NFT ยังเป็นกระแส และถูกพูดถึงในไทยต่อเนื่อง KASIKORN X หรือ KX ผู้พัฒนา Coral แพลตฟอร์มจำหน่ายงานศิลปะ NFT จึงร่วมกับ สภากาชาดไทย จัดงาน Digital Arts NFT RedCross x KX เพื่อจัดแสดงผลงานศิลปะจากฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ถือเป็นครั้งแรกที่ผลงานศิลปะของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถูกแปลงเป็นดิจิทัลไฟล์ และผู้สนใจสามารถครอบครองงานศิลปะดังกล่าวผ่านเทคโนโลยี NFT ได้ ทั้งยังได้บุญผ่านการบริจาคให้สภากาชาดไทยเพื่อใช้ช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติต่าง ๆ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา วงการ NFT ค่อนข้างเป็นที่คึกคัก ได้รับความสนใจทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยเฉพาะการถูกนำมาเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายผลงานศิลปะ ให้ศิลปินมีช่องทางการขายและสร้างชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น ขณะที่นักสะสมก็สามารถแสดงเป็นเจ้าของผลงานศิลปะนั้นได้จริงๆ
แต่หากกลับมามองในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ทั้งศิลปินและนักสะสม ยังต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งก็อาจมีอุปสรรคและปัญหาในหลายๆ ส่วน ไม่รวมวงการศิลปะเองที่กำลังเผชิญปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ ผลงานถูกขโมยและนำไปวางขายในแพลตฟอร์มต่างประเทศ ยากแก่การดำเนินเรื่อง ขณะที่แพลตฟอร์มเองก็ยากที่จะพิสูจน์ว่าผลงานดังกล่าวเป็นของผู้ที่วางขายจริงหรือไม่
กูเกิลเปิดตัว Coral Dev Board Mini บอร์ดรันโมเดลปัญญาประดิษฐ์สำหรับนักพัฒนามาตั้งแต่ต้นปี พร้อมกับโมดูลสำหรับผู้ผลิตรุ่นอื่นๆ สัปดาห์นี้ก็เพิ่งเริ่มวางขายบอร์ดจริง โดย SeeedStudio เป็นผู้จัดจำหน่ายในราคา 99.99 ดอลลาร์
ตัวบอร์ดใช้ซีพียู MediaTek 8167s พร้อมแรม 2GB และหน่วยความจำแฟลช 8GB รองรับ Wi-Fi 5 และ Bluetooth 5.0 แต่จุดเด่นคือชิป Edge TPU ที่สามารถรันคำสั่งได้ระดับ 4 TOPS (ล้านล้านคำสั่งต่อวินาที) โดยกินไฟเพียง 2 วัตต์ ทำให้น่าสนใจกับงานที่มีเงื่อนไขการใช้ไฟฟ้า สำหรับงานที่สามารถใช้ไฟฟ้าได้มากๆ บอร์ด NVIDIA Jetson Nano รุ่นใหม่ สเปคดีกว่าหลายด้านในขณะที่ราคาถูกกว่า
ASUS นอกจากจะเป็นผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ ยังมีสินค้าในกลุ่มคอมพิวเตอร์จิ๋ว (single board computer) ในแบรนด์ Thinker มาตั้งแต่ปี 2017 ปีนี้บริษัทก็เปิดตัวบอร์ดรุ่นใหม่ Tinker Edge T ที่เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่องานปัญญาประดิษฐ์
หัวใจหลักของ Tinker Edge T คือ Coral System-on-Module ที่มีทั้งซีพียู, แรม, และหน่วยความจำแฟลชมาแล้วในตัว โดยรุ่นที่ ASUS ใช้เป็นรุ่นแรม 1GB ส่วนบอร์ด I/O ที่ ASUS มาทำนั้น มี LED ในตัว, ขา GPIO, HDMI ขนาดเต็ม, USB-A, USB-C, แลนกิกะบิต พร้อมพัดลมระบายความร้อน
บอร์ด Tinker Edge T จะเริ่มขายเร็วๆ นี้ และฟีเจอร์บางส่วน เช่น ชุดเครื่องมือแฟลชระบบปฎิบัติการ หรือหน้าจอช่วยให้ใช้งานง่าย จะมาภายในสิ้นเดือน
ปีที่แล้วกูเกิลเปิดตัว ชิปเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์ในแบรนด์ Coral มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก่อนหน้านี้มีขายเฉพาะชุดพัฒนา ปีนี้กูเกิลก็ประกาศเตรียมวางขายชิปสำหรับผู้ผลิตนำไปประกอบเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว โดยมี 2 รูปแบบ
สัปดาห์ที่ผ่านมา กูเกิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์สาย AI หลายตัว ส่วนใหญ่เป็นซอฟต์แวร์ในตระกูล TensorFlow เช่น TensorFlow 2.0 Alpha , TensorFlow JS , TensorFlow Privacy , TensorFlow Lite 1.0 แต่ก็ยังมีโครงการฮาร์ดแวร์เปิดตัวด้วยเช่นกัน
โครงการฮาร์ดแวร์ใช้ชื่อแบรนด์ว่า Coral มันเป็นชุดฮาร์ดแวร์ DIY เพื่อประมวลผล AI แบบโลคัล ไม่ต้องส่งขึ้นคลาวด์
กูเกิลเปิดตัว Edge TPU ชิปประมวลผลปัญญาประดิษฐ์สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว โดยบอกว่าจะขายทปลายปี 2018 แต่หลังจากเลยกำหนดมาพักใหญ่ ตอนนี้บอร์ดพัฒนา และตัวเร่งแบบ USB-C ก็วางขายแล้วทั้งคู่ ในแบรนด์ Coral
ตัว Coral Dev Board ใช้ชิป NXP i.MX 8M ภายในเป็น Cortex-A53 สี่คอร์ และไมโครคอนโทรลเลอร์ Cortex-M4F แรม 1GB และหน่วยความจำ eMMC 8GB รองรับ Wi-Fi 802.11ac และ Bluetooth 4.1 พอร์ตแลนกิกะบิต, USB-C, USB-A 3.0, และ micro USB สำหรับคอนโซล ต่อจอภาพด้วย HDMI 2.0a, MIPI-DSI 24 pin, และต่อกล้องด้วย MIPI-CSI2 และชิป Edge TPU ราคา 149.99 ดอลลาร์