Linux Foundation ประกาศตั้งกลุ่ม Supporters of Chromium-Based Browsersดึงหลายๆ บริษัทเข้ามาช่วยพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ตระกูล Chromium
กลุ่ม Supporters of Chromium-Based Bowsers ที่อยู่ภายใต้ Linux Foundation จะทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการร่วมพัฒนา Chromium เพิ่มเติมจากกูเกิลทำอยู่รายเดียว ตอนนี้มีสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มอีก 3 รายคือ Meta, Microsoft, Opera และจะเปิดรับสมาชิกเพิ่มเติมอีกในอนาคต
App Defense Alliance เป็นกลุ่มที่ กูเกิลกับบริษัทแอนตี้ไวรัสหลายรายก่อตั้งในปี 2019 เพื่อแก้ปัญหามัลแวร์บน Google Play Store (ในยุคนั้น) ภายหลังกูเกิลยกให้ Linux Foundation เมื่อปี 2023 และได้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Meta, Microsoft เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย
ล่าสุด App Defense Alliance ออกสเปก Application Security Assessment (ASA) 1.0 เป็นมาตรฐานความปลอดภัยของแอพพลิเคชัน แยกเป็น 3 ระดับคือ แอพมือถือ เว็บ และบนคลาวด์
Linux Foundation รับกลุ่มพัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์แบบเปิด Open Model Initiative (OMI) เข้ามาเป็นโครงการในสังกัด หวังแก้ปัญหาโมเดลสร้างภาพและวิดีโอรุ่นใหม่ๆ ใช้สัญญาอนุญาตที่จำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ
OMI ก่อตั้งโดยหน่วยงานเล็กๆ 3 ราย ได้แก่ Invoke บริษัทแพลตฟอร์มสร้างภาพด้วย AI สำหรับงานโปรดักชันมืออาชีพ, ComfyOrg ทีมพัฒนา ComfyUI ระบบ GUI สำหรับโมเดล Stable Diffusion, Civitai แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนภาพ AI ของเหล่าครีเอเตอร์
Linux Foundation ประกาศตั้งองค์กรลูกชื่อ High Performance Software Foundation (HPSF) ขึ้นมาเพื่อรวมการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง high performance computing (HPC) เข้าด้วยกัน ลักษณะเดียวกับ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) ที่กลายเป็นสังกัดของซอฟต์แวร์สำหรับคลาวด์จำนวนมาก
ซอฟต์แวร์ชุดแรกที่จะเข้ามาอยู่สังกัด HPSF ได้แก่
Linux Foundation ประกาศตั้งกลุ่ม Open Platform for Enterprise AI (OPEA) ทำมาตรฐานกลางสำหรับการประมวลผล Generative AI ในตลาดองค์กร
กลุ่ม OPEA เป็น กลุ่มเดียวกับที่อินเทลประกาศข่าวไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป้าหมายคือการสร้างแอพพลิเคชันแบบ retrieval-augmented generation หรือ RAG (เป็นเทคนิคการนำโมเดล LLM มาอ่านแหล่งข้อมูลภายนอก) ที่เป็นโอเพนซอร์ส ทำงานบนหน่วยประมวลผลค่ายใดๆ ก็ได้ ไม่จำกัดเฉพาะจีพียู NVIDIA ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่เพียงค่ายเดียว
การมีอินเทลเป็นหัวหอก ย่อมทำให้ OPEA โฟกัสกับซีพียู Xeon และหน่วยเร่งประมวลผล Gaudi เป็นอย่างแรกๆ แม้ในตอนนี้ยังไม่มีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายอื่นๆ เข้าร่วมก็ตาม
Linux Foundation ประกาศตั้งโครงการ Valkey ซึ่งเป็นการ fork โครงการ Redis ที่เพิ่งปรับเปลี่ยนไลเซนส์ซอฟต์แวร์จาก BSD มาเป็น SSPL ตามแนวทางของบริษัท Redis Inc. ผู้พัฒนาหลักของโครงการ
กลุ่มบริษัทไอทีที่ประกอบด้วย Intel, Arm, Google, Samsung, Qualcomm, Fujitsu, Imagination, VMware ร่วมกับ Linux Foundation ก่อตั้งกลุ่ม Unified Acceleration (UXL) Foundation พยายามสร้างมาตรฐานเปิดสำหรับชิปเร่งการประมวลผล (accelerator) ที่มีหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาด
งานของ UXL จะอิงกับ สเปก oneAPI ที่ Intel บุกเบิกมาหลายปีแล้ว เพื่อมาถ่วงดุลกับ CUDA ของ NVIDIA ที่เป็นเจ้าตลาดนี้มายาวนาน และกลายเป็นตัวช่วยรักษาส่วนแบ่งตลาดจีพียูของ NVIDIA เนื่องจากซอฟต์แวร์จำนวนมากในวงการนั้นอิงกับ CUDA (เหมือน Intel ไปเรียกพวกมาช่วยสนับสนุน oneAPI)
ก่อนหน้านี้ HashiCorp ประกาศ เปลี่ยนไลเซนส์โครงการที่ดูแลรวมถึง Terraform ทำให้กลุ่มบริษัทและชุมชนนักพัฒนาประกาศแยกโครงการออกมา โดยมีชื่อเรียกว่า OpenTF
ล่าสุดกลุ่ม OpenTF ได้ให้ Linux Foundation เป็นผู้ดูแลโครงการ พร้อมประกาศตั้งชื่อ fork ของ Terraform ใหม่ว่า OpenTofuโดยมีแผนให้ CNCF ดูแลโครงการด้วย
OpenTofu จะดำเนินงานต่อไปแบบโอเพนซอร์สภายใต้ไลเซนส์ MPLv2 โดยมีกลุ่มร่วมสนับสนุนหลักอาทิ Harness, Gruntwork, Spacelift, env0 ฯลฯ เพื่อให้มีนักพัฒนาโครงการแบบเต็มเวลาจำนวน 18 คน เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี
องค์กรชั้นนำหลายแห่งได้แก่ Pixar, Adobe, Autodesk, NVIDIA, Apple และ Joint Development Foundation (JDF) ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้ Linux Foundation ประกาศจัดตั้งความร่วมมือ Alliance for OpenUSD หรือตัวย่อ AOUSD เพื่อส่งเสริมและผลักดันมาตรฐานเปิดของคอนเทนต์ 3D
Pixar ได้พัฒนามาตรฐานเปิดของระบบนิเวศ 3D มาระยะเวลาหนึ่งแล้วในชื่อ Open Universal Scene Description หรือ OpenUSD ซึ่งภารกิจของ AOUSD คือการส่งเสริมให้มีการใช้งาน พัฒนา และรองรับมาตรฐานนี้ให้กว้างขวางขึ้น ซึ่ง JDF จะรับหน้าที่ดูแลโครงการ เพื่อจัดทำข้อกำหนดของ OpenUSD ให้เป็นระบบเปิดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถผลักดันสู่มาตรฐานโลกในระดับ ISO
Linux Foundation ประกาศเป็นตั้งโครงการใหม่ Ultra Ethernet Consortium (UEC)เพื่อให้บริษัทและหน่วยงาน ร่วมกับพัฒนาการเชื่อมต่อบนพื้นฐานอีเธอร์เน็ต ให้รองรับการประมวลผลสมรรถะสูงได้ดีขึ้น เนื่องจากปัจจุบันงานทั้ง AI และ HPC มีรูปแบบเวิร์กโหลดที่แตกต่างไป ต้องการประสิทธิภาพการทำงานที่สูง การทำงานร่วมกันข้ามอุปกรณ์ และต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด
บริษัทที่เข้าร่วมกลุ่ม UEC ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งได้แก่ AMD, Arista, Broadcom, Cisco, Eviden, HPE, Intel, Meta และ Microsoft ซึ่งต่างเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์มายาวนานด้านเน็ตเวิร์ก AI คลาวด์ และ HPC
Linux Foundation ประกาศตั้งหน่วยงานใหม่ Overture Maps Foundationเพื่อร่วมกันพัฒนาข้อมูลแผนที่แบบ Open Map เพื่อให้นักพัฒนาสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาบริการที่ต้องใช้ข้อมูลแผนที่ได้ทั่วโลก
โครงการดังกล่าวมีบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ที่มีฐานะเป็นผู้ริเริ่มได้แก่ Amazon Web Services (AWS), Meta, Microsoft และ TomTom โดยเปิดให้ชุมชนนักพัฒนาเข้าร่วมในการพัฒนาข้อมูลร่วมกัน
Jim Zemlin ผู้บริหารของ Linux Foundation กล่าวว่าข้อมูลแผนที่เป็นการอิงกับสภาพแวดล้อมจริง เชื่อมต่อกับทุกชุมชนในโลก มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตตลอดเวลา จึงเป็นความท้าทายที่ซับซ้อนมากเกินกว่าหนึ่งองค์กรจะจัดการได้ ทุกคนในอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันจึงจะเป็นประโยชน์สูงสุดกับทุกคน
บริษัท Meta ประกาศยกโครงการ PyTorch เฟรมเวิร์คสำหรับงาน AI ให้กับ Linux Foundation ไปดูแลต่อ
Linux Foundation จะตั้งองค์กรลูก PyTorch Foundation โดยมีตัวแทนจากบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรม ได้แก่ AMD, Amazon Web Services, Google Cloud, Meta, Microsoft Azure, Nvidia ร่วมเป็นคณะกรรมการกำกับดูแลทิศทางการพัฒนา PyTorch ต่อไป
PyTorch เริ่มพัฒนาในปี 2016 โดยเป็นการต่อยอดจากเฟรมเวิร์ค Torch ที่เขียนด้วยภาษา Lua แต่ปรับให้เป็นภาษา Python ที่ใช้งานกว้างขวางกว่าแทน (โครงการ Torch ก็หยุดพัฒนาไปตั้งแต่ปี 2018) ถือเป็นเฟรมเวิร์ค machine learning ยอดนิยมอีกตัวเคียงคู่กับ TensorFlow/Keras ที่สร้างโดยฝั่งกูเกิล
มูลนิธิด้านโอเพนซอร์ส 2 แห่งคือ Linux Foundation และ Open Source Software Security Foundation (OpenSSF) ประกาศแผน 10 ข้อเพื่อยกระดับความปลอดภัยของวงการโอเพนซอร์ส และป้องกันปัญหา supply chain attack ในอนาคต
บริษัทไอทีรายใหญ่ 5 บริษัท ได้แก่ Facebook, Google, Isovalent, Microsoft, และ Netflix ประกาศตั้ง eBPF Foundation ภายใต้ Linux Foundation เพื่อดูแลการพัฒนาของโครงการ eBPF โมดูลสำหรับการตรวจสอบค่าภายในของเคอร์เนล
eBPF เป็นโมดูลอเนกประสงค์ที่ใส่ไว้ในเคอร์เนลลินุกซ์ตั้งแต่ปี 2014 ความพิเศษคือมันเป็นโมดูลที่รับโค้ดจากภายนอกเข้าไปรันในเคอร์เนลเพื่อเก็บค่าต่างๆ เพื่อให้นักพัฒนาแอปพลิเคชั่นมองเห็นการทำงาน แทนที่ต้องรอให้เคอร์เนลแสดงค่าบางส่วนออกมาทางช่องทางต่างๆ เพื่อให้ระดับ userspace เห็นตามความจำเป็น การเปิดช่องทาง eBPF ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ๆ เพื่อสังเกตการทำงานในระดับเคอร์เนลอย่างละเอียด
Amazon ประกาศโอเพนซอร์ส เอนจินเกม Lumberyard ของตัวเอง โดยใช้ชื่อโครงการใหม่ว่า Open 3D Engine (O3DE) และยกให้อยู่ในการดูแลของ Linux Foundation
Linux Foundation จะตั้งองค์กรลูกชื่อ Open 3D Foundation ขึ้นมารับผิดชอบการพัฒนา Open 3D Engine โดยมีบริษัทอื่นๆ เข้าร่วมอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Adobe, Here, Huawei, Intel, Niantic, Red Hat และบริษัทเกมอีกจำนวนหนึ่ง
ไมโครซอฟท์ ร่วมกับ GitHub ในเครือ และบริษัทไอทีอีก 2 แห่งคือ Accenture กับ ThoughtWorks ประกาศตั้งมูลนิธิ Green Software Foundation มาแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมไอที เช่น ปัญหาศูนย์ข้อมูลใช้พลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ จนคิดเป็นสัดส่วน 1% ของพลังงานโลกแล้ว และตัวเลขจะมากขึ้นเป็นระดับ 6-8% ในอนาคต
โครงการ Green Software Foundation จะอยู่ภายใต้บริษัทลูก Joint Development Foundation Projects, LLC ของมูลนิธิ Linux Foundation อีกทึหนึ่ง
Green Software Foundation จะทำหน้าที่ออกมาตรฐานและแนวทางด้านพลังงาน ด้านการปล่อยคาร์บอน รวมถึงสนับสนุนการวิจัยในสายงานนี้ร่วมกับพาร์ทเนอร์และสถาบันการศึกษาด้วย
กรณีการแฮ็ก SolarWinds ทำให้คนหันมาสนใจเรื่องความปลอดภัย supply chain ของซอฟต์แวร์กันมากขึ้น แต่ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของวงการ เมื่อไม่นานนี้เพิ่งมี นักวิจัยความปลอดภัยลองสร้างไลบรารีปลอม และมีบริษัทชื่อดังหลายแห่งดาวน์โหลดไปใช้งาน
กูเกิลร่วมมือกับ Linux Foundation จัดสรรงบประมาณมาจ้างนักพัฒนามาดูแลความปลอดภัยเคอร์เนลโดยเฉพาะ 2 คน ได้แก่ Gustavo Silva และ Nathan Chancellor
Gustavo Silva ทำงานไล่ตามเก็บบั๊กช่องโหว่ buffer overflow ในเคอร์เนล และตรวจหาบั๊กก่อนที่จะส่งโค้ดเข้า mainline เขาส่งโค้ดอยู่ใน 5 อันดับแรกมาตั้งแต่แต่ปี 2017
Nathan Chancellor ทำงานกับโครงการ Clang/LLVM เป็นหลัก โดยพยายามพอร์ตเคอร์เนลให้ไปคอมไพล์ด้วย LLVM เพื่อใช้ฟีเจอร์ของคอมไพล์เลอร์มาจับช่องโหว่ความปลอดภัย
ประกาศครั้งนี้ไม่ระบุว่ากูเกิลสนับสนุนเงินทุนเท่าใดหรือจะให้ทุนเป็นเงินเดือนนักพัฒนาทั้งสองคนนานเพียงใด
Mozilla ประกาศยก โครงการ Servo เอนจินแสดงผลเว็บตัวใหม่ของ Firefox ที่เขียนด้วยภาษา Rust มาตั้งแต่ปี 2012 ( ภายหลังพัฒนาเป็น Firefox Quantum ) ให้ Linux Foundation ดูแลต่อแทน
จุดเด่นของ Servo คือทำงานเร็ว, รองรับมัลติคอร์เต็มรูปแบบ และเขียนด้วยภาษา Rust ที่ปลอดจากปัญหาหน่วยความจำ นอกจาก Firefox แล้ว ปัจจุบันยังมี ซัมซุง , Let's Encrypt, Three.js ที่นำไปใช้งาน โดย Servo ถือเป็นซอฟต์แวร์โครงการใหญ่ที่สุดที่สร้างด้วย Rust นอกเหนือจากตัวคอมไพเลอร์ของ Rust เอง
ท่ามกลางประเด็นเรื่องการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ARM, Baidu, Google Cloud, Intel, Microsoft, Red Hat, Swisscom และ Tencent รวมตัวกันภายใต้ Linux Foundation จัดตั้ง Confidential Computing Consortium องค์กรที่จะดูแล พัฒนาและผลักดันเทคโนโลยี Confidential Computing แบบโอเพนซอร์ส
เบื้องต้นเทคโนโลยีที่ถูกมอบให้กับ Consortium มี Confidential Consortium Framework ของไมโครซอฟท์ สำหรับการสร้างแอปบน TEE, ชุด SDK จาก Intel สำหรับปกป้องข้อมูลหรือโค้ดในระดับฮาร์ดแวร์และแพลตฟอร์ม Enarx สำหรับรันแอปบน TEE แบบ serverless
Uber ประกาศในงาน Uber Open Summit ประจำปี 2018 ว่าตอนนี้ทางบริษัทได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้สนับสนุนของ Linux Foundation แล้วอย่างเป็นทางการ โดยเป็นสมาชิกระดับ Gold
Uber ประกาศว่า การเข้าร่วม Linux Foundation นั้นเป็นการยืนยันในคำมั่นสัญญาของบริษัทว่าจะซัพพอร์ตชุมชนโอเพ่นซอร์สต่อไป ซึ่ง Uber จะคอยสนับสนุนภารกิจของ Linux Foundation ในการสร้างระบบเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์ส โดย Uber จะร่วมกับชุมชน และโปรโมตการใช้โอเพ่นซอร์ส
Thuan Pham ซีทีโอของ Uber ระบุว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สเป็นเบื้องหลังของบริการหลักของ Uber ซึ่งในตอนนี้ที่ Uber กำลังเติบโตอยู่เรื่อย ๆ โซลูชั่นเหล่านี้ก็ยิ่งสำคัญต่อ Uber มากขึ้น
การประชุม Maintainer's Summit เป็นการประชุมนโยบายของการพัฒนาเคอร์เนล เช่น นโยบายการเปิดเผยช่องโหว่, หรือการออกเวอร์ชั่นใหม่ โดยปกติไลนัสจะเข้าร่วมประชุมด้วยทุกปี แต่ปีนี้พิเศษเพราะไลนัสเกิด "สับสน" วันประชุมที่กำหนดไว้ 22 ตุลาคมนี้ ทำให้เขาเตรียมแผนไปพักผ่อนกับครอบครัวในสหราชอาณาจักรเรียบร้อยแล้ว ทับกับการประชุมที่จะจัดในแคนาดา
ไลนัสเสนอให้ที่ประชุมจัดการประชุมตามเดิมโดยไม่มีเขา แต่กรรมการจัดการเสนอว่าให้ย้ายที่จัดงานตามไลนัสไปสหราชอาณาจักร เพื่อประชุมให้ครบตามเดิม
การประชุมมีผู้ร่วมประชุมประมาณ 30 คน
Academy for Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS) ผู้จัดการประกวดรางวัลออสการ์อันเก่าแก่ได้มีบทบาททางเทคโนโลยีมากขึ้นด้วยการร่วมมือกับมูลนิธิ Linux Foundation เปิดตัว Academy Software Foundation (ASWF) ฟอรัมกลางสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพื่อการจัดระเบียบและการทำงานร่วมกันโดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีโอเพนซอร์ส ซึ่งจะมีเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการทำหนังเช่น VR, sound engineering เป็นต้น
มูลนิธิ Linux Foundation ประกาศว่า Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของจีน ได้สมัครสมาชิกระดับ Platinum ซึ่งเป็นระดับสูงสุด มีค่าใช้จ่าย 5 แสนดอลลาร์ ซึ่งก่อนหน้ามี Microsoft เป็นบริษัทล่าสุดที่สมัครสมาชิกระดับนี้
การสมัครสมาชิกระดับ Platinum ทำให้ Tencent ส่งทีมงานคือ Liu Xin ผู้จัดการฝ่ายโมบายล์อินเทอร์เน็ต เข้าไปเป็นบอร์ดบริหารของ Linux Foundation ร่วมกับบริษัทอื่นที่อยู่ในระดับนี้แล้วทั้ง Cisco, Fujitsu, HPE, Huawei, IBM, Intel, NEC, Oracle, Qualcomm, Samsung และ Microsoft
The Linux Foundation มูลนิธิผู้ดูแลเคอร์เนลลินุกซ์เปิดตัวโครงการย่อย LF Deep Learning Foundation สำหรับดูแลโครงการทางด้านปัญญาประดิษฐ์, คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ (machine learning), และ deep learning
ช่วงหลังๆ Linux Foundation เปิดโครงการย่อยมาดูแลโครงการกลุ่มต่างๆ อยู่เรื่อยๆ เช่น โครงการ Hyperledger ที่ดูแลโครงการด้านบล็อคเชน, โครงการ Let's Encrypt หรือ Node.js ก็เป็นโครงการภายใต้มูลนิธิเช่นกัน
ตอนนี้ยังไม่มีโครงการใดเข้ามาอยู่ใต้ LF Deep Learning Foundation อย่างเป็นทางการ