EA อัพเดตความคืบหน้าของ ระบบต้านโกงที่พัฒนาขึ้นเอง EA AntiCheat (EAAC) ที่เริ่มใช้กับ FIFA 23 for PC เป็นเกมแรก
ไมโครซอฟท์เปิดเผยผ่านบล็อก DirectX Developer ว่าประเด็นเรื่อง การเล่นเกมบนเครื่อง Windows on Arm มีความคืบหน้าไปอีกขั้น โดยซอฟต์แวร์ป้องกันโกงยอดนิยม 3 ตัวในตลาดคือ BattlEye, Denuvo Anti-Cheat, Wellbia XIGNCODE3 / UNCHEATER รองรับ Windows on Arm เรียบร้อยแล้ว
Valve ประกาศเตือนว่า ฟีเจอร์ Anti-Lag และ Anti-Lag+ ที่มีในจีพียู AMD Radeon ส่งผลกระทบต่อระบบป้องกันโกงของ Counter-Strike 2 และอาจส่งผลให้ผู้เล่นโดนแบนได้
ฟีเจอร์ Anti-Lag เริ่มใช้มาตั้งแต่ยุค Radeon Polaris เป็นการควบคุมจังหวะการทำงานของซีพียู ไม่ให้ล้ำหน้าจีพียูมากเกินไป ส่งผลให้ latency ของเกมลดลง เกมตอบสนองไวขึ้น ส่วน Anti-Lag+ เพิ่งมีในจีพียูกลุ่ม RDNA 3 (Radeon RX 7000) พัฒนาไปอีกขั้นคือเข้าไปปรับตัวเกมแต่ละเกมให้ซิงก์เฟรม
เมื่อพูดถึงระบบ DRM ในเกม ในความเห็นเกมเมอร์ส่วนใหญ่มักมองว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ไม่จำเป็น และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการเล่นเกม
Steeve Huin ซีโอโอของบริษัท Irdeto เจ้าของเทคโนโลยี Denuvo ที่เกมเมอร์คุ้นชื่อกันดี ออกมาให้สัมภาษณ์กับ Ars Technica พยายามชี้แจงข้อกล่าวหาเหล่านี้ โดยเขายืนยันว่า DRM เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมเกมที่ลงทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะช่วยป้องกันการแคร็กได้จริง เปิดโอกาสให้บริษัทเจ้าของเกมสามารถทำเงินเพื่อคืนทุนค่าพัฒนาในช่วงแรกๆ ที่เกมวางขาย และส่งผลบวกต่อเกมเมอร์ที่จะได้เล่นเกมคุณภาพสูงต่อไปในระยะยาว
Activision ประกาศอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ของ ระบบต้านโกง Ricochet ที่ใช้กับเกม Call of Duty เมื่อตรวจเจอคนโกงเกมแล้ว ผู้เล่นรายนั้นจะเห็น "ภาพหลอน" (Hallucinations) เป็นตัวละครหลอกในเกมที่ผู้เล่นคนอื่นมองไม่เห็น
ตัวละครหลอกนี้เป็นการโคลนผู้เล่นคนอื่นในแมตช์นั้นขึ้นมา (ไม่ได้ควบคุมด้วย AI) เพื่อให้คนโกงเข้าใจผิดว่าเป็นผู้เล่นจริงๆ แยกไม่ออกแม้ใช้โปรแกรมช่วยเล่น ส่งผลให้คนโกงไม่ประสบความสำเร็จในเกมแมตช์นั้น
ตัวละครหลอกยังสามารถใช้ตรวจสอบ "ผู้เล่นที่น่าจะโกง" แต่ระบบยังไม่แน่ใจนัก จึงใช้วิธีวางตัวละครหลอกไว้ใกล้ๆ ผู้เล่นต้องสงสัย เพื่อดูพฤติกรรมว่าผู้เล่นรายนี้จะมีปฏิสัมพันธ์อย่างไร
Valve โพสต์บล็อกเล่าการแบนผู้เล่นที่ใช้โปรแกรมโกงเกม Dota 2 จำนวนราว 40,000 บัญชี โดยใช้วิธีออกแพตช์ที่ล่อให้ผู้เล่นเหล่านี้เผยตัวออกมาก่อน
โปรแกรมโกงตัวนี้ใช้วิธีอ่านค่าพารามิเตอร์บางตัวในไคลเอนต์ Dota 2 ที่ผู้เล่นปกติมองไม่เห็น ซึ่ง Valve บอกว่าการแก้ค่าพารามิเตอร์เหล่านี้ทำได้ง่าย แต่อยากกำจัดบัญชีโกงเหล่านี้ก่อนเพื่อไล่คนเหล่านี้ออกไปจากชุมชนผู้เล่น เทคนิคที่ Valve ใช้คือออกแพตช์อัพเดตไคลเอนต์ แล้ววางตัวล่อหรือ honeypot ค่าพารามิเตอร์ปลอมที่มองเห็นได้จากโปรแกรมโกงเท่านั้น เมื่อบัญชีเหล่านี้มีพฤติกรรมตามค่าตัวเลขปลอมที่ Valve ดักเอาไว้ จึงมั่นใจว่าใช้โปรแกรมโกงแน่นอน และล้างบางทีเดียวทั้งหมด
ระบบต้านโกง (Anti-Cheat) กลายเป็นมาตรฐานของเกมยิงออนไลน์ยุคปัจจุบัน โดยเกมดังๆ อย่าง Valorant , PUBG, Apex Legends, Call of Duty ต่างมีระบบป้องกันการโกงของผู้เล่นกันหมดแล้ว
ล่าสุด Activision ประกาศนโยบายของเกม Call of Duty ภาคใหม่ Modern Warfare II (28 ตุลาคม) และ Warzone 2.0 (16 พฤศจิกายน) ว่าจะรันโปรแกรมป้องกันโกง Ricochet มาตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการ และบังคับใช้กับผู้เล่นทุกคน ถือเป็นเกม Call of Duty ภาคแรกที่มีระบบนี้ในตัว (Ricochet เพิ่มเข้ามาครั้งแรกใน Warzone 1.0 ระหว่างทาง)
ปัญหาการโกงเกม โดยเฉพาะการเล่นออนไลน์ ลุกลามไปทั่วทั้งวงการ ล่าสุด EA เป็นอีกค่ายเกมยักษ์ใหญ่ที่ประกาศนำระบบป้องกันโกงมาใช้งาน โดยใช้ชื่อว่า EA AntiCheat (EAAC) และจะเริ่มใช้กับ FIFA 23 for PC เป็นเกมแรก
EAAC เป็นการป้องกันที่ระดับเคอร์เนลเหมือนกับระบบต้านโกงของค่ายเกมอื่นๆ ( Vanguard ของ Riot , Ricochet ของ Activision ) โดย EA ให้เหตุผลว่าเทคนิคการโกงเกมพัฒนาไปจนถึงขั้นฝังระบบโกงในเคอร์เนล ดังนั้นระบบป้องกันโกงจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากฝังในเคอร์เนลด้วยเช่นกัน
ทีมงาน Ricochet Anti-Cheat ระบบป้องกันการโกงในเกม Call of Duty: Warzone เขียนบล็อกอัพเดตให้ข้อมูลระบบป้องกันการโกงแบบใหม่ชื่อ Damage Shield ที่หากตรวจพบว่ามีผู้เล่นใช้โปรแกรมช่วยเล่นหรือปรับแต่งตัวเกม ก็จะป้องกันไม่ให้ผู้เล่นรายนั้นยิงผู้เล่นคนอื่นตายได้ ทำให้คนโกงโดนรุมยำ และถ่วงเวลาให้ทีมงานเก็บข้อมูลของคนโกงได้มากขึ้นก่อนโดนแบน
Damage Shield ปัจจุบันทดสอบเสร็จสิ้น และเปิดใช้งานจริงในเซิฟเวอร์ทั่วโลกแล้ว ทีมงานระบุว่าระบบนี้จะไม่เปิดทำงานเองโดยเด็ดขาดหากผู้เล่นไม่โกง และหลังจากที่เปิดใช้ระบบ ยอดรายงานคนโกงก็ลดลงพอสมควร แต่ก็ยอมรับว่างานสู้กับคนโกงเป็นงานที่ไม่จบไม่สิ้น และทีมงานจะพัฒนาระบบตรวจสอบและป้องกันการโกงต่อไป
ปัญหาการโกงในเกมมัลติเพลเยอร์เป็นเรื่องร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลกระทบอย่างมากต่อชุมชนผู้เล่น (ที่ไม่ได้โกง) ล่าสุด Activision เปิดตัว Ricochet ระบบต่อต้านการโกงเกม (Anti-Cheat) ตัวใหม่ของเกมซีรีส์ Call of Duty
Ricochet ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ machine learning เข้ามาเรียนรู้พฤติกรรมผิดปกติของผู้เล่น และฝั่งไคลเอนต์ที่จะเป็นไดรเวอร์ติดตั้งในระดับเคอร์เนล ( ลักษณะเดียวกับระบบต้านโกงของเกม Valorant ชื่อ Vanguard )
ไดรเวอร์ Ricochet จะบังคับใช้งานกับการเล่นเกม Call of Duty (ถ้าไม่ยอมติดตั้งจะเล่นเกมไม่ได้) โดยจะคอยเฝ้าระวังว่ามีโพรเซสอื่นๆ มายุ่งกับเกม Call of Duty หรือไม่
จากประเด็นจุดอ่อนของ Steam Deck คือ ไม่รองรับเกมยอดนิยมหลายๆ ตัวโดยเฉพาะเกม FPS ชื่อดังทั้งหลาย ด้วยเหตุผลหลักว่าระบบต้านโกง anti-cheat ยังไม่สามารถทำงานได้บนลินุกซ์
ล่าสุด เราเริ่มเห็นพัฒนาการเรื่องนี้แล้ว โดย Epic Games ในฐานะเจ้าของเอนจินและเครื่องมือพัฒนาเกม ประกาศว่าระบบต้านโกง Easy Anti-Cheat (EAC) ของตัวเอง (ซื้อกิจการมาในปี 2018) รองรับลินุกซ์และแมคแล้ว แถมยังทดสอบความเข้ากันได้กับเลเยอร์ช่วยรันเกมวินโดวส์ทั้ง Wine และ Proton ด้วย เปิดทางให้เราได้เห็นเกมที่ใช้ EAC บนลินุกซ์ได้อีกมาก ตัวอย่างเกมที่ใช้ EAC ได้แก่ Apex Legends, Dead by Daylight, Fall Guys เป็นต้น
Vanguard ระบบป้องกันการโกงของเกม Valorant เตรียมให้ใช้งานได้บนเครื่องที่มีชิป TPM 2.0 และรองรับ Secure Boot เท่านั้น หลังมีผู้ใช้พบป็อปอัพแจ้งเตือนเรื่องนี้ แม้ Windows 11 จะเปลี่ยนนโยบายให้เครื่องที่ตกรุ่น และไม่มี TPM สามารถใช้งานได้แล้ว แต่จะอัพเดตผ่าน Windows Update ไม่ได้
Vanguard เป็นโปรแกรมป้องกันการโกงแบบ kernel-level ที่จะรันอยู่ตลอดเวลาแม้ผู้เล่นไม่ได้เล่น Valorant อยู่ และจะต้องรีบูตเครื่องใหม่ก่อนเล่น Valorant หากเผลอไปปิดโปรเซสนี้ ซึ่งแม้ระบบป้องกันการโกงแบบ kernel-level เช่น Vanguard และ Easy Anti-Cheat ของ Apex Lgends จะมีประสิทธิภาพดีกว่าระบบป้องกันการโกงทั่วไป แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างปัญหาความปลอดภัยให้กับเครื่องมากกว่าเช่นกัน
Fall Guys เกมแซนด์บ็อกซ์แบทเทิลรอยัลที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมากหลังเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม ทว่าแม้แต่เกมปั่น ๆ และเบาสมองแบบนี้ก็ยังหนีไม่พ้นคนใช้โปรแกรมโกงจนทำลายบรรยากาศการเล่นในแต่ละแมตช์ไปค่อนข้างเยอะ ล่าสุดทีมพัฒนาเกมทวีตเธรดเกี่ยวกับการตรวจจับและรับมือคนโกงเป็นครั้งแรก ค่อนข้างยาว (และกวน**)
ทีมพัฒนาระบุว่าตัวเกมมีระบบตรวจจับคนที่ใช้โปรแกรมโกงมานานแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำอะไรเพราะต้องการเก็บข้อมูลและมั่นใจว่าการตรวจจับถูกต้อง 100% เมื่อทีมงานมั่นใจว่าระบบตรวจจับแม่นยำแล้ว ก็เปิดเซิร์ฟเวอร์แยกและตั้งชื่อว่า Cheater Island ที่จะให้เฉพาะคนที่โกง matchmaking เข้ามาเจอกัน ซึ่งหากจำนวนคนไม่พอจะเปิดห้อง (40+ คนขึ้นไป) ก็จะได้แต่รอในหน้าหาห้องไปเรื่อย ๆ
Valorant เกมยิงที่ผสมผสาน Counter-Strike เข้ากับระบบสกิลแบบ Overwatch ของค่าย Riot กำลัง อยู่ในช่วง closed-beta แต่ก็ประสบปัญหาพบผู้เล่นที่ใช้โปรแกรมโกงเป็นจำนวนมาก และ Riot ก็พยายามแบนผู้เล่นเหล่านี้โดยใช้ Vanguard ระบบตรวจจับโปรแกรมโกง ที่จะรันตั้งแต่เปิดเครื่องและรันตลอดเวลาแม้จะไม่ได้เปิดเกมเล่นอยู่ (แต่สามารถปิดได้)
ถึงแม้จะมีประเด็นเรื่อง Vanguard รันอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ดูเหมือนว่าระบบตรวจจับนี้จะได้ผล ล่าสุด Phillip Koskinas วิศวกรฝั่ง anti-cheat data ของ Riot ทวีตว่าได้แบนผู้เล่นที่ใช้โปรแกรมโกงไปแล้วถึง 8,873 คน ส่วนทวิตเตอร์ของ Riot Vanguard ยังรีทวีตมาย้ำอีกว่า นี่แค่เริ่มต้นเท่านั้น