กูเกิลตกลงยอมความยุติคดีที่ผู้ใช้งาน ฟ้องร้อง แบบกลุ่ม ระบุว่ากูเกิลเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน Chrome แม้อยู่ในโหมดไม่ระบุตัวตนหรือ Incognito โดยบอกว่าการสื่อสารของกูเกิลทำให้พวกเขาเข้าใจว่าไม่มีการเก็บข้อมูลใด ๆ ซึ่งกูเกิลบอกว่าข้อมูลที่ไม่เก็บคือประวัติในอุปกรณ์หรือเบราว์เซอร์ แต่กูเกิลอาจรวบรวมข้อมูลกิจกรรมไว้
ประเด็นหนึ่งของการยอมความนี้ กูเกิลตกลงที่จะทำลายข้อมูลซึ่งในการฟ้องร้องระบุว่า ถูกเก็บรวบรวมอย่างไม่ถูกต้องก่อนหน้านี้ตั้งแต่มิถุนายน 2016 จำนวนข้อมูลนั้นคาดว่ามีระดับหลายพันล้านชุดข้อมูล ซึ่งปัจจุบันกูเกิลแจ้งทางเลือกการเก็บข้อมูลไว้แล้วใน Settings ของ Chrome
กูเกิลออก Chrome for Windows รุ่นรองรับสถาปัตยกรรม Arm อย่างเป็นทางการ หลัง ทดสอบรุ่น Canary มาตั้งแต่เดือนมกราคม
ในประกาศของกูเกิลเป็นความร่วมมือกับ Qualcomm ในฐานะผู้ผลิตชิป Arm สำหรับพีซี และกำลังจะมีสินค้ากลุ่มที่ใช้ชิป Snapdragon X Elite ออกจำหน่ายช่วงกลางปีนี้ การที่มี Chrome รุ่นเนทีฟบน Arm แก้ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพได้หมดจด ก็ย่อมลดอุปสรรคสำคัญของการขายพีซี Arm ลงไปได้อีกข้อหนึ่ง
เว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับ Windows on Arm แบบเนทีฟ ตอนนี้มี Microsoft Edge และ Firefox
Chrome for Windows รองรับฟีเจอร์จัดการความคมชัดของฟอนต์ Windows ClearType Text Tuner ซึ่งจะส่งผลให้ Chrome เรนเดอร์ฟอนต์ได้คมชัดกว่าเดิม
เดิมที Chromium เรียกใช้เอนจินแสดงผลกราฟิก 2D ชื่อ Skia ของกูเกิลเอง มีระบบจัดการความคมชัดของข้อความ แต่ใช้วิธี hard code ค่าตามระบบปฏิบัติการ ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขปรับแต่งค่าเองภายหลังได้ ส่งผลให้ในบางอุปกรณ์อาจมีปัญหาเรื่องการแสดงผลฟอนต์บ้าง
ส่วน Windows นั้นมีฟีเจอร์ชื่อ ClearType Text Tuner ให้ผู้ใช้ปรับแต่งความคมชัดของฟอนต์ตามที่เห็นบนหน้าจอ และแอพพลิเคชันต่างๆ สามารถเรียกใช้ค่าเหล่านี้ได้อัตโนมัติ (หากแสดงผลข้อความด้วย DirectWrite)
กูเกิลประกาศเพิ่มความสามารถของ Chrome ในการตรวจสอบเว็บไซต์ที่อันตรายหรือ Safe Browsing ตามที่ ประกาศ ก่อนหน้านี้ จากเดิม Chrome ใช้ข้อมูลเว็บไซต์ที่เก็บใน local และอัพเดตทุก 30-60 นาที แต่กูเกิลบอกว่าเว็บไซต์อันตรายปัจจุบันมีระยะเวลาปรากฏเฉลี่ยที่ 10 นาทีเท่านั้น เบราว์เซอร์จึงต้องจัดการเรื่องนี้ด้วยเวลาที่สั้นลง
กูเกิลประกาศปรับกระบวนการทำงานของ Google Safe Browsing ใน Chrome ทั้งบนเดสก์ท็อปและมือถือ ที่ผ่านมาการทำงานของ Safe Browsing ใช้วิธีดาวน์โหลดรายชื่อเว็บไซต์อันตรายมาเก็บไว้ในเครื่องเป็น local list แล้วค่อยตรวจสอบว่าเว็บที่ผู้ใช้เข้าตรงกับรายชื่อหรือไม่ รายชื่อจะอัพเดตทุกๆ 30-60 นาที ทำให้เกิด "ช่องว่างเวลา" ที่อาจมีเว็บเกิดใหม่ขึ้นมา หรือเว็บอันตรายที่ใช้วิธีเปิดๆ ปิดๆ เพื่อหลบการตรวจจับ (สถิติของกูเกิลบอกว่าเว็บอันตรายเหล่านี้จะเปิดมาเฉลี่ยประมาณ 10 นาทีแล้วปิดไป)
แนวทางใหม่ของ Safe Browsing เปลี่ยนมาทำงานออนไลน์ทั้งหมด Chrome จะเช็คกับรายชื่อเว็บอันตรายบนเซิร์ฟเวอร์แบบเรียลไทม์ รายชื่อนี้จะอัพเดตตลอดเวลา อัพเดตทันทีเมื่อตรวจพบเว็บอันตรายเกิดใหม่ในตอนนั้น
กลุ่มผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ 4 รายใหญ่คือ Apple, Google, Microsoft, Mozilla ที่เป็นเจ้าของเอนจิน 3 ตัวหลัก Blink/V8, Gecko/SpiderMonkey, WebKit/JavaScriptCore ร่วมกันเปิดตัวเบนช์มาร์คเวอร์ชันใหม่ Speedometer 3
Speedometer เริ่มพัฒนาครั้งแรกในปี 2014 โดยทีม WebKit จากนั้นออกเวอร์ชัน 2 ในปี 2018 และใช้งานเรื่อยมา ในปี 2022 กลุ่มผู้พัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ประกาศร่วมกันทำ Speedometer 3 และวันนี้สำเร็จเป็นรูปเป็นร่างมาให้ใช้งานกันแล้ว
กูเกิลอัพเดตความสามารถใหม่หลายอย่างให้กับ Chrome เพื่อช่วยแนะนำ (Search Suggestion) และปรับการค้นหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อได้ไอเดียใหม่และทำให้การค้นหาง่ายมากขึ้น มีรายละเอียดดังนี้
- Chrome เดสก์ท็อป เพิ่มคำแนะนำคำค้นเกี่ยวข้องที่ "คนอื่น" ค้นหา เช่น เมื่อค้นหา จับแช ก็แนะนำคำค้นอาหารเกาหลีอื่นเพิ่มเติม
- Chrome iOS และ Android แสดงรูปภาพประกอบของคำค้นแนะนำมากขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ไอเดียที่ต้องการง่ายกว่าเดิม
- Chrome iOS และ Android ปรับปรุงระบบแนะนำคำค้นแบบ on-device เพื่อรองรับกรณีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตช้า
ที่มา: กูเกิล
Chrome 122 เพิ่มฟีเจอร์ Help Me Write ที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยยังรองรับเฉพาะภาษาอังกฤษสำหรับผู้ใช้งานในสหรัฐ และมีเฉพาะบนวินโดวส์และแมค
ฟีเจอร์ Help Me Write ของ Chrome เป็นการนำโมเดล Gemini มาช่วยเขียนหรือปรับแก้ข้อความใน textbox บนหน้าเว็บ เช่น รีวิวร้านอาหาร ประกาศขายสินค้าออนไลน์ สอบถามข้อมูลจากโรงแรมที่จะเข้าพัก ฯลฯ โดย Gemini จะเข้าใจบริบทของหน้าเว็บที่เราเปิดอยู่ตอนนั้น และช่วยแนะนำเนื้อหาที่เราต้องการเขียนได้
การใช้งานจำเป็นต้องเปิดใช้ใน Settings > Experimental AI แล้วคลิกขวาที่กล่องข้อความเพื่อเลือกเมนู Help me write
ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของ Chrome for Android ที่ทำให้หลายคนหงุดหงิดคือ การเปิดลิงก์ที่เป็น PDF จะต้องดาวน์โหลดไฟล์มาลงในเครื่องก่อน แล้วค่อยใช้ตัวอ่าน PDF ในเครื่องเปิดไฟล์อีกที ซึ่งแตกต่างจาก Chrome เวอร์ชันเดสก์ท็อปที่สามารถแสดงผล PDF ได้โดยตรง
ล่าสุดมีคนไปพบ flag ใน Chrome Canary for Android ชื่อ "Open PDF inline on Android" โผล่เข้ามาแล้ว แม้ฟีเจอร์นี้ยังใช้งานไม่ได้ในตอนนี้ แต่ก็เป็นสัญญาณอันดีว่า Chrome ซึ่งเป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้เยอะที่สุดบน Android จะรองรับการอ่าน PDF สักที
ที่มา - MSPoweruser
กูเกิลออก Chrome รุ่นทดสอบบน Windows 11 Arm แบบเงียบๆ โดยตอนนี้ยังเป็น Chrome Canary รุ่นทียังไม่เสถียร
กูเกิลไม่ได้ประกาศข่าวนี้ตามช่องทางต่างๆ ว่าทำไมเพิ่งออก Chrome บน Windows on Arm หลังผู้ใช้เรียกร้องกันมายาวนาน และ Chrome เองก็มีเวอร์ชันซีพียู Arm ทั้งบน macOS และ ChromeOS อยู่ก่อนแล้ว ( Microsoft Edge Chromium เริ่มรองรับซีพียู Arm มาตั้งแต่ปี 2019 )
คาดว่าเหตุผลที่กูเกิลยอมทำเวอร์ชัน Windows on Arm น่าจะมาจาก สินค้าพีซีกลุ่มที่ใช้ Snapdragon X Elite เตรียมเปิดตัวกันช่วงกลางปีนี้ ซึ่งจะช่วยปลุกกระแส Arm ฝั่ง Windows ให้เติบโตอีกมาก
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้กับ Google Chrome โดยอาศัยพลัง generative AI 3 รายการ โดยเฉพาะการเพิ่มฟีเจอร์ช่วยเขียนและสร้างภาพ แบบเดียวกับที่ Microsoft Edge ใส่ Copilot เข้ามา โดย 3 ฟีเจอร์ได้แก่
กูเกิลเริ่มปิดการทำงานของคุกกี้ข้ามเว็บไซต์ (third party cookie) ใน Chrome ตามที่เคยประกาศไว้ โดยใช้วิธีปิดแค่เพียง 1% ของผู้ใช้ทั้งหมด แต่เมื่อ Chrome มีปริมาณผู้ใช้จำนวนมหาศาล คาดว่าจะมีผลกับผู้ใช้ราว 30 ล้านคน
เป้าหมายของกูเกิลคือเปลี่ยนมาใช้ ระบบ Privacy Sandbox ที่ฝังลงในตัวเบราว์เซอร์ เพื่อให้ยิงโฆษณาแบบเจาะจงตามความสนใจของผู้ใช้แบบกว้างๆ แทนการตามรอยแบบเจาะจงด้วยคุกกี้ โดยเริ่มเปิดใช้งาน Privacy Sandbox มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2023 แล้วจึงมาเริ่มปิดคุกกี้ในเดือนนี้
ก่อนหน้านี้กูเกิลถูกฟ้องร้องแบบกลุ่ม ในประเด็น Chrome มีการติดตามข้อมูลผู้ใช้งาน แม้จะเปิดโหมดไม่ระบุตัวตนหรือ Incognito ซึ่งการฟ้องร้องนั้นเรียกค่าเสียหายถึง 5 พันล้านดอลลาร์ ล่าสุดมีรายงานว่ากูเกิลได้ตัดสินใจเจรจาเพื่อยุติคดีนี้แล้ว โดยรายละเอียดข้อตกลงจะนำเสนอต่อศาลเพื่ออนุมัติในเดือนกุมภาพันธ์
ข้อกล่าวหาจากกลุ่มผู้บริโภคระบุว่า แม้ผู้ใช้งานจะเปิดโหมด Incognito ไว้ แต่กูเกิลยังใช้เครื่องมือติดตามข้อมูลผู้ใช้งานได้ เช่น Analytics, แอปอื่น หรือปลั๊กอินในเบราว์เซอร์ โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลนี้กับผู้ใช้งาน ซึ่งตอนนั้นตัวแทนกูเกิลบอกว่าโหมด Incognito จะไม่บันทึกกิจกรรมผู้ใช้งานในอุปกรณ์ แต่เว็บไซต์ก็สามารถเก็บข้อมูลในเซสชันได้
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ Chrome ทั้งหมด 3 อย่าง เริ่มจาก แสดงหน่วยความจำที่ใช้ในแต่ละแท็บ เมื่อนำเคอร์เซอร์ไปวาง hover บนแท็บ
กูเกิลเตรียมเพิ่ม userScripts API กลับเข้ามาให้ extension ของ Chrome ใช้งาน หลังก่อนหน้านี้เคยมีฟีเจอร์นี้ใน Manifest V2 แต่ถอนออกไปใน Manifest V3 ตอนนี้เปิดกลับมาแล้ว แต่มีข้อจำกัดเพิ่มเติมหลายอย่าง จุดสำคัญคือผู้ใช้ต้องเปิด developer mode จึงจะใช้งานได้
กูเกิลออกอัพเดต Chrome แก้ไขช่องโหว่ Zero-Day CVE-2023-6345 ซึ่งกูเกิลบอกว่ามีการรายงานปัญหาและโจมตีแล้วตอนนี้ ผู้ใช้งานจึงควรอัพเดตทันที
โดย Chrome เวอร์ชันที่อัพเดตแล้วบนเดสก์ท็อป สำหรับ Windows คือ 119.0.6045.199/.200 ส่วน Mac และ Linux เป็นเวอร์ชัน 119.0.6045.199
กูเกิลยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดของช่องโหว่นี้ เนื่องจากต้องรอให้มีผู้ใช้ Chrome อัพเดตจำนวนมากพอก่อน โดยถือเป็นการแก้ไขช่องโหว่ Zero-Day ครั้งที่ 6 ในปีนี้ แต่คาดว่าเป็นช่องโหว่เกี่ยวกับ Skia ที่เป็นไลบรารีกราฟิก 2D รายงานการค้นพบโดยนักวิจัยของ Google's Threat Analysis Group (TAG)
Google ได้อัปเดต Manifest V3 ใหม่ซึ่งเป็นข้อกำหนดของ Chrome extension ที่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจำกัดจำนวนตัวบล็อกโฆษณา ซึ่ง Google ประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงจาก Manifest V2 ไปสู่ Manifest V3 ต่อ ด้วยการปรับปรุงข้อกำหนดหลักบางส่วน
หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงคือ การปรับปรุงการกรองเนื้อหาสำหรับ Declarative Net Request API ที่ใช้กับ Extension ที่บล็อกโฆษณา ที่ก่อนหน้านี้ Google เสนอให้จำกัดการทำงานของ API นี้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของตัว Ad Blocker ในเบราว์เซอร์ที่ใช้ Chromium ทั้งหมด
ตอนนี้ Manifest V2 [หยุดซัพพอร์ตไปแล้ว] และ Google จะปิดใช้ส่วนขยาย Manifest V2 ในเบราว์เซอร์ของผู้ใช้โดยอัตโนมัติในเดือนมิถุนายนปี 2024 ต่อไป
กูเกิลประกาศหยุดซัพพอร์ต Chrome บน Android เวอร์ชันเก่าคือ 7.0-7.1 Nougat โดยจะเริ่มมีผลใน Chrome 120 ที่จะออกช่วงต้นเดือนธันวาคม 2023
Android Nougat ออกในปี 2016 และหมดระยะซัพพอร์ตไปนานแล้ว แต่กูเกิลยังซัพพอร์ต Chrome ให้อยู่ ประกาศนี้ทำให้ Android Nougat จะหยุดที่ Chrome 119 เวอร์ชันล่าสุดในปัจจุบัน รวมระยะเวลาแล้วออก Chrome ให้นานประมาณ 7 ปี ผลของการหยุดซัพพอร์ต Chrome สำคัญตรงที่จะกระทบไปยังแอพตัวอื่นๆ ที่เรียกใช้ Chrome ในการเรนเดอร์เว็บเพจด้วย
Android เวอร์ชันเก่าสุดที่ยังซัพพอร์ตอยู่ในตอนนี้คือ Android 11 ที่ออกในปี 2020
กูเกิลอัพเดต Chrome บน iOS ให้ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าย้ายแถบที่อยู่ (Address Bar) มาไว้ที่ด้านล่างของหน้าจอแบบเดียวกับ Safari ได้แล้ว ซึ่งฟีเจอร์นี้มีผู้พบในเวอร์ชันทดสอบก่อนหน้านี้
วิธีการย้ายแถบ Address Bar นี้ทำได้สองวิธีได้แก่ กดค้างที่แถบดังกล่าว แล้วเลือก Move address bar to bottom หรือไปแก้ไขที่ Settings ในหัวข้อ Address Bar
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์สำหรับกล่องค้นหาหรือ Omnibox ใน Chrome ซึ่งช่วยให้การเข้าเว็บไซต์หรือค้นหา ทำได้เร็วมากยิ่งขึ้น มีผลทั้งเบราว์เซอร์ในเดสก์ท็อปและมือถือ รายละเอียดดังนี้
- Autocomplete ที่ฉลาดขึ้น - โดยจะแนะนำ URL หากพิมพ์คำเริ่มต้นตรงกับส่วนหนึ่งก็ได้ ตัวอย่างเว็บ Google Flights เดิมต้องพิมพ์ google.com เริ่มต้นก่อน แต่ตอนนี้พิมพ์ว่า flights ก็สามารถ autocomplete เป็น https://www.google.com/travel/flights ได้
- ช่วยแก้คำผิด - หากพิมพ์ URL หรือคำค้นไม่ถูก Chrome ก็สามารถแนะนำ URL ที่สะกดถูกต้องมาให้ได้
กูเกิลอัพเดต Chrome เวอร์ชัน 117.0.5938.132 แก้ไขช่องโหว่ Zero-Day CVE-2023-5217 เกี่ยวกับ heap buffer overflow ของ libvpx ซึ่งกูเกิลใช้เวลา 2 วัน หลังจากมีการเปิดเผยช่องโหว่นี้ออกมา และเป็นการแก้ไขช่องโหว่ Zero-Day ครั้งที่ห้าของปีนี้ ผู้ใช้งานควรอัพเดตทันที
ทั้งนี้กูเกิลยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับช่องโหว่ดังกล่าว โดยจะเผยแพร่เมื่อมีผู้ใช้งานส่วนใหญ่ได้อัพเดต Chrome เป็นเวอร์ชันล่าสุดแล้ว
Chrome เวอร์ชันนี้ยังอัพเดตแก้ไขช่องโหว่อีกสองรายการคือ CVE-2023-5186 และ CVE-2023-5187 ด้วย
Mozilla ก็ออกอัพเดต Firefox เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้เช่นกันใน Firefox เวอร์ชัน 118.0.1 สำหรับเดสก์ท็อป รวมถึงในแพลตฟอร์มอื่นด้วย
สัปดาห์ที่ผ่านมา Citizen Lab รายงานถึงช่องโหว่ที่ใช้เจาะ iPhone ผ่านทาง iMessage ได้โดยเหยื่อไม่ต้องคลิกใดๆ ตอนนี้แอปเปิลก็พบว่าช่องโหว่นี้ที่จริงแล้วเป็นช่องโหว่ heap overflow ของ libwebp ซึ่งกระทบเบราว์เซอร์อื่นๆ ด้วย ตอนนี้ทั้ง Chrome ก็ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่นี้แล้ว ในเวอร์ชั่น 116.0.5845.187 และ 116.0.5845.188
แพตช์เดียวกันถูกส่งเข้า Firefox แล้ว คาดว่าจะออกเป็นเวอร์ชั่น 117.0.1 ภายในเร็วๆ นี้
กูเกิลประกาศเปิดใช้งาน Privacy Sandbox ระบบตามรอยผู้ใช้งานที่มาแทนคุกกี้ ใน Chrome อย่างเป็นทางการ หลังเริ่มเสนอแนวคิดนี้มาตั้งแต่ปี 2019 และ ทยอยปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนลงตัว
แนวทางของ Privacy Sandbox คือเลิกเก็บคุกกี้เพื่อตามรอยว่าผู้ใช้เข้าเว็บไหนบ้าง แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจโฆษณายังอยู่ได้ ตัวเบราว์เซอร์ Chrome เปลี่ยนมาเก็บหัวข้อความสนใจของผู้ใช้ (Topics) เช่น รถยนต์ ภาพยนตร์ กีฬา ท่องเที่ยว ดนตรี ฯลฯ แบบกว้างๆ แทน เมื่อเราเข้าเว็บไซต์ที่ฝังโฆษณา ระบบโฆษณาจะขอหัวข้อความสนใจจากเบราว์เซอร์เพื่อเลือกแสดงโฆษณาในหมวดที่เราน่าจะสนใจ แทนการยิงโฆษณาแบบหว่านๆ ที่อาจไม่เข้าเป้าเลย
Chrome ประกาศอัพเดต UI ใหม่ในโอกาสฉลองครบรอบ 15 ปี ปรับมาใช้ดีไซน์แบบ Material You รองรับการเปลี่ยนธีมสีแยกตามโพรไฟล์ และปรับโหมด Light/Dark ตามค่าของระบบปฏิบัติการ
กูเกิลประกาศปรับหน้าตาและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ Chrome เพื่อฉลองครบรอบ 15 ปี ในเดือนนี้ มีรายละเอียดดังนี้
- ดีไซน์ Material You พร้อมพาเลตคู่สี ทำให้ผู้ใช้งานแยกโปรไฟล์ผ่านธีมสีได้
- Chrome Web Storeรูปแบบใหม่ ดีไซน์ Material You พร้อมหมวดใหม่ AI-powered และ Editors' spotlight
- เครื่องมือค้นหาใหม่ Search this page with Googleในแถบด้านข้าง สำหรับค้นหาเพิ่มเติมจากคอนเทนต์ในเว็บที่กำลังเข้าชม
- Safe Browsingอัพเดตลิสต์เว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัยเป็นเรียลไทม์ จากเดิมอัพเดตทุก 30-60 นาที