กูเกิลอัพเกรดความสามารถของ Gemini Code Assist บริการ AI ช่วยแนะนำโค้ดที่เปิดตัวในเดือนเมษายน 2024
อย่างแรกคือการปรับมาใช้ โมเดล Gemini 2.0 Flash ตัวใหม่ ให้คำตอบมีคุณภาพสูงขึ้น และระยะเวลาการตอบสั้นลง
Looker บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (business intelligence) ขายกิจการให้กูเกิลมาตั้งแต่ปี 2019 และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบริการ Google Cloud
แต่ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ ไม่เลือกงานไม่ยากจน Looker ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดแต่บน Google Cloud เพียงอย่างเดียวนี่นา ล่าสุดกูเกิลจึง นำ Looker ขึ้นไปขายบน AWS Marketplace ด้วย เพื่อให้ลูกค้า AWS (ที่มีเยอะกว่า Google Cloud) สามารถเลือกซื้อ Looker ได้ถ้าต้องการ
กูเกิลเปิดบริการ Google Agentspace บริการแชตกับข้อมูลภายในองค์กรที่สามารถเชื่อมกับแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Drive, Sharepoint หรือแอปพลิเคชั่นงานอย่าง ServiceNow, Jira
แนวทางการใช้งาน คือการสร้าง agent สำหรับงานประเภทต่างๆ เช่น ฝ่ายบุคคลต้องการสร้าง HR Agent เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสวัสดิการ และกฎการทำงานต่างๆ หรือฝ่ายการเงินอาจจะสร้าง agent สำหรับการเบิกค่าใช้จ่ายต่างๆ บริการนี้รวมเอา NotebookLM Enterprise ไว้ในตัว ทำให้สามารถค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ รวมเอาเป็นรายงานฉบับเดียว แล้วสร้าง podcast ไว้ฟังสรุปได้ทีเดียว
Google Cloud ประกาศเริ่มนำ โมเดลปัญญาประดิษฐ์สร้างวิดีโอ Veo มาให้บริการ นับเป็นคลาวด์รายใหญ่รายแรกที่มีบริการสร้างวิดีโอ แต่ยังเป็นบริการวงปิดอยู่
Veo สามารถสร้างวิดีโอได้จากภาพและจากข้อความ ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างภาพต้นแบบจากโมเดล Imagen ก่อนแล้วค่อยทำเป็นภาพเคลื่อนไหวก็ได้ ตอนนี้ยังเป็นบริการวงปิดเฉพาะผู้ได้รับอนุญาต โดยกูเกิลระบุว่า Agoda นั้นใช้เครื่องมือ AI ทั้ง Veo, Gemini, และ Imagen ช่วยทำโฆษณาเพื่อลดระยะเวลาการสร้างงานแล้ว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดตัวบริการ ChulaGENIE ผู้ช่วยแบบ LLM สำหรับบุคลากรและนิสิตรวมกว่า 50,000 คน โดยภายในเป็นการซื้อ Gemini Pro และ Gemini Flash แบบ API ผ่านทางบริการ Vertex AI บน Google Cloud มาเปิดให้ภายในใช้งาน
บริการนี้เตรียมเปิดตัวเป็นเฟส โดยช่วงแรกมกราคม 2025 จะเปิดให้เฉพาะคณาจารย์และบุคลากรก่อน จากนนั้นจึงเปิดให้นิสิตทุกคนใช้งานในเดือนมีนาคม ช่วงแรกจะใช้ Gemini 1.5 Flash และ Gemini 1.5 Pro โดยมีแผนจะเพิ่มตัวเลือก Claude และ Llama ต่อไป
หน้าจอ ChulaGENIE ที่เปิดเผยออกมานั้นเหมือนกับโครงการ OpenWebUI ที่เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสูง ภายในมีการสร้างตัวช่วยเฉพาะเรื่อง เช่น ผู้ช่วยงานวิจัย, ผู้ช่วยการศึกษา, และผู้ช่วยด้านการบริหารและธุรการ
กูเกิลออกบัญชีสำหรับนักพัฒนา Google Developer Program เวอร์ชัน Premium ที่มีค่าสมาชิกปีละ 299 ดอลลาร์ (เวอร์ชันปกติสมัครฟรี) แลกกับ
- เครดิต Google Cloud 500 ดอลลาร์ต่อปี
- voucher สำหรับสอบ Google Cloud certification มูลค่าสูงสุด 200 ดอลลาร์
- สิทธิการเรียนคอร์ส Google Cloud Skill Boost ไม่จำกัด ปกติราคา 299 ดอลลาร์ต่อปี
- สิทธิในการปรึกษา Google Cloud expert แบบ 1:1
- หากสอบ Google Cloud certification ผ่าน รับเครดิต Google Cloud เพิ่มอีก 500 ดอลลาร์ต่อปี
ราคานี้ดูคุ้มค่าหากเป็นนักพัฒนาที่ใช้บริการ Google Cloud และต้องการพัฒนาในสายอาชีพผ่านการสอบใบรับรอง
Google Cloud ประกาศแผนการบังคับใช้ multi-factor authentication (MFA) ทุกกรณี โดยจะทยอยบังคับใช้เป็นเฟสๆ จนถึงสิ้นปี 2025
- เฟส 1: พฤศจิกายน 2024แนะนำให้ใช้ MFA ด้วยการแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Google Cloud Console บอกว่ามีข้อดีอย่างไร
- เฟส 2: ต้นปี 2025บังคับใช้ MFA สำหรับผู้ใช้ที่ล็อกอินด้วยรหัสผ่าน
- เฟส 3: สิ้นปี 2025บังคับใช้ MFA สำหรับผู้ใช้ที่ล็อกอินผ่านระบบอื่นผ่านมาทาง Google Cloud (federated authentication)
กูเกิลบอกว่าตอนนี้ผู้ใช้กูเกิล 70% ใช้งาน MFA อยู่แล้ว และแนะนำให้เปิดใช้งาน MFA ได้ทันทีในวันนี้เลยผ่านหน้าจอตั้งค่าใน Google Account ไม่ต้องรอบังคับใช้แต่อย่างใด
กูเกิลเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ตระกูล C4A ใช้ ซีพียู Axion ที่เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยชูประเด็นความคุ้มราคาดีกว่า x86 ที่ขนาดเท่ากันสูงสุดถึง 65% และยังระบุว่าดีกว่าชิป Arm ของคู่แข่งอยู่ 10% แม้จะไม่ระบุว่าเป็นของคลาวด์รายใด
เมื่อแยกตามประเภทงาน C4A ดีกว่า x86 แตกต่างกันไป เช่น SPEC 2017 ทดสอบการประมวลผลเลขจำนวนเต็มประสิทธิภาพดีกว่ามาก แต่ดีกว่า 30% เมื่อเป็น MySQL และ 35% เมื่อเป็น Redis
เครื่องมีให้เลือก 3 กลุ่ม ได้แก่ Standard 1 คอร์ต่อแรม 4GB, High CPU 1 คอร์ต่อแรม 2GB, และ High Memory 1 คอร์ต่อแรม 8GB อัดสุดได้ 72 คอร์ แรม 576GB พร้อมเน็ตเวิร์ค 100 Gbps
มีให้ใช้งานทั้งสหรัฐฯ, ยุโรป, และสิงคโปร์แล้ววันนี้
Google แถลงร่วมกับรัฐบาล ประกาศแผนการลงทุน 3.6 หมื่นล้านบาท สำหรับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูลในกรุงเทพและชลบุรี หลังประกาศตั้งรีเจี้ยนมาตั้งแต่ปี 2022
Google ระบุว่าจะมีส่วนช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 1.4 แสนล้านบาทแก่ GDP ของประเทศไทย ภายในปี 2029 และสร้าง 14,000 ตำแหน่งต่อปีโดยเฉลี่ย ตั้งแต่ปี 2025 ถึง 2029 จากการศึกษาของบริษัท Deloitte
กูเกิลยื่นคำร้องกล่าวหาไมโครซอฟท์ ต่อหน่วยงานกำกับดูแลป้องกันการผูกขาดตลาดแห่งสหภาพยุโรป ในประเด็นการแข่งขันของบริการประมวลผลบนคลาวด์ โดยระบุว่าไมโครซอฟท์ใช้อำนาจที่มีในตลาดซอฟต์แวร์องค์กร ผลักดันให้ลูกค้าใช้งาน Azure และใช้วิธีการที่ทำให้ลูกค้าต้องอยู่กับบริการนี้ต่อไป (Lock-In)
ตัวแทนของไมโครซอฟท์ชี้แจงว่า ก่อนหน้านี้บริษัทได้เจรจายุติการร้องเรียนในลักษณะเดียวกัน กับผู้ให้บริการคลาวด์ในยุโรป จึงเชื่อว่าคำร้องเรียนของกูเกิลต่อสหภาพยุโรปก็จะไม่มีผลเช่นกัน
ปัจจุบันบริการคลาวด์ของกูเกิลมีส่วนแบ่งตลาดรวมเป็นอันดับ 3 รองจาก AWS ของ Amazon และ Azure ของไมโครซอฟท์
นอกจาก Warner Bros. Discovery แล้ว Google Cloud ยังประกาศความร่วมมือกับ Snap เจ้าของแอป Snapchat เพื่อสนับสนุนการประมวลผล AI ในบริการแชทบอต My AI ของ Snapchat
Snapchat จะนำโมเดล AI ข้อมูลผสมผสานของ Gemini ที่ทำงานบน Vertex AI ซึ่งรองรับข้อมูลทั้งตัวหนังสือ ภาพ วิดีโอ เสียง มาพัฒนาเป็นฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้งาน My AI เช่น แปลป้ายตามถนนในภาษาต่าง ๆ ได้ หรือถ่ายภาพขนมแล้วให้ AI เลือกว่าอันไหนดีต่อสุขภาพที่สุด เป็นต้น
Snap และ Google Cloud เป็นพาร์ตเนอร์ในบริการต่าง ๆ มานานมากกว่า 10 ปี ทั้งการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และเทคโนโลยี AI ต่าง ๆ
Warner Bros. Discovery ร่วมมือกับ Google Cloud นำโซลูชันสร้างคำบรรยาย Closed Captions มาใช้กับคอนเทนต์Warner Bros. Discovery ประกาศความร่วมมือกับ Google Cloud เพื่อนำโซลูชันสำหรับสร้างคำบรรยายด้วย AI เรียกชื่อภายในว่า Caption AI มาใช้งานบนแพลตฟอร์มในสหรัฐอเมริกา ซึ่งรันอยู่ใน Vertex AI
ในเบื้องต้น Warner Bros. Discovery มีแผนนำ Caption AI มาใช้สร้างคำบรรยายแทนเสียงแบบปิด (Closed Captions: CC) สำหรับรายการที่ไม่มีบท เช่น รายการเรียลลิตี้ รายการสัมภาษณ์ ซึ่งช่วยลดเวลาและต้นทุนในการผลิตได้ ทั้งนี้ CC แตกต่างจากการถอดเสียงออกมาเป็นข้อความ เพราะต้องบรรยายสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นด้วย
กูเกิลจะปรับให้ผู้ใช้ Workspace Business Starter (บัญชีธุรกิจแพ็คเริ่มต้น) เปลี่ยนไปใช้พื้นที่เก็บข้อมูลร่วมกัน จากเดิมที่ให้พื้นที่แยกเป็นรายบุคคล เริ่มต้นวันที่ 23 กันยายน 2024 โดยกูเกิลเคยประกาศเรื่องนี้ไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2023
จากเดิม ผู้ใช้ Workspace Business Starter จะได้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลคนละ 30 GB แต่ภายใต้เงื่อนไขใหม่ องค์กรจะได้รับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลร่วมกันเท่ากับ 30 GB คูณด้วยจำนวนผู้ใช้ทั้งหมด ผู้ดูแลสามารถกำหนดโควต้าการใช้ของแต่ละคนได้
Google Cloud มีบริการรันงานแบบ serverless / event-driven อยู่สองตัวคือ Cloud Functions ที่เปิดตัวครั้งแรกปี 2016 ใช้ระบบจัดการเซิร์ฟเวอร์ที่กูเกิลพัฒนาเอง จำกัดภาษาโปรแกรมเท่าที่กูเกิลรองรับ รันได้เฉพาะบน GCP และ Cloud Run ที่เปิดตัวปี 2019 ใช้ Kubernetes (Knative) รันบนคลาวด์ยี่ห้ออื่นได้ ใช้รันไทม์ใดๆ ก็ได้ตามต้องการ
ทิศทางของกูเกิลชัดเจนว่า Cloud Run คืออนาคต และล่าสุดกูเกิลแปลงร่าง Cloud Functions เดิมมาทำงานบนเทคโนโลยีของ Cloud Run และใช้ชื่อใหม่ว่า Cloud Run Functions
Google เปิดให้ใช้งาน Imagen 3เครื่องมือสร้างรูปภาพจากข้อความ (Text-to-Image) เวอร์ชันล่าสุดในสหรัฐฯ อัปเกรดความสามารถเพิ่มเติมจากโมเดลเวอร์ชันก่อน
ปลายปีที่ผ่านมา Google เปิดตัว Imagen 2 และเปิดให้ใช้ผ่านแพลตฟอร์ม Vertex AI และในงาน Google I/O เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาก็ประกาศเปิดตัว Imagen 3 แต่ก็เพิ่งจะเปิดให้ได้ลองใช้เงียบ ๆ ในอีกหลายเดือนต่อมา
Google Bigtable เป็นฐานข้อมูลแบบ NoSQL ของ Google Cloud ที่ เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2015 และปัจจุบันมีฐานลูกค้าจำนวนมาก ตัวมันเองยังเป็นแรงบันดาลใจให้ฐานข้อมูลโอเพนซอร์สตัวอื่นๆ อย่าง HBase และ Cassandra ด้วย
ล่าสุดกูเกิลพัฒนาให้ Bigtable รองรับการคิวรี่ด้วย GoogleSQL ซึ่งเป็นภาษา SQL เวอร์ชันที่ใช้ในบริการตัวอื่นๆ เช่น BigQuery และ Cloud Spanner เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคิวรีข้อมูลจาก Bigtable ได้ด้วยภาษา SQL ที่คุ้นเคย (GoogleSQL เข้ากันได้กับ ANSI SQL ที่ใช้กันทั่วไป)
กูเกิลมี ฐานข้อมูลที่กระจายตัวไปยังศูนย์ข้อมูลทั่วโลกชื่อ Cloud Spanner เปิดบริการในปี 2017 แนวคิดของมันคือการทำสำเนาฐานข้อมูลไว้ทั่วโลก สำหรับองค์กรระดับโลกที่มีลูกค้ากระจายตัวอยู่ในประเทศต่างๆ ต้องการเสถียรภาพสูง รองรับการขยายตัวได้ดีกว่า
แต่ Spanner ก็มีข้อจำกัดตรงที่หากข้อมูลมีขนาดใหญ่มากๆ การสำเนาข้อมูลไปทั่วโลกก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ล่าสุดกูเกิลจึงเพิ่มฟีเจอร์ geo-partitioning อนุญาตให้ตัดแบ่งบางส่วนของตารางในฐานข้อมูล ไปวางไว้บนศูนย์ข้อมูลบางแห่งได้
Oracle ประกาศด้านความร่วมมือกับผู้ให้บริการคลาวด์ทีเดียวทั้งสองรายใหญ่คือ Microsoft Azure และ Google Cloud มีรายละเอียดดังนี้
โดยส่วนของไมโครซอฟท์นั้น Oracle ประกาศขยายความร่วมมือจากเดิม เพื่อให้แพลตฟอร์ม Microsoft Azure Al มาใช้คลาวด์ของ Oracle สำหรับรองรับความต้องการของ OpenAI บริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ไมโครซอฟท์เป็นผู้ลงทุนและให้ความร่วมมือด้านคลาวด์ประมวลผลโดยเฉพาะ ก่อนหน้านี้ Oracle เคย ประกาศ ความร่วมมือกับ Azure มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปลายปี
Google Cloud ประกาศซื้อกิจการบริษัท Cameyo ที่พัฒนาซอฟต์แวร์ virtualization เพื่อรันแอพวินโดวส์บน ChromeOS
ซอฟต์แวร์ของ Cameyo เรียกประเภทว่า virtual application delivery (VAD) ซึ่งเป็นการรันเฉพาะตัวแอพอย่างเดียว ต่างจาก virtual desktop infrastructure (VDI) ที่ต้องรันระบบเดสก์ท็อปทั้งตัวในสภาพแวดล้อมเสมือน แนวทาง VAD จึงมีประสิทธิภาพดีกว่า จัดการง่ายกว่า ปลอดภัยกว่า
Cameyo จับมือกับกูเกิลออกโซลูชันการรันแอพวินโดวส์บน ChromeOS มาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยรองรับฟีเจอร์ของ ChromeOS อย่างระบบไฟล์และ clipboard หลังจากทดสอบกันพอใจแล้ว กูเกิลจึงตัดสินใจซื้อทีม Cameyo เข้ามาอยู่ในทีม ChromeOS Enterprise ในที่สุด
CNBC รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ระบุว่ากูเกิลได้ปลดพนักงานอย่างน้อย 100 ตำแหน่ง ในฝ่ายที่เกี่ยวกับบริการคลาวด์ ส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขาย, ให้คำปรึกษา, ฝ่ายกลยุทธ์ go to market, ฝ่ายดำเนินงาน และวิศวกรรม
ตัวแทนของกูเกิลชี้แจงข้อมูลดังกล่าวว่าบริษัทมีการปลดพนักงานเพิ่มเติมในหลายแผนก เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กรในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงส่งเสริมความสำเร็จของบริษ้ทในระยะยาว
เมื่อเดือนที่แล้วกูเกิลก็ปลดพนักงานประมาณ 200 ตำแหน่งในฝ่าย Core ที่รับผิดชอบ Python, โครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิค, ระบบความปลอดภัยพื้นฐาน และแพลตฟอร์มของแอป
กูเกิลประกาศแผนการลงทุนวงเงิน 2 พันล้านดอลลาร์ ในประเทศมาเลเซีย โดยมีทั้งการตั้งศูนย์ข้อมูลและศูนย์ Google Cloud แห่งแรกในประเทศ อยู่ที่ Elmina Business Park ในรัฐเซอลาโงร์ รวมทั้งแผนอัปสกิลด้านความรู้ดิจิทัลตลอดจน AI ให้กับประชากรในประเทศด้วย
กูเกิลบอกว่าศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่นี้จะรองรับการประมวลผลบริการต่าง ๆ รวมทั้ง Search, Maps และ Workspace ตลอดงานด้าน AI รองรับทั้งผู้ใช้ในภูมิภาคและในมาเลเซีย
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ก็เพิ่ง ประกาศ การลงทุนด้านคลาวด์และ AI ที่มาเลเซีย ด้วยเงินลงทุน 2.2 พันล้านดอลลาร์
ที่มา: กูเกิล
Opera ประกาศนำโมเดล Gemini ของ Google Cloud มาใช้งานกับฟีเจอร์ Aria AI ในเว็บเบราว์เซอร์ Opera One ของตัวเอง
Opera เปิดตัวฟีเจอร์ AI ในเบราว์เซอร์มาตั้งแต่กลางปี 2023 โดยระบุว่าใช้โมเดล LLM หลายค่าย และเปิดให้ผู้ใช้เลือกโมเดลที่เหมาะสมกับตัวเองได้ จากโมเดลทั้งหมดที่มีให้เลือกมากกว่า 50 ตระกูล 150 เวอร์ชันย่อย (หนึ่งในนั้นคือ GPT ของ OpenAI ที่มีมาตั้งแต่เปิดตัว)
ก่อนหน้านี้ Opera ใช้โมเดลสร้างภาพ Imagen 2 และโมเดลแปลงข้อความเป็นเสียง Wavenet ของ Google Cloud อยู่ก่อนแล้ว ส่วน Gemini จะเข้ามาเสริมในฟีเจอร์สรุปหรือช่วยเขียนข้อความที่ชื่อว่า Compose
กูเกิลประกาศโครงการสร้างโครงข่ายไฟเบอร์ ที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกาและทวีปออสเตรเลีย มีชื่อโครงการว่า Umoja(ภาษาสวาฮีลี แปลว่าการรวมกัน)
จุดเริ่มต้นของโครงข่ายอยู่ที่ประเทศเคนยา ผ่านประเทศยูกันดา, รวันดา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, แซมเบีย, ซิมบับเว และแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อหลัก เพราะกูเกิลมีศูนย์ข้อมูลคลาวด์ที่โจฮันเนสเบิร์ก จากนั้นเป็นเคเบิลใต้น้ำผ่านมหาสมุทรอินเดียไปออสเตรเลีย
Umoja จะเชื่อมต่อกับโครงการก่อนหน้านี้ของกูเกิลคือ Equiano ที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับยุโรปผ่านประเทศโปรตุเกส เพิ่มการเชื่อมต่อที่เสถียรมากขึ้น ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคแอฟริกา
Google Cloud ออกแถลง เหตุที่ UniSuper กองทุนรวมของออสเตรเลียที่มีสมาชิกกว่า 620,000 คน ถูกลบบัญชีออก โดยระบุว่า UniSuper ใช้บริการ Google Cloud VMware Engine Private Cloud ซึ่งจะต้องเปิดใช้บริการผ่านเครื่องมือภายในตัวหนึ่งเพื่อจัดสรร capacity ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า เจ้าหน้าที่ของ Google ที่ใช้งานเครื่องมือนี้เผลอลืมใส่ข้อมูลหนึ่งลงไป (ไม่ได้ระบุว่าเป็นพารามิเตอร์อะไร) ระบบภายในจึงตั้งพารามิเตอร์นี้เป็น 1 ปีตามค่าตั้งต้น
UniSuper กองทุนรวมของออสเตรเลีย ที่ดูแลเงินลงทุนของพนักงานมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยในออสเตรเลียกว่า 620,000 คน ประสบปัญหาระบบออนไลน์ใช้งานไม่ได้มาเป็นเวลาเกิน 1 สัปดาห์ ด้วยเหตุผลว่า Google Cloud จัดการคอนฟิกผิดพลาด เผลอ "ลบ" บัญชีองค์กรของ UniSuper ออกจากระบบ