็นทางการว่า จะยกระดับการวิจัยจากเดิมไปสู่การสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมทั้งในระดับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยสนับสนุนด้านทุนวิจัยเพิ่ม และดึงเอา Todd Holmdahl มาบริหารงานในตำแหน่ง corporate vice president เขาเคยอยู่ในตำแหน่งบริหารงานผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ที่สร้างชื่อให้ไมโครซอฟท์ทั้ง Xbox, Kinect, และ HoloLens มาแล้ว