
ไมโครซอฟท์ประกาศรับรอง Fedora เป็นดิสโทรอย่างเป็นทางการของ Windows Subsystem for Linux (WSL) ตามหลัง RHEL ที่ประกาศไปเมื่อปลายปี 2024
ก่อนหน้านี้ เราสามารถใช้ Fedora บน WSL แบบดาวน์โหลดมาเองได้อยู่แล้ว ข่าวนี้คือ Fedora ปรับวิธีการออกอิมเมจใหม่ให้สอดคล้องกับโครงสร้างไฟล์ tar ของ WSL (เริ่มใช้กับ Fedora 42 ) ทำให้ WSL สามารถติดตั้ง Fedora ด้วยคำสั่งเดียวได้เลย
wsl –-install FedoraLinux-42
- Read more about ไมโครซอฟท์รับรอง Fedora เป็นดิสโทรอย่างเป็นทางการของ WSL
- Log in or register to post comments

สัปดาห์ที่ผ่านมา Fedora ออกเวอร์ชัน 42 ที่ตอนนี้แตกลูกแตกหลานออกไปเยอะมาก หากนับเฉพาะ Editions หลักมีทั้งหมด 6 ตัวคือ Workstation, KDE Plasma Desktop, Cloud, Server, CoreOS, IoT
การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ Fedora ที่เป็น KDE Plasma Desktop ถูกเลื่อนสถานะขึ้นมาเป็น Edition กับเขาแล้ว (เทียบเท่ากับ Fedora Workstation ที่ใช้ GNOME) เท่ากับว่าผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ระบบเดสก์ท็อปหลักเป็น KDE Plasma 6.3 หรือ GNOME 48

Fedora ประกาศออกอิมเมจ Fedora 41 สำหรับใช้งานบนบอร์ด RISC-V ยอดนิยม (หรือรันบนเครื่อง virtual machine ที่เป็น RISC-V ก็ได้) เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาสาย RISC-V มากขึ้น
Fedora บอกว่า RISC-V ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงหลัง มีฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดหลายรุ่น แต่เดิมทีโลก RISC-V มักใช้กันแต่ Debian หรือดิสโทรที่แตกหน่อมาจาก Debian การมีระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆ อย่าง Fedora เข้ามาซัพพอร์ต ออกอิมเมจของ Fedora เวอร์ชันใหม่ล่าสุดให้ ย่อมช่วยให้การใช้งานบอร์ด RISC-V แพร่หลายขึ้น

OBS โครงการซอฟต์แวร์สตรีมมิ่งแบบโอเพนซอร์สยอดนิยมแสดงความไม่พอใจกับโครงการ Fedora ที่นำซอฟต์แวร์ไปแพ็กเกจเป็น Flatpak แต่แพ็กเกจกลับมีปัญหาและผู้ใช้กลับไปรายงานที่โครงการ OBS เอง
Flatpak เป็นความพยายามแพ็กเกจแอปพลิเคชั่นลินุกซ์ให้ทำงานได้ทุกดิสโทรโดยในแพ็กเกจจะขนเอาไลบรารีต่างๆ ที่จำเป็นไปด้วย โดยที่จริงแล้ว OBS ก็มี Flatpak ของตัวเอง อย่างไรก็ตามในโครงการ Fedora นำ OBS มาแพ็กเกจเองอีกที โดยในเวอร์ชั่นของ Fedora นั้้นมีการอัพเกรดไลบรารี Qt ไปด้วยทำให้ให้เกิดบั๊ก
Joel Bethke นักพัฒนา OBS รายงานปัญหานี้มาตั้งแต่สามสัปดาห์ก่อนแต่ทาง Fedora ก็ไม่มีการตอบกลับ จนเขาแสดงความไม่พอใจและยื่นคำขาดว่าถ้ายังเผยแพร่แพ็กเกจต่อก็ให้เปลี่ยนชื่อซอฟต์แวร์ไป ไม่เช่นนั้นจะใช้มาตรการทางกฎหมาย

Fedora ออกเวอร์ชัน 41 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ซอฟต์แวร์ใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่

Fedora Linux ออกเวอร์ชัน 40 มีของใหม่ดังนี้
- GNOME 46
- KDE Plasma 6
- Fedora Atomic Desktops อิมเมจแบบระบบแพ็กเกจ ostree แก้ไขภายหลังไม่ได้
- ผนวกเอาแพ็กเกจ PyTorch เข้ามาเป็นดีฟอลต์เป็นครั้งแรก ตอนนี้ยังรองรับเฉพาะการรันบนซีพียู แต่ในอนาคตจะเพิ่มเครื่องมือ PyTorch เข้ามาทั้งชุด
- ผนวกเอาแพ็กเกจ ROCm 6 ของจีพียูค่าย AMD เข้ามาในชุด และจะเปิดใช้งานกับ PyTorch ในอนาคต
ที่มา - Fedora

Fedora ประกาศแบรนด์ Fedora Atomic Desktops ดิสโทรย่อยที่ใช้ระบบแพ็กเกจแบบแก้ไขภายหลังไม่ได้ (immutable) โดยใช้ระบบจัดการแพ็กเกจ rpm-ostree ที่มองแพ็กเกจทั้งหมดในอิมเมจเป็นแผนภูมิต้นไม้
Project Atomic ของ Fedora เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2014 ( Blognone รายงานครั้งแรกในปี 2016 ) โดยเริ่มจากการเป็นอิมเมจเพื่อใช้บนคลาวด์อย่างเดียว (ตอนหลังกลายเป็น Fedora CoreOS ) แล้วขยายมายังตลาดเวิร์คสเตชันในชื่อ Fedora Silverblue

Fedora โพสต์ เสนอชุมชนถึงการเปลี่ยนแปลงใน Fedora Linux ให้มีผลตั้งแต่เวอร์ชัน 40 โดยรวมตำแหน่งของ /usr/bin และ /usr/sbin ไว้ที่เดียวกัน
รายละเอียด ที่ เสนอเปลี่ยนคือแก้ไข /usr/sbin เป็น symlink ไปที่ bin ทำให้ path ทั้งหมดในกลุ่มนี้ชี้ไปที่ตำแหน่งเดียวกัน และ /usr/sbin จะถูกลบออกจาก $PATH ค่าเริ่มต้นด้วย

ดิสโทร Fedora ออกเวอร์ชันที่รองรับซีพียู Apple Silicon โดยใช้ชื่อว่า Fedora Asahi Remix 39
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Fedora กับ Asahi Linux ที่ทำงานพอร์ตลินุกซ์ไปรันบนซีพียู Apple Silicon อยู่ก่อนแล้ว (ชื่อโครงการ Asahi มาจากชื่อเรียกพันธุ์แอปเปิล McIntosh ในญี่ปุ่น) ส่วนตัวเนื้อของดิสโทรคือการพอร์ต Fedora 39 ไปรันบน Apple Silicon นั่นเอง
ตอนนี้ Fedora Asahi Remix 39 รองรับเครื่องแมคทุกรุ่นที่ใช้ชิป M1, M2 โดยฟีเจอร์ด้านฮาร์ดแวร์ส่วนใหญ่ใช้ได้หมด (อาจมียกเว้นบางอย่าง เช่น Touch ID หรือ Thunderbolt/USB 4) ส่วนเดสก์ท็อปเลือกใช้ KDE Plasma รันบน Wayland และรองรับ OpenGL 3.3 กับ OpenGL ES 3.1 บนจีพียูของ Apple Silicon

Fedora ออกเวอร์ชัน 38 โดยเวอร์ชัน Workstation อัพเกรดมาใช้ GNOME 44 ตามรอบปกติทุก 6 เดือน, รองรับการติดตั้งซอฟต์แวร์จาก repository ภายนอกคือ Flathub, ปรับลดเวลา timeout ของเซอร์วิสตอนสั่งปิดเครื่อง ทำให้ปิดเครื่องเร็วขึ้น
เวอร์ชันแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่ใช้งานคือ kernel 6.2, gcc 13, Golang 1.20, LLVM 16, Ruby 3.2, TeXLive2022, PHP 8.2, dnf5
ของใหม่อีกอย่างสำหรับผู้ใช้ชาวไทยคือ Fedora 38 เปลี่ยนมาใช้ฟอนต์ Noto เป็นดีฟอลต์สำหรับภาษาไทยและภาษาเขมรแล้ว
ที่มา - Fedora , Fedora Workstation

Fedora Linux ออกเวอร์ชัน 37 หลังจาก ต้องเลื่อนมาเล็กน้อยเพราะรออุดช่องโหว่ OpenSSL ของใหม่คือ

โครงการ Fedora ประกาศเลื่อนการออก Fedora 37 เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจาก ช่องโหว่ระดับวิกฤตของ OpenSSL ที่จะเปิดเผยต่อสาธารณะในวันอังคารหน้า ทำให้ทีม Fedora ตัดสินใจรอแพตช์ OpenSSL ให้เรียบร้อยก่อนออกเวอร์ชัน 37 ตัวจริง (เดิมมีกำหนดออก 8 พฤศจิกายน)
ทีม Fedora บอกว่าตอนนี้ยังไม่รู้ข้อมูลที่ชัดเจนว่าช่องโหว่ OpenSSL ร้ายแรงแค่ไหน แต่การที่ระดับของช่องโหว่เป็น critical ทำให้ทีมงานตัดสินใจรอแพตช์ก่อน เพื่อลดผลกระทบของการใช้ดิสโทรที่มีช่องโหว่ติดไปด้วย ซึ่งเป็นการตัดสินใจเลือกระหว่างเวลา-คุณภาพ
เบื้องต้นทีมงานคาดว่าจะออก Fedora 37 ในวันที่ 15 พฤศจิกายน แต่ก็ต้องรอข้อมูลแพตช์อีกครั้ง

Fedora ออกเวอร์ชัน 36 ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
- Fedora WorkstationGNOME 42 เพิ่มแอพ Text Editor และ Console ตัวใหม่
- Fedora Serverรองรับการทำ NFS/Samba share ด้วย Cockpit เว็บอินเทอร์เฟซสำหรับแอดมิน
- แพ็กเกจซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ เช่น Podman 40, Ansible 5, Ruby 3.1, Golang 1.18, PHP 8.1
- เปลี่ยนฟอนต์ดีฟอลต์มาเป็น Google Noto เพื่อให้รองรับภาษาต่างๆ ได้ดีขึ้น (ของเดิมคือ DejaVu)
ที่มา - Fedora

ในยุคนี้ การเขียนแอพแบบดั้งเดิมหลายอย่างถูกเปลี่ยนมาเขียนด้วยเทคโนโลยีเว็บแทน กระแสนี้ลามไปถึงตัวติดตั้งระบบปฏิบัติการ (OS installer) ที่เราเห็นเป็นอย่างแรกๆ ตั้งแต่เครื่องพีซียังไม่มีระบบปฏิบัติการด้วยซ้ำ
ดิสโทรลินุกซ์ Fedora มีตัวติดตั้งชื่อ Anaconda ถูกใช้งานมายาวนาน (ใช้กับทั้ง Fedora และดิสโทรในสาย Red Hat ทั้ง RHEL และ CentOS) เดิมที Anaconda เขียนด้วย GTK+ ซึ่งเป็นชุดพัฒนา GUI สำหรับลินุกซ์ (ตัวเดียวกับ GNOME และ GIMP) แต่มันกำลังจะถูกเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีเว็บแทน

AWS ปล่อย Amazon Linux 2022 (AL2022) รุ่นพรีวิวให้ทดลองใช้งาน โดยเวอร์ชั่นนี้จะเป็นเวอร์ชั่นแรกที่ AWS หันไปใช้ Fedora เป็นจุดตั้งต้นแทนที่จะเป็น CentOS
โครงการ Amazon Linux ถูกแยกออกมาจากบริการคลาวด์ของ AWS ตั้งแต่ปี 2017 และมักใช้ CentOS/RHEL เป็นฐาน พร้อมกับปรับแต่งเองหลายอย่าง แพ็กเกจหลายตัวไม่ได้เลือกตามเวอร์ชั่นของ CentOS ไปทั้งหมด ใน AL2022 จะใช้ Fedora 34/35 เป็นฐานแทน แต่ทาง AWS ก็ปรับแต่งค่อนข้างมากเช่นเดิม ตั้งแต่เคอร์เนลที่อาจจะใช้เวอร์ชั่นไม่ตรงกับ Fedora, คอนฟิกเริ่มต้น (เปิดใช้ SELinux แบบ enforce แต่แรก), และแพ็กเกจต่างๆ

Fedora ออกเวอร์ชัน 35 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ของใหม่ที่สำคัญได้แก่
- แพ็กเกจ Python 3.10, Perl 5.34, PHP 8.0
- ใช้ firewalld ตัวจัดการไฟร์วอลล์ เวอร์ชัน 1.0
- Fedora Workstation ใช้เดสก์ท็อป GNOME 41, และ WirePlumber ตัวจัดการเซสชันเสียงตัวใหม่
- Fedora Cloud เปลี่ยนมาใช้ระบบไฟล์ btrfs และรองรับการบูทแบบ BIOS/UEFI
- Read more about Fedora 35 ออกแล้ว อัพเกรดมาใช้ GNOME 41
- 2 comments
- Log in or register to post comments

Fedora ออกเวอร์ชัน 34 ของใหม่ที่สำคัญดังนี้

Fedora ออกเวอร์ชัน 33 มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละรุ่นย่อยดังนี้

Lenovo เริ่มวางขายโน้ตบุ๊ก ThinkPad บางรุ่นที่พรีโหลด Fedora ตามที่เคยประกาศไว้ในเดือนเมษายน
ThinkPad ที่สามารถเลือก Fedora ได้มี 3 รุ่นคือ ThinkPad P1 Gen 2 , ThinkPad P53 , ThinkPad X1 Gen 8 โดยสามารถสั่งได้จากหน้าเว็บ Lenovo.com

Immutable OS เป็นแนวคิดใหม่ของวงการระบบปฏิบัติการ ที่พยายามสร้าง OS แบบอัพเดตแยกส่วนไม่ได้ (ป้องกันอัพเดตบางส่วนแล้วพัง) แต่หันมาใช้ระบบอัพเดตทั้งอิมเมจแทน (แล้วสลับอิมเมจเอา) หากอัพเดตแล้วมีปัญหาก็สามารถสลับคืนไปอิมเมจเก่าได้ทันที
ตัวอย่างของ OS กลุ่มนี้คือ CoreOS ซึ่งมักใช้ในงานเซิร์ฟเวอร์-คอนเทนเนอร์ หรือ Android/Chrome OS ก็ใช้แนวทางการอัพเดตตัวระบบปฏิบัติการหลักแบบนี้เช่นกัน

Fedora ออกเวอร์ชัน 32 ของใหม่ได้แก่
- Read more about Fedora 32 ออกแล้ว เลิกใช้ Python 2.x
- 1 comment
- Log in or register to post comments

เราเห็นข่าวผู้ผลิตโน้ตบุ๊กบางเจ้าออกเวอร์ชัน Ubuntu พรีโหลดมาให้ด้วย (เช่น Dell XPS คราวนี้เป็นข่าวของฝั่ง Fedora ที่ประกาศความร่วมมือกับ Lenovo ThinkPad บ้าง
Lenovo จะออก ThinkPad 3 รุ่นคือ ThinkPad P1 Gen 2 , ThinkPad P53 , ThinkPad X1 Gen 8 ที่เป็น Fedora Edition ใช้ระบบปฏิบัติการ Fedora 32 Workstations (ที่กำลังจะออกตัวจริงในเร็วๆ นี้)
วิธีการสั่งซื้อสามารถเลือก OS ได้จากหน้าเว็บของ Lenovo ตามปกติ รายละเอียดเพิ่มเติมจะประกาศในงาน Red Hat Summit สัปดาห์หน้า

CoreOS Container Linux (CL) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สำหรับคอนเทนเนอร์ ของบริษัท CoreOS เดิมที่ถูก Red Hat ซื้อกิจการเมื่อปี 2018 จะสิ้นอายุขัยในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020
Red Hat ซื้อ CoreOS แล้วผนวกเอาดิสโทร Container Linux เข้ามารวมกับโครงการ Fedora กลายเป็น Fedora CoreOS (FCOS) ทำให้ตัว Container Linux ต้องหลีกทางให้กับดิสโทรใหม่
ตอนนี้ทีมงาน CoreOS ถอด Container Linux ออกจากหน้าอิมเมจของ AWS Marketplace แล้ว จากนั้นจะออกอัพเดตครั้งสุดท้ายให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020 และปิดเซิร์ฟเวอร์อย่างถาวรในวันที่ 1 กันยายน

Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 และ ประกาศรวมดิสโทรโอเพนซอร์ส CoreOS Container Linux เข้ากับโครงการ Fedora
Fedora CoreOS จะกลายเป็นดิสโทรตัวเดียวสำหรับงานรันคอนเทนเนอร์ (ก่อนหน้านี้มีทั้ง CoreOS กับ Fedora Atomic) โดยมัน ออกรุ่นทดสอบแรกเมื่อกลางปี 2019 และตอนนี้พร้อมใช้งานแบบ production แล้ว
Fedora CoreOS ถือเป็นอีก edition ในสังกัด Fedora โดยเวอร์ชันเสถียรตัวแรกพัฒนาต่อมาจาก Fedora 31 ที่ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2019 ใช้เคอร์เนลเวอร์ชัน 5.4, systemd 243, Podman 1.7

Fedora เวอร์ชัน 31 ออกแล้ว ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ ได้แก่
- GNOME 3.34 ประสิทธิภาพดีขึ้น ปรับปรุงหน้าจอเลือกภาพพื้นหลังใหม่
- Fedora Toolbox เครื่องมือสำหรับสร้างสภาพแวดล้อมแบบ container ในเครื่องตัวเอง
- หยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรม i686 แบบ 32 บิต
- เปลี่ยนพฤติกรรมของคำสั่ง 'python' มาเรียก Python 3 เตรียมพร้อมรับมือ Python 2 หมดระยะซัพพอร์ตสิ้นปี 2019
- เปลี่ยนค่าดีฟอลต์ของ Firefox จากรันบน X11 มาเป็น Wayland