AMD เปิดตัวชิปหน่วยประมวลผลข้อมูลหรือ DPU เพื่อรองรับความท้าทายของเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์สำหรับงาน AI โดยแยกการทำงานสองส่วน ได้แก่ Front-end สำหรับการรับส่งข้อมูลระหว่างคลัสเตอร์ AI และ Backend สำหรับจัดการข้อมูลที่รับส่งระหว่างตัวเร่งความเร็วประมวลผลกับเซิร์ฟเวอร์
โดยชิป DPU สำหรับงาน Front-end คือ AMD Pensando Salinaและ AMD Pensando Pollara 400สำหรับ Backend
NVIDIA เปิดตัว Spectrum-X ฮาร์ดแวร์เครือข่าย Ethernet ความเร็วสูง พร้อมประกาศ อัพเกรดใหม่ทุกปี แบบเดียวกับรอบของจีพียู
เดิมที NVIDIA มีสินค้ากลุ่ม Ethernet ในศูนย์ข้อมูล ทำตลาดด้วยแบรนด์ Spectrum อยู่ก่อนแล้ว (เวอร์ชันล่าสุดคือ Spectrum-4) ของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือการนำสวิตช์ Spectrum-4 (SN5600) มาร่วมร่างกับการ์ดเร่งการประมวลผลข้อมูลเครือข่าย (การ์ดเรียกว่า SuperNIC ตัวชิปเรียก DPU) ชื่อ BlueField-3 ทำให้ประสิทธิภาพรวมสูงขึ้นสูงสุด 1.6 เท่า เมื่อเทียบกับ Ethernet แบบดั้งเดิม
Linux Foundation ประกาศเป็นตั้งโครงการใหม่ Ultra Ethernet Consortium (UEC)เพื่อให้บริษัทและหน่วยงาน ร่วมกับพัฒนาการเชื่อมต่อบนพื้นฐานอีเธอร์เน็ต ให้รองรับการประมวลผลสมรรถะสูงได้ดีขึ้น เนื่องจากปัจจุบันงานทั้ง AI และ HPC มีรูปแบบเวิร์กโหลดที่แตกต่างไป ต้องการประสิทธิภาพการทำงานที่สูง การทำงานร่วมกันข้ามอุปกรณ์ และต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด
บริษัทที่เข้าร่วมกลุ่ม UEC ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งได้แก่ AMD, Arista, Broadcom, Cisco, Eviden, HPE, Intel, Meta และ Microsoft ซึ่งต่างเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์มายาวนานด้านเน็ตเวิร์ก AI คลาวด์ และ HPC
Association for Computing Machinery (ACM) สมาคมวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ชื่อดัง ประกาศมอบรางวัล Turing Award พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์ให้กับ Robert Metcalfe ผู้ร่วมสร้างอีเธอร์เน็ตในปี 1973 หรือ 50 ปีที่แล้ว และเป็นรากฐานข้อระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ยอดนิยมในทุกวันนี้ที่ยังคงใช้แนวคิดในการส่งข้อมูลคล้ายเดิม
เก็บตกสินค้าใหม่ของ Xiaomi ที่เปิดตัวเมื่อวานนี้ สินค้าที่น่าสนใจอีกตัวคือเราเตอร์ไร้สายรุ่นท็อป Xiaomi Router 10000 ที่มีจุดเด่นด้านการใช้ชิป Qualcomm A73 ควอดคอร์ช่วยประมวลผลสัญญาณ, พอร์ตรองรับ Ethernet 10 Gigabit (10G) สำหรับผู้ใช้ตามบ้านที่ต้องการความเร็วระดับนี้ เช่น ใช้ NAS ในบ้าน ส่วนพอร์ตแลนอื่นๆ รองรับ 2.5 Gigabit Ethernet อีก 4 พอร์ต
ฟีเจอร์อื่นได้แก่ USB 3.0, สตอเรจ 2GB, ตัวขยายสัญญาณแบบ 12-channel แยกตาม 12 เสา, NFC pairing, รองรับ Wi-Fi 3 ย่านคือ 2.4GHz, 5GHz, 5.8GHz
David Boggs นักวิจัยของ Xerox PARC ผู้ร่วมพัฒนาอีเธอร์เน็ตเมื่อปี 1973 เสียชีวิตที่บ้านพักในเมือง Palo Alto ด้วยวัย 71 ปี เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
Boggs เริ่มพัฒนาอีเธอร์เน็ตร่วมกับ Bob Metcalfe ขณะเป็นนักศึกษาฝึกงานใน Xerox PARC โดย Metcalfe ระบุว่าเขาเป็นวิศวกรไฟฟ้าที่ลงมือสร้างชิ้นงานจริง ขณะที่ตัว Metcalfe เองเป็นผู้ออกแบบคอนเซ็ปต์ และ ตีพิมพ์รายงานลงใน Communications of the ACM เมื่อปี 1975
เว็บไซต์ Notebookcheck รายงานว่า Lenovo เริ่มตัดพอร์ตแลน Ethernet RJ45 ออกจากโน้ตบุ๊ก ThinkPad หลายรุ่นที่ขายในตลาดองค์กร (ไม่ตัดออกจากรุ่นขายปลีกทั่วไป) แต่ยังสามารถสั่งเพิ่มเป็น optional ได้
โน้ตบุ๊กกลุ่มนี้คือ ThinkPad รุ่นของปี 2021 ที่ขายมาเกินครึ่งปีแล้ว เช่น T14 G2, T15 G2, P14s G2, P15s G2, L14 G2, L15 G2 ซึ่งเป็นโน้ตบุ๊กขนาดใหญ่ 14 นิ้วขึ้นไป และมีพอร์ต RJ45 ให้มาด้วยเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐานอีเธอร์เน็ต Ethernet Technology Consortium ประกาศออกสเปก 800 Gigabit Ethernet (GbE) ที่ยกระดับการส่งข้อมูลไปอีกขั้น
800 Gigabit Ethernet เป็นการนำ 400 Gigabit Ethernet (มาตรฐาน IEEE 802.3bs) สองชุดมาใช้ร่วมกัน แล้วดัดแปลงวิธีการส่งข้อมูลอีกเล็กน้อย โดยยังคง Physical Coding Sublayer (PCS) ไว้ เพื่อให้ใช้สายและหัวต่อเดิมได้
เอกสารสเปกเปิดให้ดาวน์โหลดแล้วบน Ethernet Technology Consortium
- Read more about มาตรฐาน 800 Gigabit Ethernet มาแล้ว
- 14 comments
- Log in or register to post comments
กูเกิลออกอุปกรณ์เสริมให้ Chromecast เป็นหัวแปลงสำหรับเสียบสาย Ethernet แทนการต่อเน็ตผ่าน Wi-Fi (เผื่อคนที่มีปัญหาเรื่อง Wi-Fi)
อุปกรณ์เสริมตัวนี้อยู่ในรูปปลั๊กไฟของ Chromecast ที่ต่อเข้ากับพอร์ต USB ของตัวเครื่องเหมือนการเสียบสายไฟปกติ แต่ตรงอแดปเตอร์เพิ่มช่องเสียบสายหัว RJ-45 เข้ามาให้ด้วย รองรับอัตราการส่งข้อมูลได้สูงสุด 100Mbps
ของขายผ่านหน้าเว็บ Google Store ในราคา 15 ดอลลาร์ ยังมีขายเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และตอนนี้ของขายหมดเรียบร้อยแล้ว
ที่มา - Ars Technica
บริษัทไอทีและระบบเครือข่าย 5 ราย ประกอบด้วย Arista, Broadcom, Google, Mellanox Technologies, Microsoft ประกาศตั้งกลุ่ม 25G Ethernet Consortium เพื่อยกระดับการสื่อสารผ่านโพรโทคอล Ethernet ให้ได้ 25Gbps (หรือ 50Gbps ถ้าใช้สองเลน)
มาตรฐาน Ethernet ความเร็วสูงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ 10Gbps โดยมีบางบริษัทเริ่มออกสินค้าความเร็ว 40Gbps (และบางบริษัททดสอบความเร็ว 100Gbps กันบ้างแล้ว) แต่อุปกรณ์ยังมีราคาแพงมากและยังไม่มีมาตรฐานเทคโนโลยีกลางที่ใช้ร่วมกัน การก่อตั้งกลุ่ม 25G Ethernet จึงน่าจะช่วยให้การผลักดันมาตรฐานไปสู่ 100G Ethernet ได้เร็วขึ้น
กลุ่ม 25G Ethernet คาดว่าจะสามารถออกสินค้าจริงที่ใช้มาตรฐานนี้ได้ในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า
พอร์ต Thunderbolt ตอนนี้รองรับเฉพาะอุปกรณ์ต่อพ่วงเช่นกล้องวิดีโอและฮาร์ดดิสก์ภายนอกเป็นหลัก แต่ในเร็วๆ นี้จะเริ่มใช้เชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาทีได้แล้ว
อินเทลระบุวว่าไดร์เวอร์สำหรับ OS X นั้นพร้อมอยู่แล้ว ส่วนไดร์เวอร์สำหรับวินโดวส์กำลังพัฒนา ถ้าพอร์ตออกมาภายหลัง เครื่องที่มีพอร์ต Thunderbolt ตอนนี้ (ซึ่งส่วนมากเป็นเครื่องแมค) ก็จะมีทางเลือกเชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตระดับ 10 กิกะบิตต่อวินาที
- Read more about อินเทลเตรียมรองรับอีเธอร์เน็ตบนพอร์ต Thunderbolt
- 5 comments
- Log in or register to post comments
รถยนต์ไฟฟ้า Tesla กำลังได้รับความนิยมในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดมีผู้ใช้สำรวจพอร์ตวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการซ่อมบำรุงและพบว่าที่จริงแล้วมันเป็นอีเธอร์เน็ตพอร์ตที่ใช้พอร์ตรุ่นพิเศษ โดยมีชื่อว่าเป็นพอร์ต RosenbergerHSD
หลังจากนั้นผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่งก็ช่วยกันสแกนหาข้อมูลภายในพบว่ามีหมายเลขไอพีที่ทำงานอยู่สามหมายเลข รันเซอร์วิสอยู่หลายอย่างตั้งแต่ SSH, DNS, HTTP, X Server, NFS
จากข้อความเริ่มต้นของ SSH แสดงว่าลินุกซ์ที่ใช้งานบนรถ Tesla เป็น Ubuntu บางไอพีบนเครือข่ายยังให้บริการ DNS
เจ้าของรถ Tesla ที่สนใจประเด็นนี้เริ่มเข้ามาร่วมกันสำรวจว่ามีแอพพลิเคชั่นอะไรรันอยู่ในรถตัวเองบ้าง ตอนนี้ส่วนมากพบแต่ระบบติดต่อกับคนขับผ่าน X11 โดยมักเป็นระบบควบคุมวิทยุหรือระบบนำทาง
IEEE ประกาศตั้งกลุ่มพัฒนามาตรฐานการส่งข้อมูลด้วยสายแบบใหม่ ชื่อกลุ่มอย่างเป็นทางการคือ __ IEEE 802.3 Industry Connections Higher Speed Ethernet Consensus group__ หรือการพัฒนามาตรฐาน Ethernet ให้มีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นอีกนั่นเอง
ตอนนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่า 802.3 แบบใหม่จะมีอัตราการส่งข้อมูลเท่าไร แต่ IEEE ก็ประเมินว่าความต้องการใช้งานน่าจะอยู่ที่ 1Tbps ในปี 2015 และขึ้นไปเป็น 10Tbps ในปี 2020 อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ประเมินกันว่าเริ่มต้นที่ 400Gbps ก่อนน่าจะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากกว่า
คณะกรรมการชุดนี้จะเริ่มประชุมนัดแรกช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ที่สวิตเซอร์แลนด์
- Read more about เตรียมพบกับ IEEE 802.3 รุ่นใหม่ Terabit Ethernet
- 4 comments
- Log in or register to post comments
Asus เพิ่งประกาศผ่านเฟซบุ๊กเพจว่าเร็วๆ นี้ Transformer Prime แท็บเล็ตควอดคอร์ตัวแรกของบริษัท จะได้อัพเดตที่เรียกได้ว่าเป็นคิลเลอร์ฟีเจอร์สำหรับการใช้งานเลยทีเดียว ตอนนี้มี ข้อมูลจากเฟซบุ๊กของ Asus อิตาลี เกี่ยวกับอัตเดตที่ว่าออกมาแล้ว
อัพเดตรหัส 9.4.2.21 จะเริ่มปล่อยให้อัพเดตผ่านทาง OTA โดยจะเพิ่มฟีเจอร์เกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่าง รองรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสาย LAN แล้ว และยังสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย ad-hoc ได้อีกด้วย
ฟูจิตสึแสดงตัวทรานซีฟเวอร์ (transceiver) ตามมาตรฐาน IEEE 802.3ba แบบ 100GBASE-ER4 ทำให้ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 100Gbps และระยะทางถึง 40 กิโลเมตร
มาตรฐาน 802.3ba เริ่มร่างมาตั้งแต่ปี 2007 และออกมาตรฐานได้ในกลางปี 2010 ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้บริษัทอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ เช่นซิสโก้ หรืออัลคาเทล-ลูเซ่น ล้วนแสดงเทคโนโลยีแบบเดียวกันนี้มาก่อน หรือวางตลาดโมดูลแบบ LR4 ซึ่งส่งข้อมูลได้ระยะทาง 10 กิโลเมตร แต่โมดูลของฟูจิตสึนี้เป็นตัวแรกที่พร้อมจะวางจำหน่ายในกลางปีนี้และสามารถส่งข้อมูลได้ตามมาตรฐาน ER4
จนวันนี้ก็ดูเหมือนอีเธอร์เน็ตจะยังไม่ยอมตาย
ที่มา - PhysOrg
ผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับหน้าจอแสดงผลรูปแบบใหม่ๆ คงวุ่นวายไม่น้อยกับพอร์ตเชื่อมต่อที่มีหลายชนิดเหลือเกิน ไม่ว่าจะเป็น AV, VGA, DVI, DisplayPort, HDMI ฯลฯ แต่อนาคตปัญหาเหล่านี้อาจหมดไป (หรืออาจจะยุ่งกว่าเดิม?) โดยผู้ชนะคือสาย LAN หัว RJ45 ที่เราคุ้นเคยกันดี
ผู้ผลิตทีวีรายใหญ่ของโลก 3 รายคือ LG, Samsung, Sony บวกกับ Valens Semiconductor ได้รวมตัวกันสร้างมาตรฐาน HDBaseTซึ่งจะใช้สายเคเบิล CAT5e/6 มาตรฐานมาต่อกับทีวีเพียงสายเดียว (ไม่รวมสายไฟนะครับ) โดยสายแลนนี้จะรองรับฟีเจอร์การส่งสัญญาณภาพแบบ HD และสามมิติ รวมถึงการส่งข้อมูลผ่าน Ethernet 100Mb ตามปกติด้วย